Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543
คอนวีเนียนสโตร์ ทางออกของคนเมือง             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 


   
search resources

Retail




การรุกคืบของกลุ่มทุนตะวันตก ที่เร่งเร้าการบริโภคของชาวเอเชียกำลังจะถึงจุดพลิกผันสำคัญอีกครั้ง เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการค้าปลีกของโลกต่างเดินทางมาเมืองไทย เพื่อเผยให้เห็นวิสัยทัศน์ว่าด้วยกิจการร้านสะดวกซื้อ ซึ่งกำลังจะเป็นทิศทางใหม่ในการเลือกซื้อสินค้าของประชากรในเอเชีย

ภายใต้การประชุม The Convenience Asia Congress และการแสดงสินค้า Inter-Shop Asia Expo ซึ่งจัดขึ้นในประเทศไทยเมื่อปลายเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา จุดเน้นของงานอยู่ ที่การระบุถึงทิศทางใหม่ในการประกอบการธุรกิจค้าปลีก ที่มีร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) เป็นรูปแบบใหม่ของการดำรงชีวิตในเขตเมือง

ลินด์เซย์ ฮัทเทอร์ รองประธานสมาคม Industry Affairs for The National Association of Convenience Store (US) ซึ่งเป็นตัวแทนของสมาคมกลุ่มอุตสาหกรรมร้านสะดวกซื้อ ที่ทรงอิทธิพลกว่า 140,000 แห่งในสหรัฐอเมริกา ได้ ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรม และความต้องการของผู้บริโภคมีแนวโน้ม เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยด้านราคาไปสู่ความสะดวกในการรับบริการมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระแสการเติบโตของเมือง (Urbanization) ที่ส่งผลให้ผู้บริโภคไม่มีเวลายาวนานเพียงพอ ในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริโภคอาหารอีกต่อไป หากแต่จะอยู่ในภาวะ ที่ต้องการการตอบสนองอย่างทันที (prompt respond) เมื่อต้องการหรือรู้สึกว่าสะดวกแทน

"รูปแบบการดื่มกินของผู้คนในเขตเมืองกำลังเปลี่ยนไป โอกาส ที่จะนั่งในร้านอาหารหรือภัตตาคาร เริ่มลดน้อยลง ผู้บริโภคไม่สามารถรับประทานอาหาร 3 เวลาใน 1 วันได้อีก แต่จะทานทันที ที่รู้สึกหิวหรือกระชับเวลาให้สั้นลงด้วยอาหารง่ายๆ ประเภท ที่สามารถทานได้ในรถ" ลินด์เซย์ ฮัทเทอร์ ขยายความ และระบุว่าร้านสะดวกซื้อสามารถเติมเต็มพฤติกรรมเหล่านี้ได้ ด้วยมุมอาหารประเภทพร้อมดื่มพร้อมกิน

สกอตต์ อันนาน กรรมการ SRCG ซึ่งทำวิจัยเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าร้านสะดวกซื้อทั้งในยุโรป และเอเชีย แปซิฟิกระบุว่า การขยายตัวของร้านสะดวกซื้อในเอเชียมีแนวโน้มสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมัน ซึ่งเป็นแนวโน้ม ที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้ว และสามารถสนองตอบความต้องการของชีวิต ที่เร่งรีบได้เป็นอย่างดี

"การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกมิได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านขนาด หรือความมั่งคั่งขององค์กร แต่ปัจจัยชี้ขาดอยู่ ที่ความสามารถในการบริหาร และความเป็นมืออาชีพของบุคลากรแต่ ละส่วน ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของร้านสะดวกซื้อ"

ข้อมูลที่ SRCG นำมาเผยแพร่ในครั้งนี้ยังได้ชี้ให้เห็นว่า ในขณะที่ร้านสะดวกซื้อในอเมริกามียอดจำหน่ายหลักอยู่ ที่ผลิตภัณฑ์น้ำมันมากถึง 60% จากผลของการที่ร้านสะดวก ซื้อเป็นส่วนหนึ่งของสถานีบริการน้ำมันนั้น ร้านสะดวกซื้อในเอเชียส่วนใหญ่จะมียอดจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องดื่มซอฟต์ดริงก์ เบียร์ และยาสูบ มากถึง 50-60% ของยอดรวมทั้งหมด แต่สินค้าประเภทอุปโภคบริโภคก็มีแนวโน้มจะเติบโต ขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่าการเติบโตของร้านสะดวกซื้อในเอเชียระหว่างปี 2000-2005 จะขยายตัวอยู่ในระดับ 10% ตามอัตราการขยายตัวของเขตเมืองอีกด้วย

พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คน ในเขตเมืองในช่วงต่อจากนี้ ดูเหมือนว่าจะผูกพันกับร้านสะดวกซื้ออย่างไม่อาจเลี่ยงเสียแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us