Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2542
"ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์" คีย์แมนผู้สรรหาพันธมิตรให้แก่ล็อกซเล่ย์             
 


   
search resources

ล็อกซเล่ย์, บมจ.
ชิงชัย หาญเจนลักษณ์




หลังจากใช้ชีวิตอยู่ต่างแดนนาน กว่า 20 ปี ในที่สุดดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ได้กลับมาใช้ชีวิตใกล้เกษียณต่อที่เมืองไทย โดยเข้าร่วมงานกันบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) เป็นเวลาร่วม 2 ปีแล้ว ในตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการรับ ผิดชอบงานฝ่ายต่างประเทศ

"ผมเข้ามาทำงานที่นี่เพราะผมชอบนโยบายและวัฒนธรรมของที่นี่ ผมคิดอยากจะสร้างฐานที่มั่นคงให้แก่ล็อกซเล่ย์ก่อนที่ผมจะเกษียณ ซึ่ง ยังมีเวลาอีก 3 ปีที่ต้องพยายามและเร่งมืออย่างเต็มที่" ดร.ชิงชัยกล่าวอย่างมุ่งมั่นที่จะต้องทำอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันให้แก่ล็อกซเล่ย์ให้ได้ เพื่อจะได้เกษียณไปอย่างมีความสุข และสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดที่ดร.ชิงชัยจะทำได้ก็คือ การสรรหาและดึงพันธมิตรจากต่างชาติเข้ามาร่วมทุนกับล็อกซเล่ย์ เนื่องจากเขามีประสบการณ์และมีสายสัมพันธ์อันดีกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกับรัฐบาลแคนาดา

นอกจากนั้นเขายังมีแผนที่จะสร้างความมั่นคงในเรื่องของการส่งออกให้แก่ล็อกซเล่ย์ด้วย โดยมีเป้าหมายว่า อาจจะขยายแยกออกมาเป็นอีกบริษัทหนึ่งในรูปแบบของบริษัทอินเตอร์เทรด ซึ่งเป็นการค้าระหว่างประเทศ แม้ว่าล็อกซเล่ย์จะเป็นบริษัทเทรดดิ้ง ก็จริง แต่ที่ผ่านมาเน้นการค้าขายในประเทศเท่านั้น ซึ่งจะมีเพียงไม่กี่ปีนี้เองที่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศด้วย อาทิ การนำเอาสินค้าอุปโภคบริโภคเข้าไปขายในประเทศเกาหลีเหนือ ภายใต้การนำร่องของโครงการล็อกซ-แพ็ค ซึ่งเป็นโครงการโทรคมนาคมด้านโทรศัพท์พื้นฐานในเกาหลีเหนือที่ล็อกซเล่ย์ร่วมทุนกับฟินแลนด์ เป็นต้น

"ท่านประธานเคยกล่าวกับผมว่า "ถ้าเราจะปิด เราจะเป็นคนสุดท้ายที่ปิด" ซึ่งผมคิดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะดีขึ้น แต่ต้องใช้เวลา ส่วนการหาผู้ร่วมทุนต่างชาติก็กำลังเจรจาอยู่ประมาณ 2-3 ราย แต่ยังไม่มีผลสรุป" ดร.ชิงชัยกล่าว

จากประสบการณ์การทำงานในองค์การระหว่างประเทศยาวนานถึง 20 ปี เป็นเครื่องหมายยืนยันว่า ล็อกซ-เล่ย์ได้ผู้ร่วมงานคนสำคัญทีเดียวในการเข้ามาช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้แก่บริษัทในยามวิกฤติเช่นนี้

ดร.ชิงชัยจากประเทศไทยไปเมื่อประมาณปี 2519 ซึ่งก่อนหน้านั้นเขารับราชการเป็นหัวหน้ากองการร่วมมือกับประเทศอื่น กรมวิเทศสหการ กระทรวงการต่างประเทศนานถึง 10 ปี และเขาไปเริ่มต้นชีวิตการทำงานที่แคนาดาในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเอเชีย ขององค์การวิจัยเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (IDRC : INTERNATIONAL DEVELOPMENT RESEARCE CENTERX) ซึ่งเป็นองค์การที่รัฐบาลแคนาดาให้เงินจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการวิจัยแก่ประเทศด้อยพัฒนา อยู่ในตำแหน่งนี้ได้ 3 ปี เขาก็ถูกส่งตัวไปเป็นผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ของ องค์การนี้ ณ ประเทศสิงคโปร์ เพื่อดูแลจัดการเงินช่วยเหลือที่จะเข้าไปยังภูมิภาคนี้ โดยต้องเดินทางเข้าไปดูว่าประเทศไหนมีโครงการอะไรน่าให้การสนับสนุนบ้าง พร้อมทั้งตรวจสอบด้วยว่าผู้รับทุนนำเงินที่ได้ไปทำงานวิจัยจริง ซึ่งเขาอยู่ในตำแหน่งนั้นเป็นเวลายาวนานถึง 18 ปี

"ผมภูมิใจว่าในช่วงนั้นผมสามารถดึงเงินสนับสนุนการทำวิจัยเข้ามาได้เยอะ โดยในช่วง 15 ปีนั้น IDRC ได้ให้ทุนวิจัยแก่โครงการในประเทศไทยทั้งสิ้นประมาณ 200 โครงการ คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 600-700 ล้านบาท แต่ตอนนี้ปริมาณโครงการก็ได้ลดลง ไม่ใช่เพราะว่าผมไม่ได้เป็นผู้อำนวยการแล้ว แต่เป็นเพราะว่า เขาเห็นว่าประเทศไทยเจริญขึ้นแล้ว เขาเลยหันไปช่วยประเทศในกลุ่มอินโดจีน เช่น ลาว, เขมร แทน" ดร.ชิงชัยชี้แจง

หลังจากสิ้นวาระที่สิงคโปร์ เขาก็ได้เข้าไปเป็นผู้อำนวยการโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ ของ IDRC ที่เวียดนาม อีกเป็นเวลาประมาณ 2 ปี และหลังจากนี้เองเขาก็เริ่มกลับมาใช้ชีวิตการทำงานในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง

ในระหว่างที่เขามีตำแหน่งหน้าที่การงานในประเทศต่างๆ ดร.ชิงชัยก็ไม่ได้ตัดขาดจากประเทศไทย เขาเคยเข้าร่วมเป็นทีมที่ปรึกษาด้านการบริหารราชการ สมัยนายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ, เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการต่างประเทศของรัฐสภา, เป็นที่ปรึกษาคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ, เป็นกรรมการบริหาร หอการค้าไทย-แคนาดา เป็นต้น

และปัจจุบัน นอกจากดร.ชิงชัยจะนั่งเป็นผู้บริหารคนหนึ่งของล็อกซเล่ย์แล้ว ขณะเดียวกันเขายังมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญในองค์กรเพื่อสังคมอีกหลายแห่ง ได้แก่ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคแม่น้ำโขง (MAEKHONG REGION LAW CENTER) ซึ่งท่านอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ซึ่งองค์กรนี้ทำหน้าที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งด้านกฎหมายให้กับ 4 ประเทศคือ ไทย ลาว เขมร และเวียดนาม, ประธานอนุกรรมการประสานงาน มูลนิธิวิเทศพัฒนา ซึ่งเป็นมูลนิธิ ที่ให้ความช่วยเหลือแก่องค์กรเอ็นจีโอต่างๆ ในการพัฒนาท้องถิ่น และเป็นกรรมการบริหารใน WETV ของแคนาดาด้วย

"ก่อนที่ผมจะมาอยู่ที่ล็อกซเล่ย์ ผมได้ทำความตกลงกับท่านประธานคือ คุณไพโรจน์ ล่ำซำว่า เมื่อผมมาอยู่ที่ล็อกซเล่ย์แล้ว ผมยังอยากทำงานด้านการพัฒนาสังคม ต่อไปด้วย ซึ่งคุณไพโรจน์ก็ยินดี"

สำหรับงานที่มูลนิธิวิเทศพัฒนาที่ ดร.ชิงชัยนั่งเป็นประธานอนุกรรมการประสานงาน เป็นองค์กรที่สนับสนุนเงินให้แก่องค์กรเอ็นจีโอต่างๆ ในการพัฒนาท้องถิ่น รวมทั้งจัดทำโครงการต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ได้แก่ โครงการธรรมาภิบาล (GOOD GOVERNANCE) ซึ่งมีเรื่องแยกย่อยหลายเรื่อง เช่น เรื่อง ELECTION COMMITTION, เรื่องกฎหมายฟอกเงิน และเรื่องการตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น โดยมีเงินทุนส่วนหนึ่งมาจากรัฐบาลแคนาดาเป็นจำนวน 10 ล้านบาท จากรัฐบาลอเมริกาจำนวน 30 ล้านบาท และเงิน สนับสนุนของโครงการธรรมาภิบาลอีก 12 ล้านบาท มูลนิธิจะใช้ดอกเบี้ยจาก เงินทุนเหล่านี้มาสนับสนุนองค์กรเอ็นจีโอต่างๆ

และการทำงานที่มูลนิธิวิเทศพัฒนานี้เองที่กลายมาเป็นตำนานรัก ของคู่ชีวิตคนปัจจุบันคือ คุณหญิงจำนงค์ศรี (รัตนิน) หาญเจนลักษณ์

"ผมเจอคุณหญิงครั้งแรก ตอนที่ไปช่วยงานมูลนิธิของคุณหญิงที่เชียงราย ซึ่งเป็นมูลนิธิป้อง กันเด็กผู้หญิงไม่ให้มาเป็นโสเภณี โดย มีมูลนิธิวิเทศพัฒนาที่ผมทำงานอยู่เป็นผู้สนับสนุนเงินทุน ตอนที่ผมได้คุยกับเธอ ผมรู้สึกว่า เราก็เหมือน จิ๊กซอว์ที่เข้ากันได้ดี และเราต่างก็เป็นม่ายด้วยกันทั้งคู่ เมื่อมาเจอกัน ถูกใจกัน เข้ากันได้ดี ก็เลยตกลงจะ ใช้ชีวิตร่วมกัน" ดร.ชิงชัยเล่าอย่างมีความสุข

"ปีนี้ผมจะ 57 แล้ว พอ 60 ผมก็ว่าจะเกษียณ พอเกษียณแล้วก็อยากจะสอนหนังสือ เพราะผมเคยเป็นอาจารย์พิเศษที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ช่วงหนึ่ง และผมก็อยากจะเขียนหนังสือด้วย ตอนนี้เวลาก็พอมีบ้าง แต่ยังไม่มีแรง ผลักดันในการเขียน สาเหตุที่อยากเขียน เพราะผมคิดว่าผมมีประสบ การณ์เยอะ ได้เดินทางไปในหลายๆ ที่ แต่ที่น่าเสียดายคือ ผมไม่ใช่คนช่างจดบันทึก ดังนั้นจึงจำได้บ้างไม่ได้บ้าง พอเกษียณแล้วอาจ จะมานั่งทบทวนดูว่าพอจะเขียนได้ไหม ที่ผ่านมางานเขียนผมจะเป็นไปในเชิง วิชาการ ส่วนงานเขียนที่ใช้ภาษาสวยๆ งามๆ ไม่เคยมี ผมอาจจะให้คุณหญิงมาช่วยด้วยก็ได้ เพราะเขาเขียนหนังสือเก่งมาก" เป็นความตั้งใจของดร.ชิงชัย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us