Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2542
คืนที่ฝันร้ายของวิชัย กฤษดาธานนท์             
 


   
search resources

กฤษดามหานคร, บมจ.
วิชัย กฤษดาธานนท์




วิชัย กฤษดาธานนท์ คงเป็นนัก ธุรกิจผู้ที่ประสบกับฝันร้ายมาตลอดระยะเวลา 6-7 ปีที่ผ่านมาอีกรายหนึ่ง ล่าสุดในเดือนมีนาคม 2542 เมื่อทางตลาดหลักทรัพย์ ได้แจ้งว่า กฤษดามหานคร จำกัด(มหาชน) เป็น บริษัทพัฒนาที่ดิน 1 ใน 3 บริษัทที่เข้าข่ายอาจจะถูกเพิกถอนออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ต้องเสนอแผนฟื้น ฟูให้ตลาดฯโดยเร็ว เช่นเดียวกับอีก 2 บริษัทคือไรมอนแลนด์ และบริษัท แนเชอรัลพาร์ค

ในปี 2540 กฤษดาฯ ยังสามารถทำยอดขายได้ประมาณ 1,100 ล้านบาท แต่พอมาในปี 2541 ทำราย ได้จากการขายได้เพียง 170 กว่าล้าน บาทเท่านั้น ส่งผลให้ประสบกับภาวะ ขาดทุนถึง 2,051 ล้านบาท

จะว่าไปแล้ว ที่จริงวิชัยเริ่มจะนอนไม่หลับติดต่อมาตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 22 เมษายน 2536 เมื่อเอก-กมล คีรีวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรม การกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ในเวลานั้น ได้ออกมาแถลงข่าว สงสัยพฤติกรรมของวิชัยว่าเป็นผู้ที่ทำการปั่นหุ้นสร้างราคาของกฤษดา มหานคร

เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้วิชัย ประกาศลาออกจากตำแหน่งกรรมการ ผู้จัดการของบริษัท โดยปล่อยให้บทบาทการบริหารตกอยู่กับ ธเนศวร์ สิงคาลวณิช ผู้เป็นรองกรรมการผู้จัดการนับแต่นั้นเป็นต้นมา โดยมีขุนพลเก่าแก่คือพิภพ บุศราคัมวดี และโกศล กลมกล่อม เป็นผู้ช่วยคนสำคัญ ต่อมาประมาณกลางปี 2541 ผู้ดูแลด้านการตลาดมือฉมังคือ พิภพนั้นได้ลาออกไป

อย่างไรก็ตามเป็นที่รู้กันว่าวิชัยเองยังไม่ได้หนีหายไปไหน เพียงแต่ยิ่งทำตัวเงียบลงกว่าที่ผ่านมาเท่านั้น

หลังจากฝันร้ายคืนนั้น วิชัยก็ยังเจอศึกหนักอย่างไม่คาดคิดมาอย่างหนักหน่วงต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยเฉพาะเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อกลางปี 2540 วันที่รัฐบาลสั่งปิดบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไอทีเอฟ ซึ่งวิชัยได้ไปเทกโอเวอร์มาจากจากกองทุนฟื้นฟูฯ เมื่อปี 2535 และสามารถทำให้มันมีภาพที่เติบโตขึ้นกลายเป็นแหล่งเงินก้อนใหญ่ ในการดึงออกมาสูบฉีดโครงการพัฒนาที่ดินต่างๆ มาตลอด

เท่านั้นยังไม่พอ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ซิทก้า และ บริษัทมหานครทรัสต์ ซึ่งกฤษดานครเข้าไปถือหุ้น และเป็นสายป่านทางการเงินอีก 2 บริษัทก็ถูกสั่งปิดไปพร้อมๆ กันเมื่อเดือนสิงหาคม 2540

คราวนี้ไม่ใช่วิชัยฝันร้ายคนเดียว แต่รวมไปถึงพนักงานและผู้ถือหุ้นอีกหลายพันคน ที่พลอยกระสับกระส่ายไปด้วย

จะว่าไปแล้วก่อนที่จะมีปัญหาเรื่องสถาบันการเงิน กฤษดาฯ เองก็ตกอยู่ในฐานะเสือลำบากตัวหนึ่งอยู่แล้วเพราะในประมาณปี 2538-2539 นั้น ภาวะการขายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะโครงการบ้านราคาแพงซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของบริษัทนั้นเริ่มขายได้ยากขึ้น ทีมงานต้องเฟ้นหากลยุทธ์การขายต่างๆ ทยอยออกมาใช้ฟาดฟันกันอย่างหนักหน่วง เช่น การลดราคา เพิ่มระยะเวลา การดาวน์ และเมื่อมีปัญหาเรื่องปิดสถาบันการเงินประดังเข้า
มาในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2540 นั้นกฤษดาฯ ก็ยิ่งยอมลดราคาลงมาถึง 35% หลังจากนั้นก็มีมหกรรมลดราคาอย่าง ต่อเนื่องจนกระทั่งยอมลดลงถึง 50% ในโครงการธานนท์กอล์ฟแอนด์สปอร์ตคลับซึ่งเป็นบ้านหรูหราราคาแพงติดสนามกอล์ฟ

เรียกว่ายอมทำทุกอย่างเพื่อลดภาระหนี้สิน และเพื่อให้มีเงินสดหมุนเวียนเข้ามาในบริษัท พร้อมๆ กับการลดพนักงาน และลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการบริหาร

ในปี 2541 นั้นแม้จะพยายามทำทุกอย่างแล้วเพื่อให้โครงการขายได้ สถานการณ์ต่างๆ ของบริษัทก็ยังไม่ดีขึ้น เพราะภาวะการเงินที่ตกต่ำอย่างรุนแรงรวมทั้งปัญหาคนตกงานทำให้โครงการยิ่งขายยากขึ้นๆ ทุกวัน อีกทั้งยังมีบ้านอีกจำนวนมากที่ครบกำหนดโอนแต่ลูกค้าก็ไม่ยอมมาโอน

วิชัยมีเงินกู้ระยะยาวที่ต้องชำระในปี 2540-2543 ถึง 7 พันกว่าล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินกู้ยืมต่างประเทศจำนวน 78.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งครบกำหนดชำระคืนทั้งสิ้นภายใน
ปี 2543

ดังนั้นสิ่งที่วิชัยทำได้อย่างเดียวขณะนี้ก็คือพยายามประนอมหนี้ จัดโครงสร้างและเงื่อนไขการกู้ยืมใหม่ รวมทั้งขอผ่อนผันเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่ผิดนัดชำระพร้อมๆ กับการโหมลดราคาสินค้าที่ยังคงเหลืออย่างหนัก

วันนี้วิชัยประกาศลดราคาให้สำหรับผู้ซื้อเงินสดถึง 60% ในโครงการบ้านหลุดดาวน์ที่โครงการ กฤษดาไพรเวทเลค แอนด์พาร์ค โครงการกฤษดามารีน่า ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นโครงการของมหาเศรษฐี ที่ไม่มีเงินมาโอน ระดับราคา 5 ล้านบาทขึ้นไป ถึง 25 ล้านบาท ส่วนลดพิเศษ เริ่มตั้งแต่ 3 ล้านบาท -11 ล้านบาท โดย เฉพาะโครงการกฤษดาซิตี้กอล์ฟฮิลล์ หรือโครงการกฤษดานคร 16 บนถนนปิ่นเกล้านครชัยศรีนั้น เป็นโครง การของอภิมหาเศรษฐีโดยเฉพาะราคา 6 ล้านขึ้นไปถึง 65 ล้านบาท เช่นบ้าน เกศกานดาพื้นที่ 381 ตารางวา ราคา 65 ล้านบาท ก็จะได้ส่วนลดทันที 39 ล้านบาท เหลือเพียง 26 ล้านบาท เท่านั้น

รวมทั้งโครงการกฤษดาคอนโดเทล คอนโดตากอากาศ ที่กำลังโหมลดราคาอย่างหนักเช่นกัน วิชัยเองยังหวังว่า ชื่อเสียงและประสบ การณ์ต่างๆ ที่เขาสร้างสมมาเกือบ 3 ทศวรรษนั้นคงสามารถดึงให้คนมีเงินที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยจริงตัดสินใจซื้อเสียที เม็ดเงินที่เข้ามาอาจจะทำให้เขาฝันดีได้บ้าง เพราะถ้าหากรอให้เศรษฐกิจดีขึ้น ก็คงไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ แต่คงนานนักไม่ได้เพราะวันนี้ก็เท่ากับเขายืนอยู่บนชะง่อนผาที่สูงชันเต็มทีแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us