Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2542
อนาคตของบลจ. กำลังจะกลับมา             
 

   
related stories

บลจ.ไทยเอเชีย ขอขึ้นเป็น Tier One Group




ท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม บลจ. ได้รับผลกระทบไปเต็มๆ นักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจกับผลตอบแทนที่ได้รับกลับคืน และเริ่มพิจารณาความเสี่ยงหลายๆ อย่างที่ได้รับ โดยเฉพาะการยกเลิกกองทุน แต่แนวโน้มในอนาคต อุตสาหกรรมนี้จะกลับคืนมาพร้อมกับการเปลี่ยนรูปโฉมใหม่ เพื่อต้อนรับนักลงทุนที่หวังผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในรูปแบบอื่นๆ ที่แน่ๆ ตอนนี้ กองทุนตราสารหนี้ หรือ fixed income fund เริ่มมีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง เหตุเพราะมีเม็ดเงินค้างเติ่งไม่มีที่ลงทุนอยู่มากในระบบ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยลดต่ำลงตามนโยบายรัฐบาลนั้น ผลตอบแทนจากการลงทุนประเภทนี้จึงน่าสนใจยิ่ง อนาคตของ บลจ.จะกลับคืนมาจากการออกหน่วยลงทุนประเภทนี้หรือไม่ ต้องติดตาม!

หลังจากประเทศไทยเกิดความผัน ผวนทางด้านเศรษฐกิจหลายๆ เหตุการณ์นับตั้งแต่ปลายปี 2539 ล่าสุดเมื่อ 14 สิงหาคม 2541 บริษัทเงิน
ทุน (บง.) และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (บงล.) ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพิ่มอีก 40 แห่ง รวมกับสั่งปิดรอบแรก 16 แห่ง รวมทั้งสิ้นที่สถาบันการเงินโดนสั่งปิดไป 56 แห่ง บวกกับการสั่งให้ธนาคารพาณิชย์ที่บริหารผิดพลาดเข้ามาอยู่ในอ้อมแขนของรัฐบาล หรือบางแห่งเตรียมขายให้กับนักลงทุนจากต่างประเทศ

การล่มสลายระบบสถาบันการเงินครั้งประวัติศาสตร์ของไทยครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อระบบธุรกิจอื่นอย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งคนธรรมดาๆ ก็หนีไม่พ้นบ่วงกรรมอันนี้ ธุรกิจอย่างหนึ่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและรุนแรง คือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) เนื่องจากโครงสร้าง ผู้ถือหุ้นของ บลจ. ส่วนมากจะมีบรรดาสถาบันการเงินเป็นผู้ถือหุ้นหลัก ซึ่งถือว่าเป็นแขนขาให้ บลจ. ในการดำเนินธุรกิจ แต่เมื่อสถาบันการเงินเหล่า นั้นถูกปิดกิจการอนาคตของ บลจ. จึงถูกแขวนอยู่บนเส้นด้าย โดยเฉพาะ บลจ. ที่อยู่ในการควบคุมขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และรอการประมูลซึ่งไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร

ปัจจุบัน บลจ. ในไทยที่เปิดดำเนินการมีอยู่ทั้งสิ้น 13 แห่ง และ บลจ. จำนวน 10 แห่งมีผู้ถือหุ้นที่ถูกระงับการดำเนินกิจการรวมอยู่ด้วย และอุตสาหกรรมดังกล่าวถือว่ามีการเปลี่ยน แปลงครั้งใหญ่ ก็คือการที่ บลจ.บัวหลวง ที่มีผู้ถือหุ้นอย่างธนาคารกรุงเทพ ในอดีต บลจ.บัวหลวง เป็นบริษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดในอุตสาหกรรมนี้ติดอันดับ 2 ในปี 2540 แต่ในปี 2541 ได้ หล่นลงไปอยู่ที่อันดับ 12 หลังจากตัดสินใจปิดกองทุนในกองทุนตราสารหนี้ (Fixed Income Fund) ของตัว เองลง 4 กองทุน เนื่องจากประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง จากนั้นก็มีกองทุนตราสารหนี้ทยอยกันปิดเพิ่มอีก 18 กองทุน

สถานการณ์อุตสาหกรรม บลจ. เริ่มโคลงเคลงมาตั้งแต่ปี 2540 เนื่อง จากมีจำนวนกองทุนสุทธิเพิ่มขึ้นจากปี 2539 เพียงแค่ 3 กองทุนเท่านั้น และมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (NAV) เพียง 102.46 ล้านบาท เทียบกับปี 2539 ที่มี NAV สูงถึง 246.43 ล้านบาท ลดลง 58.42% สาเหตุของการซบเซา ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ ได้วิเคราะห์ไว้ว่า การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ NAV ของกองทุนปรับตัวลดลงตามไปด้วย ปัญหาสภาพคล่องของตราสารหนี้และการผิดนัดชำระดอกเบี้ยของผู้ออกหุ้นกู้ อัตราดอกเบี้ยในระยะสั้นและระยะ ยาวในประเทศอยู่ในระดับสูง ดังนั้นการซื้อขายตราสารหนี้จึงลดลง ทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น การลงทุนในตราสารหนี้จึงไม่เป็นที่สนใจของนักลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทน ที่สำคัญการที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งพักผู้จัดการกองทุน 4 คน ส่งผลให้นักลงทุนหมดความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุน ประกอบกับภาพรวม ของเศรษฐกิจยังไม่กระเตื้องขึ้น ทำ ให้ธุรกิจ บลจ. ยังอยู่ในมุมมืดจนถึงปัจจุบัน

ภาพรวมของอุตสาหกรรม บลจ. ในขณะนี้ คือ นักลงทุนอกหักจากการลงทุนในกองทุนหุ้นทุน (Equity Fund) และกองทุนตราสารหนี้ อีกทั้งการที่ผู้บริหารกองทุนที่บริหารงานผิดพลาด แม้ว่าจะไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด แต่สิ่งที่ผิดพลาดอย่างมาก คือ การรีบขายหน่วยลงทุนโดยที่นักลงทุนไม่เข้าใจในผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอ เช่น ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้โดยไม่เข้าใจว่าหุ้นกู้คืออะไร

ในอดีตต้องยอมรับว่าธุรกิจ บลจ. เติบโตขึ้นมาจาก Equity Fund ด้วยข้อกำหนดของ ก.ล.ต. ที่ให้ บลจ. เปิดใหม่หลังจากปี 2535 จะต้องออกกองทุนปิดที่เป็น Equity Fund ให้ได้ภายใน 1 ปี หลังจากที่ได้รับอนุญาต และการลงทุนจะถูกกำหนดโดย ก.ล.ต. ว่าต้องมีหุ้นอยู่ไม่ต่ำกว่า 75% ของขนาด ของพอร์ต ในช่วงนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้และนักลงทุนได้เข้ามาลงทุนโดยไม่เลือกอะไรมาก ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ฝากเงินที่ไม่เข้าใจในผลิตภัณฑ์ และซื้อไปเพื่อหวังว่าเมื่อหุ้นเข้าไปในตลาดแล้วจะให้ผลตอบแทนที่ดี แต่เมื่อตลาดหุ้นซบเซาก็เริ่มผิดหวัง และเมื่อถึงจุดหนึ่งก็เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา ที่เรียกว่ากองทุนตราสารหนี้และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก NAV ได้ไต่ระดับขึ้นไปเรื่อยๆ และตราสาร หนี้ที่ต้องลงทุนก็ถูกบังคับด้วย ก.ล.ต. ในที่สุดเมื่อมาเจอปัญหาสภาพคล่อง ไม่มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้เล่นและการลงทุนก็ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ ปัญหา จึงเกิดอย่างที่เห็น

แล้วอุตสาหกรรม บลจ. จะกลับมารุ่งเรืองได้อีกหรือไม่??? เป็นความกังขาของบรรดาตัว บลจ.หรือแม้แต่นักลงทุนที่ต้องการคำตอบ

คำตอบในขณะนี้คืออุตสาห-กรรม บลจ. จะกลับมาอีกครั้ง เพียงแต่ความรุ่งเรืองได้หยุดลงชั่วคราว ซึ่ง ขึ้นอยู่กับตัว บลจ. ว่าจะทำอะไรให้ดีขึ้นหรือไม่ เนื่องจากในปี 2540 ผู้ถือ หน่วยลงทุนทั้งอุตสาหกรรมนี้มีเพียงประมาณ 8 แสนบัญชีเท่านั้น โดยมีสัดส่วนผู้ถือหน่วยลงทุนในกรุงเทพฯ 45.37% อีก 54.63% กระจายอยู่ต่างจังหวัด และถ้าดูสัดส่วนระหว่างนักลงทุนคนไทยกับต่างประเทศอยู่ที่ 99.61:0.39 และสิ่งที่น่าสนใจคือขณะที่มีคนในวัยทำงานที่สามารถเข้าถือหน่วย ลงทุนได้สูงถึงประมาณ 22 ล้านคน อีกทั้งในหลายๆ ปีที่ผ่านมาอัตราการซื้อหน่วยลงทุนต่อเงินฝากทั้งประเทศมีประมาณ 4% เท่านั้น ซึ่งการถือหน่วย ลงทุนเติบโตสูงสุดอยู่ในปี 2538 โดยมีสัดส่วน 18% ของเงินฝากทั้งประเทศ สาเหตุที่อุตสาหกรรม บลจ. ไม่ค่อยเติบโตเนื่องจากพฤติกรรมคนในเอเชีย ส่วนใหญ่ชอบลงทุนในระยะสั้น ดังนั้นการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ในอนาคตก็จะยังต่ำเมื่อเทียบกับเงินฝากของแบงก์พาณิชย์

สัญญาณการเปลี่ยนแปลง...เริ่มแล้ว

นับจากปีนี้เป็นต้นไปสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม บลจ. ได้เริ่มต้นขึ้นมาบ้างแล้ว ซึ่งการเปลี่ยน โฉมครั้งนี้จะมีผลกระทบวงการธุรกิจนี้ สิ่งหนึ่งที่แทบทุกบริษัทที่อยู่ในตลาดปรับโฉม คือ การปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น บางแห่งมีผู้ร่วมทุนคนไทยมากขึ้น เช่น บลจ.ออมสิน (GSAM) และ บลจ. วรรณ (OAM) ซึ่งเดิมเคยมีพาร์ต เนอร์จากต่างประเทศเข้ามาเป็นเสาหลักในการดำเนินการ ขณะที่บางแห่งกลับเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ โดยวิธีซื้อผ่านทางผู้ถือหุ้นที่เป็นไฟแนนซ์ที่ถูกปิดไปแล้วเช่น บลจ.นครธนชโรเดอร์ (NSAM) และ บลจ.สยามซิตี้ (SCIBAM) การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้คาดว่าในอนาคตจะมี บลจ. อีกหลายๆ แห่งดำเนินการ เนื่องจากความจำเป็นต้องพึ่งพาความแข็งแกร่งของพาร์ตเนอร์หน้าใหม่สำหรับการแข่งขัน

อีกทั้งยังมี บลจ. บางแห่ง ที่นำภาวะวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้มาสร้างเป็นโอกาสเพื่อเป็นกุญแจสำคัญของการอยู่รอดในตลาด ดูได้จากหลังการมีกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (Pro-perty Fund) ออกมาให้แข่งขันกันจากการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังมีราคาตกต่ำ โดยนักลงทุนที่เข้ามาแข่งขันตัวหลักๆ ก็มีนักลงทุนจากต่างประเทศและผู้ถือหุ้นใน บลจ. แต่การที่จะประสบความสำเร็จในด้านส่วนแบ่งตลาดในยุคนี้ได้ขึ้นอยู่กับค่าธรรมเนียมบริหารต่ำที่สุด และความสามารถที่จะซื้อสินทรัพย์ในราคาที่มีส่วนลด (Discount) เป็นที่ยอมรับได้ในหมู่ของผู้บริหารกองทุน นักลงทุนและลูกค้า ซึ่งปัจจุบันค่าธรรมเนียมการบริหารต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 0.1% ของ ขนาดกองทุน โดยมีเพดานจ่ายไม่เกิน 2.5 ล้านบาทต่อปี

นอกจากนี้พฤติกรรมของนักลงทุนเองต้องการผลตอบแทนสูงสุด เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของแบงก์พาณิชย์ที่อยู่ที่ระดับ 6% ของเงินฝาก 3 เดือน อีกทั้งจากการที่ความเสี่ยงการลงทุนในกองทุนตราสาร หนี้ (fixed income fund) ค่อนข้าง ต่ำและมีสภาพคล่องสูงทำให้กองทุนประเภทนี้เริ่มเป็นที่สนใจมากขึ้นโดยเฉพาะนักลงทุนประเภทแบงก์ ไฟ-แนนซ์ ซึ่งพวกนี้มีเงินสดอยู่ในมืออย่างล้นเหลือ ส่วนนักลงทุนรายย่อยเริ่มเข้ามาลงทุนเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจาก NAV ดีกว่าเงินฝากของแบงก์ รวมทั้งนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ทยอยเข้ามาร่วมลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ เพราะคาดกันว่าผลตอบแทนจะดีกว่าการซื้อหุ้นสามัญ จากตัวเลขล่าสุดสิ้นปี 2541 ยอดการลงทุนในกองทุนตรา สารหนี้ขยายตัวเป็น 48,736 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2540 สูงถึง 131.54%

สัญญาณอีกอย่างที่ตัว บลจ. กำลังนำออกมาบริการใหลูกค้า ถือว่าเป็นคลื่นลูกใหม่ คือ การซื้อหน่วยลงทุนผ่านเทเลโฟนแบงกิ้ง, เอทีเอ็มและอินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ตามขณะนี้นักลงทุนให้ความสนใจเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้น้อยมาก ส่วนแนวโน้มอย่างหนึ่งที่จะสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน และเสริมสร้างจรรยาบรรณให้พนักงานขายหน่วยลงทุน คือ ก.ล.ต. จะบังคับให้มีใบอนุญาตในการทำงาน ซึ่งข้อกำหนดนี้คาดว่าจะเริ่มใช้ไม่เกิน ปี 2543 อีกทั้งมีความเป็นไปได้ที่ธุรกิจ จัดการกองทุนอาจรวมการบริหารกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคลไว้ด้วยกันและอยู่ภายใต้การดูแลของ ก.ล.ต. คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อ บลจ. ในแง่การขยายธุรกิจเนื่องจากธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยังมีขนาดเล็กอยู่ ดังนั้น บลจ.จะได้เข้ามาแข่งขันกับแบงก์พาณิชย์และไฟแนนซ์ในธุรกิจนี้ได้

แม้ว่าในขณะนี้ภาพรวมของอุตสาหกรรม บลจ. ยังอยู่ในมุมมืด แต่ในอนาคตจะเห็นการกลับมาของธุรกิจนี้อย่างแน่นอนแต่จะเร็วแค่ไหนคนในวงการไม่กล้าฟันธง แต่ที่แน่ๆ การกลับมาครั้งใหม่นี้หน้าตาของ บลจ. จะไม่เหมือนเดิม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us