Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2542
"โทรทัศน์เป็นเรื่องสนุก แต่ไม่ใช่ทางของผม"             
 

   
related stories

แป้งปฏิวัติ เงื่อนปมที่รัดแน่น
เทเลไฟว์ เปิดศึกไพรม์ไทม์

   
search resources

สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5
แป้ง มาลากุล ณ อยุธยา




พลเอกแป้ง เป็นทหาร บุคลิกของเขาค่อนข้างแตก ต่างไปจากทหารทั่วไป เขาเป็นคนพูดจานุ่มนวล ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า

ยิ่งในช่วงปรับปรุงช่อง 5 จากระบบราชการมาสู่การบริหารงานแบบเอกชน หากเป็นไปได้พลเอกแป้ง มักจะไม่สวมเครื่องแบบทหารออกงานเลย ยกเว้นมีงานสำคัญๆ

ยามว่างเขาใช้เวลาตีกอล์ฟ ว่ายน้ำ หรือ ขี่ม้า เป็น กีฬา 3 ชนิดที่โปรดปราน ซึ่งมีที่มาต่างกันไป

พลเอกแป้ง เป็นลูกคนที่ 3 ของ ม.ล.ปีกทิพย์ และ ชนัฎ มาลากุล ณ อยุธยา มีพี่น้อง 5 คน ปนัดดา, ปีย์, พลเอกแป้ง, คุณหญิงทิพยวดี ปราโมช และ ทับทิม พ่อเป็นนักการทูตต้องเดินทางบ่อย ในวัย 10 ปี พลเอก แป้งจึงถูกส่งไปอยู่โรงเรียนประจำ และอยู่ในความดูแลของตาคือ พระยาประกิตกลสาร ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่พลเอกแป้งบอกว่าทำให้เป็นเขาเป็นคนเจ้าระเบียบ

ญาติพี่น้อง ไม่มีใครยึดอาชีพทหาร แม่ของเขา ก็เคยตั้งความหวังไว้ว่าจะให้เรียนหมอ เพราะเป็นคนหัวดี แต่เขากลับเลือกสวมเครื่องแบบทหาร ให้เหตุผลว่าเขาไม่ใช่หนอนหนังสือ ประกอบกับได้แรงจูงใจจากเพื่อนฝูงที่ล้วนแต่ก็อยากเป็นทหาร

หลังจบมัธยมปลาย มุ่งสู่โรงเรียนเตรียมทหาร จากนั้นเข้าเรียนที่นายร้อย จปร.รุ่น9 รุ่นเดียวกับพลเอกเชษฐา ฐานะจาโร และ พลเอกอนุสรณ์ กฤษณเศรณี พลเอกมงคล อัมพรพิสิฐ พอขึ้นปี 2 ก็สอบชิงทุนได้ทุนของกองทัพบกไปเรียนที่โรงเรียนนายร้อยแซนเฮิร์ธ ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งพี่น้องส่วนใหญ่ของเขาก็เรียนจบ ที่นี่ เพราะพ่อเขาเคยย้ายมาเป็นทูตที่อังกฤษ

พลเอกแป้งพบกับภรรยา ศิริรัตน์ เอื้อวิทยา หรือ ต่อ ที่ประเทศอังกฤษ ช่วงนั้นเขาอายุ 19 ปี เจอกันใน ห้องเรียนภาษาอังกฤษ จากนั้นก็คบหากันมาและแต่งงานกันตอนอายุ 25 ปี มีลูกชาย 2 หญิง 2 ซึ่งจบการ ศึกษาและเริ่มทยอยมีครอบครัวกันเกือบหมดแล้ว

หลังเรียนจบกลับมาเมืองไทย ภรรยาเข้าทำงานที่องค์กรระหว่างประเทศ SETO ตอนหลังหน่วยงานถูกยุบเธอจึงมาทำงานที่บริษัทเติมเอ็นจิเนียริ่ง ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว

พลเอกแป้งใช้ชีวิตทหารในต่างจังหวัดเป็นส่วน ใหญ่ เรียนจบกลับมาเริ่มงานที่จังหวัดสระบุรี เป็นผบ.มว.ร้อยฝึก พัน เบื้องต้นเฉพาะเหล่าทหารม้า และเป็นเหตุให้เขาชอบขี่ม้า และเป็นนายกสมาคมขี่ม้าแห่งประเทศไทย รวมทั้งการฝึกเป็นนักบิน

เขาต้องไปทำงานที่ประเทศลาว 4 ปี จากนั้น ก็กลับมาเข้าโรงเรียนเสนาธิการ สอบแข่งขันได้ไปเข้า โรงเรียนเสนาธิการ ประเทศออสเตรเลีย เรียนจบกลับมาเป็นอาจารย์โรงเรียนเสนาธิการ จากนั้นก็ย้ายไปเพชรบูรณ์ เชียงราย เชียงใหม่ รวมแล้วอยู่ภาคเหนือมา 20 กว่าปี

ติดยศนายพลครั้งแรกอายุ 50 ปี สมัยเป็นผู้บังคับการทหารบก จังหวัดเชียงราย รับผิดชอบงานพัฒนา ดอยตุง ก่อนจะย้ายมาเป็นผู้บังคับการมณฑลทหารบก 33 จังหวัดเชียงใหม่ และเป็นเจ้ากรมกิจการพลเรือน กอง ทัพบก

จากนั้นก็ได้เลื่อนยศเป็นพลโท อยู่ในตำแหน่ง ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายกิจกรรมพลเรือน และเป็นเลขานุการคณะกรรมการบริหารวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เป็นรองเสนาธิการทหารบก และผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก และเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา และผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ กองทัพบกช่อง 5 ปี 2539 จนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542

ผู้ใกล้ชิดกล่าวว่า พลเอกแป้งฉายแววในเรื่องของ การใช้สื่อมาตั้งแต่สมัยทำงานอยู่ต่างจังหวัด สมัยที่ทำงานอยู่บนเขาค้อ พลเอกแป้งเป็นคนริเริ่มนำโทรทัศน์มาให้ประชาชนในถิ่นนั้นได้รับรู้ข่าวสาร และนำสไลด์มัลติวิชั่นมาใช้นำเสนอข้อมูล ซึ่งในช่วงนั้นอุปกรณ์นี้ยังเพิ่งเริ่มใช้ในเมืองไทย

พลเอกแป้ง เล่าว่า เขาเริ่มเรียนรู้เรื่องวิทยุและโทรทัศน์ ในช่วงที่ย้ายมาเป็นเจ้ากรมกิจการพลเรือน อัน เนื่องมาจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ กองทัพบกถูกมองในภาพไม่ดี ในฐานะเจ้ากรมกิจการพลเรือน จึงต้องมาทำหน้าที่ให้ความเข้าใจกับประชาชน

จากที่ได้เข้ามาสัมผัสกับสื่อของกองทัพ พลเอกแป้งพบว่า สื่อของกองทัพไม่มีความเป็นเอกภาพ ต่างคน ต่างดูแล เขาจึงทำเรื่องเสนอผู้บัญชาการทหารบก ให้ตั้ง คณะกรรมการบริหารวิทยุและโทรทัศน์ เป็นองค์กรดูแล สื่อทั้งหมดของกองทัพ

"พอผมเสนอเสร็จ ก็ได้เลื่อนจากเจ้ากรมกิจการพลเรือน มาเป็นผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก และต่อมาก็ ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการของคณะกรรมการที่ได้รับแต่ง ตั้งให้ไปกำกับดูแลสถานีวิทยุทั้ง 128 แห่ง ให้เป็นไป ตามนโยบาย มีการจัดผังรายการให้เหมาะสม"

และจากจุดนั้นพลเอกแป้งก็ถูกเสนอชื่อมาเป็นผู้อำนวยการของสถานีโทรทัศน์ช่อง 5

จากชีวิตนายทหารที่อยู่ต่างจังหวัดมาถึง 20 ปี มาเป็นผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ นับเป็นชีวิตที่พลิกผันไม่น้อย ซึ่งพลเอกแป้งเองก็บอกว่า เขาต้องปรับตัวมากทีเดียว แต่ดูเหมือนว่าเขาจะปรับตัวไม่นาน

"ผมเป็นคนโชคดี ที่มีเพื่อนอยู่ในวงการทีวีหลาย คน เช่น ชาติเชื้อ กรรณสูต เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่สมัย เรียนวชิราวุธ และ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล ก็เพื่อนกัน พี่ชายและน้องสาวผมก็อยู่ในวงการนี้"

ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา เป็นคนที่คลุกคลีอยู่กับ "สื่อ" มากที่สุด ทั้งในชีวิตส่วนตัวและในแง่มุมของธุรกิจ เขาเป็นเจ้าของบริษัทแปซิฟิก กรุ๊ป ซึ่งเคยสร้างความฮือฮา ในวงการสื่อมาเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ปัจจุบันเขาก็ยังวนเวียนอยู่ในยุทธจักรของสื่อ เพียงแต่ลดความหวือหวา ลง มีสิ่งพิมพ์อย่างนิตยสาร ดิฉัน คลื่นจราจร จ.ส.100 ป้อนให้กับสถานีวิทยุกองพล 1 รักษาพระองค์ และมีราย การทีวีผลิตป้อนให้กับช่อง 5 เป็นแนวสารคดี

อันที่จริงแล้ว พลเอกแป้งและพี่น้องยังคงพบปะกันบ่อยมาก เพราะมีบ้านปลูกอยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่ช่วงหลังพลเอกแป้งจะย้ายไปปลูกบ้านใหม่อยู่หลังช่อง 5 แต่ก็ยังได้พบปะกับปีย์อยู่เสมอ เพราะปีย์ซื้อคอน โดมิเนียมอยู่ใกล้ๆ กัน "ผมก็ปรึกษาพี่ชายผมบ้าง เขาเก่งกว่าผมเยอะ เขาประสบความสำเร็จด้วยดี แต่บางอย่างผมก็เชื่อเขา บางอย่างผมก็ไม่เชื่อเขา"

วิธีการเรียนรู้อีกอย่างหนึ่งก็คือ การไปเยี่ยมชมสถานีโทรทัศน์ทั้งในและนอกประเทศ ไปทุกช่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ พลเอกแป้งบอกว่า เขาไปมาแล้วเกือบทั่วโลก

ในห้องทำงานที่ช่อง 5 ที่ตึกเก่าจะมีโทรทัศน์หลาย เครื่อง ที่พลเอกแป้งเปิดไว้ตลอดเวลา เพื่อดูความเคลื่อน ไหวของรายการของช่อง 5 และช่องอื่นๆ

พลเอกแป้ง มีเพื่อนฝูงที่เป็นนายทหารรุ่นพี่รุ่นน้อง จปร.รุ่น9 ที่เขาจบมาก็เป็นนายทหารรุ่นที่มีความสนิทสนม กับพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ เป็นอย่างดี

สมัยเรียนวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รัฐร่วมเอกชน รุ่น355 เขามีโอกาสรู้จักนักธุรกิจหลายคน โดย เฉพาะอย่างยิ่ง จุลจิตต์ บุณยเกตุ ก็เป็นเพื่อนร่วมรุ่นวปอ.ที่ต่อมาถูกชวนมาเป็นกรรมการในบริษัท ททบ.5 โฮลดิ้ง

เส้นทางชีวิตของเขาจึงราบรื่นเอามากๆ ในระหว่าง ที่นั่งเป็นผู้อำนวยการช่อง 5

ชื่อของพลเอกแป้งติดอยู่ในโผที่จะได้ลุ้นเป็น ผบ.ทบ. แทนพลเอกเชษฐาที่เกษียณอายุราชการไปเมื่อปีที่แล้วด้วย

แต่น้ำขึ้นย่อมมีน้ำลง หลังการเปลี่ยนแปลงผู้บัญชาการกองทัพบก ที่มาพร้อมกับกระแสข่าวการต่ออายุสัญญาช่อง 7 ก่อนสัญญาเดิมจะหมดอายุหลายปี เพื่อเลี่ยงมาตรา 40 ซึ่งพลเอกแป้งเป็นหนึ่งในคณะกรรม การกองทัพบกที่อนุมัติ และล่าสุดความไม่ชอบมาพากลในการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งคอมปานี

เป็นสาเหตุที่ทำให้เขาต้องตัดสินใจลงจากเก้าอี้ผู้อำนวยการ ก่อนสิ้นสุดการเป็นผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ ช่อง 5

พลเอกแป้งบอกว่า สองสิ่งที่เขาจะไม่ทำหลังเกษียณอายุ ก็คือ ไม่เล่นการเมือง และไม่ทำธุรกิจโทรทัศน์ แต่จะไปทำงานที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ เรื่องของการประหยัดพลังงาน

"ผู้อำนวยการช่อง 5 ผมไม่ได้อยากมาเลย ผมมา ตรงนี้ผมฝืนใจนะ บังเอิญอยู่ตรงนั้นพอดี ก็เลยถูกจับมาเป็นผู้อำนวยการ ผมมีเวลาในช่วงบั้นปลายผมจะไปทำสิ่งที่ตัวเองรัก โทรทัศน์เป็นเรื่องสนุก แต่ไม่ใช่ทางของ ผมเลย" คำกล่าวของพลเอกแป้งที่ผิดกับตอนมาอย่าง ลิบลับ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us