Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2542
ถาวร ตรีศิริพิศาล วันก่อนเป็นเจ้าพ่อคอนโด วันนี้เป็นพ่อค้าขายผลไม้             
 


   
search resources

วีไอพีเรียลเอสเตท
ถาวร ตรีศิริพิศาล




ถาวร ตรีศิริพิศาล เป็นอีกตัว อย่างหนึ่งของนักธุรกิจที่สู้ชีวิตภายหลังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำอย่างสุดโหดในรอบนี้

เมื่อ 5-6 ปีก่อน เมื่อเอ่ยชื่อของถาวร กรรมการผู้จัดการบริษัทวีไอพีเรียลเอสเตท น้อยคนนักในวงการอสังหาริมทรัพย์ที่จะไม่รู้จักเขา เพราะอีกฉายาหนึ่งก็คือ "เจ้าพ่อคอนโด" ผู้บุกเบิกโครงการคอนโดเชน และคอนโดเทล และในช่วงที่ธุรกิจคอนโดมิเนียมได้รับความนิยมสูงสุด นั้น เขาเป็นทั้งเจ้าของคอนโด เป็น ทั้งที่ปรึกษาให้กับโครงการต่างๆ กว่า 30 โครงการ

เรียกได้ว่าคอนโดสูงเสียดฟ้า ย่านหาดจอมเทียนพัทยา หาดแม่รำพึงระยอง หาดหัวหิน และชะอำ มีชื่อของถาวรคนนี้ เป็นผู้ถือหุ้น เป็นที่ปรึกษาโครงการ หรือเป็นผู้รับบริหารเกือบทุกโครงการไป

เมื่อเจอพายุลูกแรกๆ จากสถาบันการเงินที่ชะลอการ ปล่อยสินเชื่อ ถาวรก็ยังไม่เจ็บตัวเท่าไหร่นักเพราะสายสัมพันธ์กับสถาบันการเงินที่มีมานานกว่า 20 ปีในวงการเรียล เอสเตทของเขาทำให้เขายังมีแหล่งเงินซัพพอร์ตโครงการ ดังนั้นการขายโครงการที่การก่อสร้างยังไม่เสร็จก็เลยยังเดินหน้าไปได้เรื่อยๆ

แต่เมื่อลมพายุกลายเป็นมรสุมลูกใหญ่ด้วยการปิดสถาบันการเงิน ถาวรก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ในช่วง แรกๆ เขาก็ยังใจเย็นเพราะคิดว่าทางสถาบันการเงินคงหาหนทางแก้ไขได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปๆ เมื่อเห็นว่ารัฐบาลและ สถาบันการเงินเองก็ยังไม่มีทางออก เขาจึงได้เริ่มดิ้นรนหาทางช่วยตัวเองอย่างถึงที่สุด

ในช่วงเวลานั้นถาวรมีโครงการซึ่งเขาเป็นผู้ถือหุ้นประมาณ 3 โครงการที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ และหยุดได้รับเม็ดเงินจากสถาบันการเงินไปแล้วในขณะเดียวกับลูกค้าที่วางเงินดาวน์ไว้แล้วก็เริ่มหยุดผ่อนต่อ รวมทั้งมีอีกประมาณ 4 โครงการที่สร้างเสร็จแล้วแต่การขายยังไม่หมดและชะงักงันมานาน

วิธีการแรกของเขาก็คือวิ่งขายโครงการให้กับนักลงทุนต่างชาติที่สนใจซึ่งมีทั้งโครงการของตนเอง โครงการของเพื่อนฝูงที่ตัวเองเป็นที่ปรึกษา รวมทั้งเปิดบริษัททางด้านโบรกเกอร์ รับซื้อขายที่อยู่อาศัยทุกประเภทเพื่อหวังเอาเงินเล็กๆ น้อยๆ จากค่าคอมมิชชั่น มาเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ เขาต้องทำงานหนักอีกครั้งทั้งๆ ที่ก่อนเกิดภาวะวิกฤติทางการเงินนั้นเมื่อรับเงินจากโปรเจ็กต์ที่ตัวเองเป็นที่ปรึกษาอยู่ เขาก็จะใช้เวลาส่วนใหญ่พาครอบครัวไปเที่ยวต่างประเทศประมาณ 1 เดือน ทุกครั้งไป

"เรียกได้ว่ากำไรที่ผมได้มา 100 บาท ตอนนี้หมดไป 90 บาท ปีนี้อาจจะเหลือถึง 0 ก็ได้ หากไม่ดิ้นรน รวมทั้งต้องขึ้นโรงขึ้นศาลอีกด้วย"

ส่วนโครงการที่ยังขายไม่หมดเช่นโครงการวีไอพีที่ พัทยา ชะอำ หัวหิน และโครงการรีสอร์ตที่หาดแม่รำพึงซึ่งเป็นที่ดินเปล่าจัดสรรนั้นเขาก็เร่งทำการโปรโมชั่นอย่างหนัก โดยยอมหั่นราคาลงมาถึง 50%

โครงการวีไอพีที่หาดจอมเทียนพัทยาจะเหลือจำนวน ยูนิตมากที่สุดคือประมาณ 200 ยูนิต พื้นที่ 40 ตารางเมตรราคาเริ่มต้นที่ 1 ล้านกว่าบาทนั้น ปัจจุบันเหลือเพียง 5 แสนกว่าบาท ผลจากแผนโปรโมตครั้งนี้ทำให้โครงการที่พัทยา ขายไปได้อย่างรวดเร็วเกือบร้อยยูนิต ที่ชะอำเหลือเพียง 10 ยูนิต ส่วนที่ระยองเหลือประมาณ 40 ยูนิต

เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น ถาวรบอกว่าเขาโชคดี ที่มีนักลงทุนชาวยุโรปกลุ่มหนึ่งได้มาเซ็นสัญญาตกลงซื้อโครงการของเขา 2 ใน 3 โครงการที่สร้างไม่เสร็จ แต่จะเป็นโชคดีหรือเปล่าไม่ทราบเพราะเขายอมรับว่า แต่ละโปรเจ็กต์ที่ขายได้เงินคืนมาเพียง 20% ของเงินทั้งหมดที่ต้องลงทุนไปเท่านั้น และนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาจะต้องหาเงินมาสร้างโครงการต่อให้เสร็จ รวมทั้งจ่ายหนี้สินให้สถาบันการเงินที่บริษัทค้างอยู่ด้วย

"ได้เพียง 20% ผมก็เอาแล้วละครับ ดีกว่าไม่ได้อะไรเลย และอย่างน้อยลูกค้าที่ซื้อไปก็จะได้เห็นโครงการที่เขาซื้อไปสร้างต่อเสียที"

คราวนี้ถาวรบอกว่าเขาคงต้องจบกันเสียทีกับอาชีพ

เรียลเอสเตท แต่ในขณะเดียวกันก็ยังไม่ยอมแพ้ต่อการพยายามหาธุรกิจใหม่ เพื่อหารายได้กลับเข้ามาแม้จะเป็นงานที่ทำรายได้ไม่มากนักก็ตาม

ดังนั้นประมาณกลางเดือนมีนาคม 2542 นี้ เขาจะเปิดบริษัทใหม่ คือบริษัทผลไม้แฟรนไชส์จำกัด วิธีการก็คือให้ผู้ที่สนใจสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกกับบริษัท เสียค่าใช้จ่ายครั้งแรกเพียง 1,000-1,500 บาท บริษัทก็จะจัดสินค้าคือผลไม้สดตามฤดูกาล 4-5 ชนิด ถุงมะขามหวาน กล้วยตาก และขนมผลไม้อื่นอีก 60-80 ถุง น้ำผลไม้คั้นสดๆ 40 ขวด พร้อมกับตู้แช่น้ำแข็ง ถุงใส่ผลไม้ ตาชั่ง ร่ม หมวก เสื้อ กระเป๋าสตางค์ ตะกร้าผลไม้ ตู้กระจก รถเข็นพร้อม ขายได้ทันที ซึ่งมูลค่าของผลไม้ต่อวันนั้นเป็นเงินประมาณ 3 พันบาท แต่สมาชิกยังไม่ต้องจ่ายเงินในส่วนนี้ทุกอย่างบริษัทให้เครดิตหมด ขายได้ถึงมาจ่าย และสมาชิกจะต้องขายให้หมดภายใน 2 วัน โดยสินค้าที่เหลือในแต่ละวันก็จะมีตู้แช่แข็งไว้บริการ

ถ้าเป็นรถเข็น ลงทุนครั้งแรก 1,000 บาท ประกันว่าต่อวันจะได้กำไรประมาณ 600-800 บาท แต่ถ้าเป็น ซาเล้งถีบก็ต้องจ่ายครั้งแรก 1,500 บาทกำไรต่อวันประมาณ 1,000-1,200 บาทส่วนค่าอุปกรณ์ต่างๆ นั้นสมาชิกต้องเซ็นสัญญาเงินกู้กับบริษัทเป็นเงิน 1 หมื่นบาทซึ่งจะค่อยๆ ทยอย จ่ายไป

ถาวรตั้งเป้าในปีแรกว่าจะมีประมาณ 100 คัน และจะเพิ่มเป็น 200 คันใน 2 ปี กลุ่มลูกค้าที่วางไว้ก็คือ พวกที่มีหน้าร้านขายประจำ หรือพวกรถถีบที่ขายอยู่แล้ว รวมทั้งคนกลุ่มใหม่ที่ต้องการรายได้

หากสมาชิกเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ก็หมายถึงได้ค่าแฟรนไชส์ปีละประมาณ 2 แสนบาท รวมทั้งหักกำไรส่วนหนึ่งจากยอดขายในแต่ละวันของสมาชิก 200 คนนั้น ถาวรบอก ว่าก็พอใจแล้วในภาวะอย่างนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us