Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2542
Volk-Audi ยังเชื่อมั่นยนตรกิจลงนามสัญญา CKD ประเดิม 2,000 คัน ปี'43             
 


   
search resources

ยนตรกิจ กรุ๊ป




หลังจากเงียบเหงามานานเพราะบริษัทบีเอ็มดับเบิลยูเข้า มาทำตลาดรถบีเอ็มดับเบิลยูด้วยตัวเอง แม้จะยังจ้างให้กลุ่มยนตรกิจผลิตรถบีเอ็มดับเบิลยูให้ในรุ่นซีรีส์ 5 ก็ตาม แต่กลุ่มยนตรกิจก็หลบหน้าหลบตาไม่ยอมโอภาปราศรัยต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

มาจนปลายเทศกาลสงกรานต์จึงแจ้งข่าวการเซ็นสัญญา เพื่อผลิตชิ้นส่วนในประเทศและประกอบรถยนต์โฟล์คสวาเกน พัสสาทใหม่ และรถยนต์ออดี้ เอ 6 ซึ่งจะเริ่มผลิตในเดือนมกราคม 2543 และนำออกจำหน่ายได้ในเดือนนั้น โดยมีเป้าหมายการผลิตรถพัสสาทใหม่ 1,500 คัน และรถออดี้ เอ 6 อีก 500 คัน และหากเศรษฐกิจไทยมีการ ขยายตัวดีขึ้น ทางกลุ่มก็ตั้งเป้าหมายไว้ด้วยว่าจะเพิ่มยอดการผลิตอีก 2-3 เท่าในปี 2546

พลกฤษณ์ ลีนุตพงษ์ กรรมการบริหารกลุ่มยนตรกิจ ผู้รับผิดชอบด้านโรงงานทั้ง 4 แห่งของกลุ่มและดูแลธุรกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ ของกลุ่มกล่าวว่า "วัตถุประสงค์เบื้องต้นของการประกอบรถยนต์ดังกล่าวก็เพื่อรองรับตลาดภายในประเทศ เป้าหมายการผลิตมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพในการประกอบมากกว่าเน้นเรื่องปริมาณ"

กลุ่มยนตรกิจมีประสบการณ์กว่า 20 ปีในอุตสาหกรรม ยานยนต์ในประเทศไทย โดยมีโรงงานประกอบรถยนต์ YMC Assembly ที่ลาดกระบัง ซึ่งจะใช้เป็นโรงงานเพื่อการผลิตรถพัสสาทใหม่ และออดี้ เอ 6 โรงงานแห่งนี้มีกำลังการผลิต รถยนต์ได้ทั้งสิ้น 30,000 คัน/ปี แต่ตอนนี้จะใช้กำลังการผลิตไม่เต็มที่ โดยเริ่มผลิตพัสสาทและออดี้ในปีหน้า 2,000 คัน/ปี ผลิตเปอโยต์ 406 และ 306 รวม 3,000 คัน/ปี (รุ่นละ 1,500 คัน/ปี) และรถบีเอ็มดับเบิลยู ซีรี่ส์ 5 อีก 2,000 คัน/ปี

เท่ากับมีการใช้กำลังการผลิตเพียง 7,000 คัน/ปี พลกฤษณ์กล่าวว่า "กำลังการผลิตที่มีอยู่นั้นเราเตรียมไว้รองรับ 5-7 ปีข้างหน้า แต่ในช่วงเศรษฐกิจดีๆ นั้น เราเคยประกอบถึง 10,000 คัน/ปี" นอกจากนี้กลุ่มยนตรกิจก็มีโรงงานในเครือที่ทำการผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ด้วยคือ ATP, โรงงาน YKI และโรงงาน OTC ซึ่งร่วมทุนกับญี่ปุ่น

พลกฤษณ์กล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่า "โฟล์คและยนตรกิจกำลังอยู่ระหว่างการศึกษารายการชิ้นส่วนในประเทศ 7 รายการ เพื่อดูว่าราคาของในประเทศถูกกว่าที่ผลิต จากต่างประเทศหรือไม่ และมีคุณภาพเป็นอย่างไร ซึ่งในการผลิตรถทั้งสองรุ่นนี้เรามีนโยบายการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ อยู่แล้ว แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถบอกสัดส่วนได้"

รายการชิ้นส่วนในประเทศที่อยู่ระหว่างการศึกษาได้แก่ ยาง (ดูระหว่างมิชลิน, บริดจสโตน และกู๊ดเยียร์), แบตเตอรี่, เบาะรถยนต์, วิทยุ, กระทะล้อ(แม็กซ์) และสายไฟ เป็นต้น ซึ่ง 2 รายการหลังกลุ่มยนตรกิจก็มีโรงงานผลิตอยู่แล้วทั้งนี้ พลกฤษณ์เล่าด้วยว่า "สัญญานี้ถือเป็นครั้งแรกที่โฟล์คเข้ามา ประกอบรถยนต์ในไทย เขาไม่มีความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม ชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยนัก เมื่อมาเห็นว่าไทยมีการประกอบชิ้นส่วนฯ อยู่มากก็รู้สึกทึ่ง แต่เขาก็ต้องตรวจสอบดูคุณภาพว่าได้ตามมาตรฐานของเขาหรือไม่"

สัญญาการผลิตชิ้นส่วนในประเทศและการประกอบรถยนต์ครั้งนี้เป็นแบบ rolling contract คือหากไม่มีการยกเลิก ก็สามารถต่ออายุสัญญาไปได้เรื่อยๆ ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่ กับความพอใจในผลการดำเนินงานของกลุ่มยนตรกิจว่าจะสามารถ ทำให้กลุ่มโฟล์คสวาเกนที่เป็นบริษัทรถยนต์อันดับ 1 ในยุโรปและอันดับ 3 ของโลกพึงพอใจเพียงใดในเรื่องยอดขาย การตลาดและการผลิต

ในแง่ของยอดขายและการตลาดนั้น วิทิต ลีนุตพงษ์ กรรมการบริหารซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงก็ยังคงปิดปากเงียบ รอเปิดเผยเมื่อมีการทำ commercial launch รถยนต์ ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะเป็นเมื่อใด แต่เขาแย้มว่าเรื่องราคารถยนต์ทั้งสองรุ่นที่ผลิตในประเทศนี้ จะน่าดึงดูดใจมาก

ดร.โรเบิร์ต บุคเคลโฮเฟอร์ กรรมการบริหารฝ่ายการตลาดและการขายของโฟล์คสวาเกน เอ จี และประธาน ประจำภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกให้ความเห็นว่า "กลุ่มโฟล์ค มีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทยมาก ผมเชื่อว่ายอดขายรถยนต์เริ่มปรับตัวดีขึ้นแล้วในปีนี้ และผมคิดว่าน่าจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป"

ทั้งนี้ ดร.บุคเคนโฮเฟอร์เห็นว่าตลาดเอเชียแปซิฟิกเป็นตลาดที่มีศักยภาพมากที่สุดแห่งหนึ่ง สำหรับการเติบโตในระยะยาว และเขาต้องการเพิ่มความมั่นคงให้แก่ตำแหน่ง ทางการตลาดของโฟล์คและออดี้ในภูมิภาคนี้ เขาเปิดเผยว่ากลุ่มโฟล์คมีลูกค้าในไทยประมาณ 25,000 คัน โดยในเอเชีย นั้นมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น 5.5% ในปี 2541 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่มีส่วนแบ่งฯ อยู่ในระดับ 4.5%

ด้านส่วนแบ่งในตลาดโลกนั้นก็เพิ่มขึ้นจาก 10.4% มา เป็น 11.4% ในปี 2541 จริงๆ แล้วกลุ่มโฟล์คตั้งเป้าหมายส่วน แบ่งตลาดโลกที่ 10% ตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อน แต่สามารถทำได้ เกินเป้าหมาย มาปีนี้กลุ่มฯ ตั้งเป้าหมายในตลาดโลกไว้ 12%

ดร.บุคเคนโฮเฟอร์กล่าวถึงการแข่งขันที่มีในทุกตลาด ว่า "การที่มีคู่แข่งในแต่ละตลาดเท่ากับเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าตลาดนั้นๆ มีความสำคัญจริง เราอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันอยู่ตลอดเวลาและเรามียุทธวิธีต่อสู้กับการแข่งขันอย่างเข้มข้น"

ยุทธวิธีอย่างหนึ่งของกลุ่มโฟล์คฯ ก็คือการเสนอสินค้าให้หลากหลายที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีรถยนต์สำหรับ ตลาดแต่ละส่วน แม้จะเป็นตลาดลูกค้าเฉพาะที่เล็กที่สุดก็ตาม (niche market) ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากลุ่มโฟล์ค พยายามดำเนินยุทธวิธีนี้

ทั้งนี้กลุ่มโฟล์คเป็นกลุ่มที่มีแบรนด์รถยนต์หลายยี่ห้อ มาก และแต่ละยี่ห้อก็มีฐานลูกค้าที่เข้มแข็ง ได้แก่ ออดี้ เบนท์ลีย์ บูกัตติ ลัมบอร์กินนี่ โรลส์รอยซ์ เซียท สโกด้า โฟล์คสวาเกน และโฟล์คสวาเกนเพื่อการพาณิชย์

"ยี่ห้อเหล่านี้มีรถยนต์ทุกประเภทซึ่งล้วนแล้วแต่มีรูปลักษณ์น่าดึงดูดใจ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ขนาดเล็กไปจนถึงรถยนต์หรูหราหรือแม้แต่กระทั่งรถบรรทุกก็ตาม"

สำหรับยนตรกิจนั้น การประกาศให้ความร่วมมือในการผลิตจากกลุ่มโฟล์ค ถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของกลุ่มที่สามารถมัดใจกลุ่มผู้บริหารโฟล์ค ให้มอบการสนับสนุนและความไว้วางใจแก่ยนตรกิจในการดำเนินการผลิตและการตลาด ต่อไป พลกฤษณ์กล่าวตอนหนึ่งว่า "ผลจากความร่วมมือในครั้งนี้จะถูกใช้เป็นบรรทัดฐานเพื่อกำหนด เป็นมาตรฐานต่อไปในอนาคตสำหรับการประกอบรถยนต์ CKD ในประเทศอื่นๆ"

ในการดำเนินการผลิตรถยนต์ทั้งสองรุ่นดังกล่าวนั้น กลุ่มยนตรกิจต้องลงทุนแต่ฝ่ายเดียวเป็นเม็ดเงินประมาณ 10 ล้านมาร์กเยอรมันเพื่อเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตบางอย่างคือลงทุน เรื่องการประกอบตัวถังประมาณ 80% ทั้งนี้โฟล์คจะถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ในเรื่องเชื่อมตัวถังรถยนต์ด้วยแสงเลเซอร์ (Laser Beam Welding) และคอมพิว เตอร์ ออกแบบสำหรับการสร้างจิกเพื่อการประกอบรถยนต์ ส่วนเม็ดเงินที่เหลือใช้ในการสร้าง paint shop และการปรับปรุงการประกอบรายการที่แตกต่างจากรถยนต์อื่นๆ

อนึ่ง เทคโนโลยี LBW นี้ถูกจำกัดการใช้งาน เฉพาะกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์เพื่อการแข่งขันรถยนต์แบบฟอร์มูล่า 1 หรือเพื่อผลิตรถต้นแบบเท่านั้น เพราะมีต้นทุนสูง มีกรรม วิธีที่ซับซ้อน แต่วิศวกรโฟล์คสวาเกนได้พัฒนาและปรับปรุง จนสามารถนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในกระบวนการผลิตรถยนต์เชิงอุตสาหกรรม และพัสสาทใหม่ เป็นรถยนต์รุ่นแรกจากโฟล์คที่ใช้เทคโนโลยีนี้

ส่วนกลุ่มโฟล์คนั้น แม้จะมีโรงงานร่วมทุน 2 แห่งใน จีนและประสบความสำเร็จในตลาดแห่งนี้สูง แต่การลงทุนในไทยก็ถือเป็นแนวทางใหม่ที่สำคัญอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการมองตลาดและการคาดหมายของกลุ่มถูกต้อง โฟล์คคงจะเติบโตได้อีกมาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us