Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2542
ดร.อเล็กซานเดอร์ ลิ๊บ เล็งเพิ่มธุรกิจการจัดการหลังผนวกกิจการให้บีซีจี             
 


   
search resources

เดอะ บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป - บีซีจี




ธุรกิจที่ปรึกษา ทนายความ และ นักบัญชีเป็น 3 วิชาชีพที่เป็นที่ต้องการของกิจการต่างๆ ทุกประเภท ในตอนนี้ โดยเฉพาะกิจการที่ปรึกษา ซึ่งในต่างประเทศมีการดำเนินงานมาเป็นเวลายาวนานแล้ว ตอนนี้จึงขยาย ตัวมาในแถบเอเชียและสร้างกำไรกันเป็นกอบเป็นกำจากธุรกิจที่พินาศล้มเหลวในแถบนี้

เดอะ บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป หรือบีซีจี เป็นกิจการที่ปรึกษาสัญชาติอเมริกันที่เข้ามาดำเนินงานในไทยเป็นเวลานานกว่า 10 ปี โดยเริ่มจัดตั้งสำนักงานในไทยเมื่อปี 1994 มีความชำนาญในการเป็นที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์

ล่าสุดบีซีจีได้ส่งดร. อเล็กซานเดอร์ ลิ๊บ ประธานภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาบรรยายเกี่ยวกับการจัดการหลังการผนวกกิจการหรือ post merger integra-tion (PMI) ซึ่งเป็นบริการล่าสุดที่บีซีจีนำเข้ามาเสนอให้ลูกค้าในประเทศไทย เพราะเขาคาดหมายว่าในปี 2542 นี้น่าจะมีการผนวกกิจการมากขึ้นในไทย หลังจากที่เมื่อ 1-2 ปีก่อน ก็มีการซื้อกิจการกันไปพอสมควร (ดูตารางรายชื่อกิจการฯ)

เขาให้ทัศนะเกี่ยวกับผนวกกิจการในไทยว่า "การผนวก กิจการภายในประเทศเองในช่วงที่ผ่านมา บริษัทต่างๆ ต้องแก้ปัญหาระยะสั้นหรือเฉพาะก่อน โดยเฉพาะเรื่องที่เป็น crisis management แต่มาในปีนี้คาดว่าบริษัทเหล่านี้ต้องเริ่มมาคิดแล้วว่าการดำเนินธุรกิจข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ควรจะตัดขายกิจการหรือผนวกกิจการหรือไม่อย่างไร"

แรงสนับสนุนการผนวกกิจการในไทยมี 2 ด้านคือจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศที่เชื่อว่าไทยและเกาหลีใต้จะเป็น 2 ประเทศที่ฟื้นจากการถดถอยทางเศรษฐกิจ ครั้งนี้ได้เร็วกว่าประเทศอื่น และอีกด้านหนึ่งบริษัทไทยควร เริ่มใช้ช่วงเวลานี้ในการพิจารณาขอบข่ายธุรกิจของตน โดยเฉพาะบริษัทที่มีการดำเนินงานในหลายประเทศควรพิจารณา ว่าจะโฟกัสการทำธุรกิจในที่ใดและในธุรกิจประเภทใดหลังจากที่การชะลอตัวครั้งนี้ผ่านไป

ในกรณีธนาคารพาณิชย์จุดที่จะดูว่าการผนวกกิจการ สำเร็จหรือไม่อยู่ที่การนำพนักงานที่มีอยู่ในปัจจุบันไปใช้ประ-โยชน์ในด้านอื่น (redeploy) หรือว่าการ transfer งานของ พนักงานถือเป็นสิ่งสำคัญมาก จากประสบการณ์ของดร.ลิ๊บ การผนวกกิจการหลายครั้ง แม้จะเริ่มด้วยการคาดการณ์อันเริดหรู แต่กลับจบลงด้วยฐานะทางธุรกิจที่ย่ำแย่กว่าเดิม เป็นเพราะกระบวนการจัดการในการรวมกิจการไม่ดีพอ "การรวมองค์กร 2 แห่งที่แตกต่างกันทั้งด้านวัฒนธรรมองค์กร ประวัติความเป็นมา ผลิตภัณฑ์ ตลอดจนระบบงานต่างๆ เข้าด้วยกัน เป็นสิ่งที่ยุ่งยากและซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง"

ดร.ลิ๊บมองว่าขั้นตอนที่สำคัญในการทำให้การผนวกกิจการสำเร็จ หรือล้มเหลวคือการที่บริษัทเหล่านั้นต้องกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ตลอดจนการมีเป้าหมายทางธุรกิจที่จะเกิดจากการผนวกกิจการไว้ให้ชัดเจน คำถามเช่น "ในอีก 2 ปีข้างหน้ากิจการจะทำกำไรเพิ่มขึ้นได้อีกเท่าไหร่" จะต้องมีคำตอบคอยอยู่แล้ว หลังจากนั้นการตัดสินใจในทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องสลับซับซ้อนเพียงใด จะต้องอยู่ภายในกรอบของยุทธศาสตร์ที่วางไว้นี้

นอกจากนี้บริษัทที่ผนวกกิจการจะต้องกำหนดและสื่อสารแนวทางการรวมกิจการอย่างชัดเจนแต่แรกเริ่ม โดยพนักงาน ผู้ถือหุ้น ลูกค้าและซัปพลายเออร์ จะต้องได้รับทราบข่าวสารข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับนโยบายของบริษัทใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหากต้องมีการปลดพนักงานบริษัท จะต้องรีบแจ้งให้พนักงานทุกคนทราบแต่เนิ่นๆ

ประการสุดท้ายบริษัทที่ผนวกกิจการจะต้องกำหนดกระบวนการพิเศษสำหรับการรวมกิจการซึ่งแยกต่างหากจาก การบริหารงานประจำวัน เนื่องจากการรวมกิจการที่ดีเป็นงานที่สลับซับซ้อนและต้องใช้กำลังคนเป็นจำนวนมาก การเปลี่ยนแปลงจะต้องเผชิญกับการถูกต่อต้าน ด้วยเหตุนี้ประสบการณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในอันที่จะจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการรวมกิจการ

สำหรับการจัดการหลังผนวกกิจการ (PMI) ในไทยนั้น แม้ไม่ได้มีความแตกต่างไปจากที่อื่นๆ แต่ดร.ลิ๊บมองว่ามีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง 3 อย่างคือ "อาจต้องมีการอัดฉีดเงินทุนเข้าไป เพราะไทยมีวิกฤติการเงินอยู่ นอกจากนี้ก็จะมีปัญหาเรื่องคน หากไม่มีการปลดคนงานใครจะเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ อย่างในต่างประเทศนั้นรัฐบาลเข้ามารับภาระตรงนี้ไป เรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องของ NPL ซึ่งในการผนวกกิจการปกติ เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหา แต่ในยามนี้เป็นประเด็นมากว่าจะจัดการ อย่างไร ซึ่งก็ต้องพิจารณาควบคู่ไปในแผนตั้งแต่เริ่มคิดผนวกกิจการ"

แนวคิดของดร.ลิ๊บในการจัดการเรื่อง NPL คือให้มีการแยกหนี้ดี-เสียออกจากกัน และก็ให้มีการผนวกกิจการ เฉพาะส่วนที่ดีเท่านั้น ส่วนหนี้เสียก็ไปหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (specialised manager) มาทำการปรับปรุงแก้ไข นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุด

ด้านผลการดำเนินงานของบีซีจีในไทยนั้น บริษัทต้องการมีลูกค้าในไทยในปีนี้ประมาณ 2-3 แห่ง โดยเล็งกลุ่ม ลูกค้าขนาดใหญ่ ขณะที่ในช่วงที่ผ่านมามีลูกค้าไทยรายใหญ่ อยู่ 4-5 ราย แต่ก็มีโปรเจ็กต์เล็กๆ สั้นๆ อยู่ด้วย ซึ่งหนึ่งใน นั้นคือที่ปรึกษาให้ธนาคารกรุงไทย ส่วนเป้าหมายในด้านลูกค้า PMI ดร.ลิ๊บเปิดเผยว่า "บีซีจีมีเป้าหมายว่าอยากจะมีลูกค้า PMI 5 โครงการในภูมิภาคนี้ ตอนนี้มีอยู่ 3 โครงการ"

ส่วนรายได้ของบีซีจีในเอเชียปีที่แล้วคิดเป็น 25% ของรายได้ทั้งหมด โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 20%-30% แต่ปีที่แล้วลดลงเล็กน้อย

บีซีจีเป็นบริษัทที่ปรึกษาที่ให้ความสำคัญในการเข้าหาลูกค้าด้วยวิธีการนำเสนอรายงานเกี่ยวกับแผนดำเนินงาน หรือเน้นการเข้าหาลูกค้าด้วยการทำ presentation ซึ่งนั่นหมายความว่าบริษัทต้องเตรียมตัวมาอย่างดีในการทำข้อเสนอให้ลูกค้า ต้องศึกษาลูกค้ามาอย่างดี และมีข้อเสนอที่น่าสนใจและดีพอสำหรับลูกค้า บอกรายละเอียดวิธีการทำงานให้ลูกค้าได้พิจารณา

สำหรับบริการ PMI ที่เป็นบริการใหม่ที่นำเข้ามาในปีนี้นั้น ดร.ลิ๊บโชว์ผลงานว่า "บริษัทได้มีการติดตามลูกค้าอย่างมาก เพื่อทำการสำรวจความสำเร็จในเรื่องการผนวกกิจการของลูกค้า ซึ่งปรากฏว่าลูกค้า PMI ของบริษัท หลังจากจัดการแผนการผนวกกิจการเรียบร้อยและดำเนินงานมาระยะหนึ่ง สามารถสร้างผลกำไรหรือผลตอบแทนดีกว่าผลตอบแทนในตลาดหุ้นประมาณ 20%-30% โดยเฉลี่ย"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us