เศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกดูเหมือนดีขึ้นกว่าเมื่อสามปีก่อนแล้ว แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าทุกประเทศพ้นจากสภาพวิกฤติอย่างสิ้นเชิง
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะหากดูจากกรณีของอินโดนีเซีย ไทย และฟิลิปปินส์แล้วจะพบ
ว่าทั้งสามประเทศยังไม่สามารถสะสางปัญหาหนี้เสียได้ถึงระดับ ที่น่าพอใจ และแม้ว่าทั้งสามประเทศจะคาดหมายอัตราเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
(จีดีพี) อยู่ ที่ราว 3-6% ในปีนี้ แต่ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา สถานการณ์การเงินกลับง่อนแง่น
ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย ที่เคยปิด ที่ระดับสูงกว่า 7,000 รูเปียต่อดอลลาร์
เมื่อปลายปีที่แล้ว ขณะนี้ตกลงอยู่ ที่ราว 9,000 รูเปียต่อดอลลาร์ เงินบาท ที่เคยอยู่ในระดับ
36 บาทต่อดอลลาร์ตกลงมา ที่ต่ำกว่า 41 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งนับเป็นการอ่อนค่าที่สุดในรอบ
10 เดือน ขณะที่เงินเปโซของฟิลิปปินส์ลดลงราว 11% จากระดับสูงสุดเมื่อเดือนมกราคม ที่ผ่านมา
โดยอยู่ ที่ราว 45 เปโซต่อดอลลาร์
เมื่อสามปีก่อน นักลงทุนพากันหนีหายจากตลาดเอเชีย ไปเพราะความหวาดวิตกกับสภาพเศรษฐกิจ ที่เต็มไปด้วยหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และการลงทุนเกินขนาด
โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่ประเด็น ที่นักลงทุนกำลังหวาดวิตกอยู่ในขณะนี้คือ
เรื่องเสถียรภาพทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความรุนแรงในอินโดนีเซีย ความล้มเหลวในการบริหารประเทศของฟิลิปปินส์ในช่วงสองปีที่ผ่านมา
และความไร้ทิศทางของการเลือกตั้งใหม่ในไทย
สาเหตุที่นักลงทุนหันมาสนใจประเด็นทางการเมืองก็เพราะเห็นถึงความล้มเหลวของรัฐบาลต่างๆ
ในการกอบกู้วิกฤติทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการปัญหาหนี้สินของอินโดนีเซีย
ขณะที่การแก้ปัญหาของหนี้เสียของไทยก็คืบหน้าไปไม่มากนัก โดยเฉพาะในกรณีธนาคารดีบีเอสไทยทนุ
ซึ่งมีดีบีเอสแห่งสิงคโปร์ถือหุ้นบางส่วนอยู่ และดีบีเอสประกาศว่าจะขายหนี้เสีย
30.6 พันล้านบาทให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียกชำระหนี้ 2 แห่งคือ เนชันแนล
ไฟแนนซ์ และหน่วยงานในเครือของเลห์แมน บราเธอร์สแห่งอเมริกา ซึ่งโดยหลักการแล้วเข้าทีเพราะทำให้ธนาคาร
ตระหนักถึงภาระขาดทุน มุ่งหน้าทำธุรกิจให้ก้าวหน้าขึ้น ทว่า สิ่งที่ซ่อน
เร้นอยู่ก็คือ ราคาขายหนี้เสียดังกล่าว ที่อยู่ ที่เพียง 29% ของมูลค่า ที่ตราไว้
ซึ่งนับว่าเป็นอัตรา ที่ต่ำอย่างยิ่ง
ตัวเลขดังกล่าวเป็นการให้ส่วนลดของสำนักงานปรับโครงสร้างภาคการเงิน ซึ่งถูกมองว่าไม่สามารถสะสางภาระหนี้ของประเทศได้ดีเท่า ที่ควร
แม้ว่าจะมีการประมูลขายทอดตลาดสินทรัพย์ไปเมื่อหนึ่งปีที่ผ่านมาก็ตาม ยิ่งกว่านั้น
แม้ว่าไทยจะมีศาลล้มละลายกลาง และมีการปรับโครงสร้าง เพื่อจัดการกับปัญหาหนี้เสียแล้ว
แต่หลังจากค่าเงินบาททรุดดิ่งลง 3 ปี หนี้ ที่ไม่ก่อรายได้ของไทยก็ยังมีสัดส่วนกว่า
35% ของยอดรวม เนื่องจากหนี้ ที่มีการปรับโครงสร้างแล้วกลับกลายเป็นหนี้เสียซ้ำเป็นรอบ ที่สองหรือสามอีก
ส่วนในฟิลิปปินส์ ซึ่งไม่ได้เผชิญกับวิกฤติหนี้ต่างประเทศรุนแรงนักในช่วงปี
1997-1998 แต่ก็ยังต้องสะสาง ปัญหาของธนาคารชาติแห่งฟิลิปปินส์ (Philippines
National Bank) หรือพีเอ็นบีต่อไป หลังจาก ที่พีเอ็นบีปล่อยกู้เกินขนาดไปมหาศาล
และแม้ว่าได้ประมูลขายหุ้นส่วน ที่รัฐบาลถืออยู่ 30% ไปเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ก็มีผู้ประมูลรายเดียวคือ
ลูซิโอ ตัน ซึ่งเป็นพันธมิตรผู้ใกล้ชิดกับประธานาธิบดี อีกทั้งตันก็ถือหุ้นของพีเอ็นบีอยู่แล้วถึง
46% และหนี้ ที่มีปัญหาจำนวน มากก็มาจากบริษัทอื่นๆ ที่ตันควบคุมอยู่นั่นเอง
เมื่อต้นเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา ไอเอ็มเอฟได้อนุมัติวงเงินกู้ยืมให้รัฐบาลฟิลิปปินส์อีก
314 ล้านดอลลาร์ แต่ข่าวการประมูลขายหุ้นของ พีเอ็นบีก็สร้างความความหวาดวิตกให้กับบรรดานักลงทุน ที่เกรงว่าการเล่นพรรคเล่นพวกในหมู่รัฐบาลจะยังดำเนินต่อไป
นอกจากนั้น แล้ว แม้แต่ในมาเลเซียเอง ก็ยังคงมีความวิตกกันในเรื่อง ที่รัฐบาลจะสะสางหนี้เสียอยู่เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลประสบความสำเร็จกับการสะสางหนี้เสียได้บางส่วน
ก็ทำให้การคาดหมายเศรษฐกิจมาเลเซียในระยะสั้น เป็นไปในทางที่ดี
ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกมีปัญหาหนี้ ที่ต้องสะสางกันต่อไปเช่นกัน แม้ว่าจะไม่รุนแรงเท่ากับสามประเทศดังกล่าวข้างต้นก็ตาม
อย่างในกรณีเกาหลีใต้ กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ ที่รู้จักกันดีในชื่อ "แชโบล"
ได้ส่งสัญญาณเตือนบางประการ เมื่อต้นเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา ว่าหลังจาก ที่กลุ่มแชโบลได้ปรับปรุงบัญชีใหม่แล้วก็พบว่ากิจการต่างๆ
ไม่บรรลุผลสำเร็จในการลดสัดส่วนของหนี้ต่อทุนให้ได้ตามเป้าหมาย ที่ 200% ในรอบสิ้นปีที่ผ่านมา
แต่กระนั้น ก็ตาม รัฐบาลเกาหลีใต้ก็นับว่าสามารถสะสางหนี้เสียได้ดีกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคนี้แล้ว
จริงอยู่ ที่ลำพังปัญหาหนี้เสียไม่ได้ฉุดรั้งให้อินโดนีเซีย ไทย และฟิลิปปินส์หยุดการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไว้ทั้งหมด
เพราะภาคการส่งออกของทั้งสามประเทศยังเข้มแข็ง และความ สำเร็จของประเทศ เพื่อนบ้าน
ที่ร่ำรวยกว่าก็ช่วยพยุงเศรษฐกิจ ของภูมิภาคไว้ได้ และหากค่าเงินไม่ทรุดดิ่งลงไปกว่านี้
การใช้จ่ายของผู้บริโภค ที่เพิ่มขึ้นในอินโดนีเซีย และไทยก็จะช่วยให้เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นได้ต่อไป
แต่หากประเทศเหล่านี้ไม่สามารถ จัดการกับปัญหาหนี้เสียได้ลุล่วงแล้ว ในท้ายที่สุดก็จะฉุดรั้งเศรษฐกิจให้ถดถอยอีก
เนาวนิจ สิริผาติวิรัตน์ เรียบเรียงจาก The Economist August : 5 สิงหาคม
2000