Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543
สยามยามาฮ่า กลับมาแล้ว             
 

   
related stories

ตลาดเริ่มดุเดือดขึ้น

   
search resources

สยามยามาฮ่า




บริษัทสยามยามาฮ่า ได้เริ่มกลับมามีกิจกรรมการตลาดอีกครั้ง หลังเงียบหายไปนานในช่วงระหว่างการปรับโครงสร้าง หนี้ และการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น

"2-3 ปีที่แล้ว เราอยู่ระหว่างรักษาตัว แต่ต่อไปนี้เราจะบุกตลาดมากขึ้น" ประพันธ์ พลธนะวสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านการค้า และบริหาร สยามยามาฮ่า กล่าวต่อหน้าผู้สื่อข่าว และตัวแทนสถาบันการเงิน ในงานเปิดตัวรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า เฟรช 4 จังหวะรุ่นใหม่ เมื่อต้นเดือนสิงหาคม

ในงานเดียวกัน ได้ถือเป็นการเปิดตัวโทชิโนริ ซูซูกิ ตัวแทนจากยามาฮ่า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ที่ถูกส่งเข้ามาเป็น กรรมการผู้จัดการใหญ่ สยามยามาฮ่าไปพร้อมกันด้วย

สยามยามาฮ่า ต้องประสบปัญหาทางการเงิน อันเป็นผลพวงจากวิกฤติเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นในปี 2540 ส่งผลให้บริษัท ต้องแบกรับหนี้สินเป็นจำนวนกว่า 10,000 ล้านบาท

กลุ่มเคพีเอ็น โดยคุณหญิงพรทิพย์ และเกษม ณรงค์เดช ที่เพิ่งชิงสยามยามาฮ่ามาจากสยามกลการได้เพียง 2 ปีเศษ ต้องขอความช่วยเหลือไปทางยามาฮ่า มอเตอร์อีกครั้ง แต่คราวนี้การเจรจาได้ใช้ระยะเวลานานถึงกว่า 2 ปี

ในที่สุด เมื่อปลายเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา ยามาฮ่ามอเตอร์ ได้นำเงินเข้ามาช่วยเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท จาก 2,500 ล้านบาท เป็น 4,100 ล้านบาท และสถาบันการเงินเจ้าหนี้ มีการแปลงหนี้เป็นทุนอีกจำนวนหนึ่ง

การเพิ่มทุนจดทะเบียนครั้งนี้ ทำให้โครงสร้างการถือหุ้น ในสยามยามาฮ่าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่กลุ่มเคพีเอ็นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 72% ลดสัดส่วนลงมาเหลือเพียง 15% ขณะที่ ยามาฮ่า มอเตอร์ ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่มีสัดส่วน การถือหุ้น 51% เพิ่มจากเดิม ที่ถืออยู่เพียง 28% ส่วน ที่เหลืออีก 34% เป็นการถือหุ้นโดยสถาบันการเงินเจ้าหนี้

เรียกได้ว่า ณ วันนี้ สยามยามาฮ่าได้กลายเป็นบริษัทลูกของยามาฮ่า มอเตอร์ของญี่ปุ่นอย่างเต็มตัว โดยตัวแทนจาก ยามาฮ่า มอเตอร์ได้เข้ามาควบคุมการบริหารงานในสยาม ยามาฮ่าอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม

"ยามาฮ่า มอเตอร์ได้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร เข้ามาอยู่ในสยามยามาฮ่าถึง 36 คน ซึ่งถือเป็นตัวเลข ที่มากที่สุด ที่ยามาฮ่า มอเตอร์ได้เคยส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปประจำในสาขาต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วโลก" ประพันธ์กล่าวถึงระดับความสำคัญ ที่ยามาฮ่ามอเตอร์มีให้กับสยามยามาฮ่า

"สยามยามาฮ่าจะกลับมาเติบใหญ่อีกครั้งหลังประสบความสำเร็จในการปรับโครงสร้างการถือหุ้น" โทชิโนริ ซูซูกิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ สยามยามาฮ่า กล่าวอย่างมั่นใจ

ตามแผนงาน ที่ยามาฮ่า มอเตอร์ ผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่ กำหนดไว้ สยามยามาฮ่าจะต้องพยายามรักษาส่วนแบ่งการตลาดให้อยู่ในอันดับ ที่ 2 รองจากค่ายฮอนด้า โดยมีเป้าหมาย ที่จะครองส่วนแบ่งตลาดในสัดส่วน 25% ของยอดขายรวม ที่คาดว่าจะสูงถึง 8 แสนคันในปีนี้

โดยหลังจากเปิดตัวรถรุ่นเฟรชใหม่ในปีนี้แล้ว ในปีหน้าคาดว่าจะมีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่อีก 3 รุ่น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us