Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2542
มร. Alan Tan ปลุกชีพการค้าสิงคโปร์-ไทย             
 


   
search resources

Singapore Trade Development Board - TDB
Alan Tan




วิกฤติระบบสถาบันการเงินในทั่ว ภูมิภาคเอเชียส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ และเป็นเหตุทำให้ปริมาณการค้าภายในประเทศเอเชีย รวมทั้งเอเชียกับประเทศในภูมิภาคอื่นๆ ถดถอยลงอย่างน่าตกใจ รัฐบาลไทยตระหนักในปัญหานี้และได้เร่งกระตุ้นให้มีการส่งออก โดยตั้งเป้าปีนี้ไว้ 4%

นอกจากไทยให้ความสำคัญเรื่องนี้แล้ว ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ก็เร่งมือแก้ปัญหาการค้าระหว่างประเทศที่เป็นหัวใจหลักของเศรษฐกิจสิงคโปร์อย่างมาก ทั้งนี้สิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกใหญ่สุดอันดับ 3 ของไทย ขณะที่ไทยก็เป็นคู่ค้าใหญ่สุดอันดับ 5 ของสิงคโปร์ มูลค่าการค้าของไทยที่มีกับสิงคโปร์นั้นคิดเป็น 4.2% ของมูลค่าการค้าต่างประเทศของสิงคโปร์ แต่ปรากฏว่าในช่วงปี 2540-2541 มูลค่าการค้าระหว่างไทยและสิงคโปร์ ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าจากสิงคโปร์ เข้ามาตลาดไทยนั้นในปี 2541 ลดลงต่ำสุดเมื่อมองย้อนหลัง ไป 5 ปี (ดูตารางการค้าระหว่างสิงคโปร์-ไทย)

ส่วนการลงทุนโดยตรงจากสิงคโปร์ในไทยก็มีตัวเลขตกต่ำอย่างน่าใจหายคือมีมูลค่าเพียง 12.2 พันล้านบาทเท่า นั้นในปี 2541 หรือคิดเป็น 4.5% ของมูลค่าการลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศในไทย ซึ่งเทียบกับปีก่อนหน้ายังมีสัดส่วนอยู่ถึง 22% (ดูตารางการลงทุนโดยตรง)

ตัวเลขเช่นนี้น่าจะเป็นสัญญาณบ่งบอกให้ทางรัฐบาลสิงคโปร์นิ่งเฉยอยู่ไม่ได้

ดังนั้นปลายเดือนก.พ.ที่ผ่านมา มร.Alan Tan Wing Wton ซึ่งเป็นเลขานุการเอก(ด้านพาณิชย์) ของสถานทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทย ได้แถลงข่าวเปิดสำนักงานของคณะกรรมการพัฒนาการค้าสิงคโปร์หรือ Singapore Trade Development Board (TDB) ที่กรุงเทพฯ เพื่อทำหน้าที่ดูแลสนับสนุนการค้าระหว่างทั้งสองประเทศ โดยเขาก้าวเข้ามารับตำแหน่งเป็นกรรมการของสำนักงานนี้หลังจากทำหน้าที่เลขาฯ พาณิชย์ในไทยมาได้ 1 ปี

มร.ตันเปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่า "เหตุที่ TDB เพิ่งมาเปิดออฟฟิศที่นี่ แม้ว่าจะมีกิจกรรมมานานก่อนหน้าแล้วก็เพราะว่านโยบายเรื่อง AFTA ดังนั้นปีที่แล้ว TDB จึง ตัดสินใจเปิดออฟฟิศในประเทศอาเซียนทุกแห่ง และออฟ ฟิศที่กรุงเทพฯนี่ก็เป็นแห่งล่าสุดที่เพิ่งเปิด ก่อนหน้านี้เราก็เปิดที่ กัวลาลัมเปอร์ มะนิลา จาการ์ตา ฮานอย"

TDB เป็นหน่วยงานของรัฐบาลสิงคโปร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2526 ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานส่งเสริมการค้าต่างประเทศ ของสิงคโปร์และเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการรักษา ความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระดับโลกของสิงค- โปร์ บทบาทที่ว่านี้ครอบคลุมใน 3 ด้านคือนโยบายการค้า มาตรการส่งเสริมการค้า และการอำนวยความสะดวกทางการค้า

การค้าระหว่างสิงคโปร์และไทยเริ่มขยายตัวอย่างมาก ตั้งแต่ปี 2530 ซึ่งมีมูลค่าการค้ารวม 4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็น 15.16 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2541 หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 11.23% อย่างไรก็ดี อัตราการหดตัวทางการค้าเริ่มปรากฏครั้งแรกในปี 2540 ที่มีอัตราการเติบโตลดลง 7.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ส่วนที่ลดลงมากคือการส่งสินค้าเข้ามาขายในไทย

ทั้งนี้สินค้าส่งออกของสิงคโปร์ ได้แก่ วาล์วอีเล็ก-ทรอนิกส์ อุปกรณ์โทรคมนาคม ชิ้นส่วนสำนักงานและเครื่องประมวลผลข้อมูล เครื่องจักรไฟฟ้า อุปกรณ์วงจรไฟฟ้า ขณะที่ก่อนหน้านั้นผลิตภัณฑ์น้ำมันเป็นรายการสินค้านำเข้าของไทยอันดับหนึ่ง แต่ตอนนี้ไทยสามารถกลั่นน้ำมันได้เองแล้ว รายการสินค้านี้จึงตกไป

เหตุที่ตัวเลขการค้าการลงทุนของสิงคโปร์ในไทยลดลงไปมากในปี 2541 นั้น มร.ตันมองว่าเป็นเพราะในปี 2540 มีการลงทุนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการนำเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในโครงการนิคมอุตสาหกรรมปลวกแดงที่ระยอง (โครงการระหว่างกลุ่มจูหรงจากสิงคโปร์และกลุ่มน้ำตาลตะวันออก ของตระกูลวัธนเวคิน) ส่วนอีกโครงการหนึ่งก็คือการลงทุนในธนาคารไทยทนุของ DBS Bank นั่นเอง ดังนั้นในปี 2541 มูลค่าการลงทุนจึงลดน้อยลง ซึ่งเหตุผลอีกประการ หนึ่งก็เพราะโครงการเหล่านี้มีความล่าช้าด้วย

ขณะเดียวกันในช่วงก่อนหน้านี้ก็มีการลงทุนจากสิงค-โปร์ในไทยค่อนข้างมาก เช่นการซื้อหุ้น 49% ในบล. Amsteel Securities (Thailand) ของบริษัท Philip Brokerage, การลงทุนก่อสร้าง Thai Petrochemical Logistics Centre โดยบริษัท Katoen Natie Sembawang Industrial Services, การสร้างโรงงานของเล่นของบริษัท NT Vision และการลงทุนซื้อหุ้นในการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยของ Singapore Petroleum เป็นต้น ดังนั้นแม้ว่าปี 2541 มูลค่าการลงทุนจะลดลง แต่ก็ยังถือว่ามากอยู่คือมีการลงทุน 60 โครงการคิดเป็นเม็ดเงิน 12,200 ล้านบาท

ในการเปิดสำนักงานในไทยครั้งนี้ TDB ได้จัดให้มีคณะผู้แทนการลงทุนและการค้าจากสิงคโปร์จำนวน 20 กว่า บริษัท เดินทางเข้ามาดูลู่ทางการลงทุนและการขยายกิจการ ในไทยด้วยในช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กิจการที่ผู้แทน กลุ่มนี้สนใจได้แก่ การพิมพ์ การหีบห่อสินค้า การจัดจำหน่าย สิ่งทอ พลาสติก นอกจากนี้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินและการจัดหาบุคลากรก็ร่วมคณะมาด้วย

มร.ตันกล่าวว่า "คณะผู้แทนที่มาในครั้งนี้ยังไม่มีเป้าหมายเรื่องการซื้อกิจการหรือร่วมลงทุน พวกเขาต้องมาดูก่อน ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของพวกเขา และมันก็คงเป็นเรื่องของการลงทุนระยะยาวด้วย พวกเขาต้องคุยกัน ดูใจกันก่อน ยังต้องใช้เวลาอีกสักหน่อย"

หน้าที่ของ มร.ตันในเรื่องนี้คือเป็นผู้จับคู่ แต่เขาก็ไม่ได้เร่งให้เกิดขึ้นเร็ว เขาอยากให้เป็นการจับคู่ที่ถูกต้องมากกว่า อย่างไร ก็ดี สำนักงาน TDB ในกรุงเทพฯได้ ให้ข้อมูลแก่บริษัทสิงคโปร์ว่าลู่ทางการลงทุนในไทยที่น่าสนใจสนับสนุน ตอนนี้ได้แก่ trade logistics, infrastructure, manufacturing, textile sourcing และ agri-business

ส่วนเรื่องของปริมาณการค้าที่ลดลงนั้น เขากล่าวว่าเขาไม่มีเป้าหมายตัวเลขว่าจะต้องผลักดันให้เติบโตเป็นเท่าไหร่ แต่โดยรวมเขาคิดว่ามันน่าจะมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น ได้แล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us