Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2542
ธีรดา อำพันวงษ์ (โชควัฒนา) ลูกสาวเสี่ยผู้ร่วมสานฝัน BSC             
 

   
related stories

สองบทบาทของสองเสี่ยในสหพัฒน์

   
search resources

ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล, บมจ.
ธีรดา อำพันวงษ์




ธีรดา หรือ หน่อย ถูกตามตัวให้มาช่วยงานที่ไอ.ซี.ซี.ทันทีหลังจากที่โครงการ BSC เริ่มมีทีท่าเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเมื่อกลางปีที่แล้ว โดยก่อนหน้านั้น ตั้งแต่ปลายปี 92 หลังจากเธอศึกษาจบปริญญาตรีทางด้านแฟชั่นเมอเชนไดซิ่ง มาจากอเมริกา เธอเริ่มต้นชีวิตการทำงานกับเพ็ญนภา ธนสารศิลป์ ผู้มีศักดิ์เป็นอาสะใภ้ ที่สหพัฒนพิบูล โดยมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบทางด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ลอตเต้ทั้งหมด ระหว่างการทำงาน เธอก็เรียนปริญญาโท ทางด้านบริหารธุรกิจที่ศศินทร์ ควบคู่ไปด้วย

ธีรดาสนุกกับงานการตลาดของผลิตภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภคอยู่ได้ 5-6 ปี เสี่ยและอากู๋ของเธอก็ได้ตามตัวมาถามความเห็นว่า "อยากทำสินค้าที่เป็นแบรนด์ ของตัวเองไหม ถ้าให้มาทำจะทำได้ไหม"

"ตอนแรกเราก็กระอักกระอ่วน เพราะใจจริงแล้ว ชอบงานที่สหพัฒน์มาก แต่ทีนี้ทางคุณบุญเกียรติบอกว่า ถ้าหน่อยไม่ทำก็ไม่เห็นใครแล้วนะ เพราะเราเรียนมาทางนี้ด้วย ก็เลยตัดสินใจมาทำงานตรงนี้" ธีรดาเล่าถึงความรู้สึกแรกที่ถูกตามตัวมารับผิดชอบงานที่เธอยังไม่เคยทำมาก่อน

และเมื่อเธอเข้ามารับหน้าที่เป็นผู้จัดการผลิตภัณฑ์ BSC ซึ่งมีหน้าที่หลักในการประสานให้ทุกโรงงานทำงานไปในทางเดียวกัน เนื่องจากแบรนด์ BSC ประกอบด้วย สินค้าหลายชนิดมาก ได้แก่ เสื้อผ้าผู้หญิง เสื้อผ้าผู้ชาย เสื้อผ้าเด็กอ่อน ชุดชั้นใน เครื่องหนัง เป็นต้น นอกจากนั้น เธอยังต้องดูแลงานด้านการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ รวมถึงงานขายและงานการตลาดด้วย เรียกว่าแทบจะทุกเรื่องทีเดียวที่เธอต้องรับรู้และรับผิดชอบทั้งหมดในผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ ทำให้เธอได้ค้นพบถึงความแตกต่างกันมากระหว่าง 2 ผลิตภัณฑ์ คือ สินค้าอุปโภคบริโภค กับสินค้าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หรือระหว่างของกินกับ ของใช้สวยๆ งามๆ นั่นเอง

เธอเล่าว่า สินค้าที่เป็นคอนซูเมอร์โปรดักส์จะต้องแข่งขันกับทุกอย่าง เริ่มตั้งแต่การแข่งกับตัวเอง การแข่งกับคู่แข่ง จะต้องมีการติดตามความเคลื่อนไหวของคู่แข่งทุกฝีก้าว จะพลาดแม้แต่นาทีเดียวไม่ได้ และตลาดหลักของสินค้าประเภทนี้ก็คือ ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว หรือซูเปอร์มาร์เก็ต ในขณะที่การทำการตลาดเสื้อผ้าต้องแข่งกับตัวเอง ต้องพยายามจับทางให้ได้ว่าในตลาดยังขาดอะไรอยู่ และนำเสนอสินค้าออกมาให้ตรงใจตลาดมากที่สุด จึงจะสำเร็จ

สำหรับแนวทางการทำการตลาดของทั้ง 2 ผลิต ภัณฑ์ที่มีความคล้ายคลึงกันคือ การสร้างความรู้สึกให้ลูกค้าเข้ามาซื้อของของเรา เธอได้นำเอาคอนเซ็ปต์ที่เคยใช้ที่สหพัฒน์มาประยุกต์ใช้กับ BSC บ้าง แต่กระนั้นเธอ ก็บอกว่า "จะให้ใช้แบบลูกทุ่ง แบบมวยวัดเหมือนสหพัฒน์ทั้งหมดเลยไม่ได้ เมื่อก่อนถ้าเราอยากรู้ว่าสินค้าเราเป็นอย่างไร ตลาดเป็นอย่างไร เราก็ออกไปคุยกับอาเจ็ก อาแปะ ได้ เขาก็จะบอกเราได้ว่าตอนนี้ใครมีอะไรออกใหม่ อย่างไรบ้าง แต่พอมาทำเสื้อผ้า เราจะลงไปถามใครก็ไม่ได้ เราต้องเดินไปดูตลาดเอง ต้องเดินห้างสรรพสินค้า ต้องเปิดแม็กกาซีนแฟชั่น ต้องดูซีเอ็นเอ็น เพื่อจะได้รู้ว่า แนวโน้มของตลาดไปถึงไหนแล้ว"

สำหรับคอนเซ็ปต์ของ BSC ถือว่าเป็นความใหม่ของตลาดในเมืองไทยมาก เนื่องจากตลาดในเมืองไทยยังไม่มีสินค้าประเภทนี้เลย คือ เป็นเสื้อผ้าที่ใส่ง่าย ใส่สบาย ไม่ต้องดูแลรักษามาก แต่ขณะเดียวกันก็สามารถ ประยุกต์ให้ดูดีได้ภายในชุดเดียวกันทั้งงานกลางวัน และกลางคืน ตามคอนเซ็ปต์ที่เรียกว่า MIX & MATCH คือ การเอาเสื้อผ้าชุดเดียวกันนี้ไปถอดหรือใส่เพิ่มอีกตัวหนึ่งแล้วสามารถไปเดินตลาดหรือไปงานได้

"ประหยัดและคุ้มค่า" เป็นอีกคอนเซ็ปต์หนึ่งที่อธิบายความเป็น BSC ได้ เนื่องจากในภาวะเศรษฐกิจใน ปัจจุบันไม่เอื้อต่อการจับจ่ายใช้สอย แต่อย่างไรก็ตามคน ที่พอจะมีเงินก็ต้องการสิ่งใหม่ๆ เข้ามาในชีวิต เพียงแต่ต้อง เป็นสิ่งที่มีคุณภาพสมราคา คือเป็นของดีแต่ราคาไม่แพง

BSC จึงเปิดตัวได้อย่างสวยงามไปเมื่อเดือนก.พ. ที่ผ่านมา โดยดึงเอาความต้องการของตลาดในส่วนนี้มาใช้ในการผลิตและขายสินค้า ดังนั้นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของ BSC จึงเป็นลูกค้าระดับบีขึ้นไป ที่ไม่ยึดติดอยู่กับแบรนด์ต่างประเทศ แต่จะเป็นผู้ที่คำนึงถึงคุณภาพของสินค้าที่เหมาะสมกับราคาเป็นหลัก

ในช่วงเริ่มต้นของการเปิดตัวนี้ ธีรดาเปิดเผยแผนงานว่า "เราพยายามจะประชาสัมพันธ์ในชื่อของ BSC เป็นที่รู้จักให้มากที่สุด ว่า BSC คืออะไรและมีสินค้าอะไร บ้าง ส่วนเป้าหมายทางตัวเลขนั้นคงยังไม่ได้กำหนดชัดเจน เนื่องจากเรามุ่งที่จะสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งมากกว่านี้ก่อน"

สำหรับเบื้องหลังความเป็นมาของแบรนด์ BSC ธีรดาเล่าว่า เกิดจากความคิดที่ว่า เครือสหพัฒน์ประสบ ความสำเร็จจากการผลิตสินค้า โดยต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ในการผลิตสินค้าให้ต่างประเทศมานานหลาย 10 ปีแล้ว พอมาถึงจังหวะและโอกาสในตอนนี้ จึงคิดว่า ควรจะมีแบรนด์เป็นของตัวเองควบคู่ไปด้วย เพราะในแง่ของศักยภาพของการผลิตไม่ได้ด้อยกว่าสินค้าของต่างชาติที่ทางเครือผลิตให้อยู่เลย โครงการนี้จึงเป็นการรวมหัวกะทิ ของ ไอ.ซี.ซี. ทั้งหมด มาช่วยกันระดมความคิดความเห็น เพื่อจะทำให้ความฝันนี้เป็นจริงขึ้นมาได้ ซึ่งแต่ละท่านที่มาช่วยล้วนแต่มีประสบการณ์ทำงานในไอ.ซี.ซี. มาเป็นเวลาร่วม 20 ปีขึ้นไปแล้วทั้งนั้น

"ตอนแรกเราเดินทางมาสะเปะสะปะมาก เรายังจับต้นชนปลายไม่ถูก จนกระทั่งเรานึกถึงดีไซเนอร์ต่างชาติ 2 คนที่ร่วมงานกับเรามานานนับสิบปี ในส่วนของผลิต ภัณฑ์เสื้อผ้ากีลาโรช คือ MR.JEAN-CLAUDE และ MRS.GAETANA เราจึงเชิญเขามาเป็นที่ปรึกษาของเรา ซึ่งเขาสามารถให้คำแนะนำเราได้มากทั้งในเรื่องของการตลาด และการออกแบบสินค้า ให้มีความเหมาะสมทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ เพราะเราจะไม่ได้หยุดอยู่แค่ตลาดในประเทศเท่านั้น แต่เราจะออกไปในตลาดต่างประเทศด้วยทันทีที่แบรนด์เราแข็งแกร่งมากกว่านี้" ผู้บริหารสาวเล่า

"ทำไมต้องเป็นชื่อ BSC" เป็นคำถามที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าตัวนี้ได้ยินมาตลอด ธีรดาเป็นผู้ไขปริศนานี้ว่า "เราพยายามจะหาแบรนด์ที่ไม่ซ้ำใครเลย คือเป็นชื่อที่มีความหมายในตัวเอง และแบรนด์ BSC เป็น แบรนด์ที่ให้ความหมายที่ดีได้หลายความหมาย เช่น BY SELECTIVE CONCEPT, BECOME SMART CUSTOMER หรือจะหมายถึง BEST SELECTED COLLECTIONS ก็ได้ คือ เป็นความหมายที่แสดงให้ลูกค้าทราบว่า เราพยายาม เตรียมสินค้าที่พิเศษที่สุดสำหรับพวกเขาและเมื่อพวก เขาใส่เสื้อผ้าของเราแล้ว เขาจะมีความมั่นใจได้ว่า เขาเป็นลูกค้าที่ฉลาดซื้อ นี่คือสิ่งที่พวกเราพยายามป้อนเข้าสู่ตลาดในภาวะปัจจุบัน"

BSC เป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่รอพิสูจน์ฝีมือของธีรดา หลังจากที่เธอเคยประสบความสำเร็จกับผลิต ภัณฑ์ลอตเต้ที่สหพัฒน์มาแล้ว

ธีรดาเป็นลูกสาวคนโตของเสี่ยกับพัชรินทร์ เธอมีพี่ชายหนึ่งคน ซึ่งขณะนี้นั่งเป็นกรรมการอยู่ใน ไอ.ซี.ซี. ด้วย และมีน้องสาวน้องชายอีก 2 คนที่กำลังศึกษาอยู่ในต่างประเทศ เธอสมรสแล้วกับบุตรชายของนายแพทย์ สุรพงษ์ อำพันวงษ์ ผู้บริหารโรงพยาบาลพญาไท มีลูกสาวเล็กๆ 1 คน

ด้วยความที่เป็นลูกสาวของเสี่ยผู้กุมบังเหียนของเครือสหพัฒน์ทั้งหมด ด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ และในฐานะ ที่จะต้องรับช่วงการเป็นผู้บริหารเครือสหพัฒน์ในยุคของเจนเนอเรชั่นที่ 3 ต่อไป ธีรดาจึงค่อนข้างถูกจับตามองมากกว่าลูกหลานของโชควัฒนาคนอื่นๆ

และเมื่อตั้งคำถามกับเธอว่า "เธอเตรียมพร้อมและ เรียนการทำธุรกิจสำหรับการเป็นผู้บริหารในรุ่นต่อไปอย่างไรบ้าง" เธอก็ตอบอย่างตรงไปตรงมาว่า "ไม่ได้เตรียม อะไรคือเรามางานทุกวันเราก็อยากให้งานที่ทำออกมาดี ถ้าไม่ดีก็กลุ้มใจ ถ้าจะถามว่าเตรียมพร้อมที่จะก้าวไปถึงตรงไหนคงไม่ได้เตรียม แต่เรารู้เพียงว่าวันนี้เราทำตรงนี้ให้ดีที่สุดก็พอแล้ว"

ธีรดาเล่าว่า เธอคลุกคลีอยู่กับที่ทำงานของคุณปู่เทียมมาตั้งแต่วัยเด็ก เนื่องจากในช่วงนั้นพัชรินทร์ผู้เป็นมารดาของเธอทำหน้าที่เป็นเลขาส่วนตัวของนายห้างเทียม ดังนั้นทุกวันเสาร์และช่วงปิดเทอม เธอและพี่ชายจะตามคุณแม่ไปที่ทำงานและเข้าไปเล่นอยู่ในห้องทำงานของคุณปู่ ไม่ว่าท่านจะประชุมอะไรจะมีเด็กสองคนนี้นั่งเล่นอยู่ในนั้นเสมอ และนี่คือสิ่งที่เธอคิดว่าได้ใกล้ชิดกับคุณปู่มากแล้ว

"เสียดายที่คุณปู่เสียเร็วไปนิดหนึ่ง เพราะหากท่าน ยังอยู่ ท่านจะให้อะไรกับประเทศชาติได้อีกมากมาย คุณปู่เป็นคนที่มีจิตใจดีมาก เรียกได้ว่า ความสำเร็จของ ท่านไม่ใช่มาจากการทำงานอย่างเดียว แต่เป็นความสำเร็จ ที่มาจากพื้นฐานทางจิตใจของท่านด้วย และท่านก็เป็นแบบ อย่างให้คนในโชควัฒนาทุกคนเดินตามแบบท่าน" เป็น ความรู้สึกของหลานคนหนึ่งในตระกูลโชควัฒนา

และสิ่งที่เธอคิดว่าได้ซึมซับจากการเป็นโชควัฒนา คนหนึ่ง เข้ามาในชีวิตการทำงานหรือการดำเนินชีวิตในทุกวันนี้คือ ความสมถะ ไม่ฟุ้งเฟ้อ เธอถูกสอนมาให้ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย ติดดิน ไม่จำเป็นต้องใช้ของแพง หรือต้องกินร้านอาหารดีๆ ตลอดเวลา

"อย่างเช่น เสาร์อาทิตย์เราไปหาคุณพ่อ ก็ทานข้าวกันธรรมดา ไม่ได้ใช้ชีวิตแบบว่าต้องไปคลับหรูๆ ตลอดเวลา ส่วนการทำงานเรารู้ตัวตั้งแต่เด็กแล้วว่าโตขึ้น มาเราต้องทำงานหนัก เรารู้ว่าคนคงมองเราอยู่เยอะเรื่องการทำงาน" นั่นคือสิ่งที่เธอเตรียมใจรับไว้แล้ว

สำหรับ "เสี่ย" หรือคุณพ่อในความรู้สึกของเธอแล้ว เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมาก จากสิ่งที่เธอคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็กคือ เมื่อใดก็ตามที่เธอตั้งคำถามกับคุณพ่อของเธอ ท่านจะสามารถอธิบายไปถึงในสิ่งที่เรานึกไม่ถึงได้เป็นอย่างดี และชัดเจนในทุกด้านทุกมุมทั้งในทางตรงและทางกลับกัน ท่านจะเป็นคนที่มีความพิเศษ ในเรื่องนี้มาก ซึ่งบางคนอาจจะมีเหมือนกัน แต่ถ้าจะให้ กว้างและลึกอย่างท่าน เธอบอกว่ายังไม่เคยเจอมาก่อน ส่วนในแง่ของการทำงาน ท่านจะว่ากล่าวเหมือนกับเธอเป็นพนักงานคนหนึ่ง ท่านจะไม่ค่อยสอนปรัชญาในการทำงาน เพราะถ้าหากคนที่รู้จักท่านดีจะทราบว่าท่านเป็นคนพูดน้อยแต่ทำจริง ท่านจะไม่ค่อยสอนคนด้วยคำพูด และคนจะสามารถเรียนรู้ได้จากการกระทำของท่านมากกว่า

สำหรับ "อากู๋" บุญเกียรติ ผู้ใกล้ชิดกับเธออีกคน หนึ่ง เธอกล่าวถึงว่า "คุณอาเป็นคนสนุก อารมณ์ดี ใจดี ท่านเป็นคนอบอุ่น พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลืออยู่เสมอ จะคอยให้คำแนะนำตลอดเวลา เราจะมีการพบปะระหว่าง อาๆ หลานๆ อยู่เสมอ เวลาที่มาเจอหลาน อากู๋จะเอาความ ผิดพลาดที่ท่านเห็นจากการทำงานมาสอนหลานๆ ว่า ถ้าทำแบบนั้นแบบนี้ผลจะออกมาอย่างไร ซึ่งเราจะได้ประสบ การณ์ จากตรงนี้เยอะมาก ขณะเดียวกันท่านก็จะเปิดโอกาส ให้หลานๆ เล่าให้ฟังด้วยว่า ใครเจออะไรกันมาบ้าง เป็น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน"

ทั้งหมดนี้เป็นเสี้ยวส่วนหนึ่งของชีวิตลูกหลานโชควัฒนาในรุ่นที่ 3 ที่จะต้องเป็นผู้สืบทอดกิจการของตระกูลต่อไป เหมือนดั่งที่รุ่นพ่อของเธอได้สืบทอดมาจากรุ่นปู่ของเธอมาก่อนอย่างมั่นคงและแข็งแกร่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us