Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2542
อนุตร จาติกวณิช ทำโรงไฟฟ้า ง่ายนิดเดียว             
 


   
search resources

H-Power
อนุตร จาติกวณิช
Energy




"ธุรกิจโรงไฟฟ้า" ฟังดูเป็นเรื่องราว ใหญ่โตและต้องการเม็ดเงินมหาศาล ในการลงทุน แต่ใครจะรู้ว่าหากทำเป็นจริงๆ แล้วละก็ เป็นเรื่องที่น่าลงทุนและมีความคุ้มค่าอย่างยิ่ง กลุ่มเหมราช ของสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง โชคดีอย่างมากๆ ที่ได้คนหนุ่ม อย่างอนุตร จาติกวณิช-หลานชายของเกษม จาติกวณิช ผู้ริเริ่มและวางหลักปักฐานให้กับกิจการไฟฟ้าในไทย เขาเป็นคนที่มีวิชั่นการทำธุรกิจนี้อย่างมากสมกับที่คลุกคลีศึกษากับมันหลายปี ฟังความเห็นของเขาบวกกับความเข้มแข็งของพันธมิตรของเขาคือกลุ่ม Trac- tebel-ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก เชื่อว่ากลุ่มเหมราช หากยังมีเม็ดเงินมาลงในธุรกิจนี้อีก ก็จะเก็บเกี่ยวผลกำไรในอนาคตไปได้อีกนาน

 

มีเจ้าของกิจการรายใหญ่ๆ ของไทย หลายรายที่มองเห็นโอกาสเมื่อรัฐบาลยอมให้ภาคเอกชนลงทุนผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตามโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนหรือ IPP และผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กหรือ SPP ที่ริเริ่มขึ้นในปี 2537 ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ลงทุนมากหลายราย อย่าง IPP นั้นมีผู้ยื่นข้อเสนอลงทุนผลิตไฟฟ้าถึง 32 รายจำนวน 50 โครง การ กำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมด 39,067 เมกะวัตต์(MW) แต่ครั้นเจอพิษเศรษฐ กิจฟองสบู่แตกเข้า โครงการเหล่านี้ส่วนมากก็ระส่ำระสายกันเป็นแถบๆ

แต่สำหรับโรงไฟฟ้าของกลุ่มเหมราช นอกจากจะคืบหน้าไปจนสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าขายได้ตั้งแต่ปีที่แล้ว ยังมีแนวทางที่จะซื้อหรือร่วมทุนในโรงไฟฟ้าของผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่พาร์ตเนอร์ต่างประเทศถอน ตัว และไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้อีกด้วย นอกจากนี้ก็มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือนโยบายระบบไฟฟ้าเสรีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

โครงสร้างธุรกิจพลังงานของ H-Power

บริษัท H-Power เป็นกลไกดำเนินธุรกิจด้านพลังงานของกลุ่มเหมราช ซึ่งเพิ่งได้ผู้ร่วมทุนจากเบลเยียมคือกลุ่ม Tractebel เข้ามาร่วมถือหุ้น โดยถือฝ่ายละ 50% เท่ากัน

กลุ่ม Tractebel ทำธุรกิจด้าน การผลิตกระแสไฟฟ้า แก๊ส งานวิศวกรรม การจัดการน้ำเสีย เป็นต้น กลุ่มฯ ผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งหมด รวม 37,000 MW โดยผลิตในประเทศ 15,000 MW และ 22,000 MW นอกประเทศ ถือเป็นผู้ผลิตในลักษณะ IPP รายใหญ่ เป็นที่ 3 ของโลก มียอดรายได้ในปี 2540 รวม 11 พันล้านเหรียญ และมีกำไร 1 พันล้านเหรียญ

H-Power มีบริษัทลูก 4 แห่งคือ(ดูตารางโครงสร้างกลุ่มฯ ประกอบ) บริษัทพลังงานอุตสาหกรรมหรือ Industrial Power, บริษัท Bowin Power, บริษัท Industrial Water Supply และบริษัท Operation Power Services

IP ก่อตั้งเมื่อปี 2537 ถือหุ้นโดยเหมราช 100% และในปี 2539 และ

ปี 2540 ก็ได้เซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA)กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทยหรือกฟผ. 2 ครั้ง ครั้งละ 55 MW นอกจากนี้ก็มีการเซ็นสัญญาขายไฟฟ้าและไอน้ำกับลูกค้าอุตสาหกรรมรายอื่นๆ ด้วย

มูลค่าการลงทุนของ IP ในการ สร้างโรงไฟฟ้าขนาดกำลังการผลิต 136 MW นั้นต้องใช้เงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 4,400 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินดอลลาร์ 96 ล้านเหรียญและเงินบาท 910 ล้านบาท บริษัทได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทยและธนาคารนครหลวงไทย

ผู้ที่รับเหมาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าให้ IP คือ ABB Power ซึ่งทำ สัญญาการจ้างแบบ Turnkey EPC Contractor ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า 2 ยูนิตและใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างแบบใหม่ล่าสุดที่เรียกว่า Single-shaft combined cycle configurations (GT 8C Model) เป็นโรงแรกที่ใช้ระบบนี้และใช้เครื่องจักรของ ABB

โรงไฟฟ้าแห่งนี้มีกำลังการผลิต ไฟฟ้ารวม 136 MW แต่ปัจจุบัน IP ผลิตไฟฟ้าเพียง 120 MW และผลิตไอน้ำ 100 tons/hour โรงไฟฟ้าทั้ง 2 ยูนิตนี้เริ่มผลิตและขายไฟฟ้าให้กับกฟผ. และลูกค้าอุตสาหกรรมต่างๆ ตั้งแต่เมื่อ เดือนก.พ. และ ก.ย. 2541 ที่ ผ่านมา

ลูกค้าไฟฟ้าของ IP ได้แก่ บริษัท สยามมิตซุย พีทีเอ, บริษัทสยามยูไนเต็ดสตีล, บริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ ส่วนลูกค้าไอน้ำได้แก่ THASCO, BHP Steel และลูกค้าไฟฟ้า 3 รายที่กล่าวข้างต้น

การทำโรงไฟฟ้าแบบนี้มีวิธีการที่ฟังดูแล้ว อยากจะกล่าวว่าง่ายนิดเดียว ตามคำอธิบายของอนุตร จาติกวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท H-Power จำกัด กล่าวคือ ตัวหลักสำคัญของโรงไฟฟ้าแต่ละยูนิตคือ Gas Turbine หรือกังหันแก๊ส ซึ่งจะใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง กังหันแก๊สจะเป็นตัวปั่นหรือ Generator เพื่อผลิตไฟฟ้าได้ 40 MW ไอความร้อนที่ออก จากกังหันแก๊สถูกนำมาใช้ในตัว Boiler ต้มน้ำ ซึ่งการต้มน้ำนี้ก็เพื่อผลิตไอน้ำความดันสูงมาใช้หมุนกังหันไอน้ำหรือ Steam Turbine เพื่อมาปั่นและผลิตไฟฟ้าอีก 20 MW นี่คือระบบคร่าวๆ ในการทำงานของโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ 2 ยูนิต

เชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าแบบนี้ใช้แก๊สธรรมชาติ และเมื่อผลิตไฟฟ้าได้แล้วก็จ่ายออกไปตามสายไฟฟ้า ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการที่ฟังดูง่ายมาก และน่าลงทุนอย่างยิ่งหากมีเทคโนโลยีที่ดี และมั่นใจในเรื่องที่มาและราคาของเชื้อเพลิงกับผู้รับซื้อกระแสไฟฟ้า นอก จากนี้โรงไฟฟ้าทั้งสองก็ใช้พนักงานเพียง 30 คนเท่านั้น ตัวเลขนี้รวมพนักงานด้านการบำรุงรักษาในบริษัท OPS ไว้แล้ว

"หากเอาเฉพาะการผลิตไฟ มีเจ้าหน้าที่ดูแลอยู่ในห้องควบคุมรวมทั้ง คนที่ตระเวนอยู่ข้างนอกดูความเรียบ ร้อยของอุปกรณ์นั้น ใช้คนเพียง 3 คน ก็พอ" อนุตรอธิบายให้เห็นประโยชน์ของเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งทำให้เห็นว่าแม้การลงทุนจะใช้เม็ดเงินสูงและเทคโนโลยีสูง แต่หากทำเป็น ผู้ลงทุนจะเก็บกินดอกผลไปได้ในระยะยาวนานมาก

ส่วนโรงไฟฟ้าบ่อวินนั้นเป็นโครงการ IPP ที่ยื่นประมูลกับ กฟผ. ได้ตั้งแต่เมื่อปี 2538 และตั้งบริษัทขึ้นมาในปี 2540 โดยกลุ่มเหมราชถือหุ้นอยู่ 50% และมีผู้ลงทุนจากสหรัฐฯร่วมถือหุ้นด้วย แต่ปัจจุบันเปลี่ยนโครงสร้างแล้วมาเป็น Tractebel ถือผ่านทาง H-Power

โรงไฟฟ้าบ่อวินมีกำลังการผลิต 713 MW ใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง คล้ายโรง IP แต่มีกำลังการผลิตใหญ่ กว่ามาก โรงไฟฟ้าบ่อวินจะเริ่มสร้างปลายปี 2542 ขณะนี้อยู่ระหว่างการหาเงินกู้ ซึ่งโครงการนี้มีมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 400 ล้านเหรียญ และคาดว่าจะสามารถหาเงินกู้ได้ครบในเดือนพ.ย. 2542 และจะเริ่มสร้างทันที โดยคาดว่าจะเริ่มขายไฟฟ้าให้กฟผ.ได้ในวันที่ 1 เม.ย. 2545

ด้านบริษัท Industrial Water Supply เพิ่งตั้งเมื่อเดือนม.ค. 2542 ดำเนินการผลิตน้ำที่ปราศจากแร่ธาตุหรือ Demineralized water เป็นน้ำที่โรงงานปิโตรเคมี โรงงานเหล็กทั่วไปต้องใช้ โรงงานนี้มีกำลังการผลิต 80 คิวบิกเมตรต่อชั่วโมง และจะเริ่มผลิตน้ำได้ในเดือนต.ค. 2542

บริษัทสุดท้ายในเครือของ H-Power คือบริษัท Operation Power Services หรือ OPS ก่อตั้งเมื่อเดือน ส.ค.ปี 2541 เพราะกลุ่ม H-Power มีการลงทุนหลายพันล้านในโรงไฟฟ้าของ IP และกำลังจะลงทุนอีกหลายหมื่นล้านบาทในโรงไฟฟ้าบ่อวิน ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องการความมั่นใจว่าการดูแลรักษาเครื่องจักรและกลไกในโรงไฟฟ้าจะดำเนินการไปอย่างถูกต้องดีที่สุด บริษัทนี้จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อให้มีการฝึกพนักงานโดยได้รับการช่วยเหลือจาก Tractebel ที่มีประสบการณ์ด้านนี้มาอย่างชำนาญ ปัจจุบัน OPS มีพนักงาน รวม 33 คน ซึ่งตอนนี้ก็ทำหน้าที่ดูแลโรงไฟฟ้า IP อยู่ แต่เมื่อมีโรงไฟฟ้าบ่อวิน กิจการของ OPS ก็ต้องขยาย ไปมากกว่านี้

ด้าน H-Power นั้นเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนมี.ค. 2540 มีลักษณะเป็นบริษัทโฮลดิ้งเพื่อดำเนินธุรกิจด้านพลังงาน เดิมกลุ่มเหมราชถือหุ้นอยู่ 100% แต่ต่อมาขายให้ Tractebel 50% ในเดือนต.ค. ปีเดียวกัน อนุตรกล่าวว่าการที่เหมราชตัดสินใจขายหุ้นใน H-Power ให้ Tractebel นั้น พิจารณา หลายเหตุผล

ตอนเลือก Tractebel อนุตรเล่าว่า "เราดู 8 บริษัท แล้ว short list มา 3 ราย เราเลือกเขาเพราะเขาลงทุน ระยะยาว ซึ่งเราก็ต้องการผู้ร่วมทุนจริงๆ ที่จะทำงานร่วมกันระยะยาว เขาเป็นบริษัทที่มีความสามารถด้านไฟฟ้า แก๊ส วิศวกรรม ซึ่งเหมาะมาก เราไม่ อยากมีพาร์ตเนอร์หลายราย IPP อื่นๆ จะมีพาร์ตเนอร์หลายราย ทำให้การทำงานไม่ราบรื่นพอ"

อย่างไรก็ดี หากมีความจำเป็นที่เหมราชต้องขายหุ้น H-Power อีกในอนาคต ก็อาจจะขายเพิ่มได้อีกในภายหลัง นั่นหมายความว่าเหมราชจะลดสัดส่วนหุ้นใน H-Power ลงโดยขายให้ Tractebel เพราะทั้งสองฝ่ายก็ไม่ต้องการให้มีพาร์ตเนอร์รายที่ 3 เข้ามา
อีก ทุนจดทะเบียน H-Power ตอนนี้อยู่ในระดับ 810 ล้านบาท เพราะทำธุรกิจเดียวคือ IP ซึ่งมีทุน 800 ล้านบาท หากบ่อวินเริ่มลงทุนใส่เม็ดเงินจริงในปลายปีนี้ H-Power ก็ต้องเพิ่มทุนเพื่อนำเม็ดเงินนั้นไปลงในบ่อวิน

Tractebel เป็นกลุ่มพลังงานที่มีการลงทุนในไทยอยู่บ้างแล้ว ในโครงการ PTTNGD เมื่อปี 2539 เป็น โครงการจำหน่ายแก๊สในนิคมฯ บางปู และบางปูใหม่ซึ่งดำเนินการในลักษณะ ร่วมทุนกับ PTT 49%, สำนักงานทรัพย์ สินส่วนพระมหากษัตริย์ 2%, British Gas 22% และ Tractebel 27% แต่ผู้บริหารเป็นคนของ Tractebel นอก จากนี้บริษัทฯ ก็มีการลงทุนในเวียดนาม จีน สิงคโปร์ ไต้หวัน อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์

"เราไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่อง ของส่วนแบ่งการตลาดหรือจำนวน เมกะวัตต์ แต่สนใจเรื่อโปรเจ็กต์ลงทุน ที่ดีเยี่ยม เงินลงทุนที่ใช้ไปต้องได้กำไร ที่เหมาะสม สิ่งที่เราให้ความสำคัญมากคือเรื่องการบริหาร เราต้องการมีส่วนร่วมโดยตรงในการบริหารกิจการที่เราลงทุน และเราเป็นนักลงทุนระยะยาว" มร.โยฮัน เดอ เซเกอร์ กรรมการ H-Power ซึ่งมาจาก Tractebel กล่าว

ในการร่วมลงทุนกับกลุ่มเหมราชนี้ มีการตกลงกันว่าผู้ถือหุ้นทั้งสองฝ่ายจะใช้บริษัท H-Power เป็นผู้ดำเนินการลงทุนด้านพลังงานในภูมิภาค นี้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการใดในประเทศใด ก็ตาม เช่น ไทย ลาว พม่า เขมร นอก จากนี้ Tractebel ก็จะให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคแก่ H-Power ด้วย

นอกเหนือจากธุรกิจปัจจุบันที่ H-Power ดำเนินการอยู่ อันได้แก่ ผลิต กระแสไฟฟ้า การจัดส่งกระแสไฟฟ้าผลิตและจัดส่งน้ำและไอน้ำ และให้บริการรักษาดูแลเครื่องจักรโรงไฟฟ้า H-Power ยังมีโครงการขยายธุรกิจไป ในเรื่องแก๊ส และการซื้อขายไฟฟ้าด้วย

รับรองความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

เนื่องจากเป็นธุรกิจโรงไฟฟ้าซึ่งผู้คนมักจะนึกเทียบไปกับโรงไฟฟ้าที่มีอยู่และส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ในเรื่องนี้อนุตรอธิบายว่าการผลิตไฟฟ้า ด้วยแก๊สธรรมชาตินั้นมีสาร 2 ตัวที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมคือ NOx และ Sox ซึ่งโรงไฟฟ้าของเขามีอุปกรณ์ ที่ก่อให้เกิดสาร 2 ตัวนี้ในอัตราที่ต่ำมาก ต่ำกว่ากฎหมายกำหนดและต่ำกว่ามาตรฐาน World Bank

อุปกรณ์ดังกล่าวเรียกว่า Continuous Emission Monitoring (Real Time) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดและบันทึกปริมาณ NOx และ SOx ที่ผลิตตลอดเวลา หากเกินมาตรฐานก็จะมีสัญญาณเตือนให้พนักงานแก้ไข หากแก้ไขไม่ได้ ก็จะปิดโรงงาน

นอกจากนี้อนุตรก็มีความมั่นใจในความสะอาดของโรงงาน โดยเขาได้เข้าร่วมในโครงการจัดทำดัชนีสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมหรือ Industrial Environmental Performance Indicators ซึ่งโรงไฟฟ้า IP เป็นโรงเดียวที่ได้ร่วมในโครงการนี้ มีการยื่นข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของโรงงานให้แก่โครงการตลอดเวลา ซึ่งหมายความว่าบริษัทให้ความสำคัญในเรื่องการรักษา สิ่งแวดล้อมมาก

แนวทางอนาคต เตรียมรองรับระบบไฟฟ้าเสรี

ความต้องการไฟฟ้าทั้งประเทศตอนนี้มีปริมาณต่ำกว่าที่ กฟผ.ได้เคยคาดการณ์ไว้ นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมจึงมีการปิดโครงการ SPP และโครงการ IPP ที่ควรจะมีการเปิดประมูลใหม่ในปีที่แล้วก็เลื่อนออกไป โดยคาด ว่าจะชะลอออกไปอีก 2 ปี

ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงมาก ในไทยนั้นมีผู้ผลิตเพียงรายเดียวคือ กฟผ. โครงการของเอกชนรายแรกคือของ EGCO ขนาด 1,232 MW ที่ระยอง ซึ่งกฟผ.ได้ขายบริษัทฯ นี้เข้าตลาด หลักทรัพย์ หลังจากนั้นก็มีโครงการ SPP เกิดขึ้น และ IPP เปิดประมูล มันเป็นการเปลี่ยนที่รวดเร็วมากใน 5-6 ปีที่ผ่านมา

อนุตรเล่าว่าแนวทางการผลิตไฟฟ้าของเอกชนทั่วโลกคงเป็นเหมือนกัน รวมทั้งในไทยคือ เอกชนจะเป็นผู้ทำสัญญาระะยาวกับ กฟผ. แต่ในอนาคต คาดว่าจะไม่มีสัญญาระยะยาวอย่างนี้อีก ทว่าจะเป็นการประมูลค่าไฟฟ้าตลอดเวลาเข้ากับระบบการจ่ายไฟที่มีอยู่ ซึ่งวิธีนี้เป็นระบบที่ใช้อยู่ในหลายประเทศ รวมทั้งที่อังกฤษ

ดังนั้นสัญญาที่ใช้อยู่ 25 ปีนั้น ต่อไปคงไม่มี คงจะเป็นว่า ภายในเที่ยงวันอาทิตย์ต้องยื่นราคาว่าทุกครึ่งชั่วโมงภายใน 24 ชม.ของวันจันทร์ต่อไป โรงไฟฟ้าของคุณต้องการขายไฟฟ้าในอัตราเท่าไหร่ กี่บาท/กิโลวัตต์ เพราะ ฉะนั้นธุรกิจไฟฟ้าของเอกชนก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอีก ซึ่งการเปลี่ยน แปลงนี้จะเป็นในลักษณะของการควบคุมต้นทุนการผลิตเพื่อที่จะให้กิจการมีความสามารถในการแข่งขันได้มากในระบบเสรี

นั่นหมายว่าผู้ผลิตไฟฟ้าต้องสนใจเชื้อเพลิงแก๊ส ขณะที่ผู้ผลิตแก๊ส ก็อาจจะเขยิบเข้ามาสนใจการทำโรงไฟฟ้า ได้ อนุตรให้ความเห็นว่า "เมื่อมันเป็น เช่นนี้เราจะเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าอยู่อย่างเดียว โดยที่ต้องไปซื้อแก๊สจากคนอื่น ในราคาที่กำหนดไว้แล้ว 25 ปี เหมือนอย่างที่เป็นในปัจจุบันที่เราทำกับปตท.หรือไม่ มันจะทำให้เราไปสู้กับ คนอื่นได้อย่างไร เราจะทำอย่างไรให้ค่าไฟฟ้าของเราถูกกว่าคนอื่น"

นี่คือจุดสำคัญเพราะหัวใจการคุมต้นทุนของของโรงไฟฟ้าคือค่าเชื้อ

เพลิง ถ้าเจ้าของธุรกิจไฟฟ้าสามารถควบคุมในธุรกิจแก๊ส ก็เท่ากับเป็นการ ควบคุมค่าใช้จ่ายสำคัญในธุรกิจนี้ นี่คือ เหตุผลสำคัญที่ทำให้ธุรกิจแก๊สก็จำเป็น ต้องทำธุรกิจไฟฟ้า อย่างเช่น บริษัท Enron ซึ่งที่ผ่านมานั้นเป็นบริษัททำแก๊สล้วนๆ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพลังงานเขาก็เริ่มหันมาทางธุรกิจไฟฟ้า เช่นเดียวกันบริษัทที่เคยทำด้าน ไฟฟ้าก็ต้องหันมาดูธุรกิจนี้เหมือนกัน

อย่างไรก็ดี อนุตรปฏิเสธว่าเขา ไม่จำเป็นต้องลงไปทำถึงขั้นการสำรวจแก๊ส "เพราะธุรกิจแก๊สเองก็เปลี่ยน แปลงเหมือนกัน เอกชนเริ่มมีบทบาทในการสำรวจ ผลิตและขายแก๊ส แต่เป็นไปอย่างเชื่องช้ากว่าทางด้านไฟฟ้ามาก ตอนนี้ทุกอย่างยังอยู่ที่ปตท. แต่ว่ารัฐบาลก็มีนโยบายที่จะแปรรูปปตท. ทำให้ปตท.แทนที่จะเป็นคนตั้งราคา กลายเป็นคนดูแลระบบส่งเท่านั้น"

นั่นหมายความว่าในอนาคตลูกค้า ที่ใช้แก๊สอาจจะโทรศัพท์ไปหายูโนแคล โทเทล ต่อรองเรื่องราคาว่าใครให้ราคา ดีที่สุดก็เซ็นสัญญาให้เขาส่งแก๊สมาผ่านท่อแก๊ส ปตท. ก็จ่ายเงินค่าท่อให้ ปตท.นี่ก็เป็นอนาคตของธุรกิจแก๊ส

"ดังนั้นการที่เราจะมาทำทางด้านแก๊สด้วย ไม่จำเป็นที่เราจะต้องมาทำเรื่องการสำรวจ แต่เราอาจจะมีบริษัทที่ทำทางด้านซื้อขายแก๊ส เหมือน กับที่เราจะมีธุรกิจด้านการซื้อขายไฟฟ้า" อนุตรสรุปภาพอนาคตธุรกิจในความเห็นของเขา

แต่เมื่อถามว่า เขาจะเริ่มต้นเรื่องนี้เมื่อไหร่ เขาตอบว่า "เราจะทำเมื่อไหร่นั้น ก็ต้องลุ้นเรื่องเศรษฐกิจ เพราะการที่เศรษฐกิจไม่ดี มันก็ทำให้อะไรๆ ล่าช้าไปหมด และอีกอย่างก็ต้องลุ้นการแปรรูปของปตท. เพราะหากไม่มีตรงนี้ มันก็ไม่เกิด อันนี้ก็ต้องแล้วแต่ความสามารถของรัฐบาล"

"เราหวังว่าหากมีการแปรรูป ปตท.ภายใน 2 ปี เราจะเป็นรายแรกที่ทำธุรกิจนี้" อนุตรกล่าวอย่างเชื่อมั่นในอนาคต

เริ่มเจรจาซื้อโรงไฟฟ้าแล้ว

ด้านนโยบายการซื้อหรือร่วมทุนในการทำโรงไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นการเพิ่มเมกะวัตต์ของกลุ่มนั้น H-Power ก็เริ่มเจรจากับบรรดา SPP บางรายบ้างแล้ว ล้มไป 1 ราย เหลือกำลังเจรจาอีก 1 ราย "เราเริ่มมีการเจรจาบางโครงการ แต่ในที่สุดเมื่อดูรายละเอียดแล้วคิดว่ายังไม่เหมาะสม เพราะมีความเสี่ยงเกินสมควรเมื่อเทียบกับกำไรที่คาดว่าจะได้"

"เราสนใจโครงการทั้งในประเทศ และนอกประเทศ เราสนใจที่จะทำโปรเจ็กต์ขึ้นมาใหม่ แต่เราก็ทราบดีว่าโครงการพวกนี้เมื่อทำขึ้นมาใหม่นั้นในช่วงนี้คงจะหายาก เพราะว่าความต้องการโรงไฟฟ้าใหม่ลดไปเยอะ สักพักหนึ่ง ดังนั้นเราก็พร้อมที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการที่เราจะร่วมลงทุนในโครงการที่มีอยู่ หากให้เลือกเราก็อยากจะทำเองแต่ต้นเพราะเราคิดว่าเราสามารถทำโครงการได้ดีที่สุด และการไปลงทุนในโครงการอื่นนั้นความมั่นใจในรายละเอียดของโครงการก็ไม่มากเท่ากับที่เราทำเอง แต่เราก็พร้อมที่จะลงทุน เพราะเราก็ได้คุยกับบางรายมาแล้ว" อนุตรกล่าวยอมรับ

ทั้งนี้เขามีความเชื่อว่าการที่นักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในการผลิตไฟฟ้าในไทยในช่วงที่ผ่านมานั้น มันมากเกินความเหมาะสม ทั้งนี้กำลังการผลิตในประเทศตอนนี้มีอยู่ 14,000-15,000 MW มีบริษัทต่างชาติมาลงทุนจำนวนมาก อย่างน้อย 20 บริษัท

"ความคิดของผมเห็นว่ามันไม่น่าจะเป็นไปได้ที่ระยะยาวบริษัทเหล่านี้จะอยู่ทั้งหมด เพราะว่าดีมานด์ไม่ใหญ่ พอ แต่ว่าเนื่องจากภาพพจน์ที่ผ่านมาความต้องการมีสูงมาก และกฟผ.ที่ผ่านมาก็มีภาพพจน์การดำเนินงานที่ดีมาก จึงทำให้มีบริษัทเข้ามาหาลู่ทางลงทุนโรงไฟฟ้ากันมาก แต่ว่าการที่บริษัทเหล่านี้จะมาลงทุนเพียงนิดๆ หน่อยๆ นั้น เขาจะถือนานๆ ไปเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ผมจึงมองว่าในอีก ไม่นานก็จะเห็นการขายอีกช่วงหนึ่ง ซึ่งอาจจะไม่ใช่ฝั่งไทยขาย แต่อาจจะเป็นฝั่งฝรั่งขายกันเอง คือบริษัทใดที่มี MW มีโครงการที่ใหญ่ๆ พอก็จะเริ่มซื้อโครงการเล็กๆ เพราะถ้าบริษัทใหญ่ๆ เข้ามาซื้อโครงการเล็กๆ ในไทยก็ห่างจากบ้านเขา มันไม่ค่อยคุ้มที่เขาจะเก็บ ไว้นานๆ"

นั่นเป็นทัศนะของผู้บริหารโรงไฟฟ้าหนุ่มที่ผ่านงานการนำ EGCO เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย และยังศึกษาแนวทางการทำธุรกิจโรงไฟฟ้าให้กลุ่มเหมราชอยู่หลายปีก่อนที่จะประสบผลสำเร็จ ประเดิมด้วยโรง IP 130 MW

การเจรจาซื้อโรงไฟฟ้าของอนุตร ไม่ใช่สิ่งที่เขาผลีผลามเท่าไร และการลง ทุนเรื่องแก๊สก็เป็นสิ่งที่เขาต้องพิจารณา อย่างรอบคอบ เขากล่าวว่า "โครงการแก๊สจุดคุ้มทุนใช้เวลา 7-8 ปี return ของโครงการมีตั้งแต่ 12%-20% ซึ่ง range ค่อนข้างกว้าง โครงการที่ H-Power สนใจลงทุนนั้น เราสนใจในโครงการที่มี return 17% ขึ้นไป"

นั่นเป็นจุดยืนที่ชัดเจนของ H-Power

เขายังกล่าวอีกว่า "เราสนใจโรงไฟฟ้าราชบุรี แต่ยังติดตามดูว่ารูปแบบการขายเป็นอย่างไร ตอนนี้ภาพค่อนข้างสับสน เราไม่สนใจเป็นผู้ถือหุ้นรายเล็กแค่ 20% เราต้องการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่พอที่จะร่วมบริหารงานด้วยได้ คือหากเล็กเกินไปอย่างไรก็ร่วมบริหารไม่ได้ แต่ว่าจะเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับพาร์ตเนอร์ จะเป็น 30%, 33% แต่ให้บริหารด้วยก็ย่อมได้ หรือให้ถือ 60% แต่ไม่ให้บริหาร เราก็ไม่เอา"

โครงการที่เขาสนใจในเวลานี้เน้นโครงการทางด้านตะวันออก "แต่ที่เราเจรจากันไปแล้วจบไม่ได้เพราะเรื่อง ราคา รายหนึ่งสรุปแล้วว่าไม่ซื้อ อีกรายหนึ่งยังเจรจาไม่เสร็จ"

การที่เขาได้พันธมิตรที่ดีอย่าง Tractebel ซึ่งมีความชำนาญในธุรกิจ นี้มากและเป็นผู้ลงทุนระยะยาวด้วยนั้น ทำให้เขาก้าวเดินอย่างสุขุมและมีขั้นตอนพอสมควร

ทั้งนี้เมื่อโรงไฟฟ้าบ่อวินเริ่มทำการผลิตไฟฟ้าในปี 2545 กำลังการผลิต ที่ H-Power ดำเนินการคือ 840 MW คิดเป็น 5% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศหรือประมาณ 15% ของผู้ผลิตเอกชน ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง ขณะ ที่ฝ่าย Tractebel นั้นเป็นเจ้าของกำลัง การผลิตไฟฟ้าประมาณ 50% ของ 840 MW คือ 420 MW

"เท่าที่ผมทราบไม่มีบริษัทใดที่มี equity MW มากเท่าเขาในเมืองไทยในตอนนี้ เท่ากับว่าเขาเป็นนักลงทุนด้านโรงไฟฟ้าต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดในไทย ทำให้ผมมั่นใจว่าในอนาคตเมื่อมีการมองว่าใครจะอยู่ต่อในไทย มันไม่มีใครเหมาะเท่าเขา" อนุตรกล่าวถึงพันธมิตรที่แข็งแกร่งของตัว

"ในอนาคตหากจะมีการ free trade ไฟฟ้าจริง และหากเราจะต้องเทียบประสิทธิภาพของโรงงานเรากับโรงอื่นนั้น เรามี MW สูงพอ ผู้ที่น่าจะแข็งที่สุด ประสบความสำเร็จมากที่สุด ก็น่าจะเป็นบริษัทที่มีจำนวน MW สูง และ MW ที่มีราคาการผลิตที่ต่ำ ซึ่งก็คือเรา ทำให้ผมมั่นใจอนาคตมาก" เขากล่าวอย่างเชื่อมั่น

เป้าหมายของ H-Power ก็คือ "ในอีก 5 ปีข้างหน้า เราจะเป็นผู้นำในการผลิตไฟฟ้าในประเทศ ทั้งด้านการผลิต(จำนวนMW) และด้านการยอมรับจากชุมชน การยอมรับจากลูกค้า (ทั้งกฟผ.และกิจการอุตสาหกรรมต่างๆ) และสร้างความพอใจแก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งหมายถึงการสร้างกำไรแก่กิจการ นี่คือ เป้าหมายของเราเพื่อที่จะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนที่ดีที่สุดในประเทศ"

ด้านรายได้ปัจจุบันของโรง IP ตอนนี้ประมาณ 1,000 ล้านบาท/ปี นั่นคือปี 2541 ซึ่งได้มีการเริ่มโครงการ ผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วงกลางปี ต่อไปคาดว่าตัวเลขนี้จะสูงขึ้นประมาณ 40% จากการผลิตเต็มกำลังการผลิตตลอดทั้งปีในปี 2542

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us