Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2542
บุญทักษ์ หวังเจริญ เผยเบื้องหลัง "สลิป" สี่หมื่นล้าน "เหนื่อยแต่คุ้ม"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
บุญทักษ์ หวังเจริญ
Bond




ในภาวะอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่พึ่งพารายได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก ทำให้มีรายได้ลดลงกว่าเท่าตัว ในขณะที่ช่องทางอื่นในการลงทุน อาทิ ตลาดหุ้นก็ไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่สวยหรูอย่างเช่นในอดีตอีกต่อไปแล้ว ประกอบกับตลาดตราสารหนี้ที่ยุคหนึ่งเคยเป็นยุคบูมก็ได้ขาดตอนไปช่วงเวลาหนึ่งจากพิษเศรษฐกิจ ทำให้ไม่มีสินค้าใหม่ๆ ออกมา

จนกระทั่งธนาคารกสิกรไทยได้เป็นผู้ปลุกให้ตลาดตราสารหนี้ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยการออกตราสารหนี้ระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนสูงถึง 11% ก้อนใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยออกในประเทศไทย ภายใต้โครงสร้างใหญ่คือ โครงสร้าง CAPITAL SECURITIES คือ การนำตราสารหนี้มาจัดให้เป็นตราสารทุน ในรูปแบบของ "สลิป" (SLIP : STAPLE LIMITED INTEREST PREFERED) ที่ประกอบด้วยตราสาร 2 ชุด ชุดแรกคือ หุ้นบุริมสิทธิควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิ จำนวน 20,000 ล้านบาท และชุดที่ 2 คือ หุ้นกู้ด้อยสิทธิธรรมดา จำนวน 20,000 ล้านบาท โดยธนาคารได้ขายตราสารทั้ง 2 ชุดนี้ให้แก่กองทุนรวมหุ้นบุริมสิทธิ-หุ้นกู้ด้อยสิทธิ ที่ออกโดยบลจ.กสิกรไทย จากนั้นทางกองทุนฯก็ออกเป็นหน่วยลงทุนขายให้แก่ผู้ลงทุนต่อไป ซึ่งโครงสร้างนี้ถือเป็นโครงสร้างสากล โดยในตลาดต่างประเทศมีการระดมทุนด้วยรูปแบบนี้มานับ 10 ปี แต่ถือเป็นโครงสร้างที่ใหม่มากและเกิดเป็นครั้งแรกในเมืองไทย จึงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักต่อการอธิบายให้นักลงทุนเข้าใจ

ทีมงานวาณิชธนกิจของธนาคารกสิกรไทย ภายใต้การนำของบุญทักษ์ หวังเจริญ ได้เริ่มศึกษาโครงสร้างนี้มานานกว่า 2 ปีแล้ว จนกระทั่งได้มีการวางแผนว่า นำตราสารที่ออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในอเมริกาเป็นหลัก ภายใต้กฎ 144A และได้จ้าง โกลด์แมนแซคส์ มาเป็นที่ปรึกษาในการจัดโครงสร้างดังกล่าว

"เราเตรียมทุกอย่างเรียบร้อยตั้งแต่ปีที่แล้ว เริ่มตั้งแต่ทำโครงสร้าง ทำเรื่องขอคำอนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์ในการแก้ไขกฎข้อบังคับของธนาคาร ทำเรื่องขอแบงก์ชาติว่า ให้โครงสร้างแบบนี้ถือเป็นกองทุนขั้นที่ 1 ขอกรมสรรพากรให้นำค่าใช้จ่ายมาหักภาษีได้ เมื่อได้รับอนุมัติทุกอย่างเรียบร้อย เราจึงได้จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้น และที่ประชุมผู้ถือหุ้นก็อนุมัติตั้งแต่วันที่ 29 ก.ย.41 เราก็พร้อมแล้วที่จะไปขายตราสารนี้ในอเมริกา" บุญทักษ์เล่า

แต่การที่บริษัทเอกชนจะออกไประดมเงินทุนจากต่างประเทศด้วยวิธีนี้ จะต้องให้ทางรัฐบาลไปออกพันธบัตรก่อน เพื่อเป็นมาตรฐานในการพิจารณาของนักลงทุน เนื่องจากนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการณ์เศรษฐกิจมา ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปหมด เรตติ้งของประเทศก็ถูกลดลง ฉะนั้นเพื่อเป็นการดี ควรรอให้รัฐบาลไปออกก่อน แต่จนแล้วจนรอด โกลบอลบอนด์ของกระทรวงการคลังก็ไม่มีทีท่าว่าจะออกไปขายสักที ร้อนถึงบุญทักษ์และทีมงานต้องมาทบทวนวิธีการระดมทุนใหม่ เนื่องจากระยะเวลาสิ้นปีใกล้มาทุกที

ซึ่งทางธนาคารก็จำเป็นต้องระดมทุนก้อนนี้ให้ได้ตามแผนที่วางไว้ เพื่อหนีจากตัวเลข NPL ที่วิ่งไล่ตามมาติดๆ และจะได้มีเงินสำรองกองทุนขั้นที่ 1 ไว้หายใจได้ยาวๆ รวมทั้งสำรองไว้เป็นกองทุนขั้นที่ 2 สำหรับการปล่อยสินเชื่อด้วย และสิ่งที่พวกเขาตัดสินใจคือ การนำตราสารชุดนี้มาจำหน่าย ให้แก่ผู้ลงทุนในประเทศไทยแทน

แต่การนำตราสารหนี้ที่จัดทำโครงสร้างไว้สำหรับออกจำหน่ายในต่างประเทศมาจำหน่ายในประเทศแทนไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากมีข้อจำกัด 2 ประการคือ "ประการแรกคือ ตราสารหนี้ชุดนี้ต้องอยู่ภายใต้โครงสร้างกฎหมายไทย แต่ในประเทศไทยไม่มีกฎหมาย SPV หรือกฎหมายธุรกิจเฉพาะเหมือนในต่างประเทศ ฉะนั้นเราต้องหากฎหมายอื่นมาแทน ซึ่งเราได้ยืมโครงสร้างกฎหมายกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินมาใช้แทนกฎ SPV และเราได้ชี้แจงไปยังก.ล.ต. ซึ่งก.ล.ต.ก็เข้าใจถึงความจำเป็นและอนุมัติให้ใช้ได้

ประการที่ 2 คือ โครงสร้างเดิมที่เราทำไว้สำหรับขายในต่างประเทศ เราได้รับการอนุมัติทุกขั้นตอนทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ฉะนั้นการจะเปลี่ยนแผนมาขายในประเทศแทน ก็จะต้องมีการปรับโครงสร้างใหม่ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในมติผู้ถือหุ้น ดังนั้นเราจึงต้องเอาโครงสร้างนั้นมาเปลี่ยนไส้ในใหม่ เนื่องจากไส้ในของตราสารหนี้ชุดที่หนึ่งระบุให้ออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิหน่วยละ 1,000 เหรียญสหรัฐ ฉะนั้นเพื่อปรับขายในเมืองไทย เราจึงต้องระบุระบบการแปลงเงินตราจากดอลลาร์เป็นบาทด้วย ซึ่งทำให้โครงสร้างใหม่นี้ค่อนข้างจะซับซ้อน" บุญทักษ์อธิบาย

การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ได้เกิดขึ้นภายในเวลา 2-3 เดือน ก่อนที่จะนำตราสารหนี้ชุดดังกล่าวออกมาจำหน่ายให้แก่กองทุนฯในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา จากนั้นทางกองทุนได้ออกเป็นหน่วยลงทุนและจำหน่ายแบบเฉพาะเจาะลง (PRIVATE PLACEMENT) ให้แก่นักลงทุนสถาบัน 17 ประเภท โดยมียอดจองหน่วยลงทุนของกองทุนฯ สูงถึง 42,960 ล้านบาท เกินกว่ามูลค่าที่ออกจำหน่ายจริงเป็นมูลค่า 2,960 ล้านบาท ซึ่งได้มีการจัดสรรจำนวน 40,000 ล้านบาท ให้กับนักลงทุน 3,208 ราย โดยเป็นประเภทบุคคลมากที่สุด 30,594 ล้านบาท หรือคิดเป็น 76.49%, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำนวน 2,701 ล้านบาท คิดเป็น 6.75%, บริษัทประกัน 1,287 ล้านบาท คิดเป็น 3.22%, สถาบันการเงิน 298 ล้านบาท คิดเป็น 0.75% และนิติบุคคลอื่น 5,120 ล้านบาท คิดเป็น 12.80%

สำหรับอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับจากหลักทรัพย์ชุดที่ 2 ที่มีอายุ 7 ปี คือประมาณ 11% แต่สำหรับหลักทรัพย์ชุดที่ 1 ซึ่งไม่มีกำหนดการไถ่ถอน จะไถ่ถอนได้ต่อเมื่อธนาคารเลิกกิจการ โดยธนาคารจะเริ่มจ่ายดอกเบี้ยในส่วนนี้ก็ต่อเมื่อธนาคารมีกำไรสะสม ซึ่งคาดว่าในอีก 4-5 ปีข้างหน้า ทางธนาคารจะสามารถจ่ายได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับอัตราผลตอบแทนสูงถึง 22.5%

"หากมองในแง่ของผู้ลงทุนก็ถือว่าดี แต่ถ้ามองในแง่ของธนาคารก็ถือว่าเป็นภาระที่ค่อนข้างสูงในอนาคต ดังนั้นทางธนาคารจึงได้มี CALL OPTION คือการไถ่ถอนก่อนกำหนดตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป แต่ผู้ลงทุนก็จะได้รับอัตราดอกเบี้ย 22.5 % ไปประมาณ 1-2 ปี จากนั้นธนาคารจะขอไถ่คืน นี่คือแผนที่เราวางไว้ แต่หากไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ ใน 4-5 ปีข้างหน้า ธนาคารยังไม่มีกำไรสะสม และหลักทรัพย์ทั้ง 2 ชุด ก็ยังไม่ถึงกำหนดไถ่ถอน ทางธนาคารก็ต้องหาช่องทางอื่นมาลดภาระก้อนนี้" บุญทักษ์ชี้แจง

หลังจากที่มีการออกตราสารทั้ง 2 ชุดนี้ ทำให้ BIS RATIO ของธนาคารเพิ่มขึ้นกว่า 16% โดยเป็นกองทุนขั้นที่ 1 ประมาณ 11.5% เป็นกองทุนขั้นที่ 2 อีกประมาณ 5% ซึ่งสถานะของธนาคารเมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่า ยอดของ NPL ของธนาคารจะเพิ่มขึ้นอีกจาก 38% ในปัจจุบันเป็นประมาณ 42% ในช่วงกลางปี และคงจะค่อยลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง จากสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงดังกล่าวจะทำให้ธนาคารกสิกรไทยอยู่ไปได้อีก 2-3 ปีข้างหน้า โดยไม่ต้องระดมทุนอีก

"โครงสร้างนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจยากมาก ผมเข้าใจเลย เพราะก่อนที่เราจะออกไปอธิบายให้ผู้ลงทุนฟัง เราต้องเรียกวาณิชธนากรที่เกี่ยวข้องทุกคนมานั่งฟังให้เข้าใจในรายละเอียดทั้งหมดก่อน ซึ่งใช้เวลานานถึง 4-5 ชั่วโมงทีเดียว ทั้งๆ ที่พวกเขาก็รู้จักโครงสร้างนี้มาก่อน และงานนี้ก็มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่ผมคิดว่าคุ้ม เพราะเรื่องนี้ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จริงมาช่วยเรา" บุญทักษ์เล่า

ความสำเร็จของการระดมทุนก้อนใหญ่ในครั้งนี้ของธนาคารกสิกรไทย ต้องยกความดีความชอบให้แก่ฝ่ายวาณิชธนกิจของธนาคารที่นำทีมโดยบุญทักษ์ ซึ่งในปัจจุบันได้รับการโปรโมตให้เป็นรองกรรมการผู้จัดการเรียบร้อยแล้ว

บุญทักษ์ ถือเป็นลูกหม้อคนเก่งคนหนึ่งของกสิกรไทย เขาเป็นนักเรียนทุนของธนาคารที่ไปเรียนต่อทางด้านไฟแนนซ์ที่สหรัฐอเมริกา และเริ่มทำงานให้แก่กสิกรหลังจากเรียนจบเมื่อปี 1981 โดยเข้าทำในตำแหน่งผู้จัดการสาขาฮูตตันและสาขาลอสแองเจลิส เป็นเวลาร่วม 8 ปี พอกลับมาเมืองไทยก็มาทำงานด้านสินเชื่ออยู่พักหนึ่ง จากนั้นก็เริ่มทำงานที่ฝ่ายงานวาณิชธนกิจตลอดมาจนปัจจุบัน

18 ปีเต็ม ที่บุญทักษ์ใช้ชีวิตการทำงานอยู่กับธนาคารกสิกรไทย เขาได้สร้างวิวัฒนาการความเปลี่ยนแปลงให้ธนาคารมาตลอด โดยเฉพาะในยุคของบัณฑูร ล่ำซำ ผู้บริหารหนุ่มไฟแรง ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในการบริหารธนาคารอย่างเต็มตัวเมื่อ 6-7 ปีที่แล้ว ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังบูม และเป็นยุคที่ธนาคารมีผลการดำเนินงานสูงสุด แต่บัณฑูรกลับบอกพนักงานทุกคนว่า "เราต้องมีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันที่ดียิ่งขึ้น" ด้วยการนำเอาระบบรีเอนจิเนียริ่งมาใช้เป็นครั้งแรกในเมืองไทย และวันนี้ก็เป็นการพิสูจน์ได้ในระดับหนึ่งว่า การตัดสินใจปรับองค์กรครั้งใหญ่ของธนาคารกสิกรไทยในวันนั้น ไม่ได้ทำให้ผู้ถือหุ้นผิดหวัง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us