Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2542
เบร็ต โธมัส แลมเบิร์ท พระเอกใหม่ในผาแดงฯ             
 


   
search resources

ผาแดงอินดัสทรี, บมจ.




18 ปี ที่ บมจ.ผาแดงอินดัสทรี (PDI) ก่อกำเนิดขึ้นมาท่ามกลางความยินดีปรีดาของวงการอุตสาหกรรมไทยในขณะนั้น การเจริญเติบโตในช่วงแรกของการดำเนินธุรกิจของผาแดงฯ ดูเหมือนว่าจับอะไรเป็นเงินเป็นทองไปหมด โดยเฉพาะยุคที่ถือว่าร้อนแรงที่สุด คือ ช่วงปี 2530-2533 ซึ่งสามารถสร้างผลประกอบการจนเป็นที่ถูกอกถูกใจผู้ถือหุ้นเป็นอย่างมากด้วยตัวเลขผลกำไรสุทธิ 278.26 ล้านบาท, 802.04 ล้าน บาท, 1,806.86 ล้านบาท และ 1,486.47 ล้าน บาท ตามลำดับ โดยมีกำไรสุทธิต่อหุ้น 34.78 บาท, 100.26 บาท, 225.86 บาท และ 185.81 บาท ตามลำดับ และมีมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นในช่วงปี 2530-2533 สูงถึง 145.16 บาท, 223.42 บาท, 349.28 บาท และ 400.08 บาท ตามลำดับ และถ้าคิดกันอย่างคร่าวๆ ในขณะนั้นผาแดงฯ สามารถทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้นเป็นเม็ดเงินกว่า 3,000 ล้านบาท

การงอกเงยอย่างต่อเนื่องของตัวเลขดังกล่าวเกิดจากราคาสังกะสีโลกได้พุ่งทะยาน ขึ้นไปสูงถึง 2,000 เหรียญสหรัฐต่อตันขณะ ที่ด้านต้นทุนการผลิตของผาแดงฯ มีไม่ถึง 1,000 เหรียญสหรัฐต่อตัน ส่งผลให้ราคาหุ้นของผาแดงฯ ไต่ระดับขึ้นไปแตะที่ 2,000 บาทต่อหุ้น (ราคาพาร์ 100 บาท) ในที่สุดหุ้น ผาแดงฯ ได้รับการยอมรับให้เป็นหุ้น "บลูชิป" สร้างความคึกคักให้กับตลาดหุ้นไทยได้เป็นอย่างดี

ต่อมาในปี 2534 เมื่อราคาสังกะสีโลก เริ่มตกต่ำจากระดับสูงสุดเหลือเพียงไม่กี่ร้อยเหรียญสหรัฐต่อตัน อีกทั้งผลิตภัณฑ์สังกะสีที่ผาแดงฯ ผลิตออกมาจำหน่ายที่ต้องอิงอยู่กับตลาดโลกเพียงอย่างเดียวทำให้ยากต่อการคาดการณ์ เนื่องจากความไม่แน่นอนของราคาสังกะสีที่มีผลต่างราคาขึ้นลงอยู่ในช่วงที่กว้างมาก คือ 300-500 เหรียญสหรัฐต่อตัน ทำให้ผลประกอบการของผาแดงฯ เริ่มสั่นคลอนและหดตัวลงตามลำดับ โดยในปี 2537 เป็นปีที่ผาแดงฯ ทำกำไรได้เป็นปีสุดท้ายด้วยตัวเลขเพียง 13.33 ล้านบาท และหลังจากนั้น เป็นต้นมาผาแดงฯ มีผลประกอบการขาดทุนมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2538-2540 ขาดทุนรวมกันทั้งสิ้น 3,128.47 ล้านบาท แม้ว่าบริษัทจะทำการปรับปรุงตัวแล้วก็ตาม โดยเฉพาะในปี 2539 ได้มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 1,220 ล้านบาท เพื่อสร้างความมั่นคงแข็งแรงให้กับบริษัท แต่ก็ยังไม่สามารถ สร้างความเลื่อมใสให้กับผู้ถือหุ้นได้มากนัก

ในปี 2541 ถือว่าเป็นปีที่ผาแดงฯ เอาจริงเอาจังกับการปรับโครงสร้างของบริษัทอย่างแท้จริง เมื่อได้บริษัท เวสเทิร์น เมทัลส์ จำกัด เจ้าของเหมืองแร่สังกะสีในออส-เตรเลีย เข้ามาซื้อหุ้นในผาแดงฯ จำนวน 81.6 ล้านหุ้น คิด เป็นสัดส่วนประมาณ 36% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท โดยผาแดงฯ ขายหุ้นในราคาหุ้นละ 14 บาท ได้เม็ดเงินเข้ามาประมาณ 1,142 ล้านบาท การขายหุ้นดังกล่าวเป็นหุ้นสามัญในส่วนที่เหลือจากการเพิ่มทุนในปี 2539 ที่สำคัญหลังจากทั้งสองบริษัทตัดสินใจร่วมกันทำธุรกิจด้วยกันแล้ว ในแง่ตัวผู้บริหารของผาแดงฯ ก็ต้องเปลี่ยนไปเมื่อเวสเทิร์นฯ ได้ส่ง เบร็ต โธมัส แลมเบิร์ท เข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและประธานผู้บริหาร ถือว่าตำแหน่งดังกล่าวเป็นแม่ทัพของผาแดงฯ ขณะที่ อาสา สารสิน ที่เคยเป็นสัญลักษณ์ของบริษัทได้ขึ้นไปดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทเพียงอย่างเดียว

การเข้ามาของนายใหม่ในผาแดงฯ ครั้งนี้ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่บริษัทต้องการเห็นการฟื้นตัว เพื่อกลับไปเป็นขวัญใจผู้ถือหุ้นและนักลงทุนให้เร็วที่สุด และสิ่งแรกที่ เบร็ต แลมเบิร์ท ต้องเร่งดำเนินการ คือ นำเงินจำนวน 1,142 ล้านบาทที่เวสเทิร์นฯใส่เข้ามา นำไปปรับโครงสร้างทางการเงิน กับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ 9 แห่ง และมีทั้งเงินกู้ระยะสั้นและระยะยาวจำนวนประมาณ 3,427 ล้านบาท

"เราจะขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกนำเงินที่ได้จากการขายหุ้นเพิ่มทุนมาชำระเงินกู้ประมาณ 1,142 ล้านบาทภายในระยะเวลา 1 ปี อีกส่วนจะจัดสรรกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของผาแดงฯ หรือ cash flow มาชำระเงินกู้ที่เหลือประมาณ 2,285 ล้านบาทภายในระยะเวลา 3 ปีครึ่ง" เบร็ต แลมเบิร์ท กล่าว และเงินที่เวสเทิร์นฯ นำมาชำระค่าหุ้นจะแบ่งชำระออกเป็น 4 งวด โดยงวดแรกชำระเมื่อเดือนตุลาคม 2541 จำนวน 2 ล้านเหรียญสหรัฐ และในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเงินเข้ามาแล้ว 4 ล้านเหรียญสหรัฐ และสิ้นเดือนมีนาคมนี้จะเข้ามาอีก 4 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่เหลืออีก 15 ล้านเหรียญสหรัฐจะเข้ามาในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้

อย่างไรก็ตามภาพที่ยังคลุมเครือในขณะนี้ คือ cash flow ของผาแดงฯ ที่จะจัดมาชำระหนี้ที่บริษัทก่อขึ้นในอดีตว่ามีเพียงพอหรือไม่ เรื่องนี้ เบร็ต แลมเบิร์ท กล่าวอย่างมั่นใจว่าถึงแม้ว่าราคาสังกะสีโลกจะต่ำอยู่ในปัจจุบัน แต่ความสามารถใน cash flow ก็ยังเพียงพอในการที่จะนำมาชำระหนี้ให้กับสถาบันการเงินตามแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ที่เกิดขึ้น

"จริงๆ แล้วธุรกิจหลักของผาแดงฯ ยังมี cash flow ที่เพียงพอ แต่เนื่องจากว่าในอดีตบริษัทได้นำเงินไปช่วยบริษัทในเครือที่มีปัญหาทำให้มีผลกระทบต่อบริษัทแม่ แต่หลังจากได้ปรับโครงสร้างบริษัทใหม่แล้วซึ่งต่อไปนี้เรามุ่งเน้นทำแต่ธุรกิจหลัก คือ เหมืองและผลิตโลหะสังกะสี ดังนั้นแน่ใจได้ว่า cash flow เรามีแน่นอน"

ส่วนภาพรวมของการดำเนินงานของบริษัท ปัจจุบันมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 800 เหรียญสหรัฐต่อตัน ขณะที่ราคาโลหะสังกะสีโลกอยู่ที่ประมาณ 930 เหรียญสหรัฐต่อตัน จึงมองได้ว่ากำไรเบื้องต้น (gross profit margin) ของบริษัทแคบมากเมื่อเทียบกับช่วงเจริญเติบโต

"ในโครงสร้างการขายเราต้องบวกค่าพรีเมียมเข้าไป ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพของตลาด รวมทั้งดูด้วยว่าขายตลาดภายในหรือตลาดต่างประเทศ ถ้าขายภายในประเทศราคาพรีเมียมจะสูงกว่าตลาดต่างประเทศ อีกทั้งยังมีกำแพงภาษีของโลหะสังกะสี 10% บวกเข้าไป จึงแน่ใจได้ว่าสถานะทางด้าน cash flow ยังมากกว่าต้นทุนการผลิต" เบร็ต แลมเบิร์ท อธิบาย

นโยบายของ เบร็ต แลมเบิร์ท ที่ทำควบคู่ไปกับการ ปรับโครงสร้างหนี้ คือ การหยุดกิจการบริษัทในเครือที่ไม่มีกำไรเพื่อตัดภาระออกไป บริษัทแรกที่ยุติการดำเนินการไปแล้ว ได้แก่ บริษัทผาแดง พุงซาน จำกัด ที่ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทองเหลืองและเหรียญกษาปณ์ ที่ผาแดงฯ ถือหุ้นอยู่ 61.98% "ผลจากการตัดจำหน่ายการลงทุนของพุงซานฯ จะทำให้งบดุลของผาแดงฯ ไม่กระทบอีกต่อไป" นอกจากนี้ยังยุติบริษัท ผาแดงสยามอุตสาหกรรม จำกัด และอีก 4 บริษัทในกลุ่มสำรวจแร่ ได้แก่ บริษัท ผาทองเอ็กซ์พลอเรชั่นแอนด์ไมนิ่ง จำกัด บริษัท ผาคำเอ็กซ์พลอเรชั่นแอนด์ไมนิ่ง จำกัด บริ-ษัท เอเชีย อินเวสเม้นท์ (1995) จำกัด และ บริษัทเอราวัณไมนิ่ง จำกัด "นโยบายหลักในขณะนี้ คือ มุ่งอยู่ในเหมืองแร่ที่ อ.แม่สอดและบริเวณใกล้เคียงเป็นหลัก"

การตัดสินใจซื้อหุ้นของเวสเทิร์นฯ แน่นอนว่าผลประโยชน์ที่จะได้จากการลงทุน ครั้งนี้เวสเทิร์นฯ ตั้งความหวังไว้สูงพอสมควร สังเกตได้จากเวสเทิร์นฯ ได้เข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้ของผาแดงฯ ด้วยตัวเอง เพื่อรับทราบข้อมูลในการตัดสินใจเพื่อนำเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในผาแดงฯ ในการปรับสภาพหนี้ ขณะเดียวกันได้มองเห็นประสิทธิภาพด้านการสำรวจและการทำเหมืองแร่ในไทย ที่สำคัญต้องการนำผลิตภัณฑ์ของตัวเองเข้ามาทำตลาดในไทยโดยผ่านทางผาแดงฯ

"เราเข้ามาทำงานที่นี่คิดว่าโอกาสการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของไทยจะมีศักยภาพมากขึ้น แต่ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ คือ ข้อจำกัด ระเบียบกฎเกณฑ์ของรัฐบาลไม่ค่อยเอื้ออำนวย ถ้ามีความกระตือรือร้นมากและให้การสนับสนุนมากกว่านี้จะเป็นการช่วยให้แหล่งแร่สังกะสี ได้รับการพัฒนาและสอดคล้องกับจังหวะเวลาในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย" เบร็ต แลมเบิร์ท ให้ทัศนะ

การปรากฏตัวของเวสเทิร์นฯและเบร็ต แลมเบิร์ทในครั้งนี้ พอจะมองเห็นอนาคตของผาแดงฯ แล้วว่านับต่อจากนี้ไปหลังจากเวสเทิร์นฯ ทำการซื้อหุ้นโดยผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วคาดว่าจะมีหุ้นอยู่ในสัดส่วน ประมาณ 45% ขณะที่กระทรวงการคลังซึ่งอดีตคือผู้ถือหุ้นใหญ่ต้องลดบทบาทตัวเองลงเหลือไม่เกิน 14% ส่วนรายอื่นๆ ก็เป็นเพียงผู้ถือหุ้นรายเล็กๆ เท่านั้น

ดังนั้นจึงไม่แปลกใจกับคำพูดที่สุดฮิตในขณะนี้ว่า "2542 ฝรั่งครองเมือง"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us