Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2542
จุดเปลี่ยนโค้ง CRA หลังเกิดวิกฤติในเอเชีย             
 


   
search resources

Cradit Rating Agency - CRA
วรภัทร โตธนะเกษม




นับแต่เกิดวิกฤติสถาบันการเงิน ในประเทศไทยและลุกลามออกไปจนกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจ และยังระบาดไปประเทศข้างเคียงในภูมิภาคนี้ด้วยนั้น มีผู้ตั้งข้อสังเกต กันมากว่าบทบาทของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือหรือ Credit Rating Agency (CRA) ที่คอยประกาศลดอันดับความน่าเชื่อของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ลงจนเป็น เหตุให้เกิดความไม่มั่นใจของนักลงทุนทั้งหลาย และเกิดการถอนเม็ดเงิน ลงทุนออกจากภูมิภาคนี้ ซึ่งเป็น การกระหน่ำซ้ำเติมให้ภาวะวิกฤติต่างๆ ยิ่งเลวร้ายลงไปอีกนั้น บทบาทของสถาบันเหล่านี้สมควรมีการทบทวนพิจารณาใหม่ หรือไม่

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีของมาเลเซียเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมากที่สุดที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสถาบันเหล่านี้ เพราะก่อนหน้าที่รัฐบาลมาเลเซียจะออกไปโรดโชว์เพื่อกู้เงินในตลาดต่างประเทศจำนวน 3,000-4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพียง 2 วันเท่านั้น ปรากฏว่าสถาบันจัดอันดับฯ ประกาศลดอันดับเครดิตประเทศของมาเลเซีย ทำให้รัฐบาลต้องยกเลิกแผนการกู้เงิน เพราะตลาดปิดสนิทสำหรับมาเลเซีย นายกรัฐมนตรีมหาเธร์ถึงกับกล่าวโจมตีสถาบันฯเหล่านี้ว่า "รวมหัวกันทำร้ายมาเลเซีย"

แน่นอนว่าจะต้องมีการทบทวนบทบาทของสถาบันฯเหล่านี้ ดร.วรภัทร โตธนะเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเรทติ้งอินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด หรือ ทริส เปิดเผย ว่า "ธุรกิจเรทติ้งกำลังถึงจุดเปลี่ยนแปลงสำคัญในปีนี้"

ธุรกิจนี้มีอายุเป็นร้อยๆ ปีแล้ว แต่ปรากฏว่าใน 2 ปีที่ผ่านมานี้เกิดกระแสครหา CRA ใหญ่ๆ ของโลกว่าเป็น สาเหตุหลักอันหนึ่งที่ทำให้เกิดวิกฤติการณ์ในเอเชียและโลก ทั้งนี้ CRA เหล่านี้ทำการลดอันดับความน่าเชื่อถือหรือ downgrade ประเทศเหล่านี้ ทั้งช้าและเร็วเกินไป

ดร.วรภัทรอธิบายว่า "เมื่อประเทศเหล่านี้ถูก down grade ทั้งที่ยังไม่ทำอะไรผิดพลาด เพียงเริ่มมีอาการส่อเค้าเท่านั้น ซึ่งเขาอาจจะตั้งหลักได้ ก็โดนลดอันดับฯ ทำ ให้ต้นทุนทางการเงินแพงขึ้นมาทันที ความเชื่อมั่นของนักลงทุนหายไปทันที และมีการถอนเงินออกไป ดังนั้นแทนที่จะเป็นผลดี กลับยิ่งดิ่งเลวลงไป" ดังนั้นการที่บอกว่าลดอันดับฯ นั้นถือเป็นสัญญาณ แต่ปฏิกิริยาของนักลงทุนจะออกมาในลักษณะ over re-act นักลงทุนถอยหมด จึงเกิดภาวะที่เลวร้ายขึ้นมาจริงๆ "เพราะคนเชื่อสัญญาณ และ over re-act"

อีกอย่างคือการลดอันดับฯ ช้าเกินไป เหตุการณ์ได้ผ่านไปแล้ว และประเทศนั้นอาจจะพอตั้งตัวได้แล้ว แต่ CRA เพิ่งจะประกาศ ซึ่งคราใดที่บริษัทเหล่านี้ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือลง ตลาดจะขานรับในทางลบทุกครั้งไป ทำให้ประเทศเหล่านี้มีสถานะย่ำแย่ลง

ดังนั้นในการประชุมประเทศสมาชิกกลุ่ม APEC เมื่อปีที่แล้ว ได้มีมติในเรื่องนี้ออกมาในระดับรัฐบาล ซึ่งดร.วรภัทรเปิดเผยว่า " CRA ทั่วโลกต้องทบทวนบทบาทและ วิธีการของตัวเอง ว่าวิธีการจัดอันดับ การประเมินการประกาศ เหล่านี้ ยังใช้ได้อยู่หรือไม่กับสังคมโลกในปัจจุบันนี้ เพราะดูเหมือนมีส่วนอาจจะมากด้วย ในการทำให้วิกฤตเลว ร้ายมากยิ่งขึ้น"

ทั้งนี้ TRIS ก็ได้รับหนังสือเชิญให้เข้าร่วมประชุมที่จัดโดย Asian Development Bank หรือ ADB ที่กรุง มะนิลาในวันที่ 8-9 ก.พ. การประชุมครั้งนี้ชื่อ APEC Con sultative Group Workshop on the Credit Rating Industry in APEC Economies จะมีตัวแทนของ CRA ทั่วโลกและเจ้าหน้าที่รัฐบาล เพื่อมาทบทวนตรวจอุตสาหกรรมการจัดอันดับความน่าเชื่อถือกันในทุกแง่มุม

ตัวดร.วรภัทรได้รับเชิญเป็น speaker ในหัวข้อ Role of Sovereign ratings in Developing Capital Markets

ด้านการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยนั้น ทั้ง S&P"s และ Moody"s ซึ่งต่างเป็นสถาบันจัดอันดับฯรายใหญ่ในตลาดโลก เริ่มเข้ามาจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1989 สำหรับ S&P"s นั้นจัดอันดับเครดิตของไทยไว้โดยเริ่มด้วยอันดับ AA สำหรับ ตราสารระยะสั้น(มีอายุไม่เกิน 1 ปี/Short term) และระดับ A สำหรับตราสารระยะยาว (มีอายุตั้งแต่ 1-5 ปี/Long Term)

S&P"s ให้ความน่าเชื่อถือในตราสารระยะสั้นไว้ที่ระดับดังกล่าวเป็นเวลายาวนานถึง 8-9 ปีจนถึงเดือน ต.ค. 1997 คือหลังเกิดวิกฤติการณ์ลอยตัวค่าเงินบาท S&P"s จึง
ได้ downgrade ความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะสั้นลง จนกระทั่งมาอยู่ในอันดับ A-2 ซึ่งถือว่ามีความน่าลงทุนค่อนข้างต่ำ (เมื่อ 9 ม.ค. 1998)

ส่วนตราสารหนี้ระยะยาวนั้นก็ได้ความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับ A- เป็นเวลายาวนาน จนมาในเดือนธ.ค.ปี 1994 มีการ upgrade ด้วยซ้ำเป็น A ซึ่งก็ค่อนข้างสูง และยืนอยู่หลายปีจนมาเจอวิกฤติเรื่องค่าเงินในปี 1997 จึงเริ่มถูกลดอันดับลงมาเป็นระยะๆ อันดับล่าสุดตอนนี้คือ BBB- (เมื่อ 9 ม.ค. 1998) ซึ่งถือเป็นอันดับที่ต่ำสุดของความน่าลงทุน หากหลุดจากตรงนี้ไปก็เป็นระดับ junk bond แล้ว

ด้าน Moody"s จะมีลักษณะการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ aggressive กว่า S&P"s โดย Moody"s ให้อันดับตราสารหนี้ระยะยาวที่ A2 และตราสารหนี้ระยะสั้นที่ Aaa แต่มาในเดือนก.ย. 1996 Moody"s ก็เริ่มลดอันดับความน่าเชื่อถือในตราสารหนี้ระยะสั้นลงเป็นรายแรก และในเดือนเม.ย. 1997 ก็ลดอันดับลงอีก และเมื่อไทยประกาศลดค่าเงิน Moo-dy"s ก็ลดอันดับตราสารหนี้ระยะสั้นของไทยลงไปอยู่ที่อันดับ B และดิ่ง ลงไปเรื่อยๆ จนตอนนี้(9 ม.ค. 1998) อยู่ในอันดับ Baa1 ซึ่งถือเป็นตราสาร Junk bond เป็น Speculative grade มีความเสี่ยงสูง (ดูตารางอันดับเครดิตประเทศต่างๆ ณ 31 ธ.ค. 2541)

ในแต่ละครั้งที่มีการลดอันดับ ความน่าเชื่อถือของประเทศนั้น ก็มีผลกระทบอย่างมากต่อต้นทุนทางการเงินของธุรกิจต่างๆ (ดูตารางต้นทุนทางการเงิน) ซึ่งจะเห็นว่า spread ที่บวกเพิ่มจากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร สหรัฐฯ นั้นสูงสุดถึง 8.7%-6.4% ในช่วงปลายปี 2541 นอกจากนี้ก็มีผลกระทบในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนด้วย แม้จะไม่ชัดเจนมากก็ตาม (ดูตาราง อัตราแลกเปลี่ยน)

อย่างไรก็ดี ในช่วงกลางเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ประเทศเกาหลีใต้ก็มีข่าวดีในเรื่องของการจัดอันดับความน่าเชื่อถือคือได้รับการเปลี่ยน outlook จากมีเสถียรภาพ(stable) มาเป็นบวก (positive) แต่ระดับความน่าเชื่อถือยังอยู่ที่เดิมคือ BB+ (S&P"s) และ Ba1(Moody"s) ซึ่งทำให้เกิดคำถามตามมาว่าและประเทศ ไทยจะได้รับการปรับปรุงอันดับความ น่าเชื่อถือบ้างหรือไม่

หากมองย้อนดูว่าเหตุผลที่ไทยถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P"s อ้างว่าเพราะไทยเกิดวิกฤติ การณ์การเงินที่เลวร้ายลงไปเรื่อยๆ มีความกดดันอย่างมากในเรื่องการปรับโครงสร้างการเงินของประเทศและด้านดุลการชำระเงินของประเทศ

ส่วน Moody"s มองว่าประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือและพื้นฐานทางการเงินที่เลวร้ายลงเรื่อยๆ มีปัญหาทางการเมืองที่อาจเป็นข้อจำกัดในการสร้างเสถียรภาพตามแนวทางของไอเอ็มเอฟ

เหตุผลเหล่านี้เป็นเหตุให้ 2 สำนัก CRA ลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยลง ครั้นในช่วงกลางปีที่แล้ว S&P"s มองว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ทั้งระบบจะเท่ากับ 35% ในกลางปี 2542 และสถาบันการเงินทั้งระบบต้องเพิ่มทุนจำนวน 20,000 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ ซึ่งในเวลาต่อมาสถาบันฯแห่งนี้ก็มองว่า NPL จะเพิ่ม
เป็น 40% และภาคการเงินมีการระดมทุนคืบหน้าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้มาก

นั่นเท่ากับความกังวลหลักของ S&P"s ยังอยู่ในเรื่องการแก้ปัญหาในสถาบันการเงิน ซึ่งหาก S&P"s จะปรับ อันดับหรือ outlook ของประเทศไทย ก็ต้องมาดูว่าความ กังวลในประเด็นนี้ได้คลี่คลายออกไปมากน้อยเพียงใด

ปรากฏว่าทางการมีการแถลงออกมาว่า NPL ของระบบทั้งหมดตอนนี้อยู่ในระดับ 40%-42% คิดเป็นมูลค่า 2.2 ล้านล้านบาท โดยมีหนี้ที่อยู่ในกระบวนการปรับโครงสร้างประมาณ 5.7 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 25% ของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และหนี้ที่ปรับโครงสร้างสำเร็จแล้วมี 3.7 หมื่นล้านบาทซึ่งคิดเป็นสัดส่วนน้อยมากของหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้าง นั่นเท่ากับว่าความคืบหน้าในเรื่องนี้มีน้อยมาก

ด้านการเพิ่มทุนสถาบันการเงินก็อาจจะมีความคืบหน้าบ้างเล็กน้อย ส่วนเรื่องกฎหมายสำคัญทางเศรษฐกิจอาจมีผลต่อการปรับอันดับความน่าเชื่อถือไม่มากพอ เมื่อเทียบกับกลุ่มนักลงทุนที่ต้องการเข้ามาซื้อธุรกิจ เพราะต้องพึ่งพากฎหมายเหล่านี้มากกว่า

ในที่สุดดร.วรภัทรสรุปในเรื่องนี้ว่า "มันก็ผ่านมา 1 ปีแล้วสำหรับ S&P"s และ Moody"s ในการที่จะเริ่มปรับการจัดอันดับความน่าเชื่อของไทย ซึ่งปัจจัยที่จะดูนั้นก็มีหลายตัว บางตัวก็ดูดีขึ้น บางตัวก็อาจต้องใช้เวลารอดูอีกสักหน่อย"

แต่หากไม่มีอะไรเลวร้ายลงไปกว่านี้ "มันก็น่าจะมีเหตุผลได้พอสมควรที่เขาจะพิจารณาว่าจะมีการทำอะไรกับเรทติ้งของเราหรือเปล่า ซึ่งมันก็มี 2 ระดับที่เขาจะทำได้คือ ปรับเรทติ้งขึ้นไปเลย หรือปรับ outlook ที่วันนี้ยังเป็น negative อยู่"

ก็ต้องรอดูใจของ CRA เหล่านี้ อย่างน้อยก็ในช่วง 3-4 เดือนข้างหน้า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us