Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2542
วิทวัส ชัยปาณี รับจ้างสร้างแบนด์บริษัทประเทศไทยจำกัด             
 


   
search resources

โอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ (ประเทศไทย)
วิทวัส ชัยปาณี




ไม่ใช่ครั้งแรกที่ วิทวัส ชัยปาณี ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจที่ปรึกษา บริษัทโอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ (ประ-เทศไทย)จำกัด จะต้องสร้าง BRAND POSITIONING ให้กับ สินค้าเพราะการทำงานอยู่ในเอเยนซีโฆษณาเขาเคยสร้างแบรนด์ให้กับสินค้ามาแล้วนับไม่ถ้วน

แต่ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่วิทวัสจะต้องสร้าง BRAND POSITIONING ให้กับลูกค้ารายใหญ่ยักษ์ อย่างประเทศไทย ให้เป็นเสมือนสินค้าประเภทหนึ่งที่ได้รับการยอมรับจากลูกค้าทั่วโลก โดยมีกรมส่งเสริมการส่งออก สังกัดกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ว่าจ้าง

วิทวัส จบคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ใช้ชีวิต การทำงานในวงการโฆษณา 18 ปีเต็ม ผ่านงานบริษัทโฆษณามาหลายแห่ง ร่วมงานครั้งแรกที่บริษัทเดนท์สุ 6 ปี เต็ม เริ่มไต่เต้าตั้งแต่ AE (แอคเคาท์ เอ็กเซกคิวทีฟ) มานั่งทำงานในบริษัท เอ็มบีแอนด์บี เพื่อดูแลลูกค้าพรอค เตอร์แอนด์แกมเบิล 2 ปีเต็ม ก่อนจะย้ายมาทำงานกับโอกิลวี่ ในสายงานบริการลูกค้า (Client Service) และมานั่งเก้าอี้ ผู้อำนวยการธุรกิจที่ปรึกษา เป็นธุรกิจใหม่ล่าสุดของโอกิลวี่ ซึ่งมีกรมส่งเสริมการส่งออกเป็นลูกค้ารายแรก

สำหรับวิทวัส การสร้างแบรนด์สินค้าเป็นสิ่งที่ทำได้ทุกประเภท ไม่จำกัดว่าสินค้านั้นจะเป็นอะไร เพราะสินค้าทุกประเภทก็ล้วนแต่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง

จุดกำเนิดของการสร้างแบรนด์ให้กับประเทศไทยมาจากการที่กรมส่งเสริมการส่งออก ซึ่งมีหน้าที่ให้การสนับสนุน แก่ผู้ส่งออกของไทย เกิดไอเดียต้องการสร้างจุดขายให้กับเมืองไทย ให้เป็นที่รู้จักกับลูกค้าทั่วโลก เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกของเมืองไทยให้ขายสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งคงหนีไม่พ้นบริษัททางด้านการตลาด และเอเยนซีโฆษณา

ด้วยประสบการณ์บวกกับความจัดเจนในเรื่องการสร้าง แบรนด์ให้กับสินค้ามามากมาย กรมส่งเสริมการส่งออกจึงตัดสินใจเลือกให้โอกิลวี่เป็นที่ปรึกษาในการสร้างแบรนด์ให้กับประเทศไทย หลังจากเลือกเฟ้นมาหลายรายแล้วแต่ไม่ถูกใจ

วิทวัส เริ่มต้นงานแรกด้วยจัดสัมมนาให้กับข้าราชการ ทั้งหมดของกรมส่งเสริมการส่งออกเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องของการสร้างแบรนด์ ซึ่งเขาบอกว่าขั้นตอนนี้จำเป็นมาก

"เอาง่ายๆ เราต้องสร้างความเข้าใจก่อนว่าคำว่าแบรนด์ กับแบรนด์เนมมันต่างกัน แบรนด์เนมเป็นแค่ชื่อทางการค้า แต่แบรนด์มันยิ่งใหญ่กว่าหมายถึงความรู้สึกของลูกค้า ความผูกพันที่มีต่อตัวสินค้า" วิทวัสกล่าว

หลังสร้างความเข้าใจให้กับบรรดาข้าราชการของกรม ส่งเสริมการส่งออกแล้ว ก็มาถึงการวางคอนเซ็ปต์ในการสร้าง แบรนด์ให้กับบริษัทประเทศไทย จำกัด วิทวัสเริ่มด้วยการแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ขั้นแรก คือการหาข้อมูลทางการตลาดเกี่ยวกับสินค้าของคนไทยที่ส่งออกไปขายในต่างประเทศ และดูว่าคู่แข่งคือใคร ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ทางกรมส่งเสริมการส่งออกมีอยู่แล้ว

ส่วนที่สองจะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้บริโภคว่ารู้สึกอย่างไรกับสินค้าไทย แต่ข้อมูลในส่วนนี้กรมส่งเสริมการส่งออกไม่มี จึงว่าจ้างให้โอกิลวี่เป็นผู้ทำวิจัย โดยอาศัยเครือ ข่ายของโอกิลวี่ที่มีอยู่ทั่วโลก เลือกวิจัยกับผู้บริโภคสินค้าไทยใน 8 ประเทศหลัก ใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น 5 ล้านบาท

"เราไม่ได้ต้องการพฤติกรรมของผู้ซื้อเพราะเจ้าของสินค้าต้องทำอยู่แล้ว แต่เราอยากได้ข้อมูลในแง่มุมของสิน ค้าไทยโดยรวม ข้อมูลในแต่ละประเทศแตกต่างกันไป อย่างอเมริกาจะรู้จักสินค้าไทยน้อยมาก ขณะที่ในย่าน เอเชียด้วยกันจะรู้จักสินค้าไทยดี และมองว่ามีระดับที่ดีกว่าในประเทศ เราจะเห็นได้ว่ามันมีความแตกต่างในบางจุด ซึ่งก็เป็นข้อมูลทางลึกที่เราไม่รู้มาก่อน"

หลังจากใช้เวลา 3 เดือนเต็ม วิทวัสพบว่า ผู้บริโภค ในต่างแดนรู้สึกกับสินค้าไทยที่เหมือนๆ กันก็คือ ความละเอียดและประณีตของตัวสินค้าเมืองไทย

"เราก็หยิบเอาจุดนี้ขึ้นมาเป็นคอนเซ็ปต์หลัก จากนั้นเราจะต้องทำให้คนทั่วโลก เมื่อนึกถึงเมืองไทยจะนึกถึงความละเอียดประณีต เหมือนกับที่คนทั่วไปพอพูดถึงประเทศ อิตาลี ก็คือการดีไซน์ ญี่ปุ่นคือไฮเทค ถ้าพูดถึงประเทศ
เยอรมนีคือความทนทาน"

เขาเรียกสิ่งนี้ว่า แก่นศรัทธาของผู้บริโภคที่มีต่อตัวสินค้า แต่สิ่งที่จะต้องทำมากไปกว่านั้นก็คือ จะต้องให้ผู้บริโภครู้สึกต่อสินค้าไทยทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะแค่สินค้าประเภท HAND MADE เท่านั้น แต่จะต้องรวมถึงสินค้าและบริการทุกประเภทที่ผลิตมาจากเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว ทะเลของไทย และสินค้าทุกประเภท

หลังจากไอเดียทั้งหมดของวิทวัสได้รับความเห็นชอบ ของคณะกรรมการตัดสิน ที่มี วิโรจน์ ภู่ตระกูล และไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ สองผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเป็นกรรมการตัดสินก็มาถึงขั้นตอนที่จะต้องนำแนวคิดดังกล่าวไปลงมือทำจริง กรมส่งเสริมฯ จึงได้ว่าจ้างให้เป็นที่ปรึกษาต่อเนื่อง

วิทวัสเรียกงานในขั้นตอนต่อจากนี้ว่า เป็นการล้างสมองให้คนทั่วโลกสามารถจดจำเมื่อคิดถึงประเทศไทยจะต้อง นึกถึงความละเอียดประณีตของสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะต้องใช้คอนเซ็ปต์ดังกล่าวในการโปรโมต สินค้าไทยทั้งหมดที่ส่งไปขายต่างประเทศ โดยจะแบ่งสินค้าออกเป็นหมวดๆ อาทิ อาหาร อัญมณี อิเล็กทรอนิกส์

"ต่อจากนี้เป็นต้นไปเวลาจัดงานที่ไหน เราจะมีคอนเซ็ปต์เรื่องความละเอียดประณีตเป็นหลักในการจัดงานทุกๆ ครั้งในต่างประเทศ เพื่อปูภาพรวมให้กับเมืองไทย รูปแบบสื่อที่จะใช้โฆษณาก็จะต้องเน้นในเรื่องความละเอียดประณีต"

งานเทศกาลอาหาร หรือ ฟู้ดเด็กซ์"99 ที่ประเทศญี่ปุ่นวันที่ 9-12 มีนาคม จะเป็นงานแรกที่ประเดิมนำคอน-เซ็ปต์นี้มาใช้ ก่อนจะทยอยใช้ในงานแสดงสินค้าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น อัญมณี เครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์

หลังจากปูภาพรวมให้กับเมืองไทยเสร็จสิ้น ก็มาถึงขั้นตอนของการที่จะต้องนำคอนเซ็ปต์ความละเอียดประณีต มาใช้ต่อเนื่อง โดยทำเป็นเครื่องหมายรับประกันคุณภาพสินค้าที่ผลิตจากเมืองไทย ซึ่งก็ไม่ต่างไปจากการรับประกันคุณภาพสินค้าของสมอ.เท่าใดนัก

วิธีการก็คือ ให้ผู้ผลิตสินค้าส่งออกของไทยมาสมัครเป็นสมาชิกของกรมส่งเสริมการส่งออก เพื่อขอใบรับประกันสินค้าดังกล่าว ซึ่งกรมส่งเสริมฯจะกำหนดมาตรฐานของสินค้าเอาไว้ ดังนั้นสมาชิกที่จะได้รับเครื่องหมายนี้จะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าอย่างต่อเนื่องจากกรมส่งเสริมการส่งออก

"เราจะใช้เครื่องหมายนี้เป็นใบรับประกันคุณภาพให้กับสินค้าและ บริการทุกประเภท เช่น ภัตตาคารอาหารไทย นวดแผนโบราณของคนไทย เราจะใช้เป็นมาตรฐานของสินค้าไทย เพื่อไม่ให้ชาติอื่นมาแอบอ้าง"

วิทวัสวาดหวังไว้ว่าในอีก 2-3 ปีข้างหน้า เมื่อเขาไปสอบถามคนต่างชาติถึงประเทศไทยแล้ว เขาจะตอบได้ทันทีว่า คนเหล่านั้นคิดถึงความละเอียดประณีตของสินค้าไทย เหมือนกับที่คนเหล่านั้นคิดถึงความทนทานของสินค้าจากประเทศเยอรมนี

สำหรับโอกิลวี่แล้ว ไม่ขอพูดถึงเม็ดเงินรายได้จากโครงการนี้ วิทวัสบอกแต่เพียงว่าลดราคากันแบบสุดๆ เพราะงานนี้ถือเป็นใบเบิกทางแรกในการสร้างชื่อ ส่วนรายได้ต้องว่ากันหลังจากนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us