Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2542
เกษม จาติกวณิช: สุดยอดนักบริหาร             
 

   
related stories

หัวเลี้ยวหัวต่อไทยออยล์ รอพิสูจน์ฝีมือ จุลจิตต์
จุลจิตต์ บุณยเกตุ ถึงเวลาพิสูจน์ฝีมือ!
ไทยออยล์: ตำนานน้ำมันไทยที่ควรจดจำ
เชาว์ เชาว์ขวัญยืน: เทวดาตกสวรรค์
เรื่อง "วัวพันหลัก" ของปตท.

   
search resources

ไทยออยล์, บมจ.
เกษม จาติกวณิช




"ซุปเปอร์เค" คือฉายา เกษม จาติกวณิช ผู้ที่มีฝีมือการบริหารงานอันเยี่ยมยุทธ์ ชีวิตเขาทั้งชีวิตดูเหมือนจะมีแต่คำว่างานเท่านั้น

เกษม เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ขณะที่กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยม 2 หรือชั้นประถม 6 ในปัจจุบัน ตอนนั้นอายุได้ 12 ปี คุณพ่อคือ พลตำรวจโทพระยาอธิกรณ์ประกาศ อธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้น ส่งเกษมไป เรียนต่อที่โรงเรียนเซ็นต์สตีเฟ่น ฮ่องกง ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกันกับ พิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮ่องกง แต่เมื่อเกิดสงคราม มหาเอเชียบูรพา การเรียนของเกษมต้องหยุดชะงักลง เมื่อสงครามเริ่มสงบได้เดินทางกลับมาสอบเข้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้าและสาขาเครื่องกล หลังจากจบปริญญาตรีเมื่อปี 2490 เกษมได้เดิน ทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้า ที่มหาวิทยาลัยยูท่าห์ สหรัฐอเมริกา

เรียนจบวิศวะแต่กลับกลายมาเป็นนักบริหารชั้นยอดจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไปตั้งแต่เดินทางเข้ามารับราชการที่กรมโรงงาน ตอนนั้นมีหน้าที่ก่อสร้างเขื่อน แต่ในช่วงนั้นหน้าที่การสร้างเขื่อนได้โยกย้ายให้มาขึ้นอยู่กับกรมชลประทานใน สมัย ฯพณฯจอมพล ป.พิบูลสงคราม แล้วคนฝีมือดีในการสร้างเขื่อนในขณะนั้นย่อมหนีไม่พ้นชายชื่อ เกษม จาติกวณิช เขาจึงได้ย้ายมานั่งทำงานที่กรมชลประทาน

งานแรกที่เกษมจับ คือ การสร้างเขื่อนยันฮี หรือ เขื่อนภูมิพล ซึ่งบทบาทช่วงนั้นของเกษม คือ การทำรายงานเพื่อเสนอขอกู้เงินจากธนาคารโลก 65 ล้านเหรียญ สหรัฐ ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำไม "ซุปเปอร์เค" ถึงมี ความรอบรู้ ทั้งการบริหารโครงการ การบริหารเงินและทางด้านเทคนิค

เมื่อเขื่อนภูมิพลแล้วเสร็จ เกษมก็ได้นั่งเก้าอี้รองผู้ว่าการไฟฟ้ายันฮี ต่อมาได้สร้างโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ที่นนทบุรี (บางกรวย) เมื่อการไฟฟ้ายันฮีกลายสภาพมา เป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) เกษม คือ ผู้ว่า กฟผ. คนแรก

ในระหว่างเป็นผู้ว่า กฟผ. เขาได้รับการทาบทามให้ไปดำรงตำแหน่ง รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาล สัญญา ธรรมศักดิ์ แต่ปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าตำแหน่งที่ กฟผ.สำคัญกว่า อย่างไรก็ตาม เกษมก็หนีเก้าอี้ทางการเมืองไม่พ้นในรัฐบาลเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็น รมว.กระทรวงอุตสาหกรรมและเมื่อรัฐบาล เกรียงศักดิ์ 2 เข้ามาอีกครั้งเกษม ยังได้ไปเป็นรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษานายกฯ

หลังจากลาออกจาก กฟผ.เกษมทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ค่อยได้ทำนั่นคือ เข้าไปนั่งเก้าอี้ระดับผู้บริหารรัฐ วิสาหกิจในคราวเดียวกันถึง 4 แห่งกล่าวคือเป็นกรรม การอำนวยการ ไทยออยล์, ประธานกรรมการ บางจาก ปิโตรเลียม, ประธานกรรมการปุ๋ยแห่งชาติ และประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร แบงก์เอเชีย ทรัสต์ นี่คือสิ่งที่ยืนยันอีกครั้งว่า"ซุปเปอร์เค" ยังได้รับความไว้วางใจอย่างไม่จืดจาง

แต่ภาพที่โดดเด่นที่สุดของเกษมในการบริหาร 4 รัฐวิสาหกิจนี้เห็นจะเป็นงานที่ไทยออยล์ เพราะเขาสามารถสร้างให้บริษัทยักษ์ใหญ่วงการน้ำมันไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง การประสานผลประโยชน์ได้อย่างเหลือเชื่อ และทำให้ไทยออยล์เป็นบริษัทมหัศจรรย์แห่งหนึ่งของโลกด้วยการกู้เงินก้อนโตโดยที่ไม่ต้องนำทรัพย์สินของ บริษัทไปค้ำประกัน แต่เป็นเครดิตล้วนๆ ของคนชื่อเกษม ที่สามารถสร้างให้บรรดาเจ้าหนี้หลายรายยอมรับในฝีมือของเขาอย่างแท้จริง เพราะตั้งแต่เกษมเข้ามาไทยออยล์ตั้งแต่ปี 2528-2540 เขาได้นำพาไทยออยล์ให้ก้าวข้ามชั้น ขึ้นมาเป็นบริษัทน้ำมันระดับต้นๆ ของภูมิภาคเอเชีย ได้ อย่างภาคภูมิ ในช่วงนั้นถ้านับคนไทยที่เก่งทางด้านพลังงาน ชื่อของเกษมคือหนึ่งในนั้นซึ่งนิตยสาร Far Easern Economic Review ตั้งฉายาให้เขาเป็น "Energy Zarr"

พลันเมื่อเศรษฐกิจไทยล่มสลายลงไปพร้อมๆ กับราคาน้ำมันโลกตกต่ำ ไทยออยล์จึงได้รับผลกระเทือน อย่างหนัก พร้อมๆ กับเกษมก็ได้โบกมือลาจากไทยออยล์ ในช่วงสิ้นปี 2540 หลังจากนั้นเป็นต้นมาภาพของเกษมที่ครั้งก่อนมีให้เห็นอยู่เกือบทุกวันทั้งจอทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ บัดนี้ได้หายไปพร้อมๆ กับไทยออยล์กำลังปรับโครงสร้าง หนี้ที่ครั้งหนึ่งเกษมเป็นผู้กู้เข้ามาขยายกิจการ

เกษมเคยอธิบายให้ "ผู้จัดการรายเดือน" ฟังนานแล้วว่า จำเป็นที่จะต้องมีการขยายโรงกลั่นออกไปเป็น TOC 3 & 4 เพราะไทยออยล์มีภาระผูกพันต้องจ่ายเงินให้ รัฐสูงมาก ซึ่งโรงกลั่น 1 & 2 ไม่สามารถหารายได้เข้ามา เพียงพอ เขาเคยกล่าวว่า "ถ้าไม่มีการขยายทำ TOC 3 & 4 มันก็ไปบ้านแล้ว หาเงินได้ไม่พอเสียค่าเช่า..."

แต่วันนี้การขยายตัวของไทยออยล์กำลังผูกมัดให้ บริษัทต้องตกที่นั่งลำบาก นอกจากมีต้นทุนการผลิตที่สูง แล้ว ยังต้องเสียดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมทางการเงินที่สูงมากด้วย

หากการขยายกำลังการผลิตเป็นเรื่องจำเป็นในยุค ของเกษม แน่นอนว่าการหดตัวก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ตำนานยุคแห่งความรุ่งเรืองของซุปเปอร์เคในไทย ออยล์ปิดฉากแล้ว

แต่ภาวะ "ไต่เส้นลวด" ของบริษัทนี้ยังดำเนิน ต่อไป!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us