Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2542
อัลไซเมอร์             
โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
 





ถ้าอ่านตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือข่าวทีวี ผมเชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านคงจะเกิดความรู้สึกคล้ายกันว่า ที่ว่าคนไทยลืมง่ายนั้นดูจะไม่ใช่ความจริงในกรณีปัญหาระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้าน เพราะดูเหมือนว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีความจำที่ดีมากว่าใครทำอะไรไว้กับตนบ้าง เรียกว่าจำไม่มีลืม และต่างพยายามจะชดใช้คืนให้อีกฝ่ายหนึ่ง ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งก็ดูจะไม่อยากรับการใช้คืนนี้

การทะเลาะกันทั้งในฝ่ายรัฐบาล รวมถึงการล้างแค้นกันระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน คงจะทำให้หลายคนภาวนาให้บรรดาท่านเหล่านั้นเกิดอาการของโรคอัลไซเมอร์ เพื่อจะได้ลืมๆ อะไรไปเสียบ้าง ไม่ใช่ลืมอยู่เรื่องเดียวว่าสัญญาอะไรไว้กับประชาชนบ้าง

โรคอัลไซเมอร์นั้นเป็นหนึ่งในหลายโรคที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในตะวันตก คงจะเนื่องจากเมื่อคนอายุมากขึ้น ความเสื่อมทางสมองด้วยโรคดังกล่าวพบได้มากขึ้น มีความพยายามที่จะหาวิธีในการรักษาโรคสมองเสื่อมนี้ หรือ ยับยั้งให้มีการเสื่อมของโรคช้าลง

ที่จริงแล้วอัลไซเมอร์ไม่ได้เป็นโรคสมองเสื่อมเพียงโรคเดียว สาเหตุของความเสื่อมของสมอง และความจำมีได้หลายประการ เช่น สมองเสื่อมจากเส้นเลือดสมองอุดตัน สมองเสื่อมจากการเป็นเบาหวาน หรือจากโรคทางกายอื่นๆ

สิ่งที่น่าสนใจสำหรับโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งทำให้แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์สนใจศึกษาโรคนี้ คือโรคสมองเสื่อมชนิดนี้ เป็นโรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุดแน่นอนว่าพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดย เฉพาะผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป แต่ในคนอายุน้อยก็พบได้เช่นกัน

การดำเนินของโรคจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ พูดง่ายๆ คือ ถ้าหากปล่อยไปตามธรรมชาติ อาการจะเสื่อมมากขึ้น โดยอาการเด่นจะเป็นความผิดปกติของความจำ และพฤติกรรม ในท้ายสุดของโรคผู้ป่วยจะไม่สามารถดูแล หรือช่วยเหลือตัวเองได้ ตัวอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน คือ การป่วยของอดีตประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน

อาการแรกเริ่มที่เราอาจสังเกตได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ คือ ผู้ป่วยจะไม่สามารถทำกิจวัตรที่ตนเองเคยทำได้ตามปกติ กิจวัตรเหล่านั้นอาจจะเป็นตั้งแต่เรื่องงานที่ทำเป็นประจำ ไปจนถึงกิจวัตร ง่ายๆ ที่ทำในตอนเช้าเช่น การอาบน้ำ การแต่งตัว นอกจากนี้จะมีปัญหาในแง่ของการใช้ภาษา ผู้ป่วยมักจะนึกคำที่ตัวเองต้องการใช้เรียกสิ่งของ หรือบ่งถึงความต้องการของตนไม่ได้

อาการสับสน เช่นจำสถานที่ไม่ได้ หรือ ออกจากบ้านไป แล้วหาทางกลับบ้านไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และญาติมักจะต้องมีป้ายชื่อ หรือที่อยู่ติดไว้กับตัวผู้ป่วย เผื่อในกรณีที่ผู้ป่วยหลงทาง หรือหายออกไปจากบ้าน เพื่อผู้ที่พบเห็นจะสามารถพาผู้ป่วยมาส่งบ้านได้

ความสามารถในการตัดสินใจเสีย มักจะแสดงออกมาในรูปของพฤติกรรมที่ผิดไปจากปกติ หรือ ขาดการควบคุมตัวเอง และการยับยั้งชั่งใจ ทำในสิ่งที่ตนอยากจะทำ โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น หรือ ความยอมรับของสังคม ในขณะที่อารมณ์จะเปลี่ยนแปลงง่าย โดยไม่มีเหตุผล

หลงลืมในเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น อันนี้เป็นจุดที่ญาติมักจะเข้าใจผิด โดยมองแต่เพียงว่าผู้ป่วยจำเรื่องในอดีตได้แม่น พูดซ้ำพูดซากอยู่เรื่องเดียว ซึ่งที่จริงแล้ว การจำอดีตได้ไม่ได้เป็นตัวบอกที่ดี เพราะความจำส่วนนี้จะเสียช้า และเสียน้อยกว่าความจำในปัจจุบัน การที่พูดเรื่องเก่าๆ ซ้ำๆ เป็นตัวบ่ง
ว่าความจำปัจจุบันเสีย หรือผู้ป่วยไม่สามารถจดจำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้

การหลงลืมข้าวของที่วางไว้เป็นตัวอย่างที่ดี และรวมไปถึงการวางข้าวของไว้ผิดที่ที่สิ่งนั้นควรจะอยู่ เช่นเก็บกุญแจไว้ในตู้เย็น หรือเก็บผักผลไม้ไว้ในตู้เสื้อผ้า

สิ่งที่มักจะตามมาควบคู่กับอาการหลงลืม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางข้าวของไว้ผิดที่ทาง คือ ผู้ที่เป็นโรคนี้นอกจากจะจำไม่ได้ว่าวางที่ใดแล้ว เมื่อเป็นมากขึ้นมักจะลืมว่าตัวเองเป็นคนทำ แต่จะกลายเป็นโทษว่าคนรอบข้างเป็นคนทำหาย หรือหยิบข้าวของนั้นไป ถ้าเป็นมากขึ้นอีกก็มักจะลงท้ายด้วยเกิดอาการระแวงตามมาโดยเริ่มตั้งแต่ มีคนมาขโมยข้าวของไปจนถึงระแวงกลัวคนจะมาทำร้ายเพื่อหวังทรัพย์สิน ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้ญาติจึงเริ่มเข้าใจ และยอมรับว่าผู้ป่วย ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม

พออ่านถึงตรงนี้อาจจะมีบางท่านเกิดตั้งข้อสงสัยกับตัวเองว่า เราเป็นโรคสมองเสื่อมหรือเปล่า เพราะเราเองก็ลืมบ่อยๆ บางครั้งวางข้าวของไว้ แล้วก็จำไม่ได้ว่าเก็บไว้ที่ไหน จุดที่ต่างกันระหว่างคนเป็นโรคสมองเสื่อม กับคนขี้ลืม ก็ตรงที่ว่า คนขี้ลืมนั้นพอถูกทัก หรือพอเห็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ตนลืม ก็จะสะกิดใจให้รู้ว่าตนลืม สมุดบันทึกจึงมีบทบาทตรงนี้ ขณะที่คนเป็นสมองเสื่อมไม่ว่าใครจะทักอะไรอย่างไรก็จำไม่ได้ เอาสมุดบันทึกให้ดูยังกลับบอกว่าตัวเองไม่ได้เขียน

นอกจากนี้คนขี้ลืมยังสามารถดำเนินชีวิตไปได้ตามปกติ ความขี้ลืมไม่ได้มีผลกระทบรุนแรงมากกับชีวิต หรือการทำงาน ซึ่งต่างจากคนสมองเสื่อม หรือผู้ป่วยอัลไซเมอร์ซึ่งเมื่อเป็นมากขึ้น ไม่สามารถดูแล หรือช่วยเหลือตัวเอง จำเป็นต้องพึ่งพิงผู้ดูแล มิเช่นนั้นความหลงลืมอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย เช่น ลืมปิดแก๊ส หรือ หลงทาง

สาเหตุของโรคนั้น จนถึงปัจจุบันนี้เรายังไม่สามารถบอกถึงสาเหตุที่แท้จริงได้ แต่เชื่อว่ามีหลายปัจจัยเกี่ยวข้องกัน โดยส่วนหนึ่งเกิดจากการบกพร่องของสารสื่อประสาท Acetylcholine ดังนั้นการรักษาด้วยยาในปัจจุบันจึงเน้นที่การเพิ่มปริมาณของสารตัวนี้ในสมอง วิธีการหนึ่งที่กำลังใช้กันในปัจจุบัน คือการยับยั้งการออกฤทธิ์ของเอนไซม์ Acetylcholinesterase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ออกฤทธิ์ทำลาย Acetylcholine ผลที่ได้จึงเปรียบเสมือนร่างกายมีสารสื่อประสาทมากขึ้น ยาในกลุ่มนี้เริ่มมีวางจำหน่ายในบ้านเรา ซึ่งค่าใช้จ่ายตกประมาณวันละ 200-500 บาท ข้อดีของยากลุ่มนี้พบว่า ในผู้ป่วยประมาณ 80% มีอาการดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยานี้ไม่ได้รักษาโรค แต่เป็นการชะลออาการของโรคให้เป็นน้อยลง และช้าลง

เนื่องจากยังไม่มีวิธีการรักษาโรคนี้ และคนเมื่ออายุยิ่งสูงขึ้นก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้สูง
ขึ้นจึงมีผู้พยายามศึกษาถึงการใช้ยา หรือวิธีการอื่นๆ ในการป้องกันโรคนี้ เช่น มีการค้นพบว่าในคนไข้ที่รับประทานยาระงับปวดกลุ่ม NSAID (Nonsteroidal anti-inflammatory drugs) ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้

แต่ปัญหาก็คือ นี่เป็นข้อมูลจากการสังเกตในคนป่วยที่ต้องรับประทานยากลุ่มนี้ เราไม่สามารถสรุปได้ว่าควรจะรับประทานยากลุ่มนี้อย่างไรในคนปกติ เพราะการรับประทานยากลุ่มนี้เป็นประจำทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร

มีการศึกษาพบว่า วิตามินอี อาจช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ ด้วยการป้องกันการเกิดขึ้นของอนุมูลอิสระ (free radicals) แต่ต้องรับประทานเป็นประจำในขนาดสูงกว่าปกติ และมีผลข้างเคียง

ฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง มีส่วนป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ในหญิงวัยหมดประจำเดือนได้ 30-40% แต่แน่นอนว่า ยังไม่สามารถบอกได้ถึงผลระยะยาวของการใช้ฮอร์โมน เพศหญิงในคนปกติ

จะเห็นได้ว่าวิธีต่างๆ ที่กล่าวมานั้นยังมีความไม่แน่นอน และผลข้างเคียงในการใช้ยา มีคนเสนอว่า ในคนที่ใช้สมองตลอดเวลา (จนกระทั่งหลังเกษียณ) จะช่วยป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ เรื่องนี้เป็นการสรุปจากการศึกษาในแม่ชี (ฝรั่ง) ที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน โดยพบว่าแม่ชีกลุ่มดังกล่าวมีอัตราการเกิดอัลไซเมอร์ต่ำกว่าคนในวัยเดียวกัน โดยแม่ชีกลุ่มนี้จบการศึกษาสูง และยังสนใจการถกเถียงทางวิชาการแม้ว่าจะอายุกว่า 80 ปี ทำให้เกิดข้อสรุปว่าการได้บริหารสมอง หรือใช้ความคิดอยู่ตลอดเวลาอาจมีส่วนป้องกันโรคนี้ ในแง่กลับเราก็อาจมองได้ว่า คนหลังเกษียณที่ไม่ค่อยจะได้ทำอะไรจึงมักจะมีความเสื่อมในด้านต่างๆ รวมทั้งสมองเร็วกว่าคนในวัยเดียวกันที่ยังคงมีอะไรให้ทำอยู่ตลอดเวลา

สำหรับท่านทั้งหลายที่ไม่อยากให้ความเสื่อมของสมองและจิตใจมาเยือนเร็วกว่าที่ควรจะเป็นนั้น จะใช้ยาฝรั่ง หรือชีวจิตแบบไทยก็แล้วแต่ แต่อย่าลืมว่ายาบำรุงทั้งหลายนั้น หากไม่มีการออกกำลังกายด้วย สุขภาพกายก็หาได้แข็งแรงไม่ เช่นกันกับสมองและความคิดของคนเรา การหากิจกรรมทางปัญญาจะมีส่วนช่วยอย่างมากในการชะลอความแก่และเสื่อมของสมองและจิตใจ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us