คำประกาศข้างต้นอาจจะไม่ฮือฮาเท่ากับคำที่เคยประกาศว่า "ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย"
แต่คำประกาศนี้น่าจะเป็นการสรุปบทเรียนการกู้ซากธุรกิจของสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง
ที่จวนเจียนจะยุติลงได้ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ หลังจากที่เขาได้บทเรียนมาหลายเรื่องในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ของเขา
วาทะนี้ฟังดูเป็นกลางและมีอนาคต แม้ในความเป็นจริงจะแฝงไว้ด้วยความเจ็บปวดของเจ้าของกิจการเดิมเอาไว้มาก
และใน บางกรณี ไม่แน่ว่าการถอยเพียงก้าวเดียวจะเพียงพอหรือไม่ มันเป็นเรื่องของการ
"ทำใจยอมรับให้ได้" อยู่มากทีเดียว สวัสดิ์ วันนี้ประกาศยอมรับความเป็นจริงของชีวิตธุรกิจได้แล้ว!
เรื่องโดย ภัชราพร ช้างแก้ว
patcharaporn@manager.co.th.Internet
ในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ นักธุรกิจที่ พ่วงเอาตำแหน่งวุฒิสมาชิกไว้ด้วยอย่างสวัสดิ์
หอรุ่งเรือง มักจะมีวาทะออกมาให้คนฟังได้ฮือฮาอยู่หลาย ครั้ง เช่นที่ว่าไม่มีไม่หนีไม่จ่าย
หรือการที่นักธุรกิจส่วนมากตอนนี้กลายเป็น "นักธุรกิจข้ามชาติ" กันไปหมดใน
ความหมายที่ว่า กู้ชาตินี้ไปใช้หนี้เอาชาติหน้า หรือ next life payment
สวัสดิ์เคยอธิบายเบื้องหลังวาทะ เหล่านี้ไว้ว่ามันเป็นเรื่องที่พูดคุยกันเล่นๆ
ในหมู่เพื่อนนักธุรกิจ อย่าง เรื่องนักธุรกิจข้ามชาตินั้น ระหว่างที่พูดคำนี้
"ผมพูดในห้องน้ำ ซึ่งตอนนั้น ก็มีคุณประชัย ใครต่อใคร ชั่วโมงนั้นค่อนข้างจะเครียดกันนิดหน่อย
ผมบอกคุณประชัยว่าตอนนี้เราทำธุรกิจข้ามชาติกัน คุณประชัยก็บอกว่าผมทำอยู่แล้ว
ปูนผมก็ส่งออก พลาสติกผมก็ส่งออก แต่ก็ขาดทุนทุกตันที่ส่งออก ดังนั้นที่บอกว่าคิด
cash flow นี่ มันก็ cash fly ไปทุกวันๆ ทุกตันที่ขาย มันก็หมดไป
ผมบอกว่าไม่ใช่ กู้ชาตินี้เราไปใช้เอาได้ชาติหน้าต่างหาก แกก็หัวเราะ เพราะว่าที่เราไปกู้มานั้น
outstanding ก็ประมาณ 3,000-4,000 ล้านเหรียญ เข้ามาแล้วก็มาเปลี่ยนเป็นเงินบาทก็ผ่าน
แบงก์ชาติ ก็ได้มา 26 บาท แต่ทุกวันนี้ต้องใช้กัน 40 กว่าบาท ท่านลองคิดดูว่าเพิ่มไป
16 บาทต่อ 4,000 ล้าน เหรียญ จู่ๆ มีหนี้ขึ้นมานี่หมื่นกว่าล้านนี่ คิดหนักนะครับ
ดังนั้นก็ทำกันไปตามไปใช้หนี้ไม่หมด ชาติหน้ามีจริงก็คงต้องมาตามใช้หนี้กันอีก
นี่คือสิ่งที่เราคุยกันในห้องน้ำ แต่ไม่ทราบว่าเล็ด ลอดออกมาอย่างไร"
หรืออย่างเรื่องไม่มีไม่หนีไม่จ่าย เขาเล่าว่าเขาไม่คิดที่จะถอนคำพูดที่ประกาศออกไป
แต่เบื้องหลังที่มาของ คำพูดนั้นมันเป็นเสมือนหนึ่งการ "จัดฉาก" ที่เป็นเหตุให้เขาโพล่งวาทะนี้ออกมา
"ผมคงไม่ถอนคำพูดที่เคยกล่าว ว่าไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย แต่อยากจะเรียนให้ทราบว่าอะไรคือข้อเท็จจริงที่พูด
ออกไป วันนั้นผมจำได้ว่าคุณสุทธิชัย หยุ่น ขอสัมภาษณ์ผม แล้วก็จัดฉากในห้องผม
คุณสุทธิชัยนี่แกฉลาดพอ มาถึง...ผมก็เข้าห้องน้ำ ล้างหน้าแล้ว กลับมาที่โต๊ะ
ส่องกระจกดูหน่อยผม ก็เห็นจดหมายฉบับหนึ่ง ผมก็แกะมา จากสถาบัน...อ่านดูแล้ว
ก็บอกตรงๆ ว่า ณ วันนี้เราไม่มีทั้งจรรยาและศีลธรรมในการทำธุรกิจ
ท่านบอกว่าวันนี้ไม่จ่ายดอกเบี้ยนี่ วันหน้าคุณต้องจ่าย 36% พอขึ้นหน้ากล้องปั๊บนี่
ผมก็คิดเลยนะครับว่าเราทำธุรกิจมานี่ เราไม่มีมาร์จินเหลือขนาดนี้ ไม่มีเศรษฐศาสตร์การเงินการ
คลังเล่มใดที่จะบอกว่าเราจะสามารถแบกต้นทุนการเงินที่ 36% ได้ เพราะฉะนั้น
วันนั้นผมจึงนึกอยู่ 3 ไม่ คือ ผมจะไม่ชำระหนี้ เมื่อไม่จ่ายดอกเบี้ย สิ่งที่ตามมาคือเงินต้นก็คงไม่ชำระแน่
ซึ่งธนาคารก็ต้องฟ้องผม ก็ไม่ต้องกลัว และอันที่สามเราก็ไม่ต้องหนี
เมื่อพูด 3 อย่างนี้ออกไป ผมกลายเป็นว่ามีหลาย "ต้อง" ในชีวิตเหลือ เกิน
ต้องอดกลั้น ต้องอดออม ต้องทำงานหนัก สารพัดต้องในชีวิต นี่คือสาเหตุที่มา
เพราะฉะนั้น ณ วันนั้นไม่มีใครเชื่อหรอกว่าวันนี้ของประเทศไทยจะเกิดขึ้น"
สวัสดิ์ในวันนี้กำลังซุ่มเงียบเตรียมทำเรื่องปรับโครงสร้างหนี้ของกลุ่มธุรกิจของเขา
แม้ว่ากิจการหลายตัวมีความคืบหน้าปรับโครงสร้างหนี้เสร็จแล้วก็ตาม
ชำนิ จันทร์ฉาย-มือการเงินของ กลุ่มธุรกิจของสวัสดิ์เปิดเผยไว้ว่ามูลค่าหนี้ของธุรกิจในเครือซึ่งมีอยู่
8 แห่ง หลักๆ ได้แก่ เอ็นทีเอส สตีล กรุ๊ป, ศรีราชาฮาเบอร์, ซันเทคกรุ๊ป,
เอ็นเอสเอ็ม, สตีลท้อป เป็นต้นนั้นมีรวม 45,000 ล้านบาท ก่อนหน้านี้เคยมีอยู่
80,000 ล้านบาท แต่เขากล่าวว่า "ได้มี การชำระล่วงหน้าให้ธนาคารไทยไปบ้างแล้ว"
ในบริษัททั้งหมดที่กำลังปรับโครงสร้างนี้ ชำนิให้ตัวเลขไว้ว่าต้องการ เม็ดเงินใหม่เข้ามาอัดฉีดประมาณ
1 พัน ล้านเหรียญฯ ในหลายๆ รูปแบบซึ่ง ตอนนี้อยู่ระหว่างการทบทวนเพราะมีการเปลี่ยนแปลงในเงื่อนไขต่างๆ
เยอะ มาก
กรณี เอ็นเอสเอ็มนั้นปรับโครง สร้างหนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสวัสดิ์ถือว่าเป็นการเจรจา
"ชิ้นโบแดง" ชิ้นหนึ่งของเขาทีเดียว เขาเล่าเรื่องนี้ว่า
"ผมทำโครงการอันล่าสุดคือ NSM เมื่อทำใกล้เสร็จนี่เราก็มามีปัญหาเรื่อง
working cap. ผมไม่ได้โทษแบงก์นะ ไม่ว่าสาขาไหน ผมก็ไม่โทษเรื่อง syndicate
แต่ว่าอันนี้แก้ง่าย อันนี้เป็นการปรับโครงสร้างหนี้ที่ง่าย เพราะว่าไม่มีขาดทุนสะสม
แต่เราขาดเงินทุนหมุนเวียน
ผมก็ไปเจรจากับเมืองนอก ก็โชคดีกว่าเจรจากับแบงก์ไทย การปรับ โครงสร้างหนี้ง่ายนิดเดียว
ขออย่าเพิ่ง default แม้ว่าจะไม่ได้จ่ายดอกเบี้ยมา 6 เดือนก็ตาม แต่โรงงานยังไม่เสร็จขอ
ว่าหากเมืองนอกเอาเงินมาใหม่ ขอมีส่วนในหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ไหม ธนาคารไทยไม่ยอม
แต่ว่ามีข้อแลกเปลี่ยนว่าหากได้เงินมา ตอนนั้นผมจำ ได้ว่าได้เงินมา 600 ล้านเหรียญ
แต่จ่าย ดอกเบี้ยเข้าไปหลายสิบล้านเหรียญ เราก็แลกเปลี่ยนสิทธินี้ เพื่อให้กับเจ้าหนี้คนใหม่
โดยยินดีที่จะจ่ายเงินล่วงหน้าที่ยังไม่ถึงดีลที่จะจ่าย คือควรจะจ่ายหลังจากที่มี
operation ไปแล้ว 1 ปี แต่ว่าเรายินดีที่จะจ่ายให้โดยขอแลก สิทธิให้เจ้าหนี้เมืองนอกมีหลักทรัพย์ค้ำประกันบ้าง
ก็สำเร็จ แต่ว่าทางเจ้า ของเอง ธนาคารบอกว่าในส่วนของผม นั้นต้องมี hair
cut คือต้องลดอัตราส่วนของผมลง ต้องเพิ่มทุนให้เขา ผู้ถือ หุ้นผมก็น่ารัก
ก็ยินดีที่จะเพิ่มทุนให้ หุ้นเขาไป ก็ยังไม่พอ
ในช่วงนั้นบอกได้ว่าประเทศไทย เราไม่มีเครดิตเลย เขาไม่เชื่อว่าเราจะบริหารได้ดีต่อไป
ผมก็เห็นด้วยว่าหาก เอาเงินมาให้ผมอย่างเดียว ผมคงจะช่วยตัวผมเองไม่ได้ เพราะฉะนั้นฝรั่งก็เอาคนที่เก่งทางด้านบริหารโรงเหล็กที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก
ณ วันนี้ บริษัทเหล็กในสหรัฐเป็นบริษัทเดียวที่ทำกำไร นอกนั้นขาดทุนหมด เขาก็มาเป็น
strategic partner ของผม ผม ก็ยินดีที่จะให้หุ้นเขาฟรี 20% มูลค่าเป็น พันล้าน
ยินดีที่จะมอบการบริหารทั้ง หมดให้เขาโดยที่ผมไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยเลย
เพราะว่าอะไร เพราะว่าเจ้าหนี้เมืองนอกของผม ที่ผมออกบอนด์ให้เขา เขาต้องการรู้ว่าผู้บริหารต่อไปเป็นใคร
เราบอกบริษัทนี้ เขาก็เชื่อผม ก็ให้เขาเป็นผู้บริหาร 10 ปี เท่ากับอายุ ของบอนด์ที่ออก
โดยที่ผมไม่ต้อง ออกหุ้นให้เขาอีก
ผู้ถือหุ้นใหญ่ เขาถือหุ้นอยู่ประมาณ 25% กว่า ที่จริงเขาต้องการมากกว่านี้
เขาต้องการควบคุมต้องการ บริหาร ผมบอกว่าถ้าอย่างนั้นคุณเอาคอนโทรลไปและบริหาร
โดยมีสัญญา 10 ปี ผมจะไม่ยุ่งกับคุณเลยในเรื่องเหล่านี้ เขาพอใจ
นี่คือทางออก มันดูเหมือนง่าย นะ แต่ว่าเราเป็นลูกหนี้ เราต้องรู้จัก ผมไม่อยากใช้คำว่าเข้าเนื้อ
แต่ว่าถอย สักก้าวหนึ่ง ถอยเพื่อซื้ออนาคตตัวเอง และวันนี้ผมมีความสุข ผมไม่ต้องยุ่งทุกวัน
ไม่งั้นทุกเช้านี่ตื่นขึ้นมาผมต้องโทรศัพท์ก่อน เมื่อวานได้กี่ตัน พอเครื่องเสียปุ๊บ
มันคันไปทั้งตัว ทำไมมันได้น้อย วันนี้นี่ผมไม่ถามเลย ผมปรับตัวปรับใจของผมเอง
ไม่ถามเลยว่าขายเท่าไหร่ ได้เท่าไหร่
แล้วเป็นอย่างไร ผ่านไป 6 เดือนตั้งแต่มีนาคม 2541 พอถึงเดือน 9 คณะผู้บริหารที่เป็นฝรั่งทั้งชุดกลับมาหาผม
คุณสวัสดิ์ ผมขอเชิญให้กลับไปเป็นผู้บริหาร ช่วยกันหน่อย
ผมบอกแล้วว่าตั้งแต่วันที่ผม handover มอบธุรกิจให้เขาทำมอบ การบริหารให้เขาดู
ผมบอก เทคโนโลยี เราซื้อได้ทุกวันหากเรามีเงิน แม้แต่ช่างเราก็ซื้อได้ หากเรามีเงินนะ
แต่ว่าอันหนึ่งที่เราซื้อไม่ได้คือเรื่องของ operation technology เพราะฉะนั้นเรื่องของ
NSM นี่ผมถือว่าเป็นชิ้นโบ แดงอย่างหนึ่ง เป็นการแลกหมัดที่ถือ ว่าค่อนข้างจะสมน้ำสมเนื้อ
นี่คือตัว อย่าง"
กรณี NSM เป็นเรื่องที่สวัสดิ์ทำใจยอมรับได้แล้วโดยผ่านกระบวนการเจรจาที่ใช้เวลานานพอสมควรเขา
ยอมรับความเป็นจริงว่า "การประนอม หนี้ต้องเกิดขึ้น มันเป็นกรรมของเราที่ร่วมกันก่อ
ทั้งรัฐบาลแบงก์ชาติเองก็เป็นคนช่วยกันก่อกับเราเหมือนกัน นี่พูดตรงๆ เพราะฉะนั้น
ณ วันนี้ต้องร่วมมือกัน หันหน้าเขาหากัน รู้จักคำว่า ถอยกันคนละก้าวเพื่อซื้ออนาคตร่วมกัน
ผมอยากเห็นในจุดนี้มาก"
เขายิ่งพูดก็เหมือนยิ่งยอมรับหลักความจริงที่ว่าหากจะก้าวเดินหน้าต่อไป
มีถนนอยู่สายเดียวเท่านั้นและ บนถนนสายนี้ ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันทำ "ต้องทำพร้อมๆ
กัน ในการเจรจานี่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยที่เพิ่ม พูนที่เราไม่ได้จ่าย
กับค่าเงินบาทที่เปลี่ยนแปลง อันนี้ต้องมาเจรจาว่าจะถอยกันอย่างไร"
ส่วนเรื่อง NTS นั้นเขาเล่าว่า "ผมเป็นลูกหนี้อยู่พันกว่าล้านบาท วิธีที่ผมจะประนอมหนี้กับเขา
ง่ายมาก ผมไม่เข้าใจ london approach หรือ อะไรนั่นหรอก ผมเข้าใจแต่ สำเพ็งกับ
คลองถม approach เราคุยกันเพราะ ว่าเจ้าหนี้นั้นมีประสบการณ์มา 20-30 ปี
ในเรื่องของมาร์เก็ตติ้ง ผมก็ต้องมาคุยกับเขา หนี้เก่าพักไว้ก่อน หนี้ใหม่ที่จะทำธุรกิจต่อไปจ่ายสดได้ไหม
favour ผมนิดหนึ่ง คุณจ่ายผมแล้วผมส่งของได้ไหม จนกระทั่งพระอาทิตย์ ขึ้นพร้อมๆ
กันเมื่อไหร่ เราก็มานั่งคุยกันถึงหนี้เก่า นี่คือสิ่งที่ภาคเอกชนประนอมหนี้
แต่ถามว่าถูกหลักการของ แบงก์ชาติที่ตั้งกติกาไหม ไม่ถูก เวลานี้ NTS มีคอนโดฯ
ที่ดิน มีเหรียญ รัชกาลที่ 5 อยู่มาก เหรียญที่ระลึกพระราชอาคันตุกะของในหลวงฯ
ก็มี เหรียญนี่ผมก็ตี 100,000 บาท, 200,000 บาท ผมไม่รู้หาราคามาจากไหน ผมก็
ต้องรับมาหลายล้านบาท ผมไม่อยากบอกว่าใครนะครับ ผมก็รับมา เจ้าของ ก็เสียดาย
ใช้หนี้มา ผมก็เก็บเอาไว้ก่อน ก็คือวิธีการประนีประนอม ผมใช้คำว่าประนีประนอม
คือ ประนอมอย่างเดียวไม่ได้ มันต้องมีความปรานีด้วย"
นี่คือตัวอย่าง 2 ธุรกิจหลักของ เขาที่มีความคืบหน้าเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ไปบ้างแล้ว
แม้ NTS ยังไม่สำเร็จและ NSM ยังมีอุปสรรครอบสองก็ตาม(โรงงานหยุดผลิตชั่วคราว
รอหาพันธมิตรรายใหม่)
แต่ความเข้าใจในความเป็นไปของชีวิตและการดำเนินธุรกิจรวมทั้งวงจรเศรษฐกิจ
ทำให้สวัสดิ์ยังเดินหน้า ต่อไปเรื่อยๆ
เขากลับจากซูริกเมื่อหลายเดือน ก่อน เป็นการเดินทางเพื่อไปอธิบายภาพเหตุการณ์กิจการของเขาให้เจ้าหนี้ฟัง
เขาเล่าว่า "ผมออกจากไทยวันอาทิตย์ ถึงซูริกจันทร์เช้า บ่ายขึ้นเวทีไปผัดหนี้
ไปอภิปรายกับเจ้าหนี้ผม พวก note holder กับ bond holder อธิบายให้เขาทราบว่าอะไรเกิดขึ้นกับอุตสาห-กรรมเหล็กในประเทศไทย
ไปเพื่อขอให้ เขาอยู่เฉยๆ stand still อย่าเพิ่งฟ้อง
ที่ผมไปเพราะว่าผมได้คุยกับแบงก์ในนี้ ขอให้อยู่เฉยๆ ทั้งหมด 10 กว่าสถาบัน
ทั้งแบงก์ ไฟแนนซ์ ใช้เวลากว่า 6 เดือน แต่โชคดีที่ได้สถาบัน กลางคือแบงก์ชาติ
มาช่วยไกล่เกลี่ย อยู่เฉยๆ เพราะอะไรรู้ไหม ผมต้องเอา จดหมายที่ขอให้แบงก์ไทยอยู่เฉยๆ
นี่ เอาไปให้แบงก์ฝรั่งขอให้เขาอยู่เฉยๆ เหมือนกัน เพื่อให้ผมมาจัดปรับโครงสร้างหนี้
เพื่อหาทุนใหม่ ผู้บริหารเมือง นอกที่เขาจะมาช่วยเราใหม่ ไม่งั้นฝรั่งเมืองนอกเขาก็ไม่ทำ
เพราะว่าทำแล้ว เกิดคนไหนฟ้องมานี่ เขาก็เหนื่อยฟรี เพราะว่าตอนที่ทำผมไม่มี
up-front ให้ ผมไม่จ่ายล่วงหน้าให้ พอเสร็จปุ๊บ สำเร็จค่อยเอา commission
ไป
นี่คือสิ่งที่ผมเจรจา เพราะงั้นผมเชื่อแน่ว่าหากพวกเรามีความตั้งใจที่จะหาทางดำรงธุรกิจของเราต่อไป
ผมคิดว่า ณ วันนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้นอกหรือไทย เราเห็นสัจธรรมกันแล้ว"
ถึงวันนี้สวัสดิ์ยังต้องวิ่งไปตามเส้นทางชีวิตธุรกิจ เขายอมรับแล้วว่ามันมีอยู่ทางเดียวเท่านั้นคือการเจรจา
เพราะตอนนี้เขาทำใจยอมรับความจริงไปได้แล้ว ยอมถอยหนึ่งก้าว หรืออาจ จะต้องมากกว่านั้น
หากว่าก้าวเดียวไม่เพียงพอ