Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2542
คุณหญิงมณีได้ผู้ร่วมทุนใหม่ สานต่อโครงการยักษ์ของตระกูล             
 


   
search resources

กลุ่มมณียา
มณี สิริวรสาร




ในขณะที่หนังสือ "ชีวิตเหมือน ฝัน" ของคุณหญิงมณี สิริวรสาร กำลังเป็นที่พูดถึง ในชีวิตจริงการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของคุณหญิงก็กำลังเป็นที่สนใจ ราวกับว่าเป็นหนังสืออีกภาคหนึ่งที่น่าติด ตามเช่นกัน

คุณหญิงมณีเป็นผู้ที่ได้รับมรดกมาจากพระบาทสมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เพราะใน อดีตคุณหญิงคือชายาของพระองค์ เจ้าจิรศักดิ์สุประภาติ ซึ่งเป็นโอรสบุญธรรมของพระองค์ แต่เมื่อพระองค์เจ้าจิรศักดิ์ฯ ได้สิ้นชีพไปตั้งแต่ วัย 25 ชันษา มรดกก็เลยตกมาเป็น ของหม่อมมณีซึ่งท่านเคยเล่าไว้ในหนังสือ "ชีวิตเหมือนฝัน" ว่า ทรัพย์ สินซึ่งเป็นที่ดินที่ท่านต้องจับฉลากแบ่งกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพฯ นั้นมีทั้งหมด 20 แปลง ไม่นับแปลงที่เป็นที่ตั้งของวังสุโขทัย และแปลงบนถนนเพลินจิต เพราะ 2 แปลง นี้ได้นำมาแลกเปลี่ยนกัน โดยแปลงที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยานั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ส่วนที่ดินประมาณ 10 ไร่ที่ถนนเพลินจิตนั้นเป็นของคุณหญิงมณี

คุณหญิงมณียอมรับว่าท่านไม่มีหัวทางด้านธุรกิจ ดังนั้นหลังจากได้รับมรดกมาแล้วก็ไม่ได้มีการนำมาพัฒนา เพื่อให้รายได้งอกเงยไปมากกว่าการเก็บค่าเช่าตึกแถว และค่าเช่าที่ เพียงเดือนละไม่กี่หมื่นบาท

แต่ต่อมาภายหลังเมื่อคุณหญิงมณีแต่งงานใหม่กับนายแพทย์ ปชา สิริวรสาร ก็ได้มีความคิดที่จะพัฒนาที่ดิน ขึ้น โดยโครงการแรกก็คือการสร้างอาคารมณียาสูง 7 ชั้นซึ่ง เป็นที่ดินในบริเวณบ้านบนถนนเพลินจิต ผลก็คือประสบความสำเร็จอย่างดี มีผู้เช่าจองเต็มทุกชั้นและใช้เวลาเพียง 2 ปีก็คืนทุน

อีก 3 ปีต่อมาอาคาร "สิริณี" ซึ่งเป็นโครงการที่ 2 ก็เกิดขึ้น คราวนี้ด้วยความมั่นใจก็เลยสร้างเป็นตึกสูงถึง 10 ชั้น และก็สามารถประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับโครงการแรก สามารถคืนทุนได้ภายในระยะประมาณ 2 ปีเช่นกัน

เม็ดเงินที่ได้นำมาลงทุนในการก่อสร้างตึกทั้ง 2 หลังนั้นคุณหญิงมณีใช้วิธีขายที่ดินแปลงอื่นไปเมื่อได้เงินสดมาก็เอามาลงทุน ไม่ได้กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ไม่ต้องมีการจ่ายดอกเบี้ย ในขณะที่ที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้างก็เป็นของ ตนเอง ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่สามารถคืนทุนได้อย่างรวดเร็ว เมื่อม.ร.ว.ทินศักดิ์ ศักดิเดช ภานุพันธ์ ลูกชายคนที่ 2 ซึ่ง เคยทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อยู่ที่อเมริกากลับมาช่วยคุณหญิง บริหารที่ดินซึ่งเป็นมรดก ก็ได้นำวิธีคิดแบบสากลมาใช้คือการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินมาลงทุน

ม.ร.ว.ทินศักดิ์ ได้สมรสกับศิริกาญจน์ ศรีกาญจนา ลูกสาวของพยัพ แห่งกลุ่มอาคเนย์ โครงการพัฒนาที่ดินของคุณหญิงจึงได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจัง โดยมีบุตรชายและสะใภ้เป็นตัวหลักที่สำคัญ

ในปี 2537 กลุ่มมณียา มีการขยายงานไปลงทุนในบริษัทต่างๆ มากมายหลายบริษัทเช่นบริษัทรอยัลมณียา บริษัทภูมิทรัพย์ บริษัทมณียาหลังสวน บริษัทมณียาแอนด์ แอสโซซิเอทส์ บริษัทเมเนซองมณียา และสุขุมวิทเรียลตี้

การเข้าไปขยายการลงทุนอย่างมากมายนั่นเอง ทำให้ ในปี 2538 ได้มีการเพิ่มทุนจาก 5 ล้านบาทเป็น 500 ล้านบาท ผู้ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัทมณียาเรียลตี้ ได้แก่ คุณหญิงมณี ลูกชายทั้งสองคือ ม.ร.ว.เดชนศักดิ์, ม.ร.ว. ทินศักดิ์, ลูกสะใภ้คือศิริกาญจน์, ม.ร.ว.อรมณี ซึ่งเป็นบุตรสาว และบุตร บุญธรรมทั้งสองคือภาณุพลและภาณินี สิริวรสาร ส่วนผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ก็คือ จุลพยัพ ศรีกาญจนา, ม.ร.ว.ดำรงดิศ ดิศกุล, นายสนิท ก.เจริญกุล, วุฒิสาร เดโชชวลิต และสีห์ เฟื่องฟู

การลงทุนที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอาคารสูงให้เช่าในเขตใจกลางเมือง มี ESPLANADE โครงการเดียวเท่านั้นที่ทำเป็น คอนโดตากอากาศที่ต่างจังหวัด และที่สำคัญส่วนใหญ่จะเป็น การร่วมลงทุนกับกลุ่มอื่นเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงระดับหนึ่ง

ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะตกต่ำของอสังหาริมทรัพย์ก็ดูราว กับว่ากลุ่มมณียาเรียลตี้ไม่เจ็บตัวเท่าไหร่นัก ถ้าหากไม่ตัดสินใจพัฒนาโครงการใหญ่ที่ชื่อ "รอยัลราชดำริ" บนที่ดินส่วนหนึ่งที่เหลืออยู่บนถนนเพลินจิต รวมทั้งที่ดินซึ่งเป็น ของสำนักงานทรัพย์สินด้วย ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 3-4 พันล้านบาท โครงการนี้เริ่มต้นก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2537 และได้หยุดการก่อสร้างมาร่วม 2 ปีแล้ว

เดิมรอยัลราชดำริได้ร่วมทุนกับคุณหญิงศศิมา ศรีวิกรม์ ในสัดส่วน 50% แต่เมื่อคุณหญิงศศิมาต้องเจอกับ มรสุมลูกใหญ่ทางด้านธุรกิจจนมีปัญหาทางด้านการเงิน ก็ได้ มีการขอซื้อหุ้นทั้งหมดกลับคืนมาและขณะนี้ก็ได้ผู้ร่วมทุนใหม่แล้ว เป็นนักลงทุนชาวอเมริกัน ที่เคยทำธุรกิจด้านเรียลเอสเตท โดย ได้มีการติดต่อผ่านตัวแทนทางเมืองไทยและศึกษาโครงการมานานเป็นเวลาประมาณ 1 ปีแล้ว

ล่าสุดได้มีการเซ็นสัญญาที่จะร่วมกันทำธุรกิจเมื่อปลายเดือน มีนาคม 2542 ที่ผ่านมาคาดว่าไม่เกิน 5 เดือนเพื่อรอการเปลี่ยนแปลงแก้ไข รายละเอียดของแบบใหม่ให้เสร็จเรียบร้อย เครนตัวใหญ่ยักษ์ก็จะเริ่ม เดินเครื่องสร้างโครงการต่อไป

รูปแบบโครงการใหม่ที่จะเกิด ขึ้นเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว ที่มีทั้งศูนย์การค้า และคอนโดมิเนียมความ สูงทั้งหมด 50 ชั้น

วันนี้กลุ่มมณียาจึงได้มาถึงจุด สำคัญในการทำธุรกิจเรียลเอสเตทในที่ดินซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาเพราะ คงต้องใช้เวลาพอสมควรที่จะสรุปว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ ส่วนโครง การในที่ดินแปลงอื่นๆ นั้นคงต้องพับ เก็บไว้ก่อนแน่นอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us