Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2542
เหยื่อ             
 


   
search resources

กองทุนฟื้นฟูระบบสถาบันเงิน (FIDF)
นงนาท สนธิสุวรรณ
Funds




ผู้ที่อ่านข่าวการให้สัมภาษณ์ตามสื่อต่างๆ ของนงนาท สนธิสุวรรณ - ผู้ซึ่งถูกยื้อยุดไว้ไม่ให้กลายเป็นอดีตผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูระบบสถาบันเงิน หรือ FIDF และอดีตพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย (ซึ่งต้องใช้คารมนายกฯ ชวนมาเจรจา) คงจะรู้สึกสะท้อนอยู่ในหัวอก หากกำลังนึกถึงความ ล่มจมทางเศรษฐกิจของประเทศชาติในยามนี้ เพราะข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีบริหารงานที่คุณนงนาทให้สัมภาษณ์ออกมานั้น มันสะท้อนให้เห็นวิธีคิดและระเบียบปฏิบัติของหน่วยงานราชการ รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงในสถาบันการเงินไทยเวลานี้ ที่นอกจากไม่ได้ทำหน้าที่ช่วยเหลือประเทศชาติในยามวิกฤติเศรษฐกิจแล้ว ยังกลับเป็นการกระหน่ำซ้ำเติมให้ปัญหาที่มีอยู่จมปลักและพัวพันลึกเข้าไปจนยากจะแก้ไขได้

การประกาศลาออกของนงนาทเผยให้เห็นถึงวิธีคิดและระบบการทำงานของผู้บริหารสถาบันการ
เงินโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นแบงก์ชาติ กองทุนฟื้นฟูฯ 12 ไฟแนนซ์ที่ทางการยึดและสั่งให้ควบรวมกับบงล.กรุงไทยธนกิจ รวมทั้งผู้บริหารบงล.แห่งนี้ด้วย ทุกคนต่างทำงานด้วยความระมัดระวังในเรื่องความปลอดภัยและความรับผิดที่ตัวเองต้องเผชิญ หากเกิดความเสียหาย ซึ่งแน่นอนว่าในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและวิกฤติสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นเวลานี้ มันต้องมีผลขาดทุนอยู่แล้ว

การประกาศลาออกเพราะเกิดความขัดแย้งนั้นได้สะท้อนให้เห็นสาระเบื้องหลังหลายอย่าง เช่น

เรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ของไฟแนนซ์ 12 แห่งที่ทางการได้เข้าแทรกแซงและมีมาตรการให้ดำเนินการควบรวมกับบงล.กรุงไทย ธนกิจและธนาคารสหธนาคาร ซึ่งตอนนี้การควบรวมได้ดำเนินการไปแล้วและมีการเปลี่ยนชื่อมาเป็นธนาคาร ไทยธนาคาร โดยมีนายพีรศิลป์ ศุภผลศิริ อดีตกรรมการผู้จัดการบงล.กรุงไทยธนกิจ นั่งเป็นกรรมการผู้จัดการ ไทยธนาคาร

แนวทางของผู้ว่าการแบงก์ชาติคือต้องการให้ FIDF ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ใน 12 ไฟแนนซ์เหล่านี้ ยอมลงนามอนุมัติให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ของ 12 ไฟแนนซ์ได้ แต่อดีตผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯมองว่า ในเมื่อเจ้าหนี้ส่วนมากลงนามอนุมัติแล้ว มากกว่า 75% (ในนสพ. The Nation ฉบับวันที่ 7 ม.ค. หน้า B8 อ้างว่าเจ้าหนี้จำนวน 95% อนุมัติแผนปรับโครงสร้างหนี้แล้ว) การปรับโครงสร้างหนี้ก็สามารถทำได้เลย ไม่จำเป็นต้องรอการลงนามจากกองทุนฟื้นฟูฯ

นอกจากนี้ อดีตผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ ยังมองด้วยว่าประเด็นนี้ผู้บริหารของธนาคารควรจะดำเนินการได้เลย ไม่จำเป็นต้องมาขอการอนุมัติจากกองทุนฯซึ่งแม้จะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ แต่ก็เป็นผู้ถือหุ้นด้วย นงนาทยังมองด้วยว่าผู้บริหารธนาคารไม่กล้าตัดสินใจเพราะไม่ต้องการรับผิดชอบ ทั้งนี้การปรับโครงสร้างของลูกหนี้ไฟแนนซ์ดังกล่าวจะต้องเกิดผลขาดทุนขึ้นอย่างมาก ในอนาคตและอาจจะถึงกับต้องมีการลดหนี้ให้ลูกหนี้เหล่านี้ ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นแน่นอนว่า FIDF ในฐานะเจ้าหนี้ก็ต้องรับภาระผลขาดทุนจำนวนมหาศาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แต่ในฐานะที่เป็นข้าราชการ นงนาทจึงพยายามที่จะทำตามหลักการความปลอดภัยและระมัดระวังอย่างมากที่สุด แต่ผู้ว่าแบงก์ชาติมองประเด็นว่ากองทุนฟื้นฟูฯ ไม่มีบทบาทนำในการปรับโครงสร้างหนี้ ทั้งที่แบงก์ชาติเองนั้นพยายามที่จะให้แนวทางนี้เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด "เรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ก็ต้องแบ่งกันคนละนิดคนละหน่อย มันก็ควรต้องยอม ถ้าเขาเป็นฝ่ายข้างมาก เราเป็นฝ่ายข้างน้อย และก็เกิดประโยชน์กับเราเหมือนกัน ซึ่งการปรับโครงสร้างหนี้ก็สำคัญ หากกองทุนฟื้นฟูฯเป็นคนไม่ยอม" (อ้างจากประชาชาติ ฉบับ 7-10 ม.ค. 2542 หน้า 16)

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของแนวทางและกรอบเวลาในการทำงาน ปัญหาหนึ่งที่นงนาทสะท้อนออกมาคือ เรื่องการปล่อยสินเชื่อเพิ่มของกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งเธอมองว่าประเด็นนี้เป็นจุดหักเหใหญ่ (ในการตัดสินใจลาออกของเธอ?) "ในความคิดของคนที่อยู่บันไดขั้นล่างต้องมีความระวังมากๆ ก่อน แต่ความคิดของท่านคือความเชื่อกับผู้ว่าจ้างข้างนอก" (ทั้งนี้ผู้ว่าการฯได้ว่าจ้างนายสุชาติ เจียรานุสสติ ซึ่งเคยอยู่แบงก์ชาติ แต่ลาออกไปอยู่เจพีมอร์แกนมาระยะหนึ่ง ให้มาเป็นที่ปรึกษาของกองทุนฟื้นฟูฯ ด้านการประนอมหนี้และการวิเคราะห์การลงทุน-อ้างจากไทยรัฐ ฉบับวันที่ 7 ม.ค. 2542 หน้า 8)

โดยแนวการดำเนินการของนงนาทนั้นคือ หากกองทุนฟื้นฟูฯ จะปล่อยสินเชื่อออกไปนั้น ก็สามารถทำได้ "แต่กองทุนฯ จะต้องมีส่วนร่วมในการดูและปกป้องก่อนที่จะปล่อยสินเชื่อออกไป ถ้าปล่อยแล้วขอให้มีระบบตรวจสอบได้ เพราะตรงนี้ไปปล่อยให้พวกหนี้เก่า"

ภารกิจที่กองทุนฟื้นฟูฯ ได้รับมอบหมายก็มีมากและให้เวลาสั้นจนกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่สามารถวางหลักเกณฑ์ปฏิบัติได้ทัน เช่น เรื่องการปล่อยกู้ให้สถาบันการเงินเพื่อนำไปปล่อยสินเชื่อใหม่ หรือเรื่องการอนุมัติปล่อยกู้ให้กับบรรษัทบริหารสินทรัพย์เสี่ยง(บบส.)ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ กองทุนฟื้นฟูฯต้องใช้ความระมัดระวังในการวางหลักเกณฑ์ อาจใช้เวลามากกว่าที่กำหนดมา

เธอกล่าวอีกว่า "งานของกองทุนฟื้นฟูฯ ก็เหมือนอยู่ในถ้ำมืด มีหินทับลงมาเรื่อยๆ กองทุนฯเพิ่งทำแผนงบประมาณปี 2542 กะว่าจะยุติกองทุนฟื้นฟูฯ ลงได้ ไม่ใช่แค่ปล่อยกู้และขายทรัพย์สิน ปรส.ให้ได้เป็นตัวอย่างด้วย ซึ่งตอนนี้เป็นภาระที่ต้องแก้ปัญหาเยอะมาก ทุกเรื่องพุ่งมาที่พี่หมด ในที่สุดประชาชนก็มารุมด่า เรามั่นใจว่าถ้าปล่อยเงินกองทุนฟื้นฟูฯ ออกไป ก็ต้องตอบคำถามประชาชน ได้แน่นอน" (อย่างไรก็ดี กฎหมายใหม่ได้อนุญาตให้กองทุนฯมีอายุยาวนานออกไปอีกถึง 30 ปี ไม่ใช่จะยุติบทบาทลงได้โดยง่าย)

พวก "หนี้เน่า" ที่นงนาทพูดถึงในที่นี้ อาจจะโยงเข้ากับกรณีที่กองทุนฟื้นฟูฯ จะต้องไปเพิ่มทุนให้กับธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นธนาคารที่กำลัง "เละเทะ" ที่สุดในเวลานี้เป็นจำนวนที่สูงมาก โดยที่ธนาคารฯ เองนั้นก็ไม่ยอมลดทุนลงก่อนเพื่อให้สะท้อนคุณภาพที่แท้จริงของสินเชื่อของธนาคาร ซึ่งว่ากันว่ามีอัตรา NPL สูงที่สุดในระบบเวลานี้ นอกจากนี้กองทุนฯก็ขอดูแผนการใช้จ่ายเงินของธนาคารฯด้วย

นงนาทมองว่าหน้าที่ของกองทุนฟื้นฟูฯ คือ "เรากำลังพยุงระบบอยู่ แต่จะพยุงได้ถึงระดับไหน ก่อนพยุงต้องมีการวางแผนรับด้วยหรือไม่ และเราจะเป็นคนพยุงคนสุดท้ายได้ไหวแค่ไหน" ซึ่งประเด็นนี้เธออาจจะพอทราบอยู่ก็ได้ เพราะในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เธอได้ขอ "...คุมคนสั่งเปิดเซฟซึ่งหมายถึงขอมีส่วนในการออกความเห็นและมีเงินเข้ามาเติมเซฟมากน้อยแค่ไหน เงินออกจากเซฟต้องมีการตามเงิน แต่โครงสร้างไม่มีหน่วยตามหนี้ หลักฐานที่ปล่อยไปก็ไม่มีการติดตาม เวลานี้ก็ ได้มีการปรับ จัดโครงสร้างให้มีการตรวจสอบหลักประกัน และเม็ดเงินที่นำไปใช้ถูกตามวัตถุประสงค์ หรือไม่ ซึ่งอยากให้วางระบบตรงนี้ให้ดีก่อน ในเรื่องนี้ได้ต่อสู้มาตลอด"

หากพิจารณาจากข้อมูลเหล่านี้ คนย่อมเข้าใจได้ว่าทำไมนงนาทต้องลาออก และที่เธอพูดเรื่องวาจาที่มีลักษณะเหน็บแนมของผู้ว่าแบงก์ชาตินั้นก็เป็นเรื่องจริง ที่ว่าพนักงานแบงก์ชาติก็โดนกันทั้ง
นั้นไม่ใช่เรื่องที่ทนไม่ได้

นั่นอาจจะเป็นการชดใช้กรรมของพนักงานแบงก์ชาติ หลังจากที่ผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างสำคัญในวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศชาติครั้งนี้หลุดจากตำแหน่งไป

อย่างไรก็ดี วิธีการทำงานต่างๆ ที่สะท้อนออกมาในคำพูดของนงนาทนั้น ทำให้ผู้เขียนกลับรู้สึกเศร้าใจในชะตากรรมของคนไทยทั้งประเทศ มากกว่าความสงสารในกรรมเวรของพนักงานแบงก์ชาติ เพราะผู้บริหารในสถาบันการเงินที่กล่าวถึงทั้งหลายกำลังทำงานในลักษณะที่ไม่มีความรับผิดชอบ และไม่ผูกพันตัวเองเข้ากับงานด้วย ดังที่นงนาทกล่าวว่าข้าราชการก็ต้องพยายาม safe ตัวเองกันทั้งนั้น

ลองย้อนดูผู้บริหารระดับสูงของแบงก์ชาติเวลานี้ ล้วนแล้วแต่เป็นคนนอกที่เพิ่งเข้ามารับหน้าที่กันทั้งนั้น และยังมีที่ปรึกษาอีกมากมายที่ก็เป็นคนนอกอีก ครานี้วิธีปฏิบัติและแนวทางต่างๆ ที่อาจจะเคยเป็น "ความลับ" ก็ย่อมไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป

แต่จะทำอย่างไรได้ ในเมื่อ จริยธรรมในการทำงานอันสูงส่ง ที่อดีตผู้ว่ายุคแรกๆเคยยึดถือมานั้น ได้ถูกทำลายลงด้วยฝีมือของผู้บริหารในรุ่นหลังทั้งสิ้น

ก็น่าที่คนแบงก์ชาติในเวลานี้ต้องชดใช้กรรม

ความศักดิ์สิทธิ์ที่เคยมีพลันแตกมลายลงเสียแล้ว

ผู้บริหารเหล่านี้ก็ไม่มีความสำนึกรับผิดชอบต่อการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา พวกเขาไม่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน หน้าที่ใครหน้าที่มัน ผู้บริหารแต่ละหน่วยก็ต้องรับผิดชอบกันเอาเอง

งานที่ควรจะเดินได้เร็ว มันก็ต้องช้า

เรื่องที่ควรจะปรึกษาขอความเห็นกัน กลับเป็นเรื่องที่มาดูว่าใช่หน้าที่ฉันหรือไม่ หน้าที่เธอทำไมไม่ทำ ฉันไม่มีอำนาจตัดสินใจเรื่องนี้ ฯลฯ

ชะตากรรมคนไทยแขวนอยู่บนลักษณะการทำงานและความตึงเครียดของคนเหล่านี้

ไม่ใช่นงนาทคนเดียวที่เป็น "เหยื่อ"

คนไทยทั้งหมดก็เป็น "เหยื่อ" ของระบบการบริหารและวิธีคิดของผู้บริหารเหล่านี้ด้วยเช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us