Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2542
เทเลไฟว์ เปิดศึกไพรม์ไทม์             
 

   
related stories

แป้งปฏิวัติ เงื่อนปมที่รัดแน่น
"โทรทัศน์เป็นเรื่องสนุก แต่ไม่ใช่ทางของผม"

   
search resources

สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5
เทเลไฟว์




เป็นเวลาเกือบ 6 เดือนเต็มที่ช่อง 5 เปิดทาง ให้ เทเลไฟว์ เข้ามาบริหารเวลาในช่วงไพรม์ไทม์

การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ นับเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของพลเอกแป้งที่ต้องการแก้ปัญหารายได้ของช่อง 5 ที่ลดต่ำลง อันเป็นผลมาจากวิกฤติเศรษฐกิจ และการแข่งขันของธุรกิจทีวีที่ต้องดิ้นรนอย่างมากในช่วง 2 ปีมานี้

การตัดสินใจของพลเอกแป้งในครั้งนี้ นับเป็น การสร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการโทรทัศน์ไม่น้อย เพราะเป็นการตัดสินใจเปิดศึกชนกับแชมป์ไพรม์ไทม์อย่าง ช่อง 7 และช่อง 3 อย่างจัง หลังจากที่เคยใช้วิธีการเลี่ยงการเดินชนมาแล้ว แต่ไม่สำเร็จ

พลเอกแป้งรู้ว่า ช่อง 5 มีจุดอ่อนในเรื่องของการผลิตรายการ จึงต้องพึ่งพาผู้ผลิตรายการจากภายนอก ที่มีประสบการณ์ ซึ่งเป็นที่มาของการรวมตัวระหว่างผู้ผลิตรายการจนมาเป็นเทเลไฟว์ ประกอบไปด้วย กันตนา เวิร์คพอยท์ของ ปัญญา นิรันดร์กุล ทริปเปิ้ลทู ของ ซูโม่กิ๊ก สปอร์ตทิป ของพิษณุ นิลกลัด

ตามสัญญาที่ทำไว้ เทเลไฟว์ จะเข้าไปจัดรายการ ตั้งแต่ช่วงเวลา 17.00-24.00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง วันที่ 30 กันยายน 2542 รูปแบบรายการจะเป็นรายการ ละคร วาไรตี้ กีฬา เพลง รายการเด็ก ยกเว้นบางรายการ ที่คงไว้ เช่น รายการข่าว รายการเจาะใจ นิทานนิทรา ศิลปมวยไทยนายขนมต้ม รายการสนทนา 45 นาที

มีข้อแม้ว่า เทเลไฟว์จะต้องจ่ายผลตอบแทนให้ ช่อง 5 ในช่วง 1 ปี 372 ล้านบาท ซึ่งถ้าหากทำได้ เทเล ไฟว์ก็มีสิทธิที่จะได้ต่อสัญญา และมีสิทธิที่จะถือหุ้น ในบริษัท ททบ.5 โปรดักชั่น 25%

จะเห็นได้ว่า การจัดผังรายการใหม่ของช่อง 5 หลังการเข้ามาของเทเลไฟว์ ประเภทของรายการจะไม่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังข่าวภาคค่ำเป็นต้นไปจะเริ่มด้วยละครหลังข่าว และต่อด้วยรายการเกมโชว์ ซึ่งถือเป็นช่วงไพรม์ไทม์ที่ช่อง 7 และช่อง 3 ครอบครองมาตลอด

จากการสำรวจของเอซีนิลสัน หรือดีมาร์ ระหว่าง วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ถึง 2 มีนาคม พบว่า ยอดเรตติ้งคนดูของช่อง 5 เพิ่มขึ้นมาในช่วงของ 20.30 น.-22.00 น. ซึ่งหากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2542 จะพบ ว่าเรตติ้งของช่อง 5 ในช่วงเวลาดังกล่าวต่ำมาก

"การมีเทเลไฟว์ในแง่ของคนดูแล้วก็ต้องบอกว่า ดีแน่ เพราะเท่ากับมีทางเลือกมากขึ้น ซึ่งทำให้ช่อง 5 ดึงคนดูไปได้บ้างจากเดิมที่เขาไม่มียอดตรงนี้เลย แต่มองในแง่ของยอดโฆษณายังเพิ่มขึ้นไม่เยอะ คนดูยังเคยชินอยู่กับรายการของช่อง 7 และช่อง 3 ทำให้โฆษณาก็ไปตามยอดเรตติ้ง" แหล่งข่าวจากเอเยนซีรายใหญ่ ให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการรายเดือน"

ในแง่ของเอเยนซีแล้ว เรตติ้งคนดูถือเป็นปัจจัยสำคัญของการเลือกซื้อโฆษณา ซึ่งในภาวะที่เศรษฐกิจ ตกต่ำ เม็ดเงินมีจำกัด ลูกค้าก็ต้องเลือกลงโฆษณากับ 2 ช่องแรกที่ครองเรตติ้งสูงสุดก่อน แต่เมื่อเม็ดเงินมีมาก ขึ้น ช่อง 5 จะเป็นตัวเลือกที่ 3 ที่จะมีโอกาสได้แชร์ยอดโฆษณาไปได้บ้าง

จากการสำรวจคนดูในช่วงละครหลังข่าว เอเยนซี ให้ความเห็นว่า ช่อง 5 จะมีเทคนิคการผลิตที่ดีกว่า ช่อง อื่นๆ และจะพยายามสร้างความแตกต่างด้วยการผลิตละคร แนวใหม่ๆ เพื่อเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งทำให้ยอดคนดูของช่อง 5 เพิ่มขึ้นมาได้บ้าง แต่คนดูส่วนใหญ่ยังเป็นของ ช่อง 7 และช่อง 3

ในขณะที่เอเยนซีอีกรายให้ความเห็นว่า หาก เป็นละครของช่อง 5 แล้ว ยอดจะเพิ่มขึ้นในช่วงวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ ซึ่งเป็นละครของค่ายแอ็กแซคท์ที่จะเป็นที่ชื่นชอบของคนดูมากกว่าวันธรรมดา

ส่วนในด้านของรายการเกมโชว์ ซึ่งถือเป็นไฮไลต์อย่างหนึ่งของเทเลไฟว์ เพราะผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ก็ล้วนแต่เป็นผู้ผลิตรายการเกมโชว์อยู่แล้ว เอเยนซีส่วนใหญ่มีความเห็นว่า รายการของเกมโชว์ไม่มีความแตก ต่างไปจากช่อง 3 และช่อง 7 เนื่องจากเป็นผู้ผลิตคนเดียว กัน ซึ่งจะทำให้ช่อง 5 เสียเปรียบในแง่ที่ว่า ความเคยชินของคนดูส่วนใหญ่จะเลือกดูช่อง 7 กับช่อง 3

เมื่อเปรียบเทียบระหว่างทั้ง 3 ช่องแล้ว เอเยนซีรายหนึ่งให้ความเห็นว่า ช่อง 7 นั้นยังครองตลาดระดับ ล่าง ซึ่งเป็นกลุ่มคนดูขนาดใหญ่ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ในขณะที่ช่อง 3 กลุ่มคนดูในกรุงเทพฯ และรอบนอก ที่จะ มีการศึกษามากขึ้น ส่วนช่อง 5 นั้นยังก้ำกึ่ง ยังไม่ชัด เจนว่าจะเป็นลูกค้ากลุ่มใด

"ก็คงต้องให้เวลาช่อง 5 ไปอีกระยะหนึ่ง เพราะถ้าจะถามว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ ก็ถือว่าดีกว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย" เอเยนซีรายหนึ่งสะท้อนแนวคิด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us