Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2542
ให้ปรส.พูด             
 


   
search resources

องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน - ปรส.
มนตรี เจนวิทย์การ




ดร.มนตรี เจนวิทย์การ รักษาการเลขาธิการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ให้สัมภาษณ์ "ผู้จัดการรายเดือน" ก่อนที่ จะมีการเปิดเนื้อใน ปรส.และตามมาด้วยการชี้แจงข้อเท็จจริงของ ปรส. หลังจากที่โดนสื่อมวลชนและหลายๆ ฝ่าย โจมตีวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของปรส.กันอย่างมาก ทั้งนี้ผู้ที่มีใจเป็นธรรมก็ควรฟังความรอบข้าง เพื่อใช้วิจารณญาณได้อย่างถูกต้อง

ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของ ปรส.

ผมอยากอธิบายอย่างนี้ ประการแรกคือปรส.เป็นหน่วยงานราชการ ดังนั้นการทำอะไรต่างๆ ต้องอาศัยความถูกต้องในเรื่องของกฎหมาย กฎระเบียบที่นอกเหนือจากกฎหมายโดยตรง ซึ่งกฎหมายโดยตรงเราก็มีพ.ร.ก.ว่าด้วยการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 กับ 2541 อันนี้เป็นกรอบ แต่มันก็ยังมีกฎหมายอื่นที่เราต้องไปดู เพราะฉะนั้น อันนั้นคืออุปสรรคที่ทำให้เราไม่สามารถทำอะไรได้เต็มที่เหมือนองค์กรเอกชน เพราะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนกระบวนการ การจัดขายสินทรัพย์ต่างๆ ต้องมีความ รอบคอบ ซึ่งก็หมายถึงการเสียเวลา

ประการที่สอง สินทรัพย์ที่เรานำมาขายนั้นมีความหลากหลายมาก มีคุณภาพที่แตกต่างกันมากทีเดียว มีความไม่ครบถ้วนของเอกสาร มีการทุจริตที่ปรากฏในเอกสาร มีคดีฟ้องร้อง มีที่เขาขอไปทำการฟื้นฟู เพราะฉะนั้นเราจะต้องมาแยกแยะและทำทุกอย่างเพื่อสนองความต้องการด้านต่างๆ เช่น ธนาคารชาติขอยึดสัญญาบางอัน เราก็ต้องให้เขาไป, กระทรวงการคลังขอระงับการขายชั่วคราว เพื่อที่จะเอาบริษัท รับเหมาที่ไปกู้เงินเขา เอาไปฟื้นเพื่อที่จะทำงานราชการต่อไปได้ หรือบางทีถูกฟ้องกันมาตั้งแต่สมัยที่บริษัทยังไม่ปิด เหล่านี้ จะเห็นได้ว่ามีอุปสรรคต่างๆ มากที่ทำให้เราต้องรอบคอบ มัน ก็เสียเวลาอยู่มาก

แต่ว่าที่สำคัญในประการที่สามคือ การขายสินทรัพย์ของ ปรส.นั้นถึงจะทำให้ดีอย่างไรก็ตาม ก็อยู่ในความสนใจของคนกลุ่มต่างๆ ที่มีผลประโยชน์แตกต่างกันไป ทุกคนก็จะมีวิธีการที่จะเสนอให้เราทำอย่างโน้นทำ อย่างนี้ ก็เพื่อผลประโยชน์ของเขาทั้ง สิ้น เช่นลูกหนี้ถามว่าทำไมไม่ขายคืนให้ เขาไป เขาจะให้ราคาดีกว่าที่จะเอาไปประมูล ซึ่งเราก็ต้องมานั่งอธิบายว่าขืนให้คุณไปง่ายๆ วันหลังก็จะมีคนจงใจไม่ชำระหนี้ เขาไปทำกับแบงก์ ไปทำกับสถาบันการเงินอื่นๆ เขาก็จะพินาศ ไป และคุณก็จะมาอ้างว่า ปรส.ให้ทำ ได้ คุณอาจจะบอกว่าก็ทำครั้งเดียวกับ ปรส. มันไม่ได้หรอก เมืองไทยก็รู้อยู่แล้วว่าการทำมาครั้งหนึ่ง คนก็จะ อ้างได้ว่าทำมาแล้ว เราก็ป้องกันไม่ให้คนที่จงใจทำให้หนี้มันเสียเพื่อที่จะมาซื้อราคาถูกๆ แม้กระทั่งให้ลูกหนี้มาประมูลได้นั้น เขาก็อาจจะเสนอราคาที่ไม่มีใครอยากมาแข่ง และอาจจะมีการคุกคามก็ได้ เจ้าหนี้เองก็อยากจะให้เราคืนเงินให้เร็ว ซึ่งเราก็ยังไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าหนี้ที่แท้จริงบ้าง เราเพียงแต่ทราบคร่าวๆ ว่ากองทุนฟื้นฟูฯ เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ ชาวต่างประเทศเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ ซึ่งก็ยังหาไม่ได้หมดว่าใครเป็น เจ้าหนี้ในประเทศใครบ้าง ซึ่งเราก็ต้องมานั่งหาทางที่จะให้พวกนี้ยื่นเคลมมา แล้วเราก็ต้องมา verify

ทีนี้ก็ยังมีลูกหนี้อีกประเภทหนึ่ง ที่ไม่อยากชำระหนี้ เพราะหนี้ก็ไม่ได้ชำระมานานแล้ว ก็อยากให้เราเลื่อนออกไป เขาจะได้ไม่ต้องชำระต่อแต่ ก็ยังมีลูกหนี้อีกบางรายที่บอกว่าอยากให้เราเร่งขายออกไปเพื่อที่เขาจะได้ไปฟื้นฟูเร็วขึ้น

ขณะเดียวกันก็มีนักการเมืองที่ออกมาเรียกร้องเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง โจมตี ปรส.โดยไม่ใช้ข้อมูลหรือใช้ข้อมูลที่ผิด

อันนี้ก็เป็นประเด็นที่ ปรส.ทำงานด้วยความลำบาก เพราะว่าเป็นเป้า ของการโจมตี

นอกจากนั้นก็ยังมีนักวิชาการ พวกที่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง พวกที่เกิดความผิดหวังในเรื่องธุรกิจของตัวเอง ทุกอย่างก็ประเคนมาที่ ปรส. ยกตัวอย่างว่าเรื่องมันเน่ามาตั้งแต่บริษัทยังไม่ปิด ก็มาอ้างว่า ปรส.ไม่ช่วย หรือว่า ปรส.ขายไปแล้ว ตัวเองมีปัญหากับเจ้าหนี้รายใหม่ ก็มาด่าปรส. คืออะไรก็มาลงหมด มันก็ทำให้การทำงานของปรส.เป็นเป้าต่อการวิพากษ์วิจารณ์

ผมอาจจะแบ่งพวกที่วิพากษ์วิจารณ์ออกมาเป็น 4 กลุ่ม

กลุ่ม 1 คือพวกที่ไม่รู้ข้อมูล พูด ไปอย่างนั้น หลายคนด่า ปรส.โดยยังไม่รู้ว่าเราอยู่ที่ไหน ด่า ปรส.โดยไม่รู้ว่า กฎหมายว่าอย่างไร ด่า ปรส.โดยไม่รู้ว่า วิธีการทำงานของ ปรส.ทำอย่างไร ซึ่งเราถือว่าพวกนี้เป็นพวกที่แย่

กลุ่มที่ 2 คือพวกที่ไม่รู้วิธีการจริงๆ ว่าเขาทำอย่างไรในการประมูลขายสินทรัพย์ คิดง่ายๆ คิดว่าการประเมินสินทรัพย์เป็นเรื่องกระทำง่ายๆ ไม่ต้องไปเรียนที่ไหนมาก็สามารถทำได้ ซึ่งเราไม่ได้ ถ้าทำอย่างนั้นสังคมก็ไม่ยอมรับ คนที่เขามาประมูลจะถือว่าเราไม่เป็นมืออาชีพ ดังนั้นสิ่งที่เราทำคือเราต้องให้ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เป็น ขั้นเป็นตอน ข้อมูลกว้างๆ ก็ให้ที่เรียก ว่าเป็นข้อสนเทศ เขาก็จะตัดสินใจว่าจะเอาไหม หากตัดสินใจว่าจะเอาเขาก็ จะไปซื้อแผ่นซีดีรอม ที่เก็บข้อมูล ซึ่งมันละเอียดลงไปอีก เจาะไปเป็นแถบๆ หากเขาจะเอาแน่ ก็จะขอเข้ามา ดูในห้องข้อมูลเพื่อมาดูตัวสัญญาจริงซึ่งอาจจะหนาถึง 3 แฟ้มใหญ่ๆ สิ่งเหล่า นี้เราต้องทำเป็นแบบมืออาชีพ เพราะเมื่อนักลงทุนเห็น เขาจะรู้ว่านี่คือวิธีประมูลแบบสากล แต่สำหรับคนบางพวกนั้นไม่เข้าใจ จะขอมาซื้อดื้อๆ ก็มี ด่าแล้วยังไม่ทันไร ถามว่าเคยเห็นข้อมูล ไหม ก็ยังไม่เคยเห็น ถามว่าคุณรู้ไหม ว่าเขาทำอย่างไรเวลาที่เขาประเมินราคา ก็บอกว่าไม่เคย ดังนั้นจะมาด่าทำไม

อีกพวกวิเคราะห์โดยคิดว่าปรส.ต้องไปทำทุกสิ่งทุกอย่าง คือ scope งาน ปรส. มันถูกจำกัด ก็มาด่า ว่าเราไม่ช่วยคนจน เราไม่ได้ช่วยคนจน เราอาจจะช่วยก็ทางอ้อม คือทำให้หนี้สินที่เสีย ฟื้นขึ้นมา คนจะได้มีงานทำ เราไม่ได้ไปช่วยคนจน มีคนถามว่าชาว ไร่ชาวนานั้น ปรส.ไม่ลงไปช่วยบ้างหรือ

อีกพวกคือเอาปัญหาของชาติระดับใหญ่มาด่า ปรส.เช่นว่า ปรส. ทำ งานเฮงซวย ทำให้ชาติบ้านเมืองขาดทุน ล่มจม ขายชาติ อะไรก็ว่าไป ข้อเท็จจริงก็คือ ปรส.เกี่ยวข้องกับเงินที่ตายไปแล้ว 10% ของระบบการเงิน มันจะทำให้ล่มจมอย่างไร เพราะมันล่มจม ไปเรียบร้อยแล้ว เรือมันจมลงไปในแม่น้ำแล้ว แล้วคุณก็ด่าเราใหญ่ว่านี่ทำให้การเดินทางลำบาก อะไรก็ว่าไป

ที่จริงควรจะไปดูเรื่องอื่นๆ เช่น การลงทุน การทำให้กฎหมายทันสมัย การที่จะไปดูระบบแบงก์หรือไฟแนนซ์ที่ยังไม่เจ๊งให้อยู่ในสภาพที่แข็งแกร่ง กลับไม่ดู มาด่า ปรส. ขายไปก็ด่า บอก ว่าทำให้ทรัพย์สินเขาเสื่อม พอไม่ขายก็บอกว่าทำให้ไม่ฟื้น ที่จริงพูดไปแล้ว สิ่งที่เราทำก็เหมือนกับว่า สนามที่น้ำมันท่วม สนามเดียวเฉพาะของ ปรส. เราก็ไปดูว่ามันมีต้นไม้อะไรบ้างที่พอจะขุดเอาไปขายได้บ้าง แต่ต้นไม้ที่ขาย หลังจากน้ำท่วมแล้ว คุณก็ต้องรู้ว่าราคาจะดีเท่ากับต้นไม้ใหม่ที่เขียวขจีได้อย่างไร ดังนั้นสิ่งที่เราทำคือทำให้เศรษฐกิจบางส่วนฟื้นขึ้นมา ไม่ได้ทำให้เลวร้ายลง ถึงคุณจะขายได้น้อย ก็ไม่ทำให้เลวร้ายลง เพราะมันพังไปแล้ว หากคุณทิ้งไว้นานๆ ก็ยิ่งเสื่อมลงไปใหญ่ เจ้าหนี้ล้มหายตายจากไป หาตัวผู้ค้ำประกันไม่ได้ ส่วนหลักทรัพย์บางอย่าง ที่ดินถูกชาวบ้านไปยึดบ้าง เสื่อมไปบ้าง

ที่ผ่านมา คนไม่เข้าใจว่าทรัพย์สิน 800,000 ล้านบาทที่ ปรส.จัดการขาย อยู่นี้เป็นทรัพย์สินที่ตายแล้ว ใช่หรือไม่

ถูกต้อง สิ่งที่เราตั้งไว้เวลาที่เราขายคือหนี้เป็นเท่าไหร่ สมมติผมกู้คุณมา 100 บาท แต่ผมเอาอะไรมาเป็นหลักประกัน มันอาจจะเป็นที่ดินเปล่าที่น้ำท่วมไปแล้วหรือมีชาวบ้านไปอาศัยอยู่ และเรียกคืนไม่ได้ ขายก็ไม่มีใครเอา คนที่ทำการลงทุนนั้นเขาต้องคิดถึงการทำกำไรให้เร็วที่สุด ดังนั้นของที่เรายืมมา 100 บาท มันไม่มีทางที่เราจะเรียกคืนได้เต็มจำนวน

ราคาที่ ปรส.ขายได้ ซึ่งมีราคาเฉลี่ยตั้งแต่ 20%-41% เป็นอย่างไรเมื่อเทียบ กับการขายสินทรัพย์ในประเทศอื่นๆ

เราไม่ได้แยกหนี้ดีหนี้เสีย เนื่อง จากว่าหนี้ดีมีน้อย ไม่รู้จะแยกไปทำไม และหากแยกเสร็จ หนี้ดีก็กลายเป็นหนี้เสียได้เพราะมัน dynamic มันมีการเสื่อมลงทุกวัน มันเหมือนคุณเอาของออกมาจากสต็อก พอเริ่มใช้ก็เสื่อม ถึงไม่ใช้ ตั้งทิ้งไว้ก็เสื่อม ทีนี้เวลาเราขายคละออกไปนั้น คุณจะเห็นว่าราคา มันต่างกัน บางอันเขาจะให้สูง อย่างที่เราขายสินทรัพย์ที่เป็นสินเชื่อนั้น กลุ่ม ที่ดีๆ ที่เป็น unsolicited bid (ขายในกระบวนการพิเศษ) นั้นได้ 42% ส่วน ที่ขายในกระบวนการปกติ สูงสุดได้ 37% แต่มันมีหลายกลุ่มที่ไม่มีคนซื้อเลย ไม่มีคนสนใจเลย และมีกลุ่มที่ให้ราคา ต่ำมาก แค่ 2%, 3% หรือ 5% อันนี้ก็แสดงอย่างหนึ่งว่าคนที่เขามาประมูลนั้น เขารู้ว่าอะไรดีอะไรเสีย ถ้าเขาเห็นว่ามัน ดี เอาไปฟื้นได้ เขาก็ให้ราคาสูง ฟื้นไม่ได้ เขาก็ให้ 2%, 1% ศูนย์ยังมีเลยคุณรู้หรือเปล่า เขาบอกว่าผมไม่รู้ว่าจะ ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเพื่อไปเก็บหนี้ได้หรือเปล่า คือเมื่อคุณตั้งทีมขึ้นมานั้น คุณอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่จะไปเก็บหนี้มาได้ เขาก็เลยไม่อยากให้ราคา

ทีนี้ถามว่าราคาพวกนี้เป็นอย่างไร ผมคิดว่าหลายกลุ่มเราได้ราคาดีกว่าที่เราคิด เมื่อเราคำนึงถึงสินทรัพย์ที่มันเสื่อมลงไปทุกวัน บางกลุ่มที่นักลงทุนต่างชาติให้ เราฟังเหมือนเป็นกดราคา แต่พูดแล้วก็เป็นราคาที่เขาให้ตามราคา สากล เขาไปประมูลที่ไหนก็ยกสูตรนี้มาใช้ คือให้ประมาณ 10%-20% เขาจะให้แค่นี้

ผมก็พยายามดูว่าประมูลกันได้ เท่าไหร่ ไม่มีหรอกที่จะได้ 60% เพราะ ว่าหากได้ 60% ก็แสดงว่าหนี้ไม่เสียและ หากคุณประมูล 60% คุณมีค่าใช้จ่าย 20% ก็เป็น 80% แล้วจะไปทำกำไรที่ไหน ก็เท่ากับซื้อรถใหม่มาขายดีกว่า

ปรส.คาดหวังเรื่องราคาอย่างไร

เวลาที่เราทำ benchmark มัน ก็อาจจะสูง ตัวนี้มันตั้งตามหลักวิชาการ คุณจะเห็นว่าคนที่จะตั้งราคานั้นจะตั้งอย่างไรก็ได้ แต่ตลาดบอกว่าให้แค่นี้ คุณไม่ขายก็อย่าขาย ไม่มีใครว่า ทีนี้อย่างที่หนังสือพิมพ์กล่าวนั้นก็แสดงว่าเราคาดหวังสูงไป ทั้งที่ในระดับสากล เขาไม่ได้ตั้งอย่างนั้น ฝรั่งที่มาประมูลนั้นผมเห็นเลยว่าหากเขาไม่เคยอยู่เมือง ไทยมาก่อนเลย เขาให้แค่ 12%-15% เท่านั้น ให้ 20% นี่ถือว่าให้มากเพราะ ว่ามันมีค่าใช้จ่ายเข้ามากลายเป็น 40%

เงินของนักลงทุนพวกนี้จะมีอยู่ก้อนหนึ่ง ที่จะหมุนไปเรื่อยๆ ถ้าลงที่นี่แล้วเห็นว่าได้คืนช้า ความขาดทุนเขามีอยู่คือส่วนต่าง opportunity cost เขาหายไป แต่ถ้าเขาเอาเงินก้อน เดียวกันไปลงอีกแห่งหนึ่ง เขาได้คืนมาทันที เขาก็ไม่เอา เขาก็จะบอกว่าถ้า จะเอาเขาก็ต้องลดราคา เพื่อที่จะได้ทดแทนในส่วนที่เขาหายไปจากการที่เขา ต้องไปลงทุนที่อื่น สิ่งเหล่านี้ประชาชน ไม่เข้าใจ เพราะว่าประชาชนไม่รู้เรื่องการหมุนเวียนของเงินลงทุนเป็นอย่าง ไร เงินเหล่านี้จะไปในจุดที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด

ผมจะยกตัวอย่างว่าชาวบ้านปกติจะมีเงินฝากอยู่ไม่กี่พันกี่หมื่นบาท การโยกย้ายธนาคารไม่ได้ทำให้เขาได้กำไรเท่าไหร่ แต่หากเขามีเป็นหมื่นล้าน บาท เขาโยกทุกวัน เพราะการโยกแต่ ละครั้งคือเม็ดเงินมหาศาลที่เขาจะได้ คุณมีเงินฝากร้อยล้านบาท ดอกเบี้ย 12% ก็ 12 ล้านบาท หากอีกแห่งให้ 13% ก็เอา เพราะได้มาอีก 1 ล้านบาท ชาว บ้านไม่มีเงินมากพอที่จะมองเห็นอย่างนี้ เขาไม่มีความสามารถเห็น

ราคาเฉลี่ยที่คาดหวังกันนั้นก็แล้วแต่ อย่างธนาคารชาตินั้น หม่อมเต่าก็หวังไว้ที่ 40% ก็ดีแล้ว ตอนนี้แกก็ลดลงว่า 35% ก็ดีแล้ว ซึ่งเราก็ทำได้ประมาณ 30%-35%

อีกอย่างหนึ่ง หากไปตั้งราคาไว้ที่ 100% หมด พอขายได้ 10% คุณก็ด่าหาว่าขายต่ำ แต่ไม่ได้ดูว่าเอาอะไรมาขาย ขนาดรถเบนซ์นี่ขับออกจากอู่ไปไว้บ้าน ห่างไป 50 ก.ม.นี่ วันนั้นราคาลดไป 100,000 บาท ภายใน 6 เดือนลดไป 300,000 บาท มีคนจะเอารถเบนซ์มาขายผม วิ่งไป 37 ก.ม. คือ จากอู่ไปไว้ที่บริษัท แล้วบริษัทเจ๊งถาม ว่าอาจารย์เอาไหม ผมลดให้ 300,000 บาท ผมไม่เอาเพราะผมไม่มีเงิน มันก็ยัง 2 ล้านกว่าบาทอยู่ดี

เป้าหมายปรส.ในเรื่องการดึงเม็ดเงินต่างประเทศเข้ามาซื้อเป็นอย่างไร

ในช่วงที่เราตั้งปรส.หรือสินทรัพย์มันเสื่อมนั้น ขณะนั้นเม็ดเงินในประเทศไม่มีเลย ก็หวังว่าถ้ามีต่างชาติเอาเงินเข้ามาสักช่วงหนึ่ง เราก็จะมีเงินหมุนเวียนที่จะไปทำให้ธุรกิจมันหมุนได้ แต่ฝรั่งนี่มีโอกาสที่จะลงทุนในทั่วโลก คนไทยซิ ไม่มีโอกาส บริษัท ไทยนั้นอย่างดีก็ไปทำในประเทศเพื่อนบ้าน

ตอนแรกเราก็หวังว่าฝรั่งจะมา แต่ในท้ายสุดมันก็พิสูจน์เหมือนกัน เพราะฝรั่งก็ให้ตามราคามาตรฐานของเขา เราก็โกรธ เพราะว่าเรามี mentality ว่าฝรั่งควรจะเห็นใจเรา เราเป็นสังคมที่พึ่งพิงคนอื่น เป็น dependent society การพึ่งทางด้านวัตถุนั้นก็ส่วน หนึ่ง แต่ที่ผมว่าแย่คือการพึ่งทางด้านจิตวิทยา (psychology) หมายความ ว่าไปหวังความเมตตาของคนอื่น หวังว่าคนอื่นจะเห็นใจ คนอื่นจะมาช่วยโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย นั่นคือการพึ่งทางด้านจิตวิทยา แต่ฝรั่งมา ไม่ได้คิด อย่างนั้น คนที่มานี่ไม่ใช่เจ้าของทุน เป็นลูกจ้าง มันต้องทำกำไร หากไม่มีกำไร ก็จะมีการเปรียบเทียบกับคนอื่นที่ไปทำประเทศอื่น และเขาก็จะไล่มันออก เพราะฉะนั้นเขาก็ต้องเอาให้เต็มที่เท่าที่จะทำได้ คนไทยก็เลยผิดหวังฝรั่ง หาว่าฝรั่งจะเข้ามาซื้อบ้านซื้อเมือง แล้วก็เลยไปกล่าวหาว่าหน่วยงาน ที่ติดต่อฝรั่งว่าขายชาติ ดังนั้น ปรส. ก็โดนข้อหาว่าขายชาติ

คือ swing พูดง่ายๆ คือแต่เดิมเราหวังพึ่งฝรั่ง ทั้งทางด้าน ma-terial และ psychology แต่หลังจากนั้นเมื่อฝรั่งไม่เข้ามา เช่น ไม่มาซื้อเลย หรือเข้ามาซื้อแล้วให้ราคาสูงแต่เราก็ยังด่ามันอีก หาว่าให้ราคาที่ยังไม่พอใจเรา เราก็โกรธ ก็เลย swing มาเรื่องชาตินิยม ที่เราโกรธเขาก็เพราะ เราผิดหวัง

เงินฝรั่งที่เข้ามานั้นเขาพิจารณาตามมาตรฐานสากลและเป็นเรื่องของการทำกำไร สั้นยาวขึ้นอยู่กับว่าโอกาส ที่เขาจะทำกำไร หากบ้านเมืองเราดีขึ้นเขาก็อยู่นาน แต่ถ้าบ้านเมืองเราไม่ดี เขาก็ขายทิ้ง ขณะนี้ก็คือขายทิ้งครึ่งหนึ่งอยู่นานครึ่งหนึ่ง อันนี้ที่ฝรั่งเรียกว่า exit option ซึ่งหมายความว่าทุกครั้ง ที่มีการลงทุน เขาต้องดูว่ามีทางออกอย่างไรบ้าง เช่น สมมติมีกฎหมายว่าห้ามเอากำไรออกภายใน 5 ปี เขาก็ต้องคิดว่าเขาจะมาหรือไม่มา

ในเรื่องการขายทิ้งนั้น ที่จริงการบริหารสินทรัพย์ทุกอย่างขึ้นอยู่กับว่าคุณมีกลยุทธ์การบริหารอย่างไร กลยุทธ์บางอย่างต้องขายทิ้งเพราะว่าฟื้นไม่ได้แล้ว แต่เจ้าของอาจจะอยากได้ หรืออาจจะมีคนอยากได้ ญาติพี่น้อง หรือคนที่ทำธุรกิจแถบนั้น อาจมีความ ต้องการก็เป็นได้

แต่ ปรส.ก็มีการเตือนลูกหนี้ว่าอย่าไปซื้อต่อ เพราะคุณอาจจะเสียเปรียบได้ เนื่องจากคุณไปเจรจากับเขาในลักษณะที่เสียเปรียบ เวลาทางโน้นเกิดเบี้ยวขึ้นมา เราก็ช่วยไม่ได้ เพราะว่ามันเป็นสัญญาที่กระทำโดยที่เราไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา คุณไปทำที่ไหนก็ไม่รู้ แต่หากผู้ชนะประมูล ซื้อไปแล้ว เราก็อาจจะมีการกำหนดว่า 6 เดือนจากนั้นเอาไปขายไม่ได้ เพราะว่า เราอยากได้คนที่อย่างน้อยเอาเงินของตัวเองเข้ามาลง ไม่ใช่ไปเอาเงินรวมๆ กันมาซื้อ ซื้อไปแล้วก็ไปแบ่งส่วนกันคืน อย่างน้อยหกเดือน ซึ่งก็เท่ากับเราตัดพวกหนึ่งออกไปแล้ว คือพวกที่เอาเงินมารวมๆ กันนี้

แต่หลัง 6 เดือนแล้วเขาจะทำอะไรเราไปยุ่งเขาไม่ได้ มันก็มีกฎหมาย เขียนไว้ อย่างมาซื้อตึกของผมนี่ ผมอาจจะขอไม่ให้คุณรื้อถอนหรือทำอะไร ได้ แต่ไม่สามารถห้ามได้นานถึง 50 ปี มันจะมีข้อจำกัดระยะหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถทำได้ตลอดไป

เรารู้ว่าการทำธุรกิจทุกอย่างเขาต้องแสวงหากำไรสูงสุด ดังนั้นการกระทำอะไรก็ตามที่จะทำให้เขาได้กำไรสูงสุด เขาก็ต้องทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ขายคืน ลงทุนร่วม ปล่อยเงินมาขยาย กิจการแล้วเอาส่วนแบ่ง เขาก็ทำได้ทุกรูปแบบ อยู่ที่ความสามารถที่จะจัดการ หนี้บางอย่างเขาอาจจะดำเนินการต่อให้เสร็จ แต่มีข้อแม้ว่าต้องโอนลูกค้าอะไรต่างๆ ให้


ที่จะประมูลในรอบใหม่นี้มองนักลงทุน กลุ่มไหน

เรายังหวังว่าจะมีเม็ดเงินจากต่างประเทศเข้ามา เพราะเมืองไทยไม่มีเงิน ส่วน บบส.นั้นไม่มีสตางค์ ไม่ มีเงินสด หากเขาเข้ามา เราก็ต้องถามกองทุนฟื้นฟูฯ ว่าเอาไหม หากเขาไม่เอา เราก็ไม่เอา ซึ่งกองทุนฟื้นฟูฯ เขาไม่อยากได้ หากไม่ใช่ cash ก็ต้องมีการันตี เขาอาจจะออกบอนด์มาซื้อได้หมดนะ เพราะตอนนี้ 4.5 แสนล้านบาทลดเหลือ 30% ก็ประมาณ 1 แสนกว่าล้านบาท เขาอาจจะซื้อได้หมดนะ แต่หากซื้อด้วยเงินแห้ง ปรส.ไม่เป็นไรเพราะเราก็อยากขายๆ ไป แต่เจ้าหนี้ กองทุนฟื้นฟูฯ ก็บอกว่าเงินแห้งไม่อยากได้ เพราะมันเอาไปทำอะไรไม่ได้ นอกจากเป็นแบงก์การันตี หมายความ ว่าแบงก์ชาติต้องการันตี หรือกระทรวง การคลังต้องการันตี หากเขายอม มันก็เอาไปเปลี่ยนมือได้ แต่เท่าที่ผมทราบ เขาไม่ยอมนะ

เราไม่ได้คาดหวังอะไรมากในเรื่อง บบส. เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าเขามีปัญหา แต่ประชาชนไปคาดหวังว่าเขาจะเป็นผู้มาประมูลไป ซึ่งเขาก็อาจจะตกเป็นเหยื่อรายต่อไป คนไปคาดหวังว่า บบส.จะมาช่วยชาติ เกินขนาด ไป ผมว่าไม่ยุติธรรม เพราะว่าถ้าบบส. ทำไม่ได้ ก็มีแต่ถูกด่า ฉะนั้นบบส.จะอยู่ในฐานะลำบาก

สินทรัพย์ทั้งหมดจะขายเสร็จเมื่อไหร่

คิดว่ากลางปีนี้น่าจะขายได้หมด แต่รอบสองที่เราประมูลไม่ได้คราวที่แล้ว อาจจะนำมาขายในปลายมีนาคมหรือร่นมาเป็นกุมภาพันธ์ เราต้องเร่งเพราะ ญี่ปุ่นและเกาหลีก็จะเอาออกมาขายแล้ว

ส่วนการชำระหนี้นั้นก็เป็นหน้าที่ปรส. ต้องให้เจ้าหนี้มายื่นขอรับชำระ หนี้ เมื่อเราเห็นว่ามีสิทธิ์ ก็จะชำระหนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าเงินหมด เมื่อเงินหมด เราก็ประกาศบริษัท 56 แห่ง ล้มละลาย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us