Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2542
Credit Bureau กับดักนักเบี้ยวหนี้             
 


   
search resources

ศูนย์ข้อมูลเครดิต (Credit Bureau)




เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาคำว่า ศูนย์ข้อมูลเครดิต หรือ Credit Bureau ที่ทางการต้องการให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อลูกค้าและสถาบันการเงินที่ต้องการตรวจสอบข้อมูลในด้านต่างๆ โดยเฉพาะธุรกรรมด้านสินเชื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งช่วยลดความเสี่ยงอันจะเกิดขึ้นกับระบบสถาบันการเงินไทยได้ถูกเอ่ยขึ้นมาอยู่ทุกยุคทุกสมัย แต่การจัดตั้ง Credit Bureau ก็ได้แค่ "เกือบ" เท่านั้น

เมื่อเกิดความล่มสลายทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ คำว่า Credit Bureau ก็ได้เป็น หัวข้อหนึ่งที่หยิบขึ้นมาถกอีกครั้ง โดยรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลัง ธารินทร์ นิมมาน-เหมินท์ ได้นำเข้าไปไว้ในหนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการ ฉบับที่ 6 ที่มีต่อกองทุนการเงินระหว่าง ประเทศ (IMF) กำหนดให้มีการจัดตั้ง Credit Bureau เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง เจ้าหนี้ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน (บง.) เจ้าหนี้การค้าและสาขาธนาคารต่างประเทศ ที่สำคัญต้องการเห็นระบบสถาบันการเงินไทยเป็นระบบสากลมากขึ้น

"เท่าที่ตกลงกับ IMF ไว้ เราจะพยายามทำให้ Credit Bureau เกิดขึ้นให้เร็วที่สุด ตอนนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้การอนุมัติในหลักการแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ในการนี้จะต้องมีการออกกฎหมายการจัดตั้ง Credit Bureau เพื่อรองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเจ้าหนี้ ซึ่งในเจตจำนงนโยบายการพัฒนาของธนาคาร โลก (world bank) กำหนดไว้ว่าร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจบริการข้อมูลเครดิตต้องเสนอ ครม. ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2542 และภายในวันที่ 30 กันยายน 2542 Credit Bureau จะต้องเริ่มดำเนินการ" เกียรติชัย โสภาเสถียรพงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าว

ขณะนี้สถาบันการเงินด้วยความร่วมมือของสมาคมธนาคารไทย กำลังพิจารณาจัดตั้ง Credit Bureau ซึ่งมีแนวทางว่าจะมีเงินลงทุนไม่เกิน 100 ล้านบาท โดยในระยะสั้นยังไม่ลงทุนในด้าน software เอง หากแต่จะนำมาจากบริษัทที่มีความชำนาญด้านเทคโนโลยีการประมวล ผลข้อมูลเพื่อทำหน้าที่ไปก่อน และในระยะเริ่มต้นจะมีข้อมูลเฉพาะ consumer credit ก่อน จึงขยายไปใน corporate ต่อไป

"หมายความว่าหลังจากแบงก์ชาติจัดตั้ง Credit Bureau แล้วภายใน 1 เดือน หากไม่มีผู้ใดขอเข้ามาจัดตั้ง แบงก์ชาติจะลงทุนเองหลังจากนั้นก็จะขายออกให้ภาคเอกชนภายใน 2 ปี ซึ่งในต่างประเทศ Credit Bureau เป็นของภาคเอกชน และสาเหตุที่องค์กรนี้เกิดขึ้นยาก เนื่องจากสถาบันการเงินจะต้องนำข้อมูลที่ตัวเองมาแชร์กันและถ้าเขามีความรู้สึกระดับหนึ่งว่า ตัวเองมีข้อมูลมากจะเกิดการเสียเปรียบเมื่อนำมาแชร์กับสถาบันการเงินที่มีข้อมูลน้อยกว่า อีกทั้งยังมองว่าสถาบันการเงินรายใหม่จะได้ผลประโยชน์จากการเข้ามาใช้ข้อมูลตรงนี้" เกียรติชัย กล่าว

ข้อมูลที่ว่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับลูกค้าหรือผู้มาขอสินเชื่อ โดย Credit Bureau จะเป็นตัวกลางในการรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ "ดังนั้นต่อไปนี้ถ้าสถาบันการเงินไหนต้องการตรวจสอบข้อมูล ก่อนการปล่อยสินเชื่อหรือเข้ามาใช้บริการอาจจะต้องเสียค่าบริการเป็นรายปี หรือใช้ข้อมูลจำนวนกี่ครั้งก็จ่ายตามการใช้บริการ แต่ว่า Credit Bureau ไม่ใช่บริษัทตั้งขึ้นเพื่อทำกำไร ดังนั้นต้องมีการคำนวณค่าใช้จ่ายในการใช้ข้อมูล และในระยะแรกๆ ต้องเป็นสมาชิกถึงจะเข้ามาใช้บริการได้"

แม้ว่าในช่วงแรกๆ สถาบันการเงินต่างๆ ยังมองเป็นเรื่องการได้เปรียบเสียเปรียบอยู่ แต่เกียรติชัย แนะทางออกให้อย่างง่ายๆ ว่าสถาบันการเงินแห่งไหนมีข้อมูลมากก็มีสิทธิที่จะเข้ามาใช้บริการได้มากกว่าสถาบันการเงินที่มีข้อมูลน้อย "นี่คือกติกาที่เรากำหนดในช่วงระยะสั้นๆ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการใช้ Credit Bureau"

ที่ผ่านมาหลายฝ่ายมองว่าการที่ประเทศไทยมีหนี้เสียหรือ NPL พอกพูนมากขึ้นทุกวันๆ คือ ไม่มี Credit Bureau ไม่มีการแชร์ข้อมูลกันต่างคนต่างหวงข้อมูลและไม่เคยคุยกัน ซึ่งตามกฎหมายก็ห้ามคุยกันอยู่แล้ว ดังนั้นสถาบันการเงินแต่ละแห่งจะไม่มีทางรู้เลยว่าลูกหนี้ตนเอง มีหนี้เสียที่สถาบันการเงินอื่นหรือไม่ แต่ถ้ามี Credit Bureau จะเป็นการป้องกันเรื่องหนี้เสียได้ "เพราะถ้าลูกหนี้มีหนี้เสียขึ้นมา ถือว่าเครดิตได้หมดไปแล้ว"

อย่างไรก็ตามขณะนี้มีระบบข้อมูลลูกหนี้ที่ทำหน้าที่คล้ายกับ Credit Bureau คือ ศูนย์ทะเบียนเครดิตกลาง ที่มี ธปท. เป็นผู้ดำเนินการโดยไม่คิดค่าบริการข้อมูลจะเป็นลักษณะ positive list เฉพาะลูกค้ารายละ 5 ล้านบาท ขึ้นไป ข้อมูลเหล่านี้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง บง. บางส่วนเป็นผู้ส่งข้อมูลให้ แต่ไม่มีธนาคารต่างประเทศและไม่แสดงยอดค้างชำระหรือยอดจัดชั้นเจ้าหนี้ ส่วนทางภาคเอกชนก็มีศูนย์ลูกหนี้เครดิตการ์ดและศูนย์ลูกหนี้เช่าซื้อ มีบริษัทพีซีซี ที่มีธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกร-ไทย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เป็นผู้ดำเนิน การโดยคิดค่าบริการเป็นรายครั้ง ข้อมูลจะเป็น negative list ที่สมาชิกรายงานโดยครอบคลุมลูกค้าทุกราย แต่ดูเหมือนว่าการดำเนินการไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร "เพราะถ้ามัน work ปัญหาหนี้เสียคงไม่มากมายขนาดนี้ อีกทั้งเรื่องวัฒนธรรมคนไทยที่ไม่อยากให้คนอื่นรู้ข้อมูลของตัวเองเพราะกลัวจะเสียเปรียบ ที่สำคัญการทำธุรกรรมระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้จะมีเรื่อง connection เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย"

อีกทั้งการดำเนินการของศูนย์ เครดิตกลาง ศูนย์ลูกหนี้เครดิตการ์ดและศูนย์ลูกหนี้เช่าซื้อ ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง จึงมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและอาญา เพียงแต่ในขณะนี้ยังไม่มีข้อโต้แย้งจากลูกค้าผู้เสียประโยชน์เท่านั้น ดังนั้นการจัดตั้ง Credit Bureau จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับ เพราะการประกอบธุรกิจบริการข้อมูลเครดิตเกี่ยวข้องกับการจำกัดสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียงหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล

โดยภาพรวมแล้วถ้ามี Credit Bureau ความโปร่งใสของระบบสถาบันการเงินไทยจะมีมากขึ้นและ หนี้ที่กำลังจะเสียจะลดน้อยลงด้วย "ปัญหาของมันอีกอย่าง คือ การปรับโครงสร้างหนี้ เรามีลูกค้ากลุ่มหนึ่งที่มีฐานะการเงินดี ธุรกิจยังเดินต่อไปได้แต่ไม่ยอมชำระหนี้และลูกค้ากลุ่มนี้ก็ไปมีดอกเบี้ยเงินต้นค้างอยู่กับสถาบันการเงินหลายๆ แห่ง ขณะที่ตัวเองเดินบัญชีดีมากกับสถาบันการเงินอีกแห่ง หรือบางรายมีเงินฝากที่สถาบันการเงินแห่งอื่นด้วย ขณะเดียวกันอาจผิดการชำระหนี้ไปหมด แต่ถ้ามี Credit Bureau จะไม่มีการหลอกลวงกันอีกต่อไป ซึ่งในระยะยาวจะเป็นการสร้างวัฒนธรรมให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตรงตามเวลา เพราะถ้าเครดิตเสียที่หนึ่งก็ไม่สามารถกู้ที่อื่นได้เลย คือ เป็นคนดีมากขึ้น" เกียรติชัย กล่าว

เขายังกล่าวถึงประโยชน์ของการมี Credit Bureau ว่าอัตราดอกเบี้ยการปล่อยกู้น่าจะลดต่ำลงสำหรับลูกค้าที่มีเครดิตดี "เพราะว่าต้นทุนในการทำหน้าที่เป็นสถาบันการเงินขณะนี้สูงมาก เนื่องจากมีหนี้เสียมาก ทำให้ต้องตั้งสำรองสูงขึ้นตามไปด้วย แต่เมื่อเกิด Credit Bureau หนี้เสียลดลงการตั้งสำรอง จะลดตาม ความสามารถของสถาบัน การเงินต่างๆ ที่จะลดดอกเบี้ยให้ลูกค้าก็จะเกิดขึ้นทันที ซึ่งเป็นผลทางอ้อมของการมีองค์กรนี้"

อย่างไรก็ตาม Credit Bureau ที่กำลังจะเกิดขึ้นในไทยถ้า เปรียบเทียบกับ Credit Bureau ในต่างประเทศจะมีความแตกต่างกัน เพราะในต่างประเทศหน้าที่ขององค์กรนี้ใช้สำหรับลูกค้าที่เป็นรายย่อย เช่น ข้อมูลลูกค้าบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล เนื่องจากต้นทุนในการวิเคราะห์สินเชื่อในต่างประเทศสูงมาก ดังนั้น Credit Bureau คือศูนย์ข้อมูลที่ถือว่ามีประสิทธิภาพที่สุด แต่ในไทยกลับตรงกันข้ามเพราะ Credit Bureau จะมาใช้กับลูกค้ารายใหญ่ เนื่องจากลูกค้ารายย่อยมีขอบเขตจำกัดในการใช้บริการกับสถาบันการเงิน

"ที่เราเจอปัญหาตอนนี้เป็นลูกค้ารายใหญ่เพราะมีอำนาจการต่อรองสูงที่ไปขอกู้กับสถาบันการเงินหลายๆ แห่ง เมื่อมีความเสียหายขึ้นมาขนาดของมันก็จะใหญ่ด้วย ตรงข้ามกับต่างประเทศเพราะลูกค้ารายใหญ่สถาบันการเงินจะต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์นานซึ่งไม่คุ้มกับวงเงินขั้นต่ำ" เกียรติชัย กล่าว

นอกเหนือจาก Credit Bureau ที่ ธปท. ต้อง การให้เกิดขึ้นมาแล้ว ทางธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ก็มีแนวความคิดที่จะก่อตั้ง Credit Bureau ของตัวเองขึ้นโดยมีธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารศรีนคร และธนาคารนครหลวงไทยร่วมกันจัดตั้ง และมีกระทรวงการคลังเป็น organizer นโยบายดังกล่าวมาจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ขณะนี้ได้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาออกมาเพื่อออกกฎกระทรวงรองรับการจัดตั้ง แต่ Credit Bureau แห่งนี้จะจำกัดข้อมูลเฉพาะด้านสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น "และประเทศหนึ่งสามารถมี Credit Bureau มากกว่าหนึ่งแห่งก็ได้" เกียรติชัย กล่าว

คงจะต้องจับตากันต่อไปว่าแนวความคิดการจัดตั้งองค์กร เพื่อสร้างความสะอาดให้กับระบบสถาบันการเงินไทยอย่าง Credit Bureau จะสามารถดำเนินได้ในระยะเวลาตามที่กำหนดได้หรือไม่ เพราะแนวความคิดการทำงานของคนไทยที่ยังต้องการรักษาวัฒนธรรมการบริหารแบบเดิมๆ เอาไว้ยังมีอยู่อีกมาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us