Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2542
เรื่อง "วัวพันหลัก" ของปตท.             
 

   
related stories

หัวเลี้ยวหัวต่อไทยออยล์ รอพิสูจน์ฝีมือ จุลจิตต์
จุลจิตต์ บุณยเกตุ ถึงเวลาพิสูจน์ฝีมือ!
ไทยออยล์: ตำนานน้ำมันไทยที่ควรจดจำ
เชาว์ เชาว์ขวัญยืน: เทวดาตกสวรรค์
เกษม จาติกวณิช: สุดยอดนักบริหาร

   
search resources

ปตท., บมจ.




การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นบริษัท น้ำมันแห่งชาติ ก่อตั้งขึ้นในขณะที่ทั่วโลกกำลังเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมัน หรือในช่วงวิกฤตการณ์น้ำมันโลกครั้ง ที่ 2 รัฐบาลขณะนั้นจึงได้ออกพระราชบัญญัติก่อตั้งการ ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ขึ้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2521 ให้เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยให้โอนกิจการทรัพย์สิน หนี้สิน พนักงาน และลูกจ้าง ของ องค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย องค์การเชื้อ เพลิง และโรงกลั่นน้ำมันบางจากให้กับ ปตท.ด้วยวัตถุ ประสงค์เพื่อให้ ปตท.ดำเนินการประกอบและส่งเสริมธุรกิจปิโตรเลียมรวมถึงการดำเนินธุรกิจอื่น ที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับปิโตรเลียมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ

นอกจากนี้รัฐบาลยังได้มอบสิทธิพิเศษและภาระผูกพันบางประการให้แก่ ปตท.นับตั้งแต่เริ่มดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสิทธิพิเศษและภาระผูกพันต่างๆ ที่รัฐบาลมอบให้ ปตท. ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถาน การณ์ที่มุ่งเน้นการผสมผสานนโยบายรัฐและบทบาท เชิงพาณิชย์อย่างเข้มแข็ง

การพัฒนาธุรกิจของ ปตท.ดำเนินไปอย่างเป็นขั้น ตอน บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง ในการจัดหาเงินทุน ทั้งนี้ในระยะเริ่มก่อตั้งองค์กรในปี 2521 ปตท.มี เงินทุนหมุนเวียนเพียง 149 ล้านบาท มีสินทรัพย์เพียง 200 ล้านบาท แต่ด้วยความไว้วางใจจากรัฐบาล ปตท. จึงได้รับมอบหมายให้เร่งแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศ นับตั้งแต่ก้าวแรกของการดำเนินงาน โดยขณะนั้นทั่วโลก ซึ่งรวมทั้งประเทศไทย กำลังเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมัน

จากวิกฤติการณ์น้ำมันโลกครั้งที่ 2 ปตท.จึงปฏิบัติ การเร่งด่วน ทางด้านการจัดหา สำรอง และจำหน่ายน้ำมัน ขณะเดียวกันวิกฤติการณ์ดังกล่าวผลักดันให้ ปตท. ก้าวเข้าสู่ธุรกิจกลั่นน้ำมันด้วย เนื่องจากต้องการสร้างหลัก ประกันที่แท้จริง

ตั้งแต่ปี 2528 เป็นต้นมา ส่งผลให้ในระยะเวลาเพียง 7 ปี ปตท. มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น 36,733 ล้าน บาท ที่สำคัญคือ การริเริ่มก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ของ ปตท.ถือเป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก อันถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่นำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ด้านธุรกิจน้ำมัน ปตท.ได้เร่งปรับปรุงสถานีบริการ น้ำมัน จนทำให้ ปตท.มียอดจำหน่ายน้ำมันสูงสุดของประเทศนับตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา

ความสำเร็จของ ปตท.ตลอดระยะเวลาเกือบสองทศวรรษที่ผ่านมา พิสูจน์ให้เห็นว่าเกิดจากความสามารถ ในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ดูได้จากปี 2537-2539 ปตท.มีกำไรสุทธิ 7,764 ล้านบาท, 7,527 ล้านบาท และ 7,867 ล้านบาท ตามลำดับ

แต่เมื่อย่างเข้าสู่ปี 2540 กำไรสุทธิของ ปตท. หดหาย เหลือเพียง 2,871 ล้านบาท เนื่องจากความผันผวน ทางด้านเศรษฐกิจ

ในช่วงฟองสบู่ยังไม่แตก ปตท.ได้จัดโครงสร้างธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิต ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ, กลุ่มธุรกิจน้ำมัน, กลุ่มธุรกิจการกลั่น และกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี ปัจจุบัน ปตท. มีบริษัทย่อยและบริษัทในเครืออยู่ทั้งหมด 32 บริษัท เหตุผลการจัดโครงสร้างดังกล่าวเพื่อเตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ครั้นปลายปี 2539 เศรษฐกิจไทยเริ่มเข้าสู่ยุคเสื่อม ส่งผลกระทบต่อ ปตท.เริ่มตั้งแต่ราคาน้ำมันตก ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ภาระหนี้สินและดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญบริษัทย่อยและในเครือทั้งหมดต่างขาดสภาพคล่อง กันเป็นทิวแถว ทำให้ ปตท.จำต้องประกาศหยุดการลงทุนทั้งหมดออกไปจนถึงปี 2542 ขณะเดียวกันต้องยินยอม ตัดขายบริษัทย่อยและในเครือออกไปบางแห่งเพื่อสร้างความคล่องตัวและลดต้นทุน

แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีวี่แววถึงความคืบหน้าแต่อย่างใด โดยเฉพาะการประกาศขายหุ้นในโรงกลั่น บางจากปิโตรเลียม, สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง, โรงกลั่น น้ำมันระยอง และไทยลู้บเบส ก็ยังไม่สามารถหาผู้ซื้อได้ถูกใจ ปตท.

ดังนั้นสิ่งที่ ปตท.ดำเนินการได้ในปัจจุบัน คือ การให้บริษัท 32 แห่งปรับโครงสร้างหนี้ให้เร็วที่สุด ขณะที่ ตัว ปตท.เองปัจจุบันก็กำลังขาดสภาพคล่องเช่นเดียวกัน ขนาดที่ว่าไม่ยอมจ่ายเงินค่าก๊าซล่วงหน้าให้กับพม่า ส่งผลกระทบถึงบริษัทลูก คือ ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ซึ่งมีหุ้นอยู่ในแหล่งผลิตก๊าซในโครงการยาดานาที่ผลิตก๊าซจากพม่า ทำให้รายได้ของ PTTEP พลอย ขาดหายไปด้วย

นอกจากนี้ที่กล่าวถึงอย่างมากในขณะนี้ คือ การ เข้าไปช่วยเหลือโรงกลั่นไทยออยล์ ที่กำลังพยายามปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ 124 รายอยู่ คำมั่นสัญญาที่ ปตท. ให้ไว้กับไทยออยล์และเจ้าหนี้ คือ การอัดฉีดเงินเข้าไปเพราะต้องการเก็บโรงกลั่นไทยออยล์เอาไว้ให้เป็นแหล่งผลิตน้ำมันให้กับตลาดค้าปลีก ปตท.แต่เงินที่จะนำเข้ามาจำเป็นต้องรอจากการขาย 4 โรงกลั่นก่อน และถ้า ปตท. ไม่สามารถดำเนินการสำเร็จได้ทางเลือกของไทยออยล์ก็ตีบตันลงไปเรื่อยๆ เมื่อหมดหนทางเลือกสิ่งที่ไทยออยล์ดำเนินการคงหลีกไม่พ้นคำว่า...เบี้ยวหนี้ ซึ่งต้องส่งผลกระเทือนต่อ ปตท. แน่นอน เพราะมีหุ้นในไทยออยล์ ถึง 49%

สำหรับภาพรวมของธุรกิจ ปตท.ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ การกลั่น ธุรกิจน้ำมัน แม้กระทั่งธุรกิจปิโตรเคมี สถาน การณ์เป็นไปตามเศรษฐกิจโลก ผลิตภัณฑ์ล้นตลาด ราคาหดตัว การแข่งขันรุนแรง ดังนั้นการเดินทางของ ปตท.ในอนาคตคงจะไม่ได้ก้าวไปบนถนนเส้นเดิมที่โรยด้วยกลีบกุหลาบอีกต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us