Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543
MAKRO-BIG C กำไรเพิ่ม             
 


   
search resources

สยามแม็คโคร, บมจ.
Retail




ท่ามกลางความคิด ที่เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ นั้น ดัชนี ที่ชี้วัดกำลังซื้อของคนไทยอีกประการหนึ่ง น่าจะอยู่ ที่ตัวเลขยอดการจำหน่ายสินค้าของร้านค้าต่างๆ ซึ่งในช่วง ที่ผ่านมา แม้จะมีกระแส ที่ระบุว่าผู้ประกอบการหลายรายต่างประสบภาวะถดถอยเพราะการแข่งขัน ที่รุนแรง และเศรษฐกิจ ฝืดเคือ งก็ตาม

อย่างไรก็ดี ในช่วงไตรมาส ที่ 2 ที่ผ่านมา Marko ซึ่งถือ เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านค้าปลีกได้เปิดเผยตัวเลขผลประกอบการรอบครึ่งปี 2543 โดยมีรายได้รวมกว่า 17,989.79 ล้านบาท และส่งผลให้มีผลกำไรสุทธิมากถึง 477.54 ล้านบาท เทียบกับในปี 2542 ที่มีเพียง 173.4 ล้านบาทหรือเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง 175%

อาร์โนลด์ โทบัค กรรมการผู้จัดการ สยามแม็คโคร เชื่อว่ายอดการจำหน่าย และกำไร ที่เพิ่มมากขึ้นเป็นผลมาจากการขยายสาขาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสาขา ที่ 18 บนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก

ขณะเดียวกัน รายงานผลประกอบการที่ Big C ซูเปอร์เซ็นเตอร์ นำเสนอต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็ระบุว่ามียอดการจำหน่ายในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2543 มาก ถึง 12,069.89 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 444.19 ล้านบาท

สาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ผลประกอบการของทั้งสองบริษัทเพิ่มมากขึ้นนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสินค้าอุปโภค และบริโภค เป็นสิ่งที่ประชาชนจำเป็นต้องใช้จ่ายอยู่ในชีวิตประจำวัน แต่สัดส่วนของสินค้าประเภท Food และ Non-food เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง โดยสินค้าประเภท Non-food ซึ่งเป็นสินค้า ที่มีส่วนต่างกำไรมากกว่ามีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

ประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภคมีแนวโน้ม ที่เปลี่ยน แปลงไปอย่างต่อเนื่อง โดยจะเน้นจับจ่ายเฉพาะสินค้า ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตมากกว่า ที่จะเสียเงินกับสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย ขณะที่การเลือกซื้อสินค้าในดิสเคาท์สโตร์ หรือซูเปอร์สโตร์ แทนการซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้ากำลังเป็นรูปแบบพฤติกรรม ที่เติบโตขึ้น ดังจะเห็นได้จากยอดการจำหน่ายของ Robinson ที่มียอดการจำหน่ายเพียง 3,286.36 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่ายอดจำหน่ายของ Big C และ Makro ถึง 4-6 เท่าตามลำดับ

นอกจากนี้ Robinson ยังมีค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ภายใต้ภาวะ ที่ต้องฟื้นฟูกิจการรวมกันมากถึง 5,000 ล้านบาท ทำให้ผลประกอบการของ Robinson อยู่ในภาวะขาดทุนถึง 4,694.26 ล้านบาทอีกด้วย

สถานการณ์ ที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าจึงดูเหมือนว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่ดำเนินกิจการด้าน ซูเปอร์สโตร์ และดิสเคาท์สโตร์ ซึ่งแม้จะอยู่ในภาวะ ที่ต้องแข่งขันอย่างรุนแรง แต่ต่างก็อยู่ในภาวะ win-win ด้วยกัน จะมีก็เพียงผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวเท่านั้น ที่เป็นเหยื่อของปรากฏการณ์นี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us