Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2542
หัวเลี้ยวหัวต่อไทยออยล์ รอพิสูจน์ฝีมือ จุลจิตต์             
 

   
related stories

จุลจิตต์ บุณยเกตุ ถึงเวลาพิสูจน์ฝีมือ!
ไทยออยล์: ตำนานน้ำมันไทยที่ควรจดจำ
เชาว์ เชาว์ขวัญยืน: เทวดาตกสวรรค์
เกษม จาติกวณิช: สุดยอดนักบริหาร
เรื่อง "วัวพันหลัก" ของปตท.

   
search resources

ไทยออยล์, บมจ.
จุลจิตต์ บุณยเกตุ




การประกาศพักการชำระหนี้ของบริษัทไทยออยล์เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2541 ต้องถือเป็นการเสียเครดิตเรื่องการเงินครั้งแรกของบริษัทชั้นนำ ที่มีประวัติความน่าเชื่อถือทางการเงินดีที่สุดในประเทศไทย บริษัทที่มีทุนจดทะเบียน เพียง 20 ล้านบาท แต่สามารถใช้เครดิตกู้เงินมาขยายธุรกิจและสร้างสินทรัพย์มูลค่าสูงถึง 103,369 ล้านบาท และสร้างภาระหนี้สินเป็นจำนวนถึง 73,000 ล้านบาท ผู้คนต่างกล่าวขานว่าเป็น "เรื่องน่าทึ่งอย่างมาก" อีกเรื่อง หนึ่งในวิกฤติฟองสบู่แตกครั้งนี้ แต่หากย้อนดูปูมหลังของไทยออยล์ ก็จะเข้าใจความเป็นมาของเรื่องน่าทึ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นอย่างดี บริษัทน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของประเทศ มีผู้ถือหุ้น 3 รายหลักที่ไม่ได้เข้ามาดูแลผลประโยชน์ของตัวเองสักเท่าไหร่ในช่วงที่มีการขยายธุรกิจออกไปอย่างมาก มายมหาศาลในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา บัดนี้ถึงเวลาที่ผู้ถือหุ้นหลักอย่าง ปตท.เริ่มเข้ามายึดกุมอำนาจและดำเนินการแก้ไขปัญหา ซึ่งนั่นคือที่มาของการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร พละ สุขเวช-ผู้ว่าการฯ ปตท.เข้ามาเป็นประธานบอร์ดไทยออยล์ ขณะที่ จุลจิตต์ บุณยเกตุ ก้าวขึ้นเป็นกรรมการอำนวยการแทนที่ เกษม จาติกวณิช ที่เคยดำรงทั้งสองตำแหน่ง จุลจิตต์ เป็นลูกหม้อไทยออยล์ที่ไปโลดแล่นในฐานะกรรมการที่ปรึกษาของหน่วยงานต่างๆ หลายแห่ง โดยเฉพาะกิจการสื่อสารมวลชน และยังเป็นที่ปรึกษา เป็นกรรมการอิสระในอีกหลายแห่ง มาตอนนี้เขาต้องกลับมารับตำแหน่งสำคัญ เป็นกรรมการอำนวยการคนที่ 3 ของกิจการน้ำมันที่มีอายุยาวนานถึง 40 ปี และรับภาระหนักอึ้งในการลดขนาดกิจการด้านโอเปอเรชั่น พร้อมกับแผน การผนวกกิจการเข้ากับ ปตท.ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ การกอบกู้ไทย ออยล์ให้หลุดพ้นจากบ่วงหนี้เจ็ดหมื่นกว่าล้านบาทและผนวกกิจการเข้ากับปตท.จะเป็นผลงานสำคัญในชีวิตของ The man behind ผู้นี้ที่รู้จักกันดีในนาม เจเจ (JJ)

เรื่องโดย ภัชราพร ช้างแก้ว

patcharaporn@manager.co.th,Internet

เรื่องราวของไทยออยล์วันนี้เริ่มชัด เจนมากขึ้น โดยเฉพาะแนวทางแก้ปัญหาโครงสร้างบริษัท และการบริหารงานต่อไปในอนาคต แม้ว่าประเด็นเรื่องการชำระหนี้คืนยังอยู่ระหว่างการเจรจาก็ตาม มันดูเหมือนเป็นความประจวบเหมาะของเหตุต่างๆ ที่ทำให้กิจการซึ่งมีทุนจดทะเบียนเพียง น้อยนิดแค่ 20 ล้านบาท แต่มีการดำเนินงานใหญ่โตเกินตัวมากมายแห่งนี้ได้ทางออกในที่สุดหลังจากเพียรพยายามมาหลายครั้งหลายหน

ความประจวบเหมาะที่ว่านี้เกิดขึ้นจากปัจจัยลบที่เกี่ยวข้องกับบริษัทในทุกๆ เรื่อง ตั้งแต่ที่บริษัทไม่สามารถ เพิ่มทุนได้เพราะผู้ถือหุ้นไม่สามารถตกลงเงื่อนไขกันได้ บริษัทไม่สามารถระดมทุนด้วยการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้เพราะขาดคุณ สมบัติสำคัญ บริษัทมีภาระหนี้สูงมากเพราะการขยายการลงทุนที่ผ่านมาในระยะ 20 ปีนั้นล้วนแต่อาศัยเงินกู้ทั้งสิ้น ภาระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมทางการเงินในปีล่าสุดสูงถึง 9,655 ล้าน บาท และปัจจัยที่กระหน่ำบริษัทอย่างมากคือภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงต่ำติดต่อกันมาตลอด มีผลทำให้กำไรเบื้องต้นจากการกลั่นน้ำมันของบริษัทลดลงอย่างฮวบฮาบ และผลกระทบต่อเนื่องต่อไปคือซัปพลายน้ำมันล้นตลาด ซึ่งกว่าที่อุปสงค์และอุปทานน้ำมันจะเคลื่อนเข้าหากันได้สมดุลนั้นก็ใช้เวลาอีก 7 ปีข้างหน้าหรือ ในค.ศ.2006 ประเด็นนี้อาจจะย้อนกลับ ไปกล่าวหาการอนุมัติให้มีการสร้างโรงกลั่นได้อย่างเสรีสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ แต่มาตอนนี้มันกลายเป็นเรื่องทั่วทั้งภูมิภาคที่มีกำลังการผลิตล้นเกินกันทุกประเทศที่มีโรงกลั่น เพราะเกิดเศรษฐกิจถดถอยกันทั้งภูมิภาค ดังนั้นภาวะตกต่ำของบริษัท น้ำมันก็จะยังคงอยู่อีกหลายปี

ปัจจัยลบต่างๆ เหล่านี้ได้คลี่ คลายตัวเองออกมาจนในที่สุดกลายเป็น ความจำเป็นที่กรรมการอำนวยการคนใหม่แต่เป็นลูกหม้อเก่าแก่ของไทยออยล์ คือ จุลจิตต์ บุณยเกตุ ต้องประกาศพักการชำระหนี้เป็นเวลา 9 เดือน เพื่อ ขอเวลาปรับโครงสร้างการชำระหนี้ใหม่ พร้อมกันไปกับพิจารณาเรื่องโครงสร้าง ผู้ถือหุ้น แผนการดำเนินงานและทิศทางในอนาคต

เมื่อเริ่มจุดถดถอย

บริษัทน้ำมันขนาดใหญ่อย่างไทย ออยล์น่าจะมองสถานการณ์เศรษฐกิจและคาดการณ์ภาวะราคาน้ำมันโลกได้ล่วงหน้า รวมทั้งเตรียมการรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประเด็นนี้จุลจิตต์กล่าวว่าไทยออยล์มองเห็นแน่นอนว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต "ไทยออยล์ monitor มาตลอดในธุรกิจน้ำมัน"

จุลจิตต์มองว่าความรุ่งเรืองและ ตกต่ำของธุรกิจนี้เป็นวัฏจักร เมื่อสูงสุดก็จะลงมาต่ำ"เรามองว่าเมื่อญี่ปุ่นเริ่มถดถอยอีกไม่นานก็จะมาถึงไทย เพราะ ว่าเรามีปัญหาเรื่องของอุปสงค์-อุปทานมาก่อนแล้ว มันเป็นตัวบ่งชี้อยู่แล้ว ตลาดไม่เอื้ออำนวย ราคาเริ่มตก เราก็เตรียมตัวไว้ล่วงหน้าก่อนที่สัญญาณจะถูกส่งออกมา" จุลจิตต์อธิบาย

สิ่งที่ไทยออยล์ดำเนินการเพื่อแก้ปัญหานี้เป็นไปในทำนองเดียวกัน กับที่ธุรกิจอื่นๆทำนั่นคือการขยายไปยังธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง "เราต้องพยายาม ขยายอาณาจักรธุรกิจไปที่ต่อเนื่องจากธุรกิจเดิม ออกไปหาธุรกิจที่เป็น synergy" เพราะไทยออยล์จะหวังพึ่งพิงรายได้จากการกลั่นน้ำมันเพียงอย่าง เดียวไม่ได้ เนื่องจากมีการแข่งขันสูงมากในตลาดนี้

ไทยออยล์ได้ขยายการลงทุนไปในธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้แก่ ปิโตรเคมี น้ำมันหล่อลื่น ไทยคาร์บอนฯ และไฟฟ้า โดยเฉพาะธุรกิจไฟฟ้านั้น ไทย ออยล์ประมูลได้โครงการ IPP จากกฟผ. เพื่อผลิตไฟฟ้า 700 MW ซึ่งปัจจุบันการก่อสร้างทางวิศวกรรมเสร็จเรียบ ร้อยแล้ว และจะเดินเครื่องผลิตได้ในเดือนกันยายนปีนี้

เป้าหมายของไทยออยล์ในการขยายกิจการออกไปยังธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เหล่านี้ก็เพื่อที่จะหารายได้มาเสริมจากรายได้การกลั่น "ต่อไปไทยออยล์จะไม่ใช่บริษัทโรงกลั่นน้ำมันเพียงอย่างเดียว เราจะเปลี่ยนตัวเราเป็นบริษัทพลังงาน รายได้จากโรงกลั่นจะมีเพียง 50% จากรายได้ทั้งหมด ซึ่งต่อไปเมื่อเกิดการผันผวนในอุตสาหกรรมน้ำมัน เราก็ไม่กลัว เพราะเรามีรายได้จากทาง อื่นเข้ามาเสริม"

แนวคิดเช่นนี้แม้จะเกิดในยุคของ เกษม จาติกวณิช เป็นกรรมการอำนวยการ และก่อปัญหาเรื้อรังมาปะทุ ในเวลานี้ แต่จุลจิตต์ซึ่งมารับตำแหน่งเมื่อ 1 ม.ค.2540 ยังยืนยันว่า "แนวคิดของเราถูกต้อง มองชัด มองก่อน แต่ไม่ทัน"

ที่เขากล่าวว่าไม่ทันนั้นก็เพราะเหตุที่ว่า "พายุลูกนี้มาเร็วไป"

เขาคาดหมายว่าเมื่อโครงการต่างๆ ในการขยายงานเสร็จเรียบร้อย ไทยออยล์ก็ไม่ต้องใส่เงินลงไปอีก แต่จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลกำไรได้

ทว่า พวกเขาคาดการณ์ผิด เพราะพายุลูกนี้มาเร็วเกินไป 1-2 ปี ทีเดียว


ปิดฉากวันชื่นคืนสุข
เริ่มต้นยุคขัดสน
และการทำชีวิตให้เรียบง่าย

จุลจิตต์เข้ามารับตำแหน่งกรรม การอำนวยการพร้อมกับ พละ สุขเวชที่ขึ้นมาเป็นประธานกรรมการบริษัท ทั้งคู่ต่างมาสวมตำแหน่งที่ เกษม จา- ติกวณิชเคยดำรงอยู่ ซึ่งนั่นเท่ากับ เป็นการปิดฉากบทบาทของเกษมที่ไทย ออยล์ลงโดยสิ้นเชิง

เรียกว่าปิดฉากวันชื่นคืนสุขและ เริ่มเข้าสู่ยุค "ขัดสน" และการ "ทำชีวิต ให้เรียบง่าย"

จุลจิตต์เปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ยอมรับว่า "การอยู่ข้างบนมันก็หนาว แต่ก็ต้องทำ" เขาเริ่มต้นแก้ไขปัญหาด้วยการควบคุมและลดค่า ใช้จ่าย โดยตัวเขาได้ลงลึกในรายละเอียด ทุกอย่าง เพราะเป็นคนที่ถือว่ารู้เรื่องไทยออยล์เป็นอย่างดี

"ผมเริ่มศักราชใหม่ของไทย ออยล์ในยุคขัดสน เพื่อจะทำอย่างไรให้อยู่รอด เรามีการตัดลดค่าใช้จ่าย อย่างปีที่แล้วเราปิดบัญชีการกลั่น 2.2 แสนบาร์เรลต่อวัน อัตราแลกเปลี่ยน ที่ระดับ 39 บาท/ดอลลาร์ ค่าใช้จ่ายใน การผลิตของไทยออยล์ประมาณ 0.69 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งนับว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ต่ำมากในภูมิภาคนี้ ขนาดโรงกลั่นอื่นๆ ในไทยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 1.20 เหรียญต่อบาร์เรล ที่สิงค โปร์สูงสุดอยู่ที่ 1.60 เหรียญต่อบาร์เรล"

เขาลดค่าใช้จ่ายจนแม้กระทั่งสำนักงานในกรุงเทพฯ ก็มีแนวโน้มจะเหลือเพียงพื้นที่ออฟฟิศเล็กเพื่อติด ต่อประสานงาน ตัวเขาและฝ่ายบริหาร จะย้ายไปนั่งที่โรงกลั่นแทน

นโยบายของเขาสามารถตัดค่าใช้จ่ายลงได้ถึง 600 ล้านบาทต่อปี โดย ค่าใช้จ่ายการบริหารลดลง 55.22 ล้าน บาท ลดจำนวนพนักงานลงจาก 900 คน เหลือ 700 คนในสิ้นเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งนโยบายลาออกก่อนเกษียณ อายุนั้น พนักงานที่นี่ยืนยันว่าบริษัท มีการจ่ายผลตอบแทนให้ในอัตราที่น่าจูงใจมาก นโยบายนี้ใช้กับพนักงานที่มีอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป "บริษัทจ่ายให้ 36 เดือนคูณจำนวนอายุงาน ซึ่งก็ถือว่าเยอะมาก"

แนวทางของจุลจิตต์นั้น แน่นอนว่าได้รับการต่อต้านจากพนักงาน มีใบปลิวโจมตีเขาอยู่บ้าง ซึ่งก็เป็นเรื่อง ที่เกิดขึ้นได้ในทุกหน่วยงานที่เข้าสู่ "ยุคขัดสน"

แต่จุลจิตต์น่าจะมีข้อได้เปรียบในการบริหารงานยุคนี้หลายอย่าง เพราะ เขาเป็นคนเก่าแก่คนหนึ่ง เรียกได้ว่าเป็นลูกหม้อที่รู้จุดอ่อนจุดแข็งพนัก งาน จุดอ่อนจุดแข็งขององค์กร และมีความผูกพันกับพนักงานมานาน

"ผมมีข้อได้เปรียบคือรู้เขารู้เราว่าเป็นอย่างไรรู้ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ ผมว่าสิ่งที่ไทยออยล์ต้องทำคือ ผมไม่ตำหนิเรื่องในอดีตหรอกว่ามันจะผิดพลาด แต่คิดว่าแนวคิดเรื่องการลงทุนผมว่าถูกต้องแล้ว แต่ในทางการบริหารงานยุคนั้น จะไปตำหนิทั้งหมดก็ไม่ได้ เหมือนกับเรามีชีวิตอยู่ในฟองสบู่ อะไรๆ ก็ง่าย การใช้เงินก็ง่าย แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน ไปเราต้องประหยัดเป็นเรื่องธรรมดา" เขากล่าวสรุปบทเรียนที่ผ่านมา

ทั้งนี้การขยายกำลังการผลิตในยุคของเกษมนั้น ดำเนินไปบนพื้นฐานที่ว่าเป็นการขยายเพื่อทดแทนการนำเข้า และเพื่อให้ไทยออยล์มีรายได้ เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวเอง เพราะบริษัทมีภาระการจ่ายค่าใช้จ่ายและส่งแบ่งราย ได้ให้รัฐบาลมาก (ดูตารางกำไรสุทธิ เปรียบเทียบของการขยายการลงทุนและไม่ขยายการลงทุน นอกจากนี้ผู้สนใจอาจกลับไปดู "ผู้จัดการรายเดือน" ฉบับเดือนมีนาคม 2536 ซึ่งอธิบายแนว ทางการทำงานของ เกษม จาติกวณิชไว้อย่างชัดเจน)

ส่วนแนวทางใหม่นั้นคือต้องเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ "ทำให้ชีวิตเรียบง่าย หรือ simple living ผมพบพนักงานบ่อยเพื่อทำความเข้าใจว่าการอยู่อย่างปัจจุบันทำอย่างไร และพนักงานไทยออยล์มีเอกสิทธิ์ในการรับรู้ข้อมูลเทียบเท่ากันหมด ซึ่งเท่าที่ดำเนินการมา เขารับผมแล้ว"

แน่นอนว่าฝีมือของนักประชาสัมพันธ์รุ่นเก๋าอย่างเขา ซึ่งมีทักษะการผูกมิตรและการบริหารงานประชา สัมพันธ์เป็นเลิศย่อมไม่พลาดในการแก้ปัญหาประเภทนี้

เขาใช้ยุทธวิธีและเทคนิคที่เชี่ยวชาญจนบรรลุผลสำเร็จแล้ว ภาย ในเวลา 1 ปี

"ผมพยายามทำให้พนักงานรู้ทุกอย่างเท่าที่เรารู้ และถึงแม้เขาไม่อยากจะเข้าร่วม แต่ต้องดึงเข้ามาร่วมในกระบวนการทางความคิด เราสร้างทีมเวิร์คขึ้นมาใหม่ ถึงจะเกิดการประนีประนอมกันในการตัดลดค่าใช้ จ่าย หลังจากทำอย่างนี้ก็เกิดแนวร่วมโดยที่ไม่ต้องไปบังคับ โดยธรรมชาติ ของคนที่รักองค์กร แต่การขัดแย้งก็ ยังมี แต่ส่วนใหญ่แล้วเขาก็รักองค์กร ทั้งนี้ผมก็เป็นคนกล้าพูดและกล้า ทำด้วย" จุลจิตต์อธิบายวิธีการที่เขาใช้เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันทั่วทั้งองค์กรในการแก้ปัญหาไทยออยล์

นอกจากลดค่าใช้จ่ายลงแล้ว เขาก็มีแนวทางขายสินทรัพย์บางตัวของไทยออยล์ออกไปเพื่อให้มีเงินเข้ามาจุนเจือเป็นรายได้ทางหนึ่งของบริษัท (ดูตารางบริษัทในเครือไทยออยล์) ซึ่งการขายไทยออยล์ เพาเวอร์ก็เป็นอีกมาตรการหนึ่งที่ดำเนินการ และมีการเซ็นบันทึกความเข้าใจกับ EGCO เพื่อขายหุ้นในไทยออยล์ เพาเวอร์ให้ 40% แต่ปรากฏว่าการซื้อขายดำเนินไป ไม่สำเร็จ

จุลจิตต์รู้สถานะของไทยออยล์ ดีว่า ต้องสะดุดหกล้มเข้าสักวันหนึ่งจนได้ !!

จริงๆ แล้วโครงสร้างการเงินของไทยออยล์ก็เป็น "โครงสร้างทางการเงินที่เหลือขอ" และบริษัทเผชิญหน้ากับสถานการณ์แบบ "ไต่เส้นลวด" มาครั้งหนึ่งแล้วในสมัยที่เกษมเข้ามาบริหารงาน ("ผู้จัดการรายเดือน" เคยตีพิมพ์สกู๊ปข่าวเรื่อง "ไทยออยล์ : ก้าวย่างสู่อิสรภาพ" เมื่อเดือนมีนาคม 2536 โดยข้อมูลหลักมาจากการสัมภาษณ์ เกษม จาติกวณิช)

มาครั้งนี้ พิษสงของโครงสร้างและสถานการณ์ดังกล่าวกำเริบหนักจน ล้มป่วย!

จุลจิตต์ยอมรับว่าเมื่อเขาเข้ามา รับตำแหน่งนั้น เขาดูกระแสเงินสดบริษัทแล้วก็รู้ว่า "เริ่มมีปัญหา" แต่เขา ก็ยังไม่ประกาศ "พักชำระหนี้" ในทันที

ตอนนั้นค่า GRM ของโรงกลั่น ลดลงก็จริง แต่สองปีก่อนหน้าก็ลดลงแล้วกลับเพิ่มขึ้น กล่าวคือ มีอัตรา 3.71 เหรียญต่อบาร์เรล ในปี 2538 และเพิ่มเป็น 4.48 เหรียญต่อบาร์เรลในปี 2539 แต่ในปี 2540 กลับลดลง เหลือ 3.52 เหรียญต่อบาร์เรล

"ผมยังไม่อยากให้บริษัทเสียประวัติ จึงรอดูสถานการณ์ไปก่อน ซึ่งผมก็คิดอยู่ตลอดเวลาว่าเราจะยันสถานการณ์ไปได้นานแค่ไหน"

ทั้งนี้ค่า GRM ของไทยออยล์เมื่อปี 2541 ปรากฏว่าลดลงไปเหลือแค่ 1.89 เหรียญต่อบาร์เรลเท่านั้น!

ครั้นเมื่อดีลการขายหุ้นในไทยออยล์ พาวเวอร์ไม่สำเร็จและคาดว่าจะได้เงินมาไม่ทันเดือนพ.ย.2541 ที่บริษัทมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยตั๋ว FRN ที่ฮ่องกง จุลจิตต์จึงต้องประกาศพักชำระหนี้ของไทยออยล์ สร้างประวัติอื้อฉาวครั้งแรกแก่บริษัทที่มียอดขายเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยและ แก่โรงกลั่นที่มีความน่าเชื่อถือทางการเงินมากที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย

คงไม่มีใครปรารถนาที่จะทำเช่น นี้แน่ โดยเฉพาะจุลจิตต์ซึ่งต้องถือ ว่าเขาเติบโตได้ดิบได้ดีมีชื่อเสียงทุกวันนี้เพราะได้ทำงานในองค์กรแห่งนี้ แต่ เขากลับต้องมาทำลายชื่อเสียงของหน่วยงานที่เขาอาศัยอยู่มานานถึงเกือบ 30 ปี!

เขาไม่สบายใจมาก โดยเฉพาะในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2542

เหตุขาดสภาพคล่อง
นำไปสู่การพักชำระหนี้

สาเหตุขาดสภาพคล่องจนนำไปสู่การพักชำระหนี้ในยามนี้ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นและทำกันได้สำหรับกิจ การในเอเชียที่ประสบมรสุมเศรษฐกิจถดถอยรอบนี้ เพราะก็มีตัวอย่างบริษัทที่ดำเนินการเช่นนี้ไปแล้ว แต่ผลที่ได้รับก็เป็นการเสียประวัติความน่าเชื่อถือ

บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TPI ประกาศพักชำระหนี้ ตั้งแต่เดือนสิงหา คม 2541 ขณะที่บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ยังกัดฟันชำระอยู่ เพราะไม่ต้องการเสียเครดิต

ส่วนไทยออยล์นั้น ถึงจะอยาก สู้อย่างไร ก็ทำไม่ได้ เพราะสถาน การณ์ที่แท้จริงของไทยออยล์ในเวลานั้นคือได้รับการช่วยเหลือหยิบยืมเงินมาจาก ปตท.

จุลจิตต์เล่าว่าเขาได้วางโครงสร้าง กระแสเงินสดของไทยออยล์บนพื้นฐานที่ว่า "ปตท.ต้องให้ยืมเงินมาหมุน เวียน 6,000 ล้านบาท ทางด้านการค้า แต่เมื่อปตท.รู้ว่าไทยออยล์ไปไม่ไหว เขาก็ค่อยๆ เรียกเงินคืน ทำให้เงินหายไปจากระบบของไทยออยล์"

นอกจากนี้ ดีลการขายหุ้นไทยออยล์เพาเวอร์ให้ EGCO "นึกว่าจะเรียบร้อยในเดือนพ.ย.2541 แต่ไม่เป็น อย่างนั้น เมื่อน้ำมันดิบส่งมา จากนั้น 30 วันต้องชำระหนี้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เราจึงผิดสัญญาซัปพลาย เออร์ ซึ่งนักบริหารมืออาชีพไม่ควรทำอย่างนี้" จุลจิตต์กล่าวยอมรับผิดต่อสิ่ง ที่เกิดขึ้น

ในวันประชุมเจ้าหนี้ 27 พ.ย. 2541 มีเจ้าหนี้รวม 124 รายและมีมูลหนี้ทั้งสิ้นประมาณ 1,850 ล้านเหรียญ หรือ 73,000 ล้านบาท จุลจิตต์เล่าอย่างเปิดอกกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่าเขาไม่อยากพูดตามกระดาษร่างที่มีผู้เขียนมาให้ เพราะไม่สบายใจมาก เขามีความรู้สึกว่ากลุ่มหนี้นั้นมี 3 ประเภท คือเจ้าหนี้เงินกู้ที่เอาเงินเข้ามาลงทุน เจ้าหนี้ตราสารทางการเงิน (FRN) และ เจ้าหนี้ทางการค้าคือพวกซัปพลายเออร์ ซึ่งก็คือผู้ที่ส่งน้ำมันดิบให้ไทยออยล์

"โดยธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว เราจะผิดนัดกับผู้ให้กู้ 2 ประเภทแรกได้ และในภาวการณ์อย่างนี้ อุปสงค์อุปทานเป็นอย่างนี้ก็เป็นเกือบทุกธุรกิจ lenders เข้าใจ เพราะสถานการณ์ น้ำมันโลกเข้าสู่มุมอับ"

แต่ที่เขาไม่สบายใจคือการผิดนัดกับซัปพลายเออร์ เพราะตามธรรม เนียมปฏิบัติ เขาไม่ทำกัน ซึ่งเขาก็ไม่ได้อยากทำสักเท่าไหร่

"ผมตั้งใจจะไม่ผิดนัดเลย หนี้รายแรกที่เรามีเงินและต้องจ่ายคือซัปพลายเออร์ เพราะถ้าผิดนัดตรงนี้เครดิตจะหายไปทันที ความจริงเราผิดนัดเขาไม่ถึง 100 ล้านเหรียญ" จุลจิตต์เล่า

ในวันนั้น จุลจิตต์ นอกจากจะไม่พูดตามโผที่ร่างมาแล้ว เขายังขอเปิดใจกับเจ้าหนี้ว่า

"วันนี้ไทยออยล์ไม่มีปัญญาจ่าย เงินคืนให้ ถือว่าโรงกลั่นนี้เป็นของคุณ คุณคือเจ้าของแล้ว และเหตุการณ์ทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นไม่ใช่เหตุ การณ์ของไทยออยล์ แต่เป็นของโลก การผิดนัดชำระหนี้ครั้งนี้เรายอมรับ ผิด และไม่ควรทำอย่างนี้ โดยเฉพาะกับซัปพลายเออร์เราขอความเห็นใจด้วยเพราะเราทำดีที่สุดแล้ว"

บรรยากาศในวันนั้นเป็นไปด้วย ความเรียบร้อยดี และกลุ่มเจ้าหนี้เข้าใจสถานการณ์ไทยออยล์ดีมาก พวกเขาสามารถตกลงกันได้อย่างรวดเร็วและแต่งตั้งคณะกรรมการเจ้าหนี้หรือ Steering committee ขึ้นมาได้ทันทีจำนวน 11 คน มีการคุยกันจนทำความ เข้าใจได้ว่าทางโรงกลั่นไม่มีปัญหาเรื่องการผลิตการดำเนินการแต่อย่างใด แต่มีปัญหาเรื่องโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทที่ต้องหาทางแก้ไข คณะกรรม การเจ้าหนี้ตั้งเป้าหมายว่าจะใช้เวลา 9 เดือนในการปรับโครงสร้างบริษัท และได้ตั้ง co-share ขึ้นมาทำงาน 3 แห่ง เป็นแบงก์ฝรั่งคือเชสแมนฮัตตัน แบงก์ญี่ปุ่นคือแบงก์ออฟโตเกียว และแบงก์ไทย 1 แห่ง

นอกจากปัญหาเรื่องโครงสร้างผู้ถือหุ้น (ดูตารางโครงสร้างผู้ถือหุ้นไทยออยล์) แล้ว ยังมีปัญหาในเรื่องการเพิ่มทุน จะต้องเพิ่มเป็นจำนวนเท่าไหร่ และจะเจรจากับกลุ่มแบงก์เจ้าหนี้อย่างไร ซึ่งปรากฏว่าประเด็นต่างๆ เหล่านี้ ปตท.ได้เข้ามามีบทบาทนำในการเจรจาร่วมกับจุลจิตต์ และนี่เป็นครั้งแรกที่กลุ่มผู้ถือหุ้นเข้ามาดูแลผลประโยชน์และมีนโยบายที่ชัดเจนต่อโรงกลั่นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ


จะเพิ่มทุนอย่างไรเท่าไหร่

ปัญหาเรื่องการเพิ่มทุนเป็นปัญหาหนักอกมาตลอดตั้งแต่ยุคที่เกษม เข้ามาเป็นกรรมการอำนวยการ แต่ซุปเปอร์เคก็สามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้โดยไม่สนใจเรื่องการใส่เม็ดเงินจากผู้ถือหุ้นที่เกี่ยงกันและตกลงกันไม่ได้ เขาใช้เครือข่ายความสัมพันธ์กับเพื่อนฝูงในวงการธนาคาร ใช้พลังความแข็ง แกร่งขององค์กร เป็นสะพานนำเม็ดเงินมาขยายงานโรงกลั่นได้สำเร็จ

เรียกได้ว่าซุปเปอร์เคสร้างขนาด ของกิจการใหญ่โตโดยไม่สนเม็ดเงินจากทุนจดทะเบียนเลย

จังหวะการขยายตัวทางเศรษฐ-กิจและภาวะตลาดน้ำมันโลกเป็นใจให้แก่เขาอย่างมากด้วย

แต่ตอนนี้ เรื่องราวแปลกประหลาดผิดธรรมชาติการปล่อยกู้ของ แบงก์จำเป็นต้องยุติลง ผู้ถือหุ้นต้องเข้ามารับผิดชอบการขยายตัวเกินทุนของบริษัท

รัฐบาลได้ตัดสินใจเรื่องโรงกลั่น ไทยออยล์ออกมาชัดเจนแล้ว โดยให้ปตท.ซึ่งถือหุ้นอยู่ในไทยออยล์ 49% เป็นผู้เข้ามาดูแลแก้ไขปัญหาและดำเนิน งานบริหารไทยออยล์ในฐานะบริษัทลูก ซึ่ง ปตท.ก็จำเป็นที่จะต้องหาเงินมาเพิ่มทุนในไทยออยล์ให้ได้

จุลจิตต์อธิบายจุดนี้ว่า "ภาพของรัฐบาลชัดเจนมาตั้งแต่สมัย รมต. อุตสาหกรรม สมศักดิ์ เทพสุทิน ว่าให้ ปตท.ยึดไทยออยล์เป็นฐานการผลิต แล้วก็มีนโยบายให้ลงทุนเพิ่มทุนในไทยออยล์ต่อ โดยที่เอาหุ้นของบางจาก เชลล์ คาลเท็กซ ์ที่มีอยู่ 36% ไปขายให้เหลือประมาณ 10% แล้วนำเงินที่ขายได้มาลงทุนในไทยออยล์

แน่นอนตลาดตอนนี้ไม่ใช่ตลาด ของผู้ขาย การขายวันนี้คงจะไม่ได้ราคา รัฐบาลคงต้องหาทาง bid เพื่อนำเงินมาลงทุนในไทยออยล์ จะตั้งเป็นงบลงทุนก็ว่ากันไป"

ทั้งนี้ ไทยออยล์ติดหนี้กับ ปตท. อยู่ประมาณ 100 ล้านเหรียญ และหาก ปตท.จะลงเม็ดเงินเพิ่มอีกก็อาจจะเป็น 200 ล้านเหรียญ รวมกับหนี้เดิมเป็น 300 ล้านเหรียญ ซึ่งปตท. อาจจะแปลงหนี้เป็นทุนด้วยแล้วใส่เม็ดเงินใหม่เข้ามา นี่เป็นแนวทางที่ค่อนข้างชัดเจนจากรัฐบาลและ ปตท.

เรียกได้ว่าครั้งนี้ไทยออยล์สิ้นอิสรภาพพร้อมกับยุคของซุปเปอร์เค และต้องพึ่งความช่วยเหลือจากปตท. เป็นหลัก

ด้านผู้ถือหุ้นเชลล์กับคาลเท็กซ์นั้นได้ประกาศออกมาชัดเจนแล้วว่าจะไม่เพิ่มทุน ทั้งนี้เชลล์และคาลเท็กซ์ล้วนแต่มีโรงกลั่นของตัวเองแล้ว

กลุ่มสุดท้ายคือเอกชนผู้ก่อตั้งบริษัท คือกลุ่ม เชาว์ เชาว์ขวัญยืน ซึ่งมีเสียงออกมาว่าไม่มีกำลังพอที่จะเพิ่มทุนตามสัดส่วนได้ แต่ปัญหาคือพวกเขาคิดอย่างไรกับแนวทางการแก้ปัญหาโดย ปตท.เข้ามามีบทบาทหลักในครั้งนี้ กลุ่มนี้ไม่เคยแสดงความเห็น อย่างชัดเจน

ปัญหาคือจำนวนหุ้นที่พวกเขาถืออยู่มีปริมาณมากพอที่จะเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขบริษัทตามแนวทางที่เป็นอยู่ จุลจิตต์โบ้ยให้ ปตท. ต้องออกโรงเจรจาเรื่องนี้เอง และ ประเด็นนี้กลุ่มเจ้าหนี้ทั้งหมดทราบ เรื่องดี

จุลจิตต์กล่าวว่า "ผมคิดว่า กลุ่มเชาว์ขวัญยืนจะเป็นอุปสรรคอย่าง หนึ่ง แต่เรื่องนี้พวกเจ้าหนี้ทราบหมดแล้ว เราอธิบายให้ฟังไปหมดแล้ว ซึ่งสิ่งที่พวกเขาอยากรู้มากคือแล้ว ปตท. จะทำอย่างไร ซึ่ง ปตท.ก็เข้าไปคุยกับเจ้าหนี้ไทยออยล์แล้ว"

ปตท.มีการเรียกประชุมเจ้าหนี้ของไทยออยล์เพื่ออธิบายว่า ปตท.จะมีบทบาทอย่างไรกับไทยออยล์บ้าง คือ ปตท.จะถือหุ้นไม่เกิน 49% ตามสัด ส่วนปริมาณเงินที่ใส่เข้ามาในไทยออยล์ และในระยะยาว ปตท.พร้อมที่จะพิจาร-ณานำโรงกลั่นของไทยออยล์ผนวกรวม กับหน่วยงานด้านการตลาดของ ปตท. คือปั๊ม ปตท.ที่มีอยู่จำนวนมากในทั่วประเทศ เพื่อลดต้นทุนและสร้าง value เพิ่มขึ้นกับกิจการนี้

นอกจากนี้ ปตท.ก็ยืนยันในหลักการที่ว่าพร้อมที่จะเพิ่มทุน 200- 300 ล้านเหรียญ แต่เม็ดเงินจำนวนนี้จะมาจากไหนก็ต้องรอดูว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจะหาจากไหนอีก

ล่าสุดคือแหล่งเงินกู้ญี่ปุ่นที่มากับแผนมิยาซาวา (Miyazawa Plan) ซึ่งกระทรวงฯอยู่ระหว่างการเจรจาเรื่องนี้

นอกจาก ปตท.และกลุ่มเชาว์ขวัญยืนที่จะมีบทบาทในเรื่องการเพิ่มทุนแล้ว แบงก์เจ้าหนี้ก็คาดว่าจะมีส่วน ร่วมด้วย โดยการแปลงหนี้เป็นทุน ในเรื่องนี้จุลจิตต์อธิบายว่ามีความเป็นไปได้ "ถ้าแบงก์อยากเข้ามาถือชั่วคราว อยากแปลงหนี้เป็นทุน แล้วต่อไปค่อยหาพาร์ตเนอร์มาซื้อออกไป โดยเม็ดเงินที่แบงก์จะเพิ่มนั้นอาจจะใกล้เคียง กับ ปตท."

ทุนจดทะเบียนไทยออยล์อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 600 ล้านเหรียญ หรือ ประมาณ 20,000 กว่าล้านบาท แต่เม็ดเงินที่บริษัทจะได้เข้ามาจริงคงมี แต่ของ ปตท.จำนวน 200 ล้านเหรียญ เท่านั้น

ตัวเลขนี้ยังเป็นประมาณการ เพราะทั้งหมดนี้อยู่ระหว่างการเจรจา

น่าสังเกตว่าปัญหาใหญ่ของไทย ออยล์หลังพักชำระหนี้กลายเป็นพูดกัน เรื่องการเพิ่มทุนมากกว่าที่จะพูดเรื่องการชำระหนี้ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะบริษัทโรงกลั่นน้ำมันแห่งนี้เมื่ออยู่ในยุคของซุปเปอร์เคเป็นผู้บริหารนั้น ผู้ถือหุ้นไม่เคยมีปากเสียงในเรื่องการบริหาร ไม่เคยมาดูแลผลประโยชน์การใช้จ่ายกำไรของบริษัทเลย และเกษมก็ไม่เคยจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น ด้วยซ้ำไป!!

แผนการชำระหนี้ไทยออยล์ยังไม่ชัดเจน สิ่งที่ทำตอนนี้คือการแก้ปัญหาสภาพคล่องซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะหน้าและการชำระหนี้ซัปพลายเออร์

วิธีการตอนนี้คือ ปตท.เป็นผู้จัดซื้อน้ำมันดิบส่งให้ไทยออยล์กลั่น โดยคิดคำนวณ margin แบบเดิม แล้ว รับซื้อน้ำมันที่ได้ไป 50% เชลล์ และคาลเท็กซ์ รับซื้อไปอีก 20% ที่เหลือเป็น ผู้ซื้อรายย่อยๆ รายละ 5%-10% ซึ่งปริมาณที่ไทยออยล์กลั่นตอนนี้คือ 75% ของกำลังการผลิต 2.2 แสนบาร์เรลต่อวัน

ด้านซัปพลายเออร์ 3 รายที่ไทย ออยล์ค้างชำระหนี้ ตอนนี้ได้เริ่มเจรจากันใหม่แล้ว โดยขอให้ซัปพลายเออร์ส่งน้ำมันดิบให้ไทยออยล์กลั่นต่อ ไป และรายได้จากการกลั่นใหม่จะทยอย แบ่งชำระหนี้เก่า (ครั้งละประมาณ 20%) ซึ่งวิธีการนี้ก็ต้องขออนุมัติจากกลุ่มเจ้าหนี้ด้วย

อย่างไรก็ตาม เจ้าหนี้ก็คงต้อง อะลุ้มอล่วยแก่ลูกหนี้รายนี้ค่อนข้างสูง เพราะหนี้เกือบทั้งหมดที่มีอยู่นั้นเป็นการกู้โดยไม่ได้ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ไม่ว่าหนี้ในประเทศประมาณ 17,000 ล้าน บาท และหนี้ต่างประเทศประมาณ 56,000 ล้านบาท

จุลจิตต์เปิดเผยเกี่ยวกับมุมมอง ของเจ้าหนี้ต่อ ปตท.ว่า "เนื่องจากผู้ถือหุ้นใหญ่ในไทยออยล์คือ ปตท.ถึงแม้ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ แต่ก็เป็นบริษัทจำกัดที่รัฐวิสาหกิจถือหุ้นใหญ่ แม้ว่ารัฐบาลจะไม่ค้ำประกัน ในตัวมันเอง ก็จะไม่ล้มเพราะมี ปตท.รับผิดชอบ

ตอนนี้ ปตท.ก็รับผิดชอบ แต่อย่าลืมว่าภายใต้ความรับผิดชอบ ทุกคนมีข้อจำกัด มีข้อกำหนดในวงเงินที่จะให้ความช่วยเหลือ แน่นอน ปตท. ต้องการใส่เงินเข้ามาเพราะต้องการไทยออยล์เป็นฐานของเขา ซึ่งตรงนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่ ปตท.กระโดดเข้ามาสู้"

นั่นเท่ากับว่า ปตท.และจุลจิตต์ก็ต้องผ่านบททดสอบการแก้ปัญหาครั้ง นี้ของไทยออยล์ให้สำเร็จ กว่าที่จะได้ ครองไทยออยล์เต็มที่

ดูแล้วก็เหมือนครั้งหนึ่งที่เกษมพยายามแก้ปัญหาสารพัดอย่างของไทยออยล์ และขยายโรงกลั่นจนเติบโตขึ้นมาตามแนวทางของเขาสำเร็จ แม้ว่าประเด็นหนึ่งที่เขาทิ้งค้างไว้คือเรื่องโครงสร้างทางการเงินและผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องดูว่า ปตท.จะแก้ปมนี้สำเร็จหรือไม่

อนาคตไทยออยล์ กี่ปีจะฟื้น

เมื่อดูสถานะไทยออยล์ แม้จะเริ่มดีขึ้นจากภาวะซวนเซเพราะขาดสภาพ คล่องเมื่อปลายปีที่ผ่านมา แต่ใช่ว่าอนาคตจะสดใสปิ๊งป๊าง

จุลจิตต์ยอมรับว่าการที่จะสำเร็จ ในการปรับโครงสร้างครั้งนี้ นอกจากขึ้นอยู่กับโครงสร้างใหม่ประกอบด้วยทุนเท่าไหร่แล้ว การที่จะมีกำลังชำระหนี้เท่าไหร่ยังต้องมาดูเรื่องงบกระแสเงินสดที่มาจากรายได้ด้วย ซึ่งรายได้ของไทยออยล์ก็ขึ้นอยู่กับกำไรเบื้องต้น หรือค่า GRM และตัวเลขนี้ก็ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกว่าจะอยู่ในระดับไหน

เมื่อถามถึงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกนั้น มองดูไม่มีวี่แววจะกระเตื้องขึ้นได้ หลังจากมีราคาลดลงต่อเนื่อง 3 ปีแล้ว นักวิเคราะห์ในอุตสาหกรรมน้ำมันกล่าวว่าธุรกิจโรงกลั่น น้ำมันได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเอเชียทำให้อุปสงค์ในประเทศหดตัว ขณะที่ราคาน้ำมันตกต่ำต่อเนื่องก็จะทำให้กำไรขั้นต้นจากการกลั่นลดต่ำลง ซึ่งค่า GRM ของไทยออยล์ตอนนี้อยู่ในระดับ 1.89 เหรียญต่อบาร์เรล แม้ว่าบริษัทจะประเมินว่านี่เป็นค่าต่ำสุดแล้วในปีที่ผ่านมา และปี 2542 นี้จะเริ่มดีขึ้นมาอยู่ในระดับ 2 เหรียญต่อบาร์เรลก็ตาม

บริษัทเคยมีค่า GRM สูงถึง 4.8 เหรียญต่อบาร์เรล

หากบริษัทจะมองเรื่องการส่งออกก็เป็นเรื่องทำได้ยาก เพราะมีปริมาณ น้ำมันล้นตลาด (supply gluts) และ ราคาก็ต่ำมาก ดังนั้นโรงกลั่นน้ำมันทั่วประเทศตอนนี้จึงลดกำลังการผลิตลงประมาณ 15%-25% และส่วนมาก ก็ดำเนินงานในลักษณะขาดทุนหรือ ไม่มีกำไรเลย

จุลจิตต์ก็ยอมรับว่าแนวโน้มอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันในอนาคตยังแย่อยู่ "เว้นเสียจะมีปาฏิหาริย์เข้ามาช่วย" ซึ่งยังไม่มีใครมองเห็นหนทาง

ทั้งนี้ NEPO ได้คาดการณ์เกี่ยว กับภาวะอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันในประเทศว่าจะมีภาวะอุปทานล้นเกินไป จนถึงปีค.ศ.2006 หรือพ.ศ. 2549 ซึ่งก็คืออีก 7 ปีทีเดียว (ดูตารางภาวะอุปสงค์อุปทานน้ำมันในประเทศ) ซึ่งหากเป็นจริงผู้ผลิตก็ยังจะต้องลดปริมาณ การผลิตลงให้สอดคล้องกับทิศทางดังกล่าว และยังคงต้องใช้แนวทางควบ คุมค่าใช้จ่ายต่อเนื่องไปอีกหลายปี

การกอบกู้ไทยออยล์ให้หลุดพ้น จากบ่วงหนี้เจ็ดหมื่นกว่าล้านบาทและกลับมาผงาด ในฐานะบริษัทโรงกลั่นชั้นนำของภูมิภาคเอเชียเป็นภาระหนักอึ้งของจุลจิตต์-กรรมการอำนวยการคนที่ 3 ที่ขึ้นมาเปิดศักราชยุคขัดสนของไทยออยล์ แม้ว่าอนาคตข้างหน้า ดูขมุกขมัว แต่ชายผู้ซึ่งเคยเป็น The man behind มาตลอดนั้น บัดนี้ต้อง ออกมายืนเบื้องหน้าแล้ว ผลงาน 1 ปี ที่ผ่านมาถือว่าสอบผ่าน ไม่ว่าจากเจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้น และพนักงาน ด้วยวัย 58 ปี (อายุจริง) หรือ จะนับ 56 ปี (อายุตามทะเบียน) เขาก็ ต้องเกษียณแล้วตามระเบียบบริษัท ที่พนักงานจะเกษียณเมื่ออายุ 55 ปี แต่ เจเจ-ชื่อเรียกสั้นๆ ที่คุ้นหูยิ่งของนักข่าว-ต้องมีภาระแก้ปมปัญหาของไทยออยล์อีกมาก

นี่คือด่านทดสอบฝีมือขั้นสุดยอดของเขา!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us