ผู้ที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นประจำคงมีความปรารถนา ที่คล้ายกันประการหนึ่งคือต้องการให้เครื่องคอมฯ
ทำงานได้เร็วมากที่สุด เร็วดั่งใจนึกหรือเร็วกว่าได้ยิ่งดี ความปรารถนาเช่นนี้เป็นจริงขึ้นมาแล้ว
มันได้ช่วยลดทอนปัญหาของผู้ใช้ลงไปมาก แต่ปัญหาของผู้ผลิตล่ะ ในเมื่อคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันทั่วๆ
ไปก็มีความเร็วพอกับความต้องการใช้งานทั่วไปอยู่แล้ว และจะเอาคอมพิวเตอร์ที่เร็วยิ่งกว่าหรือ
superfast computer มาใช้ทำไมในเมื่อมันมีราคาสูงกว่า
นี่คือการท้าทายที่อินเทล (Intel) เผชิญอยู่ในตอนนี้ ทั้งนี้ บริษัทเพิ่งออกโปรเซสเซอร์
(processor) ตัวใหม่ล่าสุดคือ เพนเทียม III ซึ่งอินเทลก็พยายามแก้ปัญหาด้วยการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดและการลดราคา
ปกติเมื่ออินเทลออก chip ใหม่สู่ท้องตลาด เครื่องที่ใช้ชิปรุ่นนั้นจะมีราคาสูงกว่าเครื่องชั้นนำ
(top line) ในตลาดขณะนั้น แต่ครั้งนี้มันไม่เป็นเช่นนั้น ตลาดมีกำลังซื้ออ่อนลงและบริษัทคู่แข่งก็จะออก
chip ตัวใหม่ในเร็วๆ นี้ คือ K6-III ของบริษัท Advanced Micro Devices แต่อินเทลก็ต้องการขายเครื่องที่มีชิปเพนเทียม
III ให้ได้ ในราคาถูก
ตอนนี้บริษัทเดล (Dell) ขายเครื่องขนาด 500-MHz ที่ใช้เพนเทียม III Dimension
XPST ในราคา 1,775 เหรียญ(ไม่รวม จอมอนิเตอร์) ขณะที่หากเป็นเครื่องขนาด
450-MHz ใช้ชิปเดียว กันขายที่ราคา 1,640 เหรียญ และเครื่องขนาด 400-MHz
ใช้เพนเทียม II Dimension V ก็มีราคาแค่ 1,475 เหรียญหากเลือก ซื้อดีๆ แล้ว
ก็อาจจะหาเครื่องที่ใช้เพนเทียม III ในราคาที่ต่ำกว่าเครื่องรุ่นเดียวกันที่ใช้เพนเทียม
II ด้วยซ้ำไป
นั่นคือเครื่อง Dimension V ที่ขนาดความเร็ว 400-MHz ใช้ Celeron processor
ในราคาเพียง 1,363 เหรียญ ซึ่งกลยุทธ์ เรื่องราคาของอินเทลนั้นทำให้เข้าใจว่าเพนเทียม
II จะค่อยๆถอนออกจากตลาด เหลือแต่เพนเทียม III และ Celeron
อินเทลและผู้ผลิตเครื่องคอมฯ ในตอนนี้กำลังเผชิญความท้าทาย 2 อย่างในการที่จะชักชวนให้ผู้ใช้(user)หันมาอัพเกรดชิปเป็นเพนเทียม
III ประการแรกคือพวกเขาต้องขายไอเดียที่ว่าความเร็วเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงานของเครื่องคอมฯ
และความเร็วที่ว่านี้เพนเทียม III สามารถสนองได้
โปรเซสเซอร์ Celeron ก็ใช้งานได้ดีอยู่แล้วทั้งแอพพลิ เคชั่นธุรกิจและครัวเรือน
ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม word proces-sing, E-mail และการจัดการเรื่องการเงินต่างๆ
คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงไม่ได้ช่วยให้การทำงานของแอพพลิเคชั่นเหล่านี้เร็วมากขึ้นนัก
อินเทลพยายามโปรโมตเพนเทียม III ว่าเป็นชิปที่ใช้ ได้ดีกับการเข้า Web แต่ลูกค้าต้องมี
cable modem หรือมีการ เชื่อมต่อด้วยความเร็วสูงอยู่แล้ว ความแตกต่างนี้จึงจะเห็นได้อย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการเขียนซอฟต์แวร์โปรแกรมเพื่อ ใช้ประโยชน์จากความสามารถของชิปตัวนี้
เพนเทียม III ก็จะมีความเร็วมากกว่าชิปอื่นๆ ในท้องตลาดเพียง 10% เท่านั้น
แต่อินเทลก็เคยมีประวัติมาเมื่อ 2 ปีก่อนว่าแนะนำตัว MMX Pentium แต่ทว่าไม่มีซอฟต์แวร์โปรแกรมมารองรับ
ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดดังกล่าว มาคราวนี้อินเทลจึงทำงานร่วมกับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อย่างใกล้ชิด
เพื่อที่จะเข็นซอฟต์แวร์โปรแกรมที่ใช้กับเพนเทียม III ออกมาสู่ท้องตลาดเร็วที่สุด
ล่าสุดดูเหมือนจะเป็นเวอร์ชั่นแรก (ที่อัพเกรดแล้ว) ของซอฟต์แวร์ชื่อ Laura"s
Happy Adventures ของบริษัท UbiSoft
ขณะที่อินเทลมีปัญหาเรื่องการผลักดันให้ผู้ใช้อัพเกรดชิปเป็นเพนเทียม III
หันมาดูที่แอปเปิลแล้วกลับไม่ใคร่มีปัญหาเท่าใดในการที่จะชักจูงให้ลูกค้าใช้
Power Mac G3 เพื่อให้มีความเร็วมากกว่าเดิม เครื่อง Power Mac G3 ที่ความเร็ว
300-MHz มีราคา 1,599 เหรียญ ส่วนความเร็ว 400-MHz ราคาเพิ่มไป ถึง 2,519
เหรียญ เครื่องพวกนี้ออกแบบมาสำหรับคอศิลปินที่ชอบออกแบบหรือทำกราฟฟิกบนเครื่อง
รวมไปถึงผู้ผลิตสื่อรูปแบบต่างๆ บนเครื่อง (multimedia-content producers)
นอกจาก ความเร็วแล้ว สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือเครื่องเพาเวอร์แมคเหล่านี้มีพื้นที่ให้ขยายการใช้งานได้อีกมาก
โดยเฉพาะการออกแบบให้สามารถเชื่อมกับกล้องดิจิตอลวิดีโอ และอุปกรณ์อื่นๆ
ที่ต้องการถ่ายโอนข้อมูลด้วยความเร็วสูงมาก
ไม่ว่าลูกค้าคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะรับมือกับการพัฒนาความเร็วของชิปใหม่ๆ
ทันหรือไม่ก็ตาม ต้องยอมรับว่าเครื่องคอมฯ ตอนนี้มีความเร็วนำหน้าไปแล้ว
เมื่อเร็วๆ นี้อินเทลได้แนะนำเพน เทียม III ทำงานที่ความเร็ว 1 gigahertz
และการผลิตเพนเทียมชิปรวมทั้งเพาเวอร์พีซีชิปก็คาดว่าจะทำได้ที่ระดับ 750-MHz
ภาย ในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า สิ่งที่ต้องการอย่างยิ่งก็คือซอฟต์แวร์ โปรแกรมที่จะทำให้ใช้ประโยชน์จากความเร็วดังกล่าวได้คุ้มค่า