Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2542
เปรมชัยวันนี้ ต้องอึดลูกเดียว             
 

   
related stories

"The Last Paper" ของหมอชัยยุทธ กรรณสูต ผู้ก่อตั้งบริษัทอิตาเลียนไทย

   
search resources

อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์, บมจ.
เปรมชัย กรรณสูต




ย้อนเวลาไปประมาณ 40 กว่าปี จากการปูพื้นลงฐานรากที่แข็งแกร่ง ของหมอชัยยุทธผู้ก่อตั้งบริษัทร่วมกับ MR.Giorgio Berlingieri ชาวอิ-ตาเลียน ด้วยทุนจดทะเบียน เริ่มแรกเพียง 2 ล้านบาทเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2501 มีพนักงานเพียงไม่กี่ร้อยคน ระยะเวลาผ่านไปประมาณ 40 ปี บริษัท ได้เติบใหญ่สูงขึ้นอย่างมั่นคงจนปัจจุบันบริษัทมีเงินทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 2,500 ล้านบาท มีทรัพย์สินรวมประมาณ 35,412 ล้านบาท(ตัวเลขเมื่อสิงหาคม 2541) มีวิศวกรเกือบพันคน รวมทั้งพนักงานอีก 28,000 กว่าชีวิต ไม่รวมผู้รับเหมารายย่อยอีกจำนวนมาก

หมอชัยยุทธเป็นสิงห์เฒ่าในวงการก่อสร้าง ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่ามีเขี้ยวเล็บอันแหลมคม มีประวัติของการสร้างคอนเน็กชั่นในการเข้าล็อบบี้ ประมูลงานโครงการใหญ่ๆ อย่างน่าศึกษา ความเป็นสิงห์เขี้ยวตันของเขาเป็นที่พูดถึงกันในวงการตลอดมา

ไม่น่าเชื่อว่าอีกด้านหนึ่งของชีวิต หมอชัยยุทธกลับไม่ได้ชอบกลเกมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวงจรชีวิตช่วงนั้นของเขาเท่าไหร่นัก ทุกอย่างเป็นงานและภาระที่เขาต้องรับผิดชอบ เกือบ 10 ปีที่เขาทิ้งงานไป ก็แทบจะเรียกได้ว่าทิ้งไปเลยโดยไม่ได้ยึดติดอยู่กับอำนาจและการบริหารใดๆ อีก ปล่อย ภาระทั้งหมดให้ตกบนหลังของเปรมชัยทั้งสิ้น หมอชัยยุทธเล่าว่าเขายังรับตำแหน่งเป็นประธานแต่ก็เหมือนพระประธานในโบสถ์ ปีหนึ่งๆ จะอ่านเพียงรายงานย่อๆ ของบริษัทเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

จนกระทั่งวันนี้

"ช่วงที่เกิดวิกฤตินี้ เวลากลับกรุงเทพฯ ก็ต้องไปช่วยกัน เพราะวิกฤตินี้ใครลงทุนมากก็เจ็บตัวมาก ค่อยๆ เจรจาไป ต้องไปพิสูจน์ให้เขาเห็นว่าเราจะใช้หนี้เขาได้ ให้เขาผ่อนปรนดอกเบี้ยให้ ก็ตกลงกันได้ ฝรั่ง เขาชอบพูดกับคนแก่ เพราะคล้ายๆ กับเขาเชื่อถือว่าโกหกน้อยหน่อย แต่..ผมไม่พูดโกหกหรอก" หมอชัยยุทธ กล่าวอย่างอารมณ์ดี

ชีวิตส่วนใหญ่ในช่วงบั้นปลายของหมอชัยุทธนั้นได้ทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับการทำสวนองุ่น ท่ามกลางขุนเขาและสายลมอ่อนเย็นทั้งปีที่อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย อาชีพการเกษตรเป็นสิ่งที่หมอชัยยุทธรัก และเป็นความฝันตั้งแต่รุ่นหนุ่ม โดยเคยตั้งความหวังไว้ว่าจะไปเรียนเกษตรที่แม่โจ้ด้วยซ้ำไป

เกือบ 51 ปีความฝันของหมอชัยยุทธก็เป็นจริง เมื่อรีไทร์ตัวเองจากการทำงานในกลุ่มอิตัลไทย เขาได้ไปกว้านซื้อที่ดินจำนวน 2,500 ไร่ จากชาวบ้านในอำเภอภูเรือ ซึ่งเดิมเป็นที่ที่ชาวบ้านใช้ปลูกเป็นไร่ข้าวโพด และได้ลงมือปลูกองุ่นไปแล้วเป็นจำนวน 600 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ปลูกองุ่นสำหรับทำไวน์ 480 ไร่ และพื้นที่ปลูกองุ่นรับประทานสด 120 ไร่ ซึ่งหากปลูกเต็มพื้นที่ตามโครงการจะต้องมีพื้นที่ปลูกองุ่นทำไวน์ไม่น้อยกว่า 6,000 ไร่ ในจำนวนนี้หมอชัยยุทธตั้งใจจะปลูกเองเพียง 2,500 ไร่ ส่วนอีก 3,500 ไร่จะร่วมมือกับเกษตรกรในท้องถิ่นให้ปลูกในระบบสหกรณ์ โดยจะช่วยเหลือกิ่งองุ่นพันธุ์ดี ในด้านวิชาการ และการประกันราคาขั้นต่ำของ องุ่นให้

ส่วนสาเหตุที่เลือกอำเภอภูเรือนั้น เพราะเป็นที่ราบสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ +600 ถึง +800 เมตร มีภูมิประเทศและอุณหภูมิในหน้าหนาวคล้ายกับภาคใต้ของฝรั่งเศส และเมื่อปี 2535 สมัยอานันท์ ปันยาร-ชุนเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศให้ผู้สนใจลงทุนสร้างโรงงานทำไวน์ยื่นขออนุมัติ หมอชัยยุทธก็เลยยื่นเรื่องขออนุญาตผลิตไวน์จำหน่ายในประเทศ และนอกประเทศภายใต้ชื่อบริษัท ซี.พี.เค. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

จากนั้นประมาณปี 2538 ไวน์ไทย "ชาโต้ เดอ เลย" ผลผลิตจากสวนองุ่นแห่งนี้ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น ปัจจุบันสามารถผลิตไวน์แดงได้ประมาณ ปีละหมื่นกว่าขวด ส่วนไวน์ขาวปีละประมาณ 1 แสนขวด ราคาในเมืองไทยไวน์แดงขวดละประมาณ 500 บาท ส่วนไวน์ขาวขวดละ 250 บาท ซึ่งปรากฏว่าไวน์แดงเป็นที่ถูกคอของคนไทยมากกว่า ส่วนไวน์ขาวกำลังมองหาตลาดในต่างประเทศ

สวนองุ่นแห่งนี้ยังมีองุ่นแดงไม่มีเมล็ด สนนราคากิโลละประมาณ 245 บาทไว้คอยจำหน่ายด้วย หรือจะสั่งซื้อได้จากร้านบุษบาบรรณ ในซอยศูนย์วิจัยที่กรุงเทพฯ ก็ได้

จะว่าไปแล้วธุรกิจอันเป็นรักแรกของหมอชัยยุทธวันนี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะทำง่ายๆ แล้วเหมือนกัน นอกจากการปลูกองุ่นซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องคอยดูแลเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้เกิดโรคต่างๆ แล้ว ปริมาณน้ำฝนก็เป็นเรื่องที่ต้องคอยระวัง ปีไหนตกมากก็จะมีผลต่อผลผลิตทันทีเช่นกัน และที่สำคัญต้องแข่งขันกับตลาดในต่างประเทศ และเมื่อไหร่มีการเปิดเสรีเหล้าขึ้น ตลาดไวน์ของชาโต้ เดอ เลย ก็จะเจอคู่แข่งจากคนไทยด้วยกันอีก เช่นไวน์จากค่ายบุญรอด และ "ชาโต้ เดอ ชาละวัน" ของ พล.ต สนั่น ขจรประศาสน์ ที่กำลังปลูกองุ่นแดงไว้เต็มไร่เหมือนกัน

"ธุรกิจของกลุ่มอิตัลไทยเป็นสิ่งที่ผมเตรียมเอาไว้ให้ลูกๆ ส่วนธุรกิจไวน์ ผมทำไว้ให้หลานๆ ทั้งหมด 12 คน" อดีตผู้ยิ่งใหญ่ของกลุ่มอิตัลไทยกล่าวทิ้งท้าย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us