Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2542
ชลประทานซีเมนต์ โผล่พ้นผิวน้ำแล้ว!             
 


   
search resources

ชลประทานซีเมนต์, บมจ.




บริษัทซีเมนต์รายเล็กที่สุดในประเทศ-ชลประทานซีเมนต์ ซึ่งมีเรื่องราวการเข้าออกของผู้ถือหุ้นหลายกลุ่ม จนกระทั่งกลายเป็นกิจการที่ไม่มีเจ้าของรับผิดชอบเด่นชัด แต่การณ์กลับกลายเป็นว่า ข้อด้อยกลายเป็นจุดเด่น บริษัทซีเมนต์ยุโรปรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก - Ciments Francais - สนใจเข้ามาลงทุนและซื้อกิจการพร้อมปรับโครงสร้างหนี้ ได้เงื่อนไขที่ดีเอามากๆ ด้วย หนี้สินจำนวนเกือบ 4,000 ล้านบาทได้รับการปรับโครงสร้าง เจ้าหนี้ได้รับการชำระเงินไปส่วนหนึ่ง กิจการได้รับการปรับปรุงจนสามารถดำเนินการ
ต่อได้แล้ว มันเป็นดีลที่ผู้เกี่ยวข้องต่างเอาใจช่วยให้สำเร็จ เวลา 11 เดือนผ่านไปอย่างรวดเร็ว และในที่สุดก็สำเร็จลงได้ หากถามผู้เกี่ยวข้องรายใด ก็คงอยากยกให้เป็นกรณีศึกษา มันเป็น win-win game ภายใต้ข้อจำกัดของไอเอ็มเอฟ!

 

ใครจะรู้ว่ากิจการผลิตซีเมนต์ ราย เล็กที่ฐานะการเงินเริ่มง่อนแง่นแล้วจะโชคดีเป็นที่หมายปองต้องการซื้อของบริษัทซีเมนต์ยุโรปอันดับ 4 ของโลก ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่าง ปัจจุบัน ผู้ประกอบการจำนวนมากประสบปัญหาหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหนี้สิน สภาพคล่อง การผลิต คนล้นงาน ฯลฯ เจ้าของกิจการต่างพยายามหาทางออกให้กับตัวเอง ซึ่งหนทางที่ดีที่สุดในเวลานี้ดูเหมือนจะเป็นการขายกิจการให้นักลงทุนต่างชาติ เพราะจะได้เม็ดเงินใหม่เข้ามาอุดหนุนให้บริษัทเดินหน้าต่อไปได้ และมันก็เป็นแนวทางเดียวกับที่รัฐบาลคาดหมาย ไว้ แต่จะดีสำหรับทุกๆ กิจการหรือไม่นั้น ต้องรอดูผลต่อไป

สำหรับกิจการปูนซีเมนต์รายเล็กที่สุดคือชลประทานซีเมนต์นั้น แม้ว่าจะมีประวัติความเป็นมาที่โลดโผน อยู่ไม่น้อยในช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมา แต่ในตอนวิกฤติบริษัทฯนี้ก็มักจะรอดได้เสมอ

ชลประทานซีเมนต์หรือ JCC (อักษรย่อสำหรับการซื้อขายหุ้นในตลาด หลักทรัพย์ฯ) นั้นก่อตั้งขึ้นตั้งแต่เมื่อปี 2499 และเริ่มดำเนินการผลิตปูนซีเมนต์จากโรงงานที่ตำบลตาคลี จังหวัด นครสวรรค์เมื่อปี 2501 ด้วยกำลังการผลิตปูนเม็ดวันละ 300 ตัน ปัจจุบันบริษัทมีโรงงานแห่งที่สองที่ตำบลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และมีกำลังการผลิตทั้งสองโรงรวมกัน 2 ล้านตัน/ปี แต่มีการใช้กำลังการผลิตจริงไม่ถึง เพราะภาวะเศรษฐกิจถดถอยส่งผลกระทบต่อดีมานด์ในประเทศ และบริษัทก็อยู่ระหว่างปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยมีการปิดโรงงานที่ตาคลี เมื่อปรับ ปรุงเสร็จแล้วจึงจะเริ่มปิดที่ชะอำต่อไป

ระพี สุขยางค์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ JCC กล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน" เกี่ยวกับการเข้ามาซื้อ กิจการของซีมองต์ ฟรองเซย์ว่า"ซี-มองต์เข้ามาเมื่อเดือนมกราคม 2541 มาหลังผมไม่กี่วัน โดยเขามาเอง ไม่เกี่ยวกับใครแนะนำมาทั้งสิ้น โดยตอน นั้นเขามองว่านี่เป็นก้าวแรกในการเข้ามาที่เอเชีย และเขาไม่ได้ดูไทยประเทศ เดียว เขาดูทุกที่ในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็น มาเลย์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ แต่มาสนใจที่เรา"

ตัวระพีเองนั้น ก็เพิ่งเข้ามาเป็น กรรมการผู้จัดการใหญ่ที่นี่ ดังที่เขากล่าวว่าเขาเข้ามาก่อนหน้าซีมองต์ฯ ไม่ กี่วัน ก่อนหน้านั้นเขาร่วมงานด้านเซรา-มิกกับบรรษัทเงินทุน อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคลุกคลีอยู่ในวงการวัสดุก่อสร้างมานาน

ทั้งนี้นโยบายของบริษัทปูนที่มีขนาดใหญ่ติดทอปไฟว์ของโลกรายนี้คือไม่ต้องการ ร่วมทุนกับบริษัทใหญ่ แต่ต้องการขนาดกลางๆ หรือเล็กๆ ซี-มองต์ฯ มีโรงงาน 53 แห่งทั่วโลกในลักษณะการร่วมทุน บริษัทนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอิตัลซีเมนติ (Italciementi) ซึ่งเป็นบริษัทแม่สัญชาติอิตาเลียน แต่ซีมองต์ฯ นั้นแม้จะมีชื่อเป็นฝรั่งเศส แต่ต้องถือว่าเป็นบริษัทยูโรเปี้ยนมาก กว่าเพราะก่อตั้งมา 70-80 ปีและครอบ คลุมอุตสาหกรรมปูนในหลายประเทศทั่วยุโรปและทั่วโลก อิตัลซีเมนติเป็นผู้ซื้อกิจการและซีมองต์ฯ จะเข้าไปดูแลบริหารงาน ระพีเล่าว่า "ซีมองต์เป็น เหมือน technical ของอิตัลซีเมนติก็ว่าได้ และบริษัทยังมีลักษณะของ Central General Technic คือมีห้องแล็บไว้คอยสนับสนุนการทำงาน มูลค่าเป็นหมื่นๆ ล้านบาท ซึ่งมันทำ ให้โครงการของเขาแน่นมาก เขาสามารถดูเครือข่ายอุตสาหกรรมของเขาได้ทั่วโลก"

ไว้ท์แอนด์เคสรับเป็นที่ปรึกษา

ซีมองต์ ฟรองเซย์จ้างไว้ท์แอนด์ เคสเป็นที่ปรึกษาในการซื้อกิจการ JCC ก็เพราะว่าบริษัทฯ เคยใช้ที่ปรึกษากฎหมายรายนี้ซึ่งมีเครือข่ายงานในทั่วโลกมาก่อนหน้าแล้ว ดังนั้นเมื่อมีเหตุต้องทำธุรกรรมในไทย บริษัทกฎหมาย ไว้ท์แอนด์เคสในไทยจึงได้รับความไว้วางใจให้ดำเนินงาน

ไว้ท์แอนด์เคสเพิ่งมาเปิดออฟ ฟิศในไทยเมื่อปี 1993 แต่ธุรกิจเริ่มมีเข้ามามากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี่เอง โดยเฉพาะเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ และซื้อขายกิจการหรือ M&A

บริษัทที่ปรึกษารายนี้มีรกรากอยู่ในนิวยอร์ก สหรัฐฯ เป็นบริษัทเก่าแก่ดำเนินงานมาจะครบ 100 ปีในอีก 2 ปีข้างหน้าเป็น law firm ที่ถนัดงานแบบ transactional lawyer ในด้าน project finance และธุรกรรมต่างๆ ในตลาดทุน ซึ่งช่วงนี้ลดน้อยถอยลงไปมากเพราะสภาพเศรษฐกิจไม่ดี แต่งานด้านปรับโครงสร้างจะเข้ามามาก กว่า และเป็นเหตุให้ law firm รายนี้ ขยายตัวอย่างรวดเร็วมากในไทย คือในปี 1997 มีทนายประมาณ 9 คนมา ช่วงต้นปี 1999 เพิ่มเป็น 26 คน

มานิดา ซินเมอร์แมน ทนาย ความและหุ้นส่วนของไว้ท์แอนด์เคสกล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่า "ในกรณีซีมองต์ฯ นี่เขาเป็นลูกความ W&C ที่ปารีสแล้วส่งมาให้ไทย แต่กรณีแบบนี้ก็มีแค่ 30% เท่านั้น อีก 70% เป็นลูกความในไทยที่เราดูแล เราเน้นลูกความในนี้เป็นหลัก"

เธอเล่าด้วยว่า "ฟรองเซย์เป็นผู้เข้ามา approach เจซีซี โดยเข้ามา ตั้งแต่เดือนม.ค.ปี 2541 และใช้เวลาในการเจรจาซื้อประมาณ 12 เดือน"

ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าเวลานี้บริษัทปูนซีเมนต์รายใหญ่ของโลก ต่างเข้ามาหาลู่ทางซื้อกิจการ ปูนซีเมนต์ในไทยและภูมิภาคนี้กันมาก ซึ่งผู้ผลิตในประเทศทุกรายจะได้รับการทาบ ทามขอซื้อจากนักลงทุนเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ลาฟาร์จ, ซีมองต์ ฟรองเซย์, ซีเมกซ์, ฯลฯ ซึ่งปรากฏว่ากรณีที่ซีมองต์ ฟรองเซย์ซื้อเจซีซีถือเป็นรายแรกที่เจรจาสำเร็จในไทย

การที่ซีมองต์ ฟรองเซย์เจรจาซื้อปูนเล็กหรือเจซีซีนั้น มานิดาให้ความเห็นว่า "คิดว่าซีมองต์ฯ คงมีโจทย์ บางอย่างอยู่ในใจ เพราะเขาคุยกับผู้ผลิตปูนซีเมนต์หลายราย แต่ที่เลือกเจซีซีเพราะว่าเจซีซีพร้อมที่สุดในแง่ของการขายกิจการ เขาไม่ต้องการบริษัทที่ใหญ่เกินไป ก็เอาบริษัทขนาดกลางเหมือนกับเป็นก้าวแรกในการที่จะมี step ต่อไป

ซีมองต์ฯ คงอยากเป็นรายแรกที่เข้ามาปักธงในไทยสำเร็จว่าเขามีกิจการ ปูนซีเมนต์ในประเทศไทยแล้ว หลังจากนั้นก็หาพันธมิตรหรือขยายกิจการในประเทศไทยได้ง่ายขึ้น"

ดีลการซื้อเจซีซีมีความแตกต่างกับกรณีอื่นตรงที่ว่า ไปๆ มาๆ แล้วบริษัทนี้ไม่มีเจ้าของหลักหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ "ไม่มีใครพูดได้เต็มปากเต็มคำว่าเป็นเจ้าของ ดังนั้นเราจึงต้อง เข้าหาฝ่ายผู้บริหารหรือฝ่ายจัดการของ บริษัท และผู้ถือหุ้นบางรายเพื่อให้เขายอมรับว่าข้อเสนอของซีมองต์ฟรองเซย์ ดีต่อบริษัท" มานิดาเล่าการทำงานของเธอ

เธอยอมรับว่าคุณหญิงลลิลทิพย์ ธารวณิชกุล ยังถือหุ้น JCC อยู่ ซึ่ง ก็ได้ส่งคนมาให้ความเห็นชอบในแผนปรับโครงสร้างหนี้และขายกิจการด้วย มานิดาเล่าว่าเธอมีความกังวลและหนัก ใจไม่น้อยในงานนี้ เพราะเงื่อนเวลาเป็นเรื่องสำคัญมาก "ตอนนั้นเรากังวลว่า หากเราควบคุมที่ประชุมผู้ถือหุ้นไม่ได้ มีผู้ถือหุ้นบางส่วนมาแล้วมีปัญหา ดึงเกมไปอีกทางหนึ่ง ในขณะที่ทุกอย่างต้องลงตัวตามวันที่กำหนดไว้ ซึ่งหากไม่ได้ตามกำหนดนี้จะมีปัญหา"

เธอและผู้ร่วมงานต้องมานั่งลุ้น กันทุกวันว่าการประชุมต่างๆ และมติต่างๆ จะผ่านตามที่กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไรก็ดี เธอเชื่อมั่นว่าทุกอย่างน่าจะผ่านไปได้ด้วยดี เหตุผลสำคัญก็คือดีลนี้ช่วยให้บริษัทอยู่รอด

ข้อเสนอของซีมองต์ฯ นั้นไม่ได้ซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมเลย เงินทั้ง หมดที่เอาเข้ามาจะซื้อหุ้นเพิ่มทุน เงินจะเข้ามาที่บริษัทและจะออกต่อไปยังสถาบันการเงินเจ้าหนี้เพื่อการชำระหนี้บางส่วน ผู้ถือหุ้นเดิมจะไม่ได้รับเงินเลยแม้แต่บาทเดียว แต่พวกเขาจะได้ประโยชน์ทางอ้อม นั่นคือหุ้นที่เขาถือไว้เดิมจะมีค่าขึ้นมาเพราะการเข้ามาของ ซีมองต์ฯ

"ผู้ถือหุ้นจะได้ประโยชน์ทางอ้อม ที่เห็นชัดเจนอย่างหนึ่งคือราคาหุ้นของชลประทานซีเมนต์จะดีขึ้น และโอกาส ในอนาคตของบริษัทก็ดีขึ้นด้วยโอกาส ในการทำกำไร โอกาสที่จะอยู่รอดเมื่อ พ้นช่วงวิกฤตินี้ไป ชลประทานซีเมนต์จะมีโอกาสที่ดีขึ้นอย่างมาก" มานิดากล่าว

เจรจานาน 12 เดือนเพราะติดเรื่องเจ้าหนี้

ระยะเวลาที่ใช้เจรจานานถึง 12 เดือน ซึ่งก็ถือว่าเป็นเวลาที่นานพอสมควร มานิดาเล่าว่าจริงๆ แล้วไปติดเรื่องข้อกฎหมายและการเจรจาเจ้าหนี้ซึ่งมีอยู่ 20 รายและเป็นแบงก์ไทยหมด รายใหญ่สุดคือธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การหรือ BBC ที่ถูกทางการสั่งปิดกิจการและเหลือแต่บริษัทบริหาร สินทรัพย์เสี่ยงหรือ บบส. ทำหน้าที่ตามเก็บหนี้เท่านั้น

การเจรจาซับซ้อนมาก และทำให้เกิดปัญหากฎหมายที่ซับซ้อนมาก ด้วย นอกจากนี้การเซ็นสัญญาทุกอย่างก็ต้องเร่ง คืออาจจะทำช้ากว่านี้ก็

ได้แต่ทุกอย่างต้องทำให้ทันก่อนที่ BBC จะปิดกิจการและทำให้ไม่มีเจ้าหนี้รายใดกล้าตัดสินใจ

มานิดาเล่าถึงเรื่องที่ตื่นเต้นในการทำงานของเธอว่า "กลัวว่าจะเซ็นไม่ทัน คือหากวันที่ 30 พ.ย. นี่เซ็นไม่ได้ ก็ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับบีบีซี เขาเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ ทุกอย่างก็อาจจะต้องเลื่อน และในวันเซ็นสัญญายังมีเจ้าหนี้บางรายอิดออดจะไม่มา จนกระทั่งมี 'อัศวินม้าขาวž มาช่วยคือ ท่านผู้ว่าแบงก์ชาติบอกว่าจะมาเซ็นสัญญา ทำให้มีเจ้าหนี้หลายรายตกลงยอมมาเซ็น เพราะเจ้าหนี้ก็เกี่ยงกัน ว่าหากเกิดเขาเซ็นคนเดียวแล้วแบงก์อื่น ไม่เอาด้วย เขาก็ต้อง commit ฝ่ายเดียว"

ทั้งนี้เธอได้พยายามเชิญท่านผู้ว่าฯก่อนหน้า แต่กว่าจะทราบว่าท่านจะมาหรือไม่ ก็ในวันเซ็นสัญญา ซึ่งเป็นเหตุให้สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้รายอื่นๆ ยอมมาเซ็นด้วย เรื่องจึงเรียบร้อย

เพราะในการปรับโครงสร้างหนี้ครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเข้ามาซื้อกิจการของซีมองต์ฯ เจ้าหนี้ต้องยอมรับเงื่อนไขต่างๆ ของการปรับโครงสร้างหนี้และการประนอมหนี้ ยอมให้มีการลดหนี้บางส่วน ยอมรับการชำระหนี้ด้วยหุ้นกู้แปลงสภาพฯ เป็นต้น

ในบรรดาเจ้าหนี้ 20 ราย นอกจาก BBC กำลังจะปิดกิจการ (หลังจากปิดกิจการแล้ว ไม่สามารถทำธุรกรรมใดๆ ได้ กรรมการผู้จัดการไม่มีอำนาจในการเซ็นเอกสารต่างๆ) ยังมีเจ้าหนี้อีก 7-8 รายที่เป็นไฟแนนซ์ใน 56 แห่งที่ถูกสั่งปิดกิจการไปก่อนหน้าแล้ว มูลหนี้คิดเป็น 500-600 ล้านบาท ซึ่งถูกโอนไปที่ ปรส. ก็มีปัญหาอีกว่าปรส.จะทำการประนอมหนี้กับลูกหนี้ไม่ได้

มานิดาเล่าว่าเดิมเธอคิดจะขอประมูลหนี้ตัวนี้ออกมา เพราะคิดว่าสามารถให้ราคาที่ดีกว่าได้แต่ มีปัญหาว่าวิธีนี้ขัดกับหลักการของปรส. จึงต้องมาลงเอยที่การเซ็นสัญญาประนอมหนี้ ซึ่งปรส.โดยดร.มนตรี เจนวิทย์การ เป็นผู้มาเซ็นสัญญา

สินทรัพย์ตัวนี้ (หนี้ของ JCC) ถูกนับเป็นสินทรัพย์ที่ต้องมีการเข้ากระบวนการขายของอมเรศ ศิลาอ่อน ประธานปรส.แล้ว แต่ปรส.ยอมตกลงให้มีการประนอมหนี้ด้วยก่อน มานิดา เล่าว่า "ปรส.ให้ความเห็นชอบในการประนอมหนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถาบัน การเงินที่เป็นเจ้าหนี้อีก 10 กว่าแห่ง(ที่มีมูลหนี้เยอะกว่า)ได้ตกลงแล้ว เหลือแต่ของปรส. อันนี้ก็ถือเป็นกรณีพิเศษที่ปรส.ให้มีการปรับโครงสร้างหนี้"

หนี้ที่เหลืออยู่หลังการประนอมก็จะติดไปกับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ ซึ่งใครมาประมูลได้ไปก็จะทราบชัดเจน เลยว่าหนี้มีมูลค่าเท่าไหร่ และที่สำคัญ คือ "ไม่ต้องมานั่งคิดว่าเป็นหนี้เสีย เพราะตอนนี้เป็น PL แล้ว ใครก็ตามที่เข้ามาประมูลพอร์ตที่มีหนี้ของชลประทานฯ อยู่ ก็สามารถให้ราคาที่ดี เฉพาะส่วนนี้ได้ เพราะกลายเป็น asset ที่มีค่าแล้ว" เนื่องจากมีการปรับโครงสร้างหนี้แล้วนั่นเอง

นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศ ไทยก็สนับสนุนให้การประนอมหนี้ครั้งนี้สำเร็จ เพื่อเป็นกรณีศึกษา/ตัวอย่างที่ดีแก่ลูกหนี้และเจ้าหนี้รายอื่นๆ ที่อยู่ในกระบวนการนี้ กรณี JCC จึงได้รับความอุดหนุนอย่างเต็มที่จาก ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ผู้ว่าฯ แบงก์ ชาติ มานิดาเล่าว่า "ไว้ท์แอนด์เคสและ ซีมองต์ฯ ไปเรียนปรึกษากับม.ร.ว.จัตุมงคล ซึ่งท่านก็ให้การสนับสนุน คือกรณีนี้ไม่ใช่การปรับโครงสร้างหนี้ธรรมดา แต่เป็นกรณีที่พิสูจน์ให้เห็นว่าชาวต่างชาติเชื่อมั่น เพราะว่าซีมองต์ฯ ไม่ได้มามือเปล่า แต่ถือเงินสดมาเป็นพันล้านบาท มาแล้วก็ชำระหนี้ให้แบงก์ ทันที"

เงื่อนไขหลักในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ที่สำคัญคือ ยืดอายุการชำระหนี้ออกไปได้ถึง 12 ปี, มี hair cut บางส่วน แต่มีเทคนิคทางกฎหมายที่ทำให้ไม่ต้อง up front hair cut ในทันที แต่ว่าทำให้แบงก์สามารถเลื่อนการตั้งสำรองออกไปได้ และข้อสุดท้ายคือใน 4 ปีแรกไม่คิดดอกเบี้ย (ดูในล้อมกรอบ รายละเอียดการปรับโครงสร้างหนี้ JCC)

ซีมองต์ฯ เป็นผู้เข้ามาเจรจากับเจ้าหนี้แทนชลประทานฯ ซึ่งตอนแรกนั้นเจ้าหนี้ไม่ยอมรับ ต้องใช้เวลาเจรจาอยู่นาน เหตุหนึ่งก็เพราะ ดีลนี้มีลักษณะ hair cut อยู่ด้วย เจ้าหนี้มองไปว่านี่เป็นการซื้อของถูกแล้วยังมาบีบคอแบงก์ให้ลดหนี้ลงเยอะๆ อีกด้วยหรือเปล่า

มานิดาเล่าว่า "กว่าที่จะโน้มน้าว เจ้าหนี้ได้ว่าซีมองต์ฯ มาจริงและมาดี และในอนาคตบริษัทนี้ก็จะดี การเจรจา กับแบงก์ใช้เวลาอยู่หลายเดือน ส่วนหนึ่งที่ทำให้ดีลนี้สำเร็จเพราะว่าซีมองต์ฯ มีเม็ดเงินใหม่เข้ามาชำระหนี้"

ว่าไปแล้ว ซีมองต์ฯ ก็เข้ามารับความเสี่ยงอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะในตัวบริษัท ในอุตสาหกรรมและในตัวประเทศ เป็นความเสี่ยงพอๆ กับแบงก์ แต่แบงก์จะมีฐานะดีกว่าหน่อยตรงที่ได้รับการชำระหนี้คืนบางส่วน และหากชลประทานฯ เกิดปัญหาในอนาคต แบงก์ก็ยังสามารถขายทอดโรงงานและ ได้รับการชำระคืนได้ ขณะที่การลงทุน ของซีมองต์ฯ อาจจะกลายเป็นศูนย์ เอาเงินเข้ามาพันล้านบาทแล้วไม่ได้อะไรเลย

ดังนั้นอนาคตชลประทานฯ จึงขึ้นอยู่กับการบริหารงานของซีมองต์ฯว่าจะสามารถ turn around กิจการชลประทานฯได้อย่างไร

เคล็ดลับสำคัญของซีมองต์ฯซึ่งทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าจะสามารถ turn around บริษัทได้แน่นอนก็คือ ซีมองต์ฯ เชื่อว่าด้วยเครื่องจักรที่ชลประทานฯ มีบวกกับเทคโนโลยีของ

ซีมองต์ฯ สามารถปรับปรุงเครื่องจักรนี้ แล้วเพิ่มผลผลิตได้ 30%-40% หรือแม้กระทั่งเรื่องการทำเหมือง ซีมองต์ฯ ก็มีวิธีการทำที่ดีโดยการขุดอุโมงค์เข้าไปในภูเขา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับโลกทีเดียว

JCC เชื่อมั่น อัพเกรดโรงงานเสร็จ

น่าจะมี potential ที่ดี

ระพีให้ความเห็นเกี่ยวกับบทบาทของซีมองต์ฯ ในการที่จะเข้ามาทำให้ JCC ฟื้นตัวว่า "เขาสามารถช่วยได้มาก เรื่องเทคโนโลยี โอกาสที่จะหาตลาดใหม่ๆ ในต่างประเทศ แทรกตลาดใหม่ๆ ในต่างประเทศก็ง่ายขึ้น มีช่องทางดีขึ้น และนอกจากนั้นสายสัมพันธ์ ที่ซีมองต์ฯ มีอยู่ทั่วโลกก็มีส่วนสำคัญ"

สายสัมพันธ์ที่ว่าก็คือการที่JCC ได้เข้าไปอยู่ในเครือข่ายของซี-มองต์ฯ ด้วย ในบางพื้นที่อาจจะสั่งสินค้าจาก JCC สะดวกกว่าที่อื่นหรือ ไม่ก็ซื้อวัตถุดิบบางอย่าง ใช้ทั้งกลุ่มซื้อจะมีอำนาจการต่อรองดีกว่า หรืออะไหล่เครื่องจักรปูนก็มีไม่กี่บริษัทในโลกนี้ ทุกคนก็ต้องรู้จัก ซื้อจากบริษัท แม่แล้วส่งมาให้ JCC ก็อาจจะได้ราคาที่ดีกว่า JCC สั่งซื้อโดยตรง สิ่งเหล่านี้เท่ากับเป็นการช่วยลดต้นทุนให้บริษัท ซึ่งระพียอมรับว่า "หากคุมต้นทุนดี ความสามารถในการแข่งขันของเราก็ดีขึ้น เราก็มองว่าเรามีอนาคตแน่นอน"

นโยบายของซีมองต์ฯ ตอนนี้คือเริ่มด้วยเข้ามาปรับปรุงเรื่องเทคโนโลยี ซึ่ง JCC อยู่ระหว่าง upgrade โรงงานที่ตาคลี ที่ปิดเตาเผามาตั้งแต่ต้นปี 2542 ตอนนี้ผลิตที่โรงงานชะอำแห่งเดียว ระพีเล่าว่า "เขามาช่วยเรื่อง upgrade และเรื่อง Y2K เพราะเครื่องจักรเราซื้อมาตั้งแต่ปี 1994 แล้วมาทิ้งตากแดด ตากฝนไว้ แล้วคอมพิวเตอร์ในนั้น ดิจิ-ตอลหลายตัวไม่ได้ทำเผื่อ Y2K เขาต้องมาแก้ไขเรื่องเหล่านี้"

ส่วนอันดับถัดมาคือมาดูเรื่องดีไซน์ต่างๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ 100% หมาย ถึงการปรับสูตรการใช้วัตถุดิบ เพื่อให้สามารถสำรองวัตถุดิบใช้ได้นานขึ้น การปรับสูตรทุกอย่างในการผลิตเพื่อให้ใช้วัตถุดิบได้มีประสิทธิภาพสูงสุดถัด มาเป็นเรื่องเทคโนโลยีในการทำเหมือง และเรื่องการหาตลาดใหม่ๆ

ทั้งนี้กำลังการผลิตของโรงงานที่ตาคลี (มี 2 โรง) มี 600,000 ตันต่อปี ส่วนโรงงานที่ชะอำมีกำลังการผลิต 6-700,000 ตันต่อปี รวมเป็น 1.3 ล้านตันต่อปี เมื่อปิดที่ตาคลี กำลังการผลิต ก็หายไปครึ่งหนึ่ง แต่มันจะเพิ่ม (หลังupgrade)เป็นประมาณ 1,800,000-2,000,000 ตันต่อปี มันจะเพิ่มไปอีกเยอะ

อย่างไรก็ดี JCC มีมาร์เก็ตแชร์อยู่ไม่เกิน 4% ซึ่งบริษัทฯ ก็พยายามรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ไม่ให้สูญเสียไปแต่เนื่องจากดีมานด์ในประเทศมีน้อยมาก และการสร้างดีมานด์ในประเทศก็เป็นไปไม่ได้ในตอนนี้ จึงจำเป็นต้องหาตลาดใหม่มารองรับ

ระพีเปิดเผยว่า "เราใช้โรงงานที่ชะอำแห่งเดียวรองรับทั้งหมดได้ในช่วงนี้เพราะดีมานด์มีน้อย และเราก็มีส่งออกบ้าง บริษัทเรามีการผลิต oil well cement หรือ owc ซึ่งส่งไปต่างประเทศ อย่างที่บรูไน นอกจากนี้เราก็มีปูน type 5 คือปูนที่ทนซัลเฟต หรือเหมาะกับฝั่งทะเลที่มีดินเค็มอย่าง ในภาคอีสานที่มีเกลือสินเธาว์มาก ซึ่งหากเอา type ปกติไปใช้ มันไม่ได้ หากไปบางปูจะเห็นว่ามันกร่อนเพราะ ใช้ปูนผิดประเภท ซึ่งประเภทนี้เราจะทำ"

การที่ JCC มีมาร์เก็ตแชร์ไม่ถึง 4% ซึ่งระพีก็ถ่อมตัวว่า "ไม่ได้ใหญ่โตพอที่จะไปแข่งขันกับใคร" ดังนั้นบริษัทฯ จึงใช้กลยุทธ์เจาะตลาด niche ต่างประเทศ ระพีเปิดเผยว่า "เราหาตลาดข้างนอกดีกว่าใน type ที่คนอื่นไม่ผลิต เราส่งออกใน type ที่ไม่มีการแข่งขันกัน" เพราะว่าทุกประเทศในเอเชียผลิตปูนเกินดีมานด์หมด เพราะไม่เคยเกิดเหตุการณ์นี้ และอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทยก็ไม่เคยวางแผนในเรื่องการผลิตเพื่อการส่งออกในปริมาณมากๆ ดังนั้นอุปกรณ์ต่างๆ ในการขนถ่ายสินค้าลงเรือขึ้นเรือไม่มีรองรับ เพราะการผลิตที่ผ่านมานั้นใช้ในประเทศอย่างเดียวก็ยังไม่พอ

JCC ส่งออกครั้งละไม่มาก trip ละ 5,000-6,000 ตัน เดิมเคยทำปีละ 100,000 ตัน ปีที่แล้วส่งออกได้ประมาณ 60,000-70,000 ตัน ไป พม่า ลาว บรูไน เวียดนาม

ระพีเล่าด้วยว่า "หลัง upgrade โรงงานเสร็จ ซีมองต์ฯ จะหาตลาดใหม่ๆ ให้เรา แต่ก็ต้องดูว่าความสามารถในการผลิตของบริษัทจะทำ type ใหม่ๆ ที่เหมาะสมได้มากน้อยเพียงใดเพราะปูนมีหลายชนิด spec แต่ละประเทศ ที่ต้องการไม่เหมือนกัน เราต้องดูว่า raw material เราสมบูรณ์ไหม ต้องเพิ่มอะไรอย่างไร ส่งเขาได้ต้องตรงตาม requirement หรือไม่"

"เราพยายามไปในตลาดที่เป็น niche market เพราะเราไปแข่งขันกับรายใหญ่ไม่ไหว" นั่นคือจุดยืนของระพี อย่างไรก็ดี กำลังการผลิตที่ยังเหลืออยู่นั้น เขาไม่มั่นว่าจะใช้งานเต็มที่ได้เมื่อไหร่ ขึ้นอยู่กับดีมานด์ในประเทศและความสามารถในการส่งออกและการหาตลาดต่างประเทศ

"การที่จะผลิตได้เต็ม 2,000,000 ตันได้นั้น ผมไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ นอกจาก เรามีตลาดส่งออกที่ fulfill ได้ แต่ตลาดส่งออกนั้นต้องยอมรับอย่างหนึ่ง

ว่าถึงจะเป็น niche อย่างไรมาร์จินก็ต้องต่ำ และยังมีค่าโสหุ้ยในการขนส่งต้องมาหักล้างออก จะเหลือมาร์จินนิด เดียว กว่าที่เราจะผลิตเต็มกำลังการผลิตของเรานั้น ผมยังมองไม่เห็น นอกจากว่าในประเทศมันบูมกลับเข้ามาใหม่ นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง"

มีความเป็นไปได้ว่าเมื่อโรงงานตาคลีเปิด JCC อาจจะเดินเพียงเตาเดียว จนกว่าตลาดจะกลับคืนมาหรือ ได้ตลาดนอกมาเสริม ระพีต้องประคอง ตรงนี้ให้อยู่ แต่อย่างไรก็ดีต้นทุนต่อตันของ JCC ก็จะเท่ากับผู้ผลิตรายใหญ่รายอื่นแล้ว เพราะว่าเป็นกรรม วิธีที่เหมือนกันแล้ว

ต้นทุนต่อตันในการผลิตปูนปัจจุบันประมาณ 500-600 บาท ทุกรายก็ใกล้เคียงกัน แต่ JCC นั้นเมื่อก่อน upgrade ต้นทุนอยู่ที่ 700-800 บาท ซึ่งถือว่าสูงมาก เพราะผู้ผลิตรายอื่นๆ นั้นใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงกัน แต่ JCC เอาน้ำมันเตามาเผา ขณะที่ถ่านหินมีราคาถูกกว่าน้ำมันเตามากมาย

ระพีมองขนาดกำลังการผลิตของ JCC ว่าแม้จะเล็ก แต่ก็มีความได้เปรียบ "การที่เราเล็ก เราก็มีข้อได้เปรียบคือเรามีความคล่องตัว ทำไมเราผลิตปูนได้หลาย type กว่าคนอื่น เพราะเตาเราเล็ก เราผลิตหลายแบบได้ง่ายกว่าที่เขาทำ เราก็ไม่พยายามแตะ type ที่รายใหญ่ทำ โดยเราหนีไปหา type แปลกๆ ไปแทน ทำไมเรามี type 5 กับ owc เพราะเราไม่ต้องการชนกับตลาดเพราะสายป่านเราก็สู้เขาไม่ได้ ขณะเดียวกันในแง่ของบริษัทหากไม่มีพาร์ตเนอร์มาร่วมก็เหนื่อย เมื่อมีแล้วก็มีโอกาสคือ 1. ลดต้นทุนได้เพราะเทคโนโลยีสูง 2. หาตลาดใหม่ช่วยเราได้ 3. ระบบการทำงานนี่ทำให้ cost ลงแน่นอน และเขามาแก้ไข Y2K ให้เราด้วย"

นอกจากนี้ ระพีมองว่าตลาด niche ไม่ใช่ตลาดใหญ่ ปีละแค่ไม่กี่หมื่นตัน การที่ผู้ผลิตรายใหญ่จะเข้ามาแข่งขันด้วย จะเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มอย่างมากๆ "รายใหญ่นั้นเขาผลิตปีละ 20 ล้านตัน เขาจะมาทำกี่หมื่นตันต่อปี เขาสมควรที่จะหยุดเตาครึ่งวันรอกว่าเตาจะเย็นอีก 7 วันแล้วค่อยเผาใหม่ มันไม่ได้หรอก คือมันจำกัดด้วยทางเทคนิค หรือเขาไปได้ order ใหญ่ๆ จากเมืองนอกมาทำ ทำเสร็จก็ส่งนอกหมด ก็มีเหมือนกันที่ทำ ไม่ใช่เราทำรายเดียว แต่เขาไม่ลงมาทำในยอดเล็กๆ อย่างที่เราทำอยู่ มันบังคับอยู่ในตัว และหากเขาลงมาทำ ต้นทุนเขา ต้องแพงกว่า และเขามาทำทีแล้วจะสต็อกไปเป็นสิบปีหรือ มันก็ไม่ได้ สารประกอบมันมีอายุ อันนี้เป็นข้อจำกัดทางเทคนิค"

ระพียังเชื่อมั่นว่าตลาด niche ควรเป็นของ JCC หรือ "ปูนเล็ก" จะ เหมาะกว่า "เรามี capacity 2 ล้านตันต่อปี เขามี 20 ล้านตัน เราพูดวันละเป็นพัน ของเขาเป็นหมื่น เขาทำแค่วันเดียว cover ไป 2-3 ปี เขาจะมาทำทำไม แล้วมาร์จินก็นิดหนึ่ง กับยอดขายแค่นี้ แต่เขาไปโกยมากกว่านี้ เขาใหญ่ เขาต้องมอง mass pro-duction มากกว่า"

JCC มีโครงการ upgrade โรงงานที่ชะอำเป็นโครงการถัดไป ซึ่งก็ทำไปบ้างแล้ว แต่ก็เป็นโครงการที่ต้องทำต่อไป "คาดว่าจะทำเสร็จภาย ในปีนี้ เวลานี้ก็ทำขนานกันอยู่ ชะอำยังปิดไม่ได้เพราะยังเปิดตาคลีไม่ได้ จนกว่าตาคลีเริ่มรันแทน ชะอำก็จะได้ปิดสักเจ็ดวันหรือเดือนหนึ่ง"

ระพีให้เหตุผลเรื่องโครงการ up- grade ว่าเป็นโครงการต่อเนื่อง "คือเครื่องจักรเราซื้อมาตั้งแต่ปี 1994 โครงการ upgrade นี้ไม่ใช่แค่ 578 ล้านบาท จำนวนนี้คือส่วนที่เหลือเท่านั้น เราได้ทำมาก่อนหน้านี้ 2-3 ปี มันลงมาเป็นพันๆ ล้านบาทแล้ว และเครื่องจักรก็อยู่ตรงนี้อยู่แล้ว หากไม่ทำให้เป็นเงินขึ้นมามันก็เสียหาย"

นอกจากนี้วิธีการเผาที่ตาคลีเป็นวิธีที่ล้าสมัย ใช้น้ำมันเตาซึ่งต้นทุน

สูง ได้กำลังการผลิตต่ำ แข่งขันไม่ได้ อย่างไรก็ต้องทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ แข่งขันกันในตลาดได้ "มันเป็นหน้าที่อยู่แล้ว และเครื่องจักรก็มีพร้อมอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเพิ่มเติมนิดหน่อย 90% มัน อยู่กับเราหมด อันนี้เป็นเหตุผลว่าทำไม สวนกระแส ว่าทำไมเศรษฐกิจอย่างนี้มาเพิ่มกำลังการผลิต ไม่ใช่ มันเป็นแผนก่อนหน้านี้แล้ว และของก็มากอง อยู่แล้ว หากเรายังทำแบบเดิม ใช้วิธีการผลิตแบบเดิม ก็จะไม่สามารถแข่งขันในตลาดนี้ได้เลย ขายทุกตันจะขาด ทุนเละเทะ เสียหาย อันนี้เป็นสาเหตุหลักที่เราต้องทำ upgrade ให้เสร็จ"

เขาเชื่อมั่นว่า "เมื่อเรา upgrade เสร็จแล้ว เราสามารถลด cost ลงได้ ประมาณ 10% นี่เป็น การ ประเมินต่ำสุด ซึ่งผมก็เห็น potential แล้ว แต่ขอยังไม่ตอบว่าเท่าไหร่แน่ อีก 3 เดือนค่อยมาถามแล้วกัน แต่เชื่อว่ามันจะช่วยได้มาก เพราะ เทคโนโลยีที่ใช้ ทั้งค่าเชื้อเพลิงก็จะถูกลง วัตถุดิบที่จะ utilised ได้ดีขึ้นเปลี่ยนสูตรการผลิตใหม่ มีประสิทธิ ภาพในการเผาให้ได้ yield มากขึ้น ทุกอย่างเขาช่วยหมด"

ระพีมีความเชื่อมั่นสูงมากว่า "ตอนนี้ JCC ไม่มีอุปสรรคอะไรอีกแล้ว รอสภาพที่เศรษฐกิจจะกลับคืนมาเท่านั้นเอง แต่ตรงนี้เราก็อยู่ได้แล้ว และ grace period 4 ปี ก็คิดว่าเป็นระยะเวลาพอดีกับที่เศรษฐกิจ จะเริ่มฟื้น operation เราจะดีขึ้น แต่ในงบการเงินจะเห็นว่าดอกเบี้ยไม่มี มันดูกำไรแน่ แต่เรามีขาดทุนสะสมอยู่ตัวหนึ่ง ยังไม่กำไร เราต้องไปล้างขาดทุนสะสมก่อน ซึ่งมีอยู่ราว 1,000 ล้านบาท มียอดขาย 1,000-1,200 ล้านบาท เป้าหมายปีนี้ 1,200-1,300 ล้านบาท สูงกว่าเดิมเล็กน้อย เพราะเราคิดว่าการบริโภคภายในประเทศตามที่บริษัทคาดการณ์อยู่ที่ประมาณ 19 ล้านตันเท่านั้นในปีนี้ เมื่อปี 2540 อยู่ที่ 36 ล้านตัน ปี 2541 อยู่ที่ 20.3 ล้านตัน พอปีนี้ผมคิดว่าจะต่ำกว่าปีที่แล้ว ไม่ถึง 20 ล้านตัน"

ยอดขายในประเทศต่อต่างประเทศของ JCC อยู่ในสัดส่วน 90:10 เนื่องจากว่ามีการปิดโรงงานไปหนึ่งโรง ทำให้ไม่มีกำลังการผลิตเหลือ ที่จะไปส่งออก ทำแค่นี้ก็เพื่อรักษามาร์เก็ตแชร์ ปีที่แล้ว JCC ขายในประเทศประมาณ 800,000 ตันจากโรงชะอำแห่งเดียว มันเต็มแล้ว บริษัทฯจึงส่งออกไปได้แค่ 6-70,000 ตันเท่านั้น "เรายังไม่มุ่งมาก จนกว่าเรื่อง upgrade เสร็จจึงจะมุ่งส่งออกให้ได้มากที่สุด แต่ก็ต้องเป็นราคาที่เรารับได้ ต้องตรงกับความสามารถของโรงงาน" ระพีคาด หมายอนาคต

เขาคาดหวังด้วยว่า JCC จะล้างยอดขาดทุนสะสม 1,000 กว่าล้านบาท หมดภายใน 5 ปีขึ้นไปได้ "แต่ก็ไม่ยืนยันนะ ดูตลาดต่างประเทศเป็นเกณฑ์ก่อน"

ส่วนการลงทุนอื่นๆ ของ JCC ที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจหลัก ตอนนี้ไม่มีแล้ว เหลือแต่ที่เกี่ยวข้องกับคอนกรีตเท่านั้น อันอื่นขายออกหมด แม้จะขาดทุน อย่างอีสเทอร์นไวร์ ซึ่งขาดทุนมากเพราะ วัตถุดิบนำเข้าหมด พอมาปรับค่าเงินก็เจ็บตัวมากทั้งที่ก็ไม่เคยขาดทุนมาก่อน พอมาขาดทุนปีž41 ปีเดียวก็วูบเลย ซึ่ง JCC ก็ขายออกไปแล้ว

ระพีมองแนวโน้มตลาดปูนฯว่า "ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าจำเป็น ความ ต้องการอย่างไรก็ยังมี ไม่ว่าจะในรูปแบบไหน การสร้างบ้าน ทำถนน มัน เป็นความจำเป็น เศรษฐกิจคงไม่หยุดอย่างนี้ มันคงจะกลับมาแต่ไม่หวือหวา ต้องค่อยเป็นค่อยไป เมื่อเหตุการณ์กลับมาฟื้น ทุกอย่างจะกลับเข้ารูปอนา-คตยังมีอยู่ คือเราต้องมองว่าประเทศใน เอเชียยังต้องมีโครงสร้างสาธารณูปโภค อีก ในต่างประเทศนั้นอยู่ในจุดเริ่ม decline แล้ว แต่ในเอเชียยังเป็นประเทศกำละงพัฒนา อนาคตการสร้าง infrastructure ยังต้องทำต่อไปจน กว่าจะทันประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้นแนวโน้มในเอเชียยังต้องโต

ผมมองว่าเราเป็นประเทศที่ยังไม่สมบูรณ์ในเรื่อง infrastructure ยัง ต้องทำต่อไปอีก ทั้งเรื่องน้ำเสียต้องใช้บ่อปูน โรงงานต้องปรับเข้ารูปรอยหมด เดี๋ยวนี้โรงงานต้องทำบ่อน้ำเสีย ดังนั้นการใช้ปูนในด้าน mass transport ด้าน waste water treatment การเก็บกักน้ำในอนาคต resevoir ยัง ต้องมีดีมานด์ต่อไปและเพิ่มขึ้น ทั้งไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

ในอดีตเรามีแต่ขาดปูนนะ ช่วง นี้เท่านั้นที่ซัปพลายล้น แต่อนาคต


ดีมานด์ต้องกลับมา ซึ่งนั่นก็คงช่วยให้ กำลังการผลิตเต็มอย่างเดิม แต่หากจะมีการขยายมากก่วานี้ก็ต้องออกไปต่างประเทศ ซึ่งหากจะออกจริงเราก็มีข้อได้เปรียบ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us