เขาเป็นนักธุรกิจน้ำมัน ที่กำลังเผชิญหน้ากับความ ยากลำบากที่สุดคนหนึ่งในเวลานี้
จุลจิตต์ หรือ เจ.เจ.อยู่กับไทยออยล์มาแล้ว 29 ปีเต็ม เริ่มไต่เต้ามาตั้งแต่เป็นพนักงานฝ่ายบุคคล
จนได้นั่งเก้าอี้ใหญ่กรรมการอำนวยการ แทน เกษม จาติกวณิช
เป็นเวลา 29 ปีเต็มที่เขาต้องเรียนรู้และฝ่าฟันใน ธุรกิจน้ำมัน พร้อมๆ
กับสร้างคอนเนกชั่น และบารมี ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการบริหารองค์กรที่ชื่อไทยออยล์
เขาเกิดที่จังหวัดภูเก็ตแต่มาโตที่กรุงเทพฯ อายุจริง ปีนี้ 58 ปี แต่เพราะต้องย้ายบ้านหนีสงครามโลกครั้งที่
2 ในครั้งนั้น ทำให้เกิดผิดพลาดในสำเนาทะเบียนบ้าน จุลจิตต์หนุ่มขึ้นไปอีก
2 ปี ยืดเวลาเกษียณอายุไปอีก 4 ปี
เขาสืบเชื้อสายมาจากตระกูลบุณยเกตุ มีพ่อ เป็นทรัพยากรธรณี ชื่อขุนบุญเกตุโลหพิศลย์
(จิตต์ บุณยเกตุ)ครอบ ครัวส่วนใหญ่รับราชการ ตัวเขาเองก็เริ่มต้นชีวิตการงานด้วย
การรับราชการ อยู่กรมวิเทศสห การ ก่อนจะย้าย มาทำงานที่ไทยออยล์ เริ่มไต่เต้าตั้งแต่พนักงานฝ่ายบุคคล
และได้เลื่อนขั้นเป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล ตั้งแต่ยังไม่พ้นทดลองงาน
จากฝ่ายบุคคล จุลจิตต์ก็ย้ายมาเป็นผู้จัดการฝ่าย ประชาสัมพันธ์ เป็นช่วงที่ไทยออยล์กำลังมีปัญหาเรื่องภาพพจน์องค์กร
มีข่าวแง่ร้ายเกิดขึ้นกับไทยออยล์ตลอด เวลา สำหรับจุลจิตต์แล้ว เขาถือว่าเป็นช่วงที่เขาเรียนรู้มากที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต
"ผมถือว่าเป็นช่วงไพรม์ของชีวิตเลย ผมบอกเมีย ขอเวลา 3 ปีไม่กินข้าวเย็นที่บ้านเพราะผมเพิ่งมาจับงานนี้
สิ่งที่ผมคาดหวังคือผมต้องรู้จักสื่อมวลชนให้ได้จริงๆ"
จุลจิตต์ เรียนรู้งานสื่อสารมวลชนแบบถึงลูกถึง คน ร่วมคลุกคลีตีโมงกับบรรดานักข่าวหัวต่างๆ
ในยุคนั้น ตั้งแต่วันทำงานจนถึงวันหยุด เข้ามานั่งทำงานไทยออยล์ครึ่งวัน
อีกครึ่งวันไปนั่งอยู่ที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ บ้านเมือง สยามรัฐ
สลับผลัดเปลี่ยนหมุน เวียนกันไป ประกอบกับเป็นคนชอบมีเพื่อน จุลจิตต์จึงมีเพื่อนอยู่ในวงการน้ำหมึกจำนวนมาก
"ตอนนั้นผมรู้จักหมดที่มีฉายาว่า 5 อรหันต์ ตั้งแต่ สันติไต้ฝุ่น, สุเทพ
เหมือนประสิทธิเวช, ชูพงษ์ดาวสยาม, พญาไม้ กลางวันไปกินข้าว ตอนเย็นไปนั่งที่
โรงแรมเอราวัน พอวันหยุดก็พานั่งเรือไปดูโรงกลั่นน้ำมัน ที่ไทยออยล์ ไปพัทยา
นั่งคุย กินเหล้าเล่นไพ่ ผมก็ให้ข้อมูลเรื่องน้ำมันกับเขาไป แต่ผมไม่เคยพูดว่าอย่าไปตีไทยออยล์
เขาจะไปเขียนอะไรก็เป็นเรื่องของเขา" จุลจิตต์เล่าให้ฟังอย่างอารมณ์ดีเมื่อนึกย้อนไปถึงประสบ
การณ์ในครั้งนั้น
จุลจิตต์รู้ดีว่าผลจากการทุ่มเทในครั้งนั้น นอกจากจะเป็นประโยชน์กับไทยออยล์ยังเป็นประโยชน์ต่อตัวเขาอย่างมากๆ
ด้วย
ใครจะรู้ว่า จุลจิตต์จะต้องเข้าไปมีบทบาทใน "สื่อ" อีกครั้ง ไม่ใช่แค่นักประชาสัมพันธ์
แต่ในฐานะของผู้กำกับดูแล
หลังจากใช้ชีวิตผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ 3 ปี เต็ม จุลจิตต์ก็ได้ขึ้นสู่ระดับบริหาร
ก้าวไปเป็นผู้จัดการสำนักงานฝ่ายการจัดการ ก่อนจะได้โปรโมตเป็นผู้ช่วยกรรมการอำนวยการบริษัทไทยออยล์
สิ่งที่เหมือนกันมากๆ ระหว่างเกษม และจุลจิตต์ ก็คือ คอนเนกชั่น
จุลจิตต์ได้ชื่อว่าเป็นคนที่มีคอนเนกชั่นดีมากๆ เพื่อนๆ ทั้งรุ่นพี่รุ่นน้อง
สมัยเรียนนิติศาสตรบัณทิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ล้วนอยู่ในวงการธุรกิจ
ทหาร และข้าราชการระดับสูง
และความที่เป็นเด็กกิจกรรม ชอบคบเพื่อนฝูง สมัยเรียนไม่ค่อยกลับบ้าน เคยไปกินนอนกับพลเอกสุธีย์
เจริญพร เจ้ากรมทหารรัฐธรรมนูญ ไปนอนอยู่บ้าน รุ่นพี่โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
มีเพื่อนรุ่นน้องอย่าง ดร.วีรพงษ์ รามางกูร, ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ เป็นต้น
"กับดร.โกร่งนี่ ไปจ๊อกกิ้งด้วยกันทุกเช้าที่สปอร์ต คลับ ก่อนหน้าที่รัฐบาลจะลดค่าเงินบาท
ผมก็ฟังเขาวิเคราะห์ แล้วก็เห็นว่าไปไม่รอด ก็เลยเริ่มซื้อฟอร์เวิร์ดของไทยออยล์มาตั้งแต่มกราคมจนถึงเมษายน
และรัฐบาลก็สั่งลดค่าเงินบาทในเดือนกรกกฎาคม ก็ทำกำไรได้พอควร นี่ผมยังไม่ได้เลี้ยงตอบแทนเขาเลย"
สมัยไปเรียนวปอ.รุ่น355 จุลจิตต์มีเพื่อนร่วมรุ่นที่เป็นนักธุรกิจและทหารหลายคน
อาทิ ผู้บัญชาการทหาร อากาศ พลเอกแป้ง มาลากุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการช่อง
5, พลโทเลิศฤทธิ์ รัตนวานิช, พลโทสมพงษ์ ใหม่วิจิตร ซึ่งมาเป็นผู้อำนวยการช่อง
5 แทนพลเอกแป้ง, และบรรณวิทย์ บุญรัตน์
ที่ลืมไม่ได้เลยคือ จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ซึ่งถือหุ้นอยู่ในไทยออยล์ 2% เป็นคนที่ชักนำจุลจิตต์ ก้าวไปสู่บทบาทใหม่ของการเป็นกรรมการในบอร์ดรัฐ
วิสาหกิจ และเป็นจุดเริ่มที่ทำให้จุลจิตต์เข้าไปโลดแล่นอยู่ในในบอร์ดรัฐวิสาหกิจ
ทั้งภาครัฐและเอกชน เกือบ 20 แห่ง ในช่วง 7-8 ปีมานี้
หลังจากจิรายุเข้าไปเป็นรัฐมนตรีสำนักนายกฯ ในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
จิรายุมาติด ต่อให้จุลจิตต์ไปนั่งในบอร์ดองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
(อ.ส.ม.ท.) เพื่อให้เข้าไปวางโครงสร้างด้านการเงิน และการบริหารใหม่
จากนั้นจุลจิตต์ เข้าๆ ออกๆ นั่งเป็นกรรมการ บอร์ดในอ.ส.ม.ท.ตั้งแต่สมัยของรัฐบาลพลเอกเปรมมาจนถึงยุคของ
อานันท์ ปันยารชุน ช่วงนั้นเองจุลจิตต์ มีโอกาสร่วมงานกับ มีชัย วีระไวทยะ
ที่เข้ามาทำงานในรัฐบาลของอานันท์ เคยเป็นโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ
ซึ่งทั้งมีชัยและจุลจิตต์เริ่มสนิทสนมกันดี จนนำไปสู่การทำงานร่วมกันในอีกหลายครั้ง
จุลจิตต์ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับวงการ"สื่อ" มากๆ ในสมัยของรัฐบาลอานันท์
2 ที่มีนโยบายให้เปิดทีวีขึ้นอีกใหม่อีกช่องเป็นระบบยูเอชเอฟ จิรายุจึงไปดึงจุลจิตต์มาช่วยงานอีกครั้ง
คราวนี้จุลจิตต์ต้องเข้าไปมีบทบาทตั้งแต่เปิดประมูล ออกทีโออาร์เลือกผู้ประมูล
เข้าร่วมประมูลด้วยในฐานะตัวแทนของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่ร่วมหุ้นกับหุ้นส่วนอีก
9 ราย พอหลังจากได้สัมปทานมา จุลจิตต์ก็ต้องเข้าไปนั่งเป็นประธานบริษัท วางโครงสร้างบริหาร
ช่วงนั้นจุลจิตต์ก็ทุ่มเทให้กับไอทีวี ซึ่งเวลานั้นใช้ชื่อว่า สยามทีวี
แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น ถึงแม้ว่ายังไปทำงานทุกวันที่ไทยออยล์ก็ตาม และเป็นเหตุให้ไอทีวีในช่วงแรกๆ
ต้องไปตั้งอยู่ที่อาคารหะรินธร ที่เดียวกับไทยออยล์
แต่แล้วปัญหาของสยามทีวีก็ปะทุขึ้น เริ่มตั้งแต่ผู้ถือหุ้นเริ่มแตกคอ ที่เหนือไปกว่านั้นก็คือแบงก์ไทยพาณิชย์
และสำนักงานทรัพย์สินฯเองก็เริ่มไม่ชัดเจนกับการลงทุนทางด้านสื่อแล้ว จุลจิตต์จึงยื่นใบลาออก
และกลับมาทำงานที่ไทยออยล์อีกครั้ง และก็เข้าไปเป็นบอร์ด ของรถไฟฟ้าธนายง
จากนั้นไม่นานจุลจิตต์ ก็ได้ก้าวขึ้นตำแหน่งกรรม การอำนวยการแทนเกษม ในเดือนมกราคม
ปี 2541
แต่แล้วจุลจิตต์ก็ยังหนีไม่พ้น "สื่อ" แต่คราวนี้ เขาเข้าไปนั่งเป็นบอร์ดสถานีโทรทัศน์ช่อง
5 ช่อง 7 และกบว. ซึ่งเป็นของทหาร
จุลจิตต์ยังได้ชื่อว่า สนิทสนมเป็นอันดีกับพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะพล.ต.ต.สนั่น
ขจรประศาสตร์ซึ่งรู้จักมาตั้งแต่เสธฯหนั่นยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรม
"สมัยนั้นผมเคยให้คำปรึกษาท่านมากมาย ในเรื่อง เกี่ยวกับน้ำมัน"
ครั้งหนึ่งเมื่อสมัยเสธฯหนั่นทำหนังสือรายสัปดาห์ แนวการเมืองชื่อชาวไทยออกมา
ครั้งนั้นจุลจิตต์ก็ยังไปนั่งดูแลให้พักใหญ่ เพราะมีคอนเนกชั่นกับนักข่าวการเมืองรุ่นเก่าๆ
อยู่เยอะ แต่แล้วหนังสือฉบับนี้ก็ลาจาก แผงไปในที่สุด
เมื่อพรรคประชาธิปัตย์มาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง คราวนี้เสธฯหนั่นดึงตัวไปเป็นหนึ่งในทีมที่ปรึกษาทางด้านกิจกรรมพิเศษ
"พอตอนหลังฝ่ายกิจกรรมพิเศษยุบไป ก็ไปดู เรื่องความมั่นคง ด้านสังคม ก็มีพบปะพูดคุยบางเรื่อง
ท่านคงเอ็นดูผม ก็เลยเลือกเข้าไป ผมมีโอกาสแนะนำท่านบ้างในบางเรื่อง"
ขณะเดียวกันก็มาร่วมงานกับ มีชัย วีระไวทยะอีกครั้ง หลังจากที่มีชัยได้รับทาบทามจาก
สุเทพ เทือกสุบรรณ ให้มาเป็นประธานบอร์ดองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)
จุลจิตต์ ก็ถูกดึงให้มาเป็นที่ปรึกษา ประธานบอร์ด ซึ่งหากโควตากรรมการบอร์ด
ทศท.ไม่ เต็ม ก็คงมีชื่อจุลจิตต์อยู่ร่วมในบอร์ดแน่นอน
"คุณมีชัยเขาเป็นคนเปิดเผย ที่ผมชอบที่สุด และยอมทำงานให้ คือเขาเป็นคนโปร่งใส
เป็นคนรับฟัง มีอะไรผมขัดได้เลย"
พอมีชัยได้มาเป็นประธานคณะกรรมการธนาคาร กรุงไทย ชื่อของจุลจิตต์ก็อยู่ในโผของกรรมการบอร์ดแบงก์กรุงไทย
แต่จุลจิตต์จะถูกชะตากับ "สื่อ" มากกว่าธนาคาร พอนั่งเป็นบอร์ดแบงก์กรุงไทยได้ไม่นานก็ต้องลาออก
เพราะมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ เนื่องจากจุลจิตต์ไปค้ำประกันเงินกู้จากแบงก์กรุงไทยให้กับบริษัทเอกชนราย
หนึ่ง จึงไม่มีคุณสมบัตินั่งเป็นบอร์ดแบงก์ได้
แต่แล้วเวลาของการโลดแล่นอยู่ภายนอกไทย ออยล์ก็ต้องหมดลง เพราะสิ่งที่เขาต้องเผชิญในเวลานี้
ก็คือ การจัดการหนี้ก้อนใหญ่หลายหมื่นล้านของไทย ออยล์
เป็นสิ่งเดียวในรอบ 29 ปีที่ทำให้จุลจิตต์เริ่มรู้ ว่า เขากำลังเป็นกรรมการอำนวยการที่ต้องรับบทหนักที่สุดในจำนวนกรรมการ
3 คนของบริษัทน้ำมันที่มีอายุยาวนานถึง 40 ปี!
นี่คือการท้าทายที่สำคัญที่สุดของเขา และเป็นเวลาที่เขาจะได้พิสูจน์ฝีมืออย่างแท้จริง
แม้ว่าจะต้องยืม เอาคำกล่าวของ มหาตมะ คานธี ที่ว่า SIMPLE LIVING BUT HARD
THINKING มาปลอบใจก็ตาม