ค้าขายไร้พรมแดนผ่านอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า อี-คอมเมิร์ซ ปัจจุบันเริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นแล้วในประเทศไทย
ที่ประสบความสำเร็จกันมากที่สุดดูเหมือนจะเป็นสินค้าขนาดปานกลางและเล็ก มูลค่าต่อชิ้นไม่สูงมากนัก
และการจัดส่งสะดวกรวดเร็วปลอดภัย ร้านค้าดอกไม้ หนังสือ ซีดี เครื่องปั้นดินเผา
ถ้วยชามเบญจรงค์ เป็นสินค้าตัวอย่างที่ได้รับความสำเร็จจากการค้าผ่านอินเตอร์เน็ตระดับหนึ่ง
การชำระราคาสินค้าส่วนมากจะผ่านบัตรเครดิต ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาโปรแกรมป้องกันข้อมูล
ที่ช่วยให้ผู้ซื้อสินค้ามั่นใจมากขึ้น นอกจากนี้ การทำช้อปปิ้งมอลล์, ไซเบอร์มอลล์บนอินเตอร์เน็ตก็ช่วยในเรื่องการโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้มาก
นับวัน อนาคตของอี-คอมเมิร์ซไทยจะเริ่มสดใสและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น แต่ผู้ที่จะประสบความสำเร็จจากวิธีค้าขายแบบนี้
ก็ต้องใส่ใจเรื่องเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต
และดีมานด์ของลูกค้าบนเน็ตอย่างมากด้วยเช่นกัน
ร้านค้าที่เปิดได้ตลอด 24 ชั่วโมง แถมยังไร้พรมแดนไปได้ไกลทั่วโลก ไม่ต้องจ้างพนักงานขาย
ไม่ต้องเสียค่าเช่าร้าน เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส การซื้อขายก็เกิดขึ้นทันที
จากการที่ต้องใช้เวลาเกือบทั้งวันเพื่อหาซื้อหนังสือสักเล่ม ซีดีสัก 1
แผ่น หรือ ช่อดอกไม้สักช่อ มาเป็น การเลือกซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ที่ต้อง
การ เลือกสินค้า ชำระเงินค่าสิ่งของจนพอใจ จากนั้นก็ใส่รหัสบัตรเครดิตและกดคลิ๊กไป
กระบวนการซื้อขายก็เสร็จสิ้น
อิเล็กทรอนิกส์ คอมเมิร์ซ หรือ อี-คอมเมิร์ซ กลายเป็นมนต์เสน่ห์ที่ทุกคนเริ่มสนุกสนานในการช้อปปิ้ง
และเป็นกลไกที่เกิดขึ้นในเมืองไทยนับจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้วยแรงผลักดันของ
ภาครัฐ และเอกชน ให้เว็บไซต์ต่อจาก นี้ไปไม่ได้มีแค่หน้าโฆษณาและประชา-สัมพันธ์
แต่กำลังเกิดกระบวนการซื้อขาย ชำระเงิน และส่งของกันแบบครบ วงจรเกิดขึ้นอย่างแท้จริง
ตัวเลขจากการวิจัยของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คาดว่า การค้าผ่านอินเตอร์เน็ตของประเทศไทย จะเพิ่มจากปี 2541 ที่มีมูลค่า
40 ล้านบาท มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นถึง 640 ล้านบาทในปี 2546
ไทยอีคอมเมิร์ช
งานนี้เพื่อส่งออก
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ เดินหน้าเต็มสูบกับอี-คอมเมิร์ซ
ภายใต้โครงการนำร่อง ที่ชื่อว่า ไทยอีคอมเมิร์ซ เว็บไซต์ที่ทำขึ้นเพื่อเป็นช่องทางใหม่อย่างหนึ่งในการสนับสนุนผู้ส่งออกของไทย
ให้เข้ามาใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์แห่งนี้ในการเพิ่มตัวเลขการส่งออกของไทย
ซึ่งได้เริ่มเปิดเว็บไซต์มาตั้งแต่ต้นปีนี้
www.thaiecommerce.net จึงไม่ต่างจากไซเบอร์มอลล์ในยุคอี-คอม เมิร์ซ ที่สามารถเป็นป้ายโฆษณา
สั่งซื้อสินค้า ชำระเงิน เรียกว่า ซื้อขายกัน อย่างครบวงจร รวมทั้งการส่งสินค้าที่ยังต้องพึ่งพาบริษัทขนส่งระหว่างประเทศ
แต่ห้างไซเบอร์มอลล์แห่งนี้มีกฎอยู่ว่า มีไว้สำหรับผู้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกเท่านั้น
เพราะเป็นส่วนหนึ่งของ นโยบายสนับสนุนผู้ส่งออกของรัฐบาล ผู้ส่งออกรายใดสนใจสามารถส่งใบสมัคร
เข้ามาซึ่งกรมฯ จะทำโฮมเพจ และให้ใช้พื้นที่ขายสินค้าได้ฟรี เพียงแต่ต้องส่งข้อมูลบริษัท
รายละเอียดของสินค้า ทั้งข้อมูลและภาพมาให้ นอกนั้นเป็นหน้าที่ของกรมฯ
การซื้อขายในไซเบอร์มอลล์แห่ง นี้ก็ทำได้ทั้ง 2 ระดับ คือ ในระดับผู้ผลิตขายสินค้าถึงผู้บริโภคโดยตรง
เรียก ว่า BUSINESS TO CONSUMER หรือ บีทูซี ซึ่งกรมฯ ได้เปิดเว็บไซต์เฉพาะขึ้น
ชื่อว่า อะเมซิ่งมอลล์ เป็นส่วนหนึ่งของไทยอีคอมเมิร์ซ ปัจจุบันมีผู้ขาย
41 รายนำสินค้ามาวางขาย
อีกระดับหนึ่ง คือ การขายสินค้าระหว่างผู้ผลิตสินค้าส่งออกกับผู้ค้าส่งเรียกว่า
BUSINESS TO BUSI-NESS มีผู้สมัครในโครงการนี้ราว 1,077 ราย ซึ่งหลายคนบอกว่า
อี-คอมเมิร์ซของเมืองไทยจะมีโอกาสเกิดขึ้นจากในส่วนนี้มากกว่าบีทูซี
แต่การซื้อขายในระดับนี้จะต้องซื้อขายกันเป็นวอลุ่มใหญ่ๆ เป็นตู้คอนเทนเนอร์
ซึ่งไซเบอร์มอลล์ "ไทย อีคอมเมิร์ซ" ทำได้ในระดับที่ให้สั่งสินค้า ตัวอย่างได้
แต่หากจะให้มีการทำธุรกรรมการซื้อขายจะต้องรอเฟสหน้า ซึ่งกรมเศรษฐกิจฯ อยู่ระหว่างขยายผลของโครงการ
ด้วยการพัฒนาอิเล็ก ทรอนิกส์ฟอร์มเพื่อให้ผู้ซื้อเปิดแอลซีออนไลน์ มีอีดีไอฟอร์มให้ออนไลน์ไปที่กรมศุลกากรได้
และเชื่อมไปยังแบงก์ เพื่อทำทรานแซคชั่น ทำกันแบบเรียล ไทม์ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปมาแต่
จะทำได้เมื่อไหร่ยังไม่มีกำหนด คงต้องอดใจรอไปอีก
"เวลานี้มียอดสั่งซื้อมาแล้วจาก อะเมซิ่งมอลล์ 3,000 เหรียญสหรัฐเป็นสินค้าเซรามิก
ของชำร่วยต่างๆ ส่วน บีทูบี เราไม่รู้ข้อมูล เพราะเป็นเรื่องของผู้ส่งออก"
แต่ปัญหาของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ที่ได้รับผลสะท้อนกลับมาก็คือ การขนส่งที่มีราคาแพงมาก
กรมเศรษฐกิจ จึงต้องหาทางเจรจาขอความร่วมมือกับบริษัทขนส่งระหว่างประเทศ
ให้ลดค่าขนส่งลงมา ดีเอชแอลตกลงให้ส่วนลดมา 60% ยูพีเอส 30% ส่วนเฟด เด็กซ์ลดให้
30%
นอกจากนี้ ยังใช้วิธีหาพันธมิตร รายอื่นๆ ด้วยการให้มีเว็บไซต์ของไทย อีคอมเมิร์ซไปอยู่บนหน้าโฮมเพจของไซเบอร์มอลล์รายอื่นๆ
เรียกว่า พยายามกันทุกรูปแบบ เพื่อประชาสัมพันธ์เว็บไทยอีคอมเมิร์ซให้แพร่หลายที่สุด
ไทยมาร์เก็ต
ช้อปปิ้งส่งออก
เว็บไซต์ "thaimarket.net" คือชื่อห้างสรรพสินค้าออนไลน์ของแบงก์ไทยพาณิชย์
ที่เปิดขึ้นเพื่อสนับ สนุนในเรื่องของผู้ส่งออกของไทย
แบงก์ไทยพาณิชย์ ได้ชื่อว่าให้ความสำคัญในเรื่องของไอทีมาตลอด จากการได้ชื่อว่า
เป็นแบงก์แรกที่นำเอทีเอ็มมาใช้ จนถึงทุกวันนี้แบงก์จึงต้อง ทำตัวเป็นผู้นำไอทีในด้านต่างๆ
รวมทั้งบริการอี-คอมเมิร์ซ
วิธีการของแบงก์ไทยพาณิชย์ ก็คือ กระตุ้นให้เกิดการซื้อขายแบบอี-คอมเมิร์ซขึ้น
โดยเปิดห้างสรรพสินค้า "ไทยมาร์เก็ต" เป็นการนำร่อง จากนั้นเมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้น
แบงก์จะได้รายได้จากค่าทรานแซคชั่นในการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
ดร.อมฤต เหล่ารักพงษ์ หัว หน้าสำนักงานเทคโนโลยีประยุกต์ บอกว่า เฟสแรกของเว็บไซต์ไทยพาณิชย์
คือ การทำหน้าที่เป็นเหมือนกับ "โบรชัวร์" ให้กับผู้ส่งออกของไทยได้โฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าและบริษัทผ่านเว็บไซต์นี้ไปทั่วโลก
หน้าที่ของแบงก์ในช่วงนี้ก็คือ จะต้องประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักเว็บไซต์ ซึ่งแบงก์จะใช้วิธีสมัครลงใน
SEARCH ENGINE ชื่อดัง 9 แห่ง เช่น YAHOO, ALTAVISTA รวมทั้งขอความร่วมมือกับสถานทูตไทยเพื่อโปรโมตเว็บไซต์ไปยังสถานทูตไทยที่ตั้งอยู่ทั่วโลก
แบงก์จะเปิดให้ผู้ส่งออกของไทย สมัครมาใช้เนื้อที่ในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าของบริษัทได้ฟรี
หากเป็นลูกค้าแบงก์อยู่แล้วจะได้เนื้อที่ โฆษณาสินค้า 10 รายการ แต่ถ้าไม่ใช่ลูกค้าของแบงก์จะได้แค่
3 รายการ ซึ่งสินค้าจะแบ่งออกเป็น 14 หมวดแยกตามประเภทของสินค้า
"เราจะมุ่งไปที่ธุรกิจต่อธุรกิจมากกว่าการซื้อขายรายย่อย ดังนั้นจะเน้นไปที่การให้ข้อมูลในเรื่องของตัวสินค้า
และจะให้ข้อมูลเพื่อให้ผู้ขายกับผู้ซื้อติดต่อกันเอง จึงยังไม่มีการชำระเงินผ่านเว็บไซต์นี้"
ดร.วิชิต อมรวิรัตน์สกุล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานเทคโนโลยี กล่าว
ปัจจุบันมีผู้สมัครมาใช้บริการแล้วประมาณ 700 บริษัท มีผู้ส่งออกสมัครเข้ามา
ที่เป็นลูกค้าแบงก์ 40% อีก 60% ไม่ใช่ลูกค้าแบงก์ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น
1-2 พันแห่ง ซึ่งแบงก์จะร่วม มือกับกระทรางพาณิชย์เพื่อนำรายชื่อผู้ส่งออกมาเพิ่ม
เมื่อมาถึงเฟสที่สอง ห้างสรรพสินค้าออนไลน์แห่งนี้ก็จะเปิดให้มีการซื้อขายได้
โดยผ่านบัตรเครดิต แต่เป็นลักษณะของการซื้อขาย "สินค้าตัวอย่าง" ไม่ใช่การซื้อขายสินค้าล็อตใหญ่ๆ
เพราะเมื่อผู้ซื้อและผู้ขายตกลงใจซื้อขายสินค้ากัน จะมาถึงขั้นตอนที่แบงก์จะเข้ามาทำหน้าที่ให้บริการ
ที่เรียกบริการนี้ว่า "SCB CASH MANAGEMENT" ซึ่งแบงก์เป็นตัวกลางเพื่อให้ความสะดวกในการทำธุรกรรมระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเกิดขึ้น
โดยแบงก์จะเป็นตัวกลางในการเปิดแอลซี แต่แอลซีที่ว่านี้ก็คือ แอลซีแบบออนไลน์
นั่นก็คือ ลูกค้าจะสามารถเปิดแอลซีแบบออนไลน์ผ่าน อินเตอร์เน็ตได้ทันที โดยไม่ต้องรอขั้นตอนการเปิดแอลซีแบบเดิมๆ
ที่ต้องใช้เวลาหลายวัน
เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้แบงก์จะได้รายได้จากค่าทรานแซคชั่นที่เกิดขึ้นระหว่าง
ผู้ซื้อกับผู้ขายในการเปิดแอลซีออนไลน์ และผลทางอ้อมก็คือเมื่อลูกค้าแบงก์ทำธุรกิจได้เงินมา
NPL ของแบงก์ย่อมลดลง
บีโอไอทำแค่ไดเรคเทอรีส์
แต่ต้องระดับอาเซียน
ทางด้านบีโอไอ ไม่ยอมตกกระ บวนรถไฟสายด่วนที่ชื่อ อี-คอมเมิร์ซ บีโอไอจัดทำเป็นฐานข้อมูลสินค้าอุตสาหกรรมออนไลน์
ใช้ชื่อว่า "www. asidnet.org" ย่อมาจาก ASEAN SUPPORTING INDUSTRY DATABASE
บีโอไอจะทำหน้าที่รวบรวมฐานข้อมูลอุตสาหกรรมหลัก 4 กลุ่ม คือ ยานยนต์ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
ปิโตร เคมีคอลและพลาสติก แม่พิมพ์ และอื่นๆ ซึ่งจะเป็นผู้ประกอบการ ของสมาชิก
อาเซียนใน 9 ประเทศ คือ บรูไน พม่า อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
สำหรับข้อมูลในไทยจะมาจาก ของบีโอไอเอง และมาจากสภาอุตสาห-กรรม และหน่วยงานอื่นๆ
ในช่วงต้นเว็บไซต์นี้จะทำหน้าที่เก็บข้อมูลเท่านั้น ยังไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินอื่นๆ
ได้ เรียกว่าเป็นแค่ด่านแรกในการให้มาพบกันระหว่างลูกค้ากับเจ้าของ สินค้า
ส่วนจะมีการติดต่อซื้อขายก็เป็นเรื่องของลูกค้าและเจ้าของสินค้าที่ต้องติดต่อกันเอง
"ลักษณะการขายแบบนี้เขาไม่ได้มาดูเว็บไซต์ แล้วก็สั่งซื้อ เพราะเป็นวอลุ่มใหญ่
ต้องมีการมาดูโรงงาน มีอะไร แต่เฟสต่อไป ก็จะทำเป็นใบสั่งซื้อ"
ด้วยเหตุนี้เอง จะเน้นความละเอียดของข้อมูล มีทั้งชื่อบริษัท ที่ตั้งโรงงาน
ตัวสินค้า สถานะทางการเงิน ผ้ถือหุ้น ประเภทอุตสาหกรรม ซึ่งบีโอไอจะให้สมาชิกเหล่านี้อัพเดทข้อมูลของตัวเอง
โดยให้ยูสเซอร์ไอดีพาสเวิร์ดเข้าไปแก้ไขข้อมูลได้ และหากผู้ส่งออกรายใดมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองบีโอไอจะลิงค์ไปให้ด้วย
ภารกิจสำคัญของบีโอไอต่อจากนี้ก็คือ จะต้องให้เผยแพร่เว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จัก
ซึ่งก็ต้องใช้โปรโมชั่นตาม เว็บไซต์ดังๆ
ความหวังของบีโอไอ คือ ต้อง การให้เกิดเป็นโฮมเพจระดับภูมิภาค ที่หากจะติดต่อกับโรงงานผลิตสินค้าใน
4-5 หมวดนี้จะต้องมาเปิดดูที่เว็บไซต์แห่งนี้
ช้อปปิ้งไทย
ยึดโมเดลห้างสรรพสินค้า
shoppingthai.com ไซเบอร์ มอลล์อีกแห่งของบริษัทแมกซ์เซฟวิ่ง ประเทศไทย
ที่ได้ชื่อว่ามีผู้เช่าร้านไม่น้อย
บริษัทแมกซ์เซฟวิ่ง เป็นบริษัท เล็กๆ เช่าพื้นที่ของอาคารรัชดาเพลส มีพนักงานไม่เกิน
10 คน ที่เริ่มต้นมาจากธุรกิจอิมปอร์ตเอ็กซปอร์ต ก่อนจะผันตัวเองมาทำการค้าบนอินเตอร์เน็ต
เริ่มต้นด้วยการขายข้อมูลรายชื่อผู้นำเข้าออนไลน์ "exim world" ซึ่งเป็นจุดแรกของการทำธุรกิจบนเว็บที่ประสบ
ความสำเร็จด้วยดี มีออร์เดอร์มาจากหลายประเทศ
"เรามองว่าข้อมูลธุรกิจของผู้นำเข้าและส่งออกของบ้านเราหายากมาก จะต้องหาตามหน่วยงานราชการ
เราก็เลยทำข้อมูลเหล่านี้ขึ้นมา เป็นข้อมูลชื่อที่อยู่ของผู้นำเข้า ไม่ใช่ของเมืองไทย
เท่านั้นแต่มีของประเทศอื่นๆ ด้วยลูกค้า ส่วนใหญ่ของเราเป็นต่างประเทศ คนไทยไม่ค่อยสนใจ"
วัชระพงษ์ ยะไวทย์ กรรมการผู้จัดการ แมกซ์เซฟวิ่งกล่าว
การขายของแมกซ์เซฟวิ่ง ใช้วิธี ดาวน์โหลดข้อมูลให้ลูกค้าผ่านอินเตอร์ เน็ตทันทีที่การชำระเงินเสร็จสิ้น
ซึ่งลูกค้าสามารถชำระผ่านบัตรเครดิต
หลังจากการขายข้อมูลออนไลน์ ประสบความสำเร็จ วัชระพงษ์หันมาเปิดห้างสรรพสินค้าออนไลน์ขึ้น
"เราวิเคราะห์ว่าทำไม ร้านอเมซอน หรือ เดลล์ คอมพิวเตอร์ เขาถึงประสบความสำเร็จขึ้นมาได้
เราก็เลยลองเปิดไซเบอร์มอลล์ขึ้นมา และให้ลูกค้าที่อยากลองทำอี-คอมเมิร์ซมาเช่าพื้นที่ทำ"
วัชระพงษ์ เปิดเผย
ช้อปปิ้งไทย ออนไลน์ก็เปิดให้บริการโดยยึดเอารูปแบบห้างสรรพสินค้า บนดินเป็นแบบอย่าง
ภายในเว็บไซต์ถูกออกแบบให้ลูกค้าเดินเลือกช้อปปิ้งได้ 5 ชั้น มีตั้งแต่ชั้น
G จนถึงชั้น 5 เหมือนกับไปเดินเลือกในห้างสรรพสินค้า จริงๆ (คล้ายกับของไทยอีคอมเมิร์ซ)
ซึ่งในแต่ละชั้นก็แบ่งแยกออกเป็นประเภทของสินค้า และจะมีรายชื่อของผู้ค้า
ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ใบออร์เดอร์ และแบบฟอร์มการชำระเงิน
การให้เช่าพื้นที่กับผู้ขายสินค้าก็ยังใช้วิธีเดียวกับห้างสรรพสินค้าบนดินทุกอย่าง
คือ มีบริการ 3 แบบ คือ แบบแรกรับฝากขายสินค้า ลูกค้าไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่แต่จะหักค่ารับฝาก
40% ของราคาสินค้าที่ขายได้
แบบที่สองให้เช่าพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า และแบบที่ 3 คือ ให้เซ้งร้าน
เหมือนกับร้านนอกห้าง คือ ผู้ขายสินค้าจะมีเว็บไซต์เอง แต่จะมาลิงค์กับเว็บไซต์ของช้อปปิ้งไทย
เพื่อประชาสัมพันธ์ร่วมกัน
ทั้ง 3 รูปแบบนี้จะเสียค่าบริการ ต่างกันไป แน่นอนว่า แบบเซ้งร้านย่อมเสียค่าใช้จ่ายแพงกว่า
เพราะมีเนื้อที่และบริการให้มากกว่า
ส่วนระบบการชำระเงิน จะใช้วิธีให้ลูกค้าเลือกติดต่อชำระเงินผ่านบัตรเครดิตกับแบงก์เอง
แล้วลูกค้าเข้ามาใช้บริการของบริษัทได้ แต่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างกันไป
ซึ่งระบบการชำระเงินของบริษัท ได้พัฒนาโปรแกรม crypbot ป้องกันการโจรกรรมข้อมูลในเรื่องการชำระเงิน
มาใช้ควบคู่กับโปรแกรม SSL
วัชระพงษ์ พบว่า ในต่างประเทศตื่นตัวในเรื่องของอี-คอมเมิร์ซ มาก แม้แต่ผู้ส่งออกสินค้าของเมืองจีน
ส่วนใหญ่จะมีอีเมล หรือไม่ก็เว็บไซต์ ส่วนในเมืองไทยก็กำลังตื่นตัวในเรื่องนี้
แต่ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ที่มีอายุในราว 25-35 ปี
บางกอกเซ็นเตอร์
เมดอินไทยแลนด์
ห้างสรรพสินค้าอีกแห่งก็คือ บางกอกเซ็นเตอร์ ของบริษัทดิจิเซิร์ฟ ที่มีจุดเริ่มต้นไม่ต่างจากแมกซ์เซฟวิ่งนัก
นั่นก็คือ ทำธุรกิจนำเข้าและส่งออกมาก่อน ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ได้เห็นแบบ
อย่างของการทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต ในต่างประเทศ
"ผมทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตมา ตั้งแต่ 2-3 ปีมาแล้ว ตอนแรกเราทำธุรกิจรับออกแบบโฮมเพจให้ลูกค้า
ซึ่งก็เป็นแค่การส่งเสริมการขายอย่างหนึ่ง ตอนหลังเราก็มามองในเรื่องการค้าขาย
จะนำสินค้ามาขายในอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร ซึ่งเวลานั้นเรื่องการขายบนอินเตอร์เน็ตยังใหม่
การชำระเงินผ่านบัตรเครดิตก็มีความเสี่ยงสูง เราก็เลยต้องทำเองก่อน" ทันฤกษ์
ธัญวงศ์ เล่าถึงที่มาของการตั้งไซเบอร์มอลล์ ชื่อ "bangkokcenter.com"
ทันฤกษ์ ตั้งโจทย์ของการตั้งไซเบอร์มอลล์แห่งนี้ไว้ว่า ลูกค้าเป้าหมายจะต้องเป็นคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ
และสินค้าที่วางขายในห้างนี้จะต้องเป็นสินค้าไทยที่ไม่มีขายในต่างประเทศ
และจะกำหนดราคาเป็นดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อได้โจทย์มาแล้ว ทันฤกษ์ติดต่อกับบรรดาผู้ผลิตสินค้าไทยหลาย แห่ง และก็ได้ห้างนารายณ์ภัณฑ์เป็นลูก
ค้ารายใหญ่ ซึ่งเวลานั้นนารายณ์ภัณฑ์ มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองอยู่แล้ว แต่ทำเป็นแค่การโฆษณาและประชาสัมพันธ์
ตัวบริษัทและสินค้าเท่านั้น
นอกจากนารายณ์ภัณฑ์แล้ว บางกอกเซ็นเตอร์ก็มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการบ้างประปราย
ทันฤกษ์ จึงต้อง เป็นผู้จัดหาสินค้ามาจำหน่ายเพิ่มเติม เช่น ชุดไทย เครื่องดนตรีไทย
และหนังสือ ส่วนการชำระเงินเวลานั้นก็ทำได้ โดยบริษัทตกลงกับแบงก์ไทยพาณิชย์ไว้
แต่ลูกค้าจะต้องกรอกแบบฟอร์ม ชื่อที่อยู่ และรอการตรวจสอบจากแบงก์ไทยพาณิชย์กลับมาก่อน
จึงจะชำระเงินได้
จากนั้นก็เริ่มโปรโมตเว็บไซต์ ส่งจดหมายไปตามสถานทูตไทย วัดไทยรวมทั้งกลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ
ติดป้ายในห้างนารายณ์ภัณฑ์ ในไทย รวมทั้งลงใน search engine ต่างๆ ด้วย
2 ปีเต็มของบางกอกเซ็นเตอร์ ทันฤกษ์บอกว่า ยอมรับว่ายังไม่ประสบ ความสำเร็จเท่าที่ควร
เพราะปัญหาอยู่ที่ค่าขนส่งที่มีราคาแพง และสินค้าไม่สอดคล้องกับความต้องการ
จากการศึกษาของเขาพบว่า สินค้าที่ขายได้ในอี-คอมเมิร์ซ จะมีอยู่ประมาณ
5 ประเภทใหญ่ๆ คือ ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ หนังสือ ดอกไม้ และเสื้อผ้า ซึ่งทั้งหมดนี้ไทยไม่มีความชำนาญ
ส่วนเสื้อผ้าก็ไม่มีแบรนด์ เนมเป็นของตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ทันฤกษ์ ก็ยังมองเห็นประโยชน์จากการค้าขายอี-คอมเมิร์ซว่า
อาจจะสอดคล้องกับสินค้าบางประเภทและบางโอกาส เช่น กรณีของสยามฮิตาชิที่ต้องการโละสินค้าที่เหลือจากการเปิดเว็บไซต์ขายสินค้า
ที่เหลืออยู่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
"ใครจะรู้ว่าโอกาสอาจจะมาถึงอย่างไม่รู้ตัว ถ้าเราได้ออร์เดอร์เข้ามา ก็สามารถทำเงินได้"
ทันฤกษ์กล่าว
เคเอสซี-ล็อกซอินโฟร์
ปรับโฉมช้อปปิ้งมอลล์
ทางด้านไอเอสพี ที่มีห้างสรรพ สินค้าออนไลน์เป็นรายแรกๆ แต่หลาย ปีที่ผ่านมาแทบจะไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้นเลย
ส่วนใหญ่มีไว้สำหรับให้มาเช่าโฆษณาและประชาสัมพันธ์เท่านั้น
มาคราวนี้เมื่อกลไกหลายๆ อย่าง ของอี-คอมเมิร์ซเริ่มลงตัว แบงก์หันมาขยับในเรื่องระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต
แถมภาครัฐโหมโรงหันมาบุกอี-คอมเมิร์ซกันอย่างเต็มที่ บรรดา ไอเอสพีทั้งหลายจึงต้องลงมือปรับปรุงกันใหญ่
เคเอสซี หันมาจับคู่กับแบงก์กรุงไทย ตั้งห้างสรรพสินค้าบนเว็บที่ชื่อ "thaicybermall.com"
ให้กับลูกค้ามาเช่าพื้นที่ในราคาเริ่มต้น 1,800 บาทต่อเดือนสำหรับร้านขนาดเล็กส่วน
ร้านขนาดกลาง ต้องเสียค่าเช่า 3,800 บาทต่อเดือน และร้านขนาดใหญ่เสีย 8,500
บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับรูปแบบของบริการ
แบงก์กรุงไทย เป็นแบงก์อีกแห่งที่หันมาให้ความสนใจกับอี-คอม เมิร์ซ ทุ่มเงิน
55 ล้านบาท สร้างระบบ ซื้อตั๋วโดยสายการบินไทยด้วยบัตรเครดิตกรุงไทย ผ่านอินเตอร์เน็ต
ที่ก็คงต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะได้ทุนคืน เพราะลูกค้าใช้ได้เฉพาะบัตรเครดิตของ
กรุงไทยเท่านั้น และได้เฉพาะภายในประเทศ
จุดสำคัญของการร่วมมือกันในครั้งนี้ก็คือ ระบบความปลอดภัยในการชำระเงิน
ที่ทำกันไว้ 3 ระดับ คือ นอกจากมีระบบ SSL ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปเวลานี้ จะมีระบบที่พัฒนาขึ้นเองอีก
2 ระบบคือ TRIPLE และเอ็มดีไฟว์ (MD5)
เรียกว่า ใช้กลยุทธ์ด้านราคาและออกแบบเว็บไซต์ให้เลือกซื้อสินค้าชนิดที่จำลอง
การจับจ่ายสินค้าบนห้างมาเลย และยังสร้างความมั่นใจในเรื่อง การชำระเงินด้วยระบบรักษาความปลอดภัยแบบ
3 ระดับ
แต่หากต้องการชำระเงินค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิต ต้องใช้บัตรของแบงก์กรุงไทยเท่านั้น
ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบก่อนว่า เจ้าของบัตรมีเครดิตดีพอจะซื้อของหรือไม่
ก็เป็นตามขั้นตอนปกติ แต่หากไม่มีบัตรกรุงไทยก็ใช้วิธีนี้ไม่ได้ จะต้องจ่ายเงิน
แบบวิธีดั้งเดิม นอกระบบอินเตอร์เน็ต
ส่วนล็อกซอินโฟร์ ไม่ยอมน้อยหน้า ร่วมมือกับแบงก์ไทยพาณิชย์ และบริษัทล็อกซบิท
บริษัทในเครือล็อกซเล่ย์ด้วยกัน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเครื่อง รูดบัตรเครดิตอัตโนมัติ
ยี่ห้อเวอริโฟน ที่แบงก์ของไทยจะใช้ยี่ห้อนี้อยู่
หลักการทำงานก็คือ เมื่อมีลูกค้ามาซื้อของจากช้อปปิ้งมอลล์ของล็อกซอินโฟร์
หรือ เว็บไซต์ที่ใช้บริการ ของล็อกซอินโฟร์ โดยใช้บัตรเครดิตของแบงก์ไทยพาณิชย์
วีซ่า หรือ มาสเตอร์การ์ด จะได้รับการตรวจสอบ บัตรเครดิตอัตโนมัติจากแบงก์ได้ทันที
โดยผ่านเครื่องรูดบัตรเวอริโฟน การซื้อขายจะเกิดขึ้นได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาพนักงานมาโทรกลับไปเช็กประวัติเจ้าองบัตรอีกครั้งหนึ่ง
ทำให้ประหยัดเวลาไป 1 วันเต็ม
ล็อกซอินโฟร์เองหันมาปรับในเรื่องราคาให้ลดลง เพื่อผลักดันให้มีคนมาตั้งร้านขายของบนเว็บมากขึ้น
"สิ่งที่เราต้องทำคือ จะทำให้กำแพงที่เคยกั้นไม่ให้คนเอาสินค้ามาขายในอินเตอร์เน็ต
มาตั้งร้านค้าได้ง่าย ไม่ต้องเอาเงินมาเป็นหมื่นเป็นแสน" วิวัฒน์วงศ์ วิจิตรวาทการ
กรรมการผู้จัดการ บริษัทล็อกซอินโฟร์ กล่าว
กลยุทธ์ราคา และระบบการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตที่รวดเร็วกว่าเดิม สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยที่จะทำให้ล็อกซอินโฟร์เชื่อว่า
จะเป็นแรงผลักดันให้อี-คอมเมิร์ซเกิดขึ้นได้ในที่สุด
นี่คือส่วนหนึ่งของโฉมหน้าใหม่ ของไซเบอร์มอลล์ หรือ ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ที่แตกต่างกันไปตามโมเดลธุรกิจของแต่ละคน
แต่ที่แน่ๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้เกิดธุรกิจบนอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นช่องทางของขุมทรัพย์ใหม่
หรือเป็นแค่ภาพลวงตาก็คงต้องอาศัยเวลา แต่เชื่อว่าไม่นานก็คงรู้ผล
เพราะอะไรๆ ก็เป็นไปได้เสมอในโลกไซเบอร์สเปซ !