Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2542
คอมลิงค์ VS ทศท. ที่สุดก็จ่าย 4 พ้นล้าน             
 

   
related stories

คอม-ลิงค์ บุฟเฟ่ต์คาบิเนท

   
search resources

คอมลิงค์




วันที่ 5 มกราคม 2542 ที่ผ่านมา เป็นวันที่พนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ต้องถอนใจอย่างหนักหน่วง เพราะเป็นวันที่ ทศท.ต้องควักเงินสดๆ 4,000 ล้านบาท จ่ายค่าเช่าวงจรเคเบิลใยแก้วนำแสงตาม รางรถไฟเพิ่มเติมให้กับบริษัทคอม-ลิงค์

นับเป็นการปิดฉากการต่อสู้ที่ยาวนานถึง 6 ปีเต็ม ต้องผ่านขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมมาทุกขั้นตอน ตั้งแต่อนุญาโตตุลาการ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ จนกระทั่งถึงศาลฎีกา และเป็นกรณีศึกษาที่ ทศท.ต้องจดจำ ไปอีกนาน

โครงการนี้เป็นการติดตั้งโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง ทำขึ้นมาสมัย ไพบูลย์ ลิมปพยอม มีคู่สัญญา 3 ฝ่าย คือ องค์การโทรศัพท์ฯ บริษัทคอม-ลิงค์ และการ รถไฟแห่งประเทศไทย สัญญาเริ่มต้นในวันที่ 1 เมษายน 2534 สิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม 2554

บริษัทคอม-ลิงค์ในฐานะเอกชนผู้รับสัมปทาน จะต้องลงทุนจัดหาอุปกรณ์ติดตั้งข่ายสาย และซ่อมบำรุงรักษา อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ ทศท.

ส่วน ทศท.จะต้องนำเงินรายได้จากวงจรที่นำให้บริการ นำมาจ่ายเป็นค่าเช่าวงจรให้กับคอม-ลิงค์ตลอดเวลา 20 ปี อัตราส่วนแบ่งเริ่มตั้งแต่ 26% และจะลดลงเรื่อยๆ จนปีสุดท้ายเหลือ 4% แต่รวมแล้วไม่เกิน 27,294 ล้านบาท

นอกจากนี้ ทศท.จะต้องจ่ายเงินค่าเช่าเสาไฟฟ้า และ ที่ดิน ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย และจะต้องให้รฟท.ใช้วงจรได้ฟรี รวมตลอด 20 ปี เป็นเงินประมาณ 30,000 ล้านบาท

โครงการนี้เกิดขึ้นสมัยของ ไพบูลย์ ลิมปพยอม เป็นผู้อำนวยการ ทศท. มีคณะกรรมการพิจารณา คือ พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ เป็นประธาน สมบัติ อุทัยสาง, ไพบูลย์ และ สมชาย จุละจาริตต์ ผู้ว่าการรถไฟฟ้า แห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ

ปัญหามาเริ่มขึ้นเมื่อ คอม-ลิงค์ ติดตั้งวงจรเสร็จก่อนกำหนดเวลา โดยติดตั้งข่ายสายเคเบิลใยแก้วนำแสงได้หมดทั้ง 5 เฟสภายในเวลาเพียงแค่ปีเดียวจาก กำหนดการเดิมที่ต้องติดตั้งให้เสร็จภายใน 5 ปี

พอติดตั้งเสร็จ คอม-ลิงค์ก็ทำหนังสือถึงทศท.ขอเก็บเงินค่าใช้วงจรทั้งหมดทันที แต่ปรากฏว่า ในช่วงนั้นโครงการโทรศัพท์ 2 ล้าน และ 1 ล้านเลขหมายยังอยู่ในช่วงติดตั้ง เมื่อเริ่มการใช้งานวงจร ทศท. ก็ยังมีรายได้ไม่มาก จึงแจ้งไปว่าจะจ่ายเงินให้เฉพาะ วงจรที่ใช้งานตามจริงเท่านั้น

แต่คอม-ลิงค์ไม่ยอม โดยอ้างถึงสัญญาที่ระบุไว้ว่า หลังจากติดตั้งวงจรเสร็จสิ้นและส่งมอบให้กับ ทศท.แล้ว คอม-ลิงค์มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินค่าเช่าวงจรทั้งหมดที่ส่งมอบไปทันที โดย ทศท.จะนำไปใช้เท่าไหร่ก็เป็นเรื่องของ ทศท.

ปัญหาระหว่าง ทศท.และคอม-ลิงค์ยังคงยืดเยื้อ แม้ว่าจะเปลี่ยนจาก ไพบูลย์ มาเป็นยุคสมัยของ จุมพล เหราบัตย์ ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ ทศท.จึงจ่ายเงินค่าเช่าตาม ใช้จริงไปก่อน ส่วนเงินค่าเช่าวงจรที่คอม-ลิงค์เรียกร้องให้ ทศท.จ่ายอีก 4,359 ล้านบาท ก็ให้อนุญาโตตุลาการ เป็นผู้ตัดสิน

อนุญาโตตุลาการตัดสินให้ ทศท.จะต้องจ่ายค่าเช่า วงจรให้คอม-ลิงค์อีก 3,865 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย อีก 7.5%

การตัดสินของอนุญาโตตุลาการในครั้งนั้น เท่า กับเป็นการบอกแล้วว่า ทศท.ต้องจำนนต่อสัญญาที่ทำไว้กับคอม-ลิงค์

ทศท.จึงหาทางประนีประนอมอีกครั้ง โดยไม่จ่ายดอกเบี้ย แต่คอม-ลิงค์ไม่ยอม เรื่องจึงถูกส่งขึ้นไปพิจารณาในชั้นศาล

ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นเห็นด้วยกับคำพิพากษาของ อนุญาโตตุลาการ ที่ให้ ทศท.จ่ายเงินให้กับคอม-ลิงค์ เช่น เดียวกับศาลอุทธรณ์ จนกระทั่งมาถึงศาลฎีกา ทศท. ก็เห็น แล้วว่าโอกาสชนะคดีแทบไม่มี บอร์ด ทศท.ชุดของ มีชัย วีระไวทยะ จึงเห็นชอบให้ประนีประนอมกับ คอม-ลิงค์

หลังจากเจรจาคอม-ลิงค์ก็ยอมลดเงินให้ 500 ล้านบาท จากยอดเงินประมาณ 4,500 ล้านบาท รวมดอกเบี้ยแล้ว เท่ากับว่า ทศท.ต้องจ่ายให้กับคอม-ลิงค์ 4,000 ล้านบาท แต่มีเงื่อนไขว่าต้องจ่ายเงินสด

แม้เรื่องระหว่าง ทศท.และคอม-ลิงค์จะลงเอยไปแล้ว แต่ ทศท.ก็ยังต้องสางปัญหาต่อ ยังมีคู่สัญญาอีกราย คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่ ทศท.ไปขอเช่าใช้เสาไฟฟ้า ที่คู่ขนานไปกับรางรถไฟให้คอม-ลิงค์ ไปวางสายเคเบิลใยแก้ว โดยหลังจาก ทศท.แบ่งรายได้กับคอม-ลิงค์ แล้ว ก็ต้องนำรายได้มาแบ่งให้ รฟท. ประมาณ 1 ใน 3 ของรายได้ที่เก็บมา เป็นค่าเช่าใช้เสาไฟฟ้า และยังให้ รฟท.ใช้วงจรฟรีอีกจำนวนหนึ่ง รวมเป็นเงินประมาณ 30,000 ล้านบาท ตลอดอายุ 20 ปี ซึ่งในช่วงระยะเวลา 7 ปี ทศท.จ่ายไปแล้ว 5,051 ล้านบาท

เป็นค่าเช่าเสาไฟที่มีราคาแพงมาก เมื่อเทียบกับของการไฟฟ้าภูมิภาค ปี 2541 ทศท.จ่ายค่าเช่าให้กฟภ. 75 ล้านบาท ในขณะที่จ่ายให้กับ รฟท. 1,278 ล้านบาท

"เราจะขอไปเจรจากับการรถไฟให้ลดค่าเช่าลงมา เพราะตอนแรกที่ทำสัญญาเช่า รฟท.มีเรื่องที่ดินที่ให้ ทศท. เช่าด้วย แต่พอมาทำจริงๆ แล้ว ไม่ได้ใช้ที่ดิน เราจะขอลดลง เวลานี้ก็ตั้งคณะทำงานไปเจรจาแล้ว "

นี่ก็คือ ส่วนหนึ่งของงานของพล.ต.ต.สุชาติ เผือก-สกนธ์ ในช่วงที่นั่งเป็นประธานในการพิจารณาโครงการ คอม-ลิงค์ เวลานั้นไม่ได้นั่งเป็นบอร์ด ทศท.อย่างเดียว แต่ เป็นบอร์ดให้การรถไฟฯด้วย จึงต้องประสานผลประโยชน์ ให้ฝ่ายหลังด้วย

"เข้าใจว่าสัญญานี้มีประโยชน์ แต่ก็รู้สึกไม่สบายใจมาก เพราะเปรียบได้เหมือนกับพ่อค้าเอาเปรียบชาวนา แต่เมื่อมีการดำเนินการไปแล้ว ก็ต้องเคารพในสัญญา คิดว่าสัญญาในลักษณะที่หน่วยงานของรัฐเสียประโยชน์ไม่น่าจะเกิดขึ้นอีก" ถ้อยคำของ มีชัย วีระไวทยะ ประธาน บอร์ด ทศท.ในวันประชุมบอร์ด ที่บอกเรื่องราวนี้ได้ดี ก็ไม่รู้ว่า คนใน ทศท.จะจดจำบทเรียนในครั้งนี้ไปอีกนานแค่ไหน และบางคนอาจนั่งเก็บกินเงินปันผลจากโครงการนี้ไปเท่าไหร่แล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us