Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543
เกาะน่าซื้อใน ภูเก็ต             
 


   
search resources

Real Estate




น่านน้ำทะเลอันดามัน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต มีเกาะน้อยใหญ่ ที่เหมาะแก่การพักผ่อน หรือท่องเที่ยว และสามารถเข้าไปจับจองซื้อหา ที่ดิน ได้อย่างถูกต้องหลายเกาะ

เ ก า ะ ร า ช า ใ ห ญ่

"เกาะราชาใหญ่ "เป็นหนึ่งในหลายเกาะ ที่อยู่ในความสนใจของนักลงทุน ที่จะเข้าไปพัฒนาด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการลงทุนด้านโรงแรม ที่พัก และรีสอร์ต

เกาะราชาใหญ่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะภูเก็ต ห่างจากเกาะภูเก็ตประมาณ 15 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งเกาะกว่า 3,000 ตารางกิโลเมตร มีพื้นราบ และเนินเขา ที่มีความสูงไม่มากนัก ชาวบ้านได้เข้าไปทำการจับจอง ที่ดินทำสวนมะพร้าว สวนผลไม้ และอาศัยอยู่ ที่เกาะราชาใหญ่ประมาณ 16 ครอบครัว ส่วนพื้นที่ราบ ที่อยู่ติดทะเลชาวบ้าน และนักลงทุนได้พัฒนาบางส่วนเป็นที่พัก และร้านอาหารสำหรับรองรับนักท่องเที่ยว

เกาะราชาใหญ่ถือว่ามีศักยภาพในการท่องเที่ยวมาก โดยเฉพาะชายหาด ที่มีความสวยงามตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก ของเกาะอยู่ระหว่างหุบเขา ชายหาดมีลักษณะคล้ายรูปเกือกม้า เรียกว่า "อ่าวน้ำตาตก" หรือ "อ่าวบังกาโล" มีหาดทรายขาวละเอียด น้ำทะเลใสสะอาดลักษณะคล้ายกับหมู่เกาะสิมิลัน ทางใต้ของอ่าวมีจุดชมวิว ซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพของเกาะได้ทั้งหมด นอก จากนี้ยังมี "อ่าวสยาม" "อ่าวทือ" และทางตะวันออกของเกาะยังมีอ่าวขอนแค ที่เหมาะสมสำหรับการดำน้ำดูปะการัง ซึ่งปัจจุบันเกาะราชาใหญ่ได้กลายเป็นแหล่งดำน้ำ ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในทะเลอันดามัน เพราะน้ำทะเลรอบเกาะใสตลอดทั้งปี และมีปะการัง ที่มีความสวยงาม และสัตว์น้ำต่างๆ ที่หายากต่างจากจุดดำน้ำอื่นๆ เช่น ปะการังเขากวาง และปะการังสกุลแข็งชนิดต่างๆ ปลาไหลทะเล ปลากระเบน ปลาปักเป้า ปลาหมึกยักษ์

นอกจากกิจกรรมดำน้ำลึก ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักของเกาะราชาใหญ่ ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีก เช่น ดำน้ำตื้น หรือ สน็อกเกอร์ริ่ง การตกปลา เป็นต้น

การเดินทางไปเกาะราชาใหญ่ สามารถใช้บริการบริษัททัวร์ ซึ่งมีบริการแพ็กเกจทัวร์ไปเกาะราชาใหญ่อยู่ 2 บริษัท คือ บริษัท ราชาไอส์แลนด์ทัวร์ จำกัด โดยมีเรือเร็วจะออกจาก ท่าเรืออ่าวฉลองบนเกาะภูเก็ตทุกวันในเวลา 9.00 น. ราคาทัวร์อยู่ ที่ 1,050 บาท ซึ่งเป็นราคา ที่รวมค่าเรือ อาหารเ ที่ยง และอุปกรณ์ดำน้ำแบบสน็อกเกอร์ริ่ง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที และบริษัท พาวน์เทรเวล จำกัด จัดแพ็กเกจทัวร์ในราคา 1,000 บาทต่อคน นอกจากนี้ยังมีเรือเร็วให้เช่าแบบเหมา ลำ ในราคาตั้งแต่ 5,000-8,000 บาท/วัน โดยจะมีเรือให้บริการตลอด ที่อ่าวฉลอง สำหรับคนที่ต้องการจะเดินทางไปดำน้ำ ก็สามารถ ที่จะติดต่อผ่านทางบริษัทดำน้ำในภูเก็ตได้ โดยราคา อยู่ ที่ 3,000-4,000 บาท/คน/วัน ใช้เวลาเดินทางโดยเรือของบริษัทดำน้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง

จาก ที่เกาะราชาใหญ่กลายเป็นแหล่งดำน้ำ ที่มีชื่อเสียง และการเดินทางค่อนข้างจะสะดวก ทำให้มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยเฉพาะยุโรปนิยม ที่จะเดินทางไปพักผ่อน ที่เกาะราชาใหญ่ ทำให้ปัจจุบันมีนักลงทุนทั้งชาวไทย และต่างชาติเข้า ไปลงทุนด้าน ที่พัก ที่เกาะราชา ทำให้มีรีสอร์ตทั้งหมด 4 แห่ง เกิดขึ้นบนเกาะราชาใหญ่ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นรีสอร์ตขนาดเล็ก ที่จำนวนห้องไม่เกิน 30 ห้อง โดยขณะนี้ ที่เกาะราชาใหญ่ มีห้องพักไม่เกิน 100 ห้อง เป็นการลงทุนจากชาวบ้าน ที่อาศัยอยู่ ที่เกาะราชาใหญ่ 1 ราย นักลงทุนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต 1 ราย ส่วน ที่เหลือ 1-2 รายเป็นรีสอร์ตของนักลงทุนต่างชาติประกอบด้วยรายา รีสอร์ท มีห้องพัก 20 ห้อง ราคา 800 บาท/คืน, บ้านรายา มีห้องพัก 24 ห้อง ราคาตั้งแต่ 1,600-2,100 บาท/คืน, ราชาเอ็กคลูทีฟ มีห้องพัก 18 ห้อง ราคาตั้งแต่ 600-1,200 บาท/คืน, จังเกิ้ลบังกาโล มีห้องพัก 10 ห้อง ราคาตั้งแต่ 600-800 บาท/คืน

การเดินทางไปเกาะราชาใหญ่นั้น นักท่องเที่ยวจะนิยมเดินทางในช่วงไฮซีซั่น คือ ตั้งแต่เดือนตุลาคม-มิถุนายนเท่านั้น โดยในช่วงนี้จะมีนักท่องเที่ยวประมาณ 100 คน/วัน ส่วนช่วงโลว์ ซีซั่น ที่พักบางแห่งจะปิดให้บริการ เพราะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปน้อยมากไม่ถึงวันละ 10 คน

สำหรับ ที่ดินบนเกาะราชาใหญ่นั้น ถูกชาวบ้านในเขตตำบลราไวย์เข้าไปจับจองครอบครองปลูกมะพร้าวทำประโยชน์ กันกว่า 50 ปีประมาณ 70 กว่าราย แต่เป็นการครอบครองโดยไม่มีเอกสารสิทธิ ปัจจุบันได้เปลี่ยนมือไปแล้วหลายราย โดยบางรายซื้อมา เพื่อเก็งกำไร มีอยู่ 10 กว่าแปลง ซึ่งก็พร้อม ที่จะขายถ้าหากได้ราคา ที่เหมาะสม อย่างเช่น ที่บริเวณอ่าวสยาม ประมาณ 27 ไร่ และอีกแปลงหนึ่งอยู่ ที่อ่าวบังกาโล ประมาณ 15 ไร่ ทำเลสวยทั้งสองแปลง ตั้งราคาไว้ ที่ไร่ละ 6-7 แสนบาท ส่วน ที่ดิน ที่มีเอกสารสิทธิ น.ส.3 มีอยู่ทั้งหมด 4 ราย เป็นของนักลงทุนทั้งหมด

ส่วน ที่ดิน น.ส.3 แปลงใหญ่มีอยู่จำนวน 2 แปลง เป็น ของบริษัท ราชาใหญ่ไฮแลนด์รีสอร์ท จำกัด เนื้อ ที่ 48 ไร่ และของบริษัท ราชาใหญ่เอสเตท จำกัด เนื้อ ที่ 99 ไร่ ซึ่ง ที่ดินทั้งสองแปลงนี้เจ้าของมีความประสงค์ ที่จะขายให้กับนักลงทุนไม่ว่าไทยหรือต่างชาติเข้าพัฒนาด้านการท่องเที่ยว โดยได้เปิดประมูลเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากความไม่ชัดเจนเรื่องการได้มาของเอกสารสิทธิ ทำให้การประมูลต้องเลื่อนออกไป

อีกรายเป็นที่ดิน ที่ของ โต๊ะอิหม่าม หว้าหาด จันทร์ดี อายุกว่า 60 ปี ชาวบ้าน ต.ราไวย์ ชึ่งครอบครองทำประโยชน์กว่า 80 ไร่ ปลูกมะพร้าว และพืชผลอื่นๆ อยู่ติดกับ ที่ดินของบริษัทราชาใหญ่ไอส์แลนด์รีสอร์ท ที่ประกาศประมูลขายได้กล่าวกับ แก้ว บัวสุวรรณ ประธานกรรมาธิการ การปกครอง สภาผู้แทนราษฎร ที่ลงไปดูสภาพพื้นที่เกาะราชาใหญ่ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 ว่า ที่ดินของตนเองก็พร้อม ที่จะขายเช่นเดียวกัน หากมีนักลงทุนต้องการซื้อ และให้ราคา ที่เหมาะสม

ทางด้านสุทธิชาติ อัศวศิรโยธิน กรรมการบริหารบริษัท ราชาใหญ่ไอส์แลนด์ และบริษัท ราชาใหญ่เอสเตท สามี ของกรนันท์ เจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่ดิน 2 แปลงบนเกาะราชาใหญ่ ที่ประกาศประมูลขาย ได้เปิดเผยว่า หลังจาก ที่ได้ประกาศผ่าน สื่อต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศแล้ว มีนักลงทุนหลาย ประเทศให้ความสนใจติดต่อสอบถามรายละเอียด และแสดงความจำนงมาดู ที่ดินทั้ง 2 แปลง ซึ่งมีทั้งจีนแดง หรือจีนแผ่นดิน ใหญ่ สิงคโปร์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ฮ่องกง เยอรมนี และอังกฤษ ตามลำดับ ส่วนใหญ่เมื่อมาเห็นภูมิประเทศ ที่สวยงาม ต่างลงความเห็นว่า น่าจะลงทุนสร้างโรงแรม รีสอร์ต และบ้านพักตากอากาศระดับเกรดเอได้"

"สำหรับราคา ที่ดินนั้น สังเกตดูจากการประเมินของนักลงทุน ที่มาดูพื้นที่ คาดหมายกันว่า น่าจะไม่ต่ำกว่าแปลงละ 200 ล้านบาท แต่หลังจาก ที่มีข่าวออกมาว่า ที่ดินมีปัญหานักลงทุนต่างก็ลังเล และทำให้การประมูลครั้งนั้น ต้องล้มไป ก็ต้องรอให้ทุกอย่างได้ข้อสรุป ที่ชัดเจน ทางบริษัทฯ ก็จะติดต่อแจ้งให้นักลงทุนกลุ่มนี้ทราบ พร้อมส่งหลักฐานยืนยัน และจะกำหนดวัน เวลา สถานที่ประมูลใหม่" สุทธิชาติกล่าว

เ ก า ะ เ ฮ ห รื อ ค อ รั ล ไ อ ส์ แ ล น ด์

เกาะเฮตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะภูเก็ต ในเขต หมู่ 3 ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ห่างจากหาดราไวย์ประมาณ 5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางด้วยเรือหางยาว ประมาณ 30 นาที ค่าเช่าเรือหางยาวเหมาลำ 400-500 บาทต่อเที่ยว สามารถขึ้นเรือได้ ที่หาดราไวย์ หรือแหลมกา ในปัจจุบันมีเรือสปีดโบ๊ท หรือเรือเร็วออกจากท่าเรืออ่าวฉลองทุกวัน ค่าโดยสารเหมาลำ 1,500 บาทต่อเที่ยว หรือ 150 บาทต่อหัว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 นาที นอกจากนั้น ยังมีเรือของโรงแรม คอรัล ไอส์แลนด์ รีสอร์ท ที่ประกอบการอยู่บนเกาะบริการรับส่งแขกของโรงแรมอยู่ด้วย

สภาพโดยทั่วไปของเกาะเฮ มีลักษณะยาวช่วงกลาง เรียว หัวท้ายเป็นเนินสูงคล้ายภูเขา สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300 ฟิต บนเกาะเป็นควนเขาหรือเป็นเนิน มี ที่ราบทั้งมีราษฎรขึ้นไปจับจองทำสวนปลูกพืชผล ส่วนใหญ่เป็นมะพร้าวมากว่า 50 ปี มีหาดทรายขาวยาว 3-4 กิโลเมตร ช่วงกลางเกาะทางฝั่งตะวันตก มีโขดหินชื่อ "โหม่งเฮ" สูงประมาณ 20 เมตร และมีชายหาดเล็กๆ ยาวประมาณ 200 เมตร ในบริเวณ ที่เรียกว่าอ่าวเล็ก มีแหล่งน้ำจืดแห่งเดียว พื้นที่ดินทั้งหมดประมาณ 2,400 ไร่ มีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดแรง ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม

ส่วน ที่ดินบนเกาะเฮนั้น ชาวบ้านเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ และมีเอกสารสิทธิ บางส่วนเป็นที่ดินของวัดฉลอง หรือวัดไชยธารารามให้เอกชนเช่าทำประโยชน์ และ ที่เหลือเป็นที่ดิน ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ แต่ก็มีผู้เข้าไปจับจองปลูกมะพร้าว

จากสภาพของเกาะเฮ ที่มีชายหาดยาวกว่า 3 กิโลเมตร มีน้ำทะเลใสสะอาดไม่ลึกมาก สามารถเล่นน้ำได้ตลอดทั้งวัน และยังมีปะการัง ที่สวยงามมากที่สุด โดยเฉพาะปะการังอ่อน เล่ากันว่า ในอดีตนักท่องเที่ยวจากยุโรปไปเล่นน้ำทะเล และ ดำน้ำพบธรรมชาติใต้ทะเล ที่สวยงาม ปลาหลากหลายชนิดมากมาย เกิดความประทับใจถึงกับหลงใหล บางแห่งยังสามารถ มองเห็นปะการัง และปลาสวยงามจากผิวน้ำได้โดยไม่ต้องดำลงไปด้วย จึงได้ตั้งชื่อเกาะเฮแห่งนี้เป็นภาษาอังกฤษว่า "Coral Island"

แต่ความสวยงามของเกาะเฮ ก็เป็นภัยแก่ตนเอง มีคนบางกลุ่มได้ว่าจ้างให้ชาวเล หรือชาวไทยใหม่ ที่มีอาชีพทำการประมง อยู่บริเวณหาดราไวย์ไปลักลอบนำปะการัง และจับปลา สวยงามมาขายเอาไปเลี้ยงเป็นปลาตู้ ทั้งยังมีการลักลอบส่งออก ต่างประเทศด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาการ์ตูน และปลาสิงโต ที่เคยมีชุกชุมลดน้อยลง จนมีโอกาสจะสูญพันธุ์ไปจากบริเวณนี้

เกาะเฮถือว่าเป็นเกาะ ที่มีความสวยงาม และเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูเก็ต เนื่องจากมีสภาพธรรมชาติ ที่สวยงาม ชายหาดขาวละเอียด และน้ำทะเล ที่ใสสะอาด เป็นที่โจษขานของนักท่องเที่ยวมาตั้งแต่ช่วงบุกเบิกธุรกิจท่องเที่ยว ในอดีตมีเพียงปลูกกระต๊อบเล็กๆ ร่วมสิบหลังให้นักท่องเที่ยวพัก และปลูกเพิงทำเป็นร้านค้าขายอาหารเท่านั้น เดินทางกันด้วยเรือ หางยาว ไม่มีท่าเทียบเรือ ต่อมา จึงมีนักลงทุนในท้องถิ่น ตระกูล "ปจันทบุตร" มีพื้นเพอยู่อ่าวฉลอง ซึ่งประสบความสำเร็จจากการเปิดร้านอาหาร "กันเอง" ได้ข้ามฟากไปพัฒนาสร้าง ที่พัก และร้านอาหารขึ้นใหม่ พร้อมจัดทัวร์ไป ด้วย ภายใต้ชื่อ "อโลฮ่าทัวร์" โดยเช่าที่ดินของวัดฉลองทำประโยชน์

ขณะเดียวกันก็มีนักลงทุนในท้องถิ่นอีกรายหนึ่ง คือ ตระกูล "สุวรรณศุภนา" ดั้งเดิมเปิดร้านค้าทองชื่อ "ห้างทองอยู่เส็ง" ถนนถลาง มี ที่ดินของตนเองอยู่บนเกาะ จึงได้พัฒนาสร้างโรงแรมคอรัล ไอส์แลนด์ รีสอร์ท ขนาดห้องพัก 63 ห้อง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ที่ต้องการค้างคืน แต่ ที่เกาะเฮไม่มีท่าเทียบเรือ ทำให้ไม่ได้รับความสะดวก เนื่องจากทางโรงแรมมีเรือบริการรับส่งนักท่องเที่ยวทั้ง ที่มาพัก และมาเที่ยว ทางโรงแรม คอรัล ไอส์แลนด์ฯ จึงได้เสนอโครงการก่อสร้างสะพานเทียบเรือ โดยทางโรงแรมจะเป็นผู้ลงทุนเอง แต่ไม่ได้รับการอนุมัติตั้งแต่นั้น มา ปัจจุบันจึงยังคงใช้วิธีลงจากเรือแล้วเดินลุยน้ำขึ้นหาด นอกจากโรงแรมแล้ว ยังมีร้านอาหารอีก 3 แห่ง ไว้บริการนัก ท่องเที่ยว ที่บริเวณเหนือหาดทราย

หากมองในแง่ของการเข้าไปลงทุนด้านการท่องเที่ยวแล้ว เกาะเฮมีศักยภาพมาก เนื่องจากปัจจุบันก็เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของภูเก็ต ที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปเที่ยวพักผ่อน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวเอเชียให้ความสนใจ เกาะเฮมาก ประมาณการนักท่องเที่ยว ที่เดินทางไปเกาะเฮตกประมาณวันละ 500-1,000 คน

อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยว ที่เดินทางไปเกาะเฮ ถ้ามาจากโซนเอเชียส่วนใหญ่ จะไปท่องเที่ยวแบบไปเช้า-เย็นกลับ และไปกันเป็นกรุ๊ป โดยที่บริษัททัวร์จะบรรจุไว้ในแพ็กเกจทัวร์ เลย แต่ถ้าเป็นชาวยุโรป และมาเป็นส่วนตัวมักจะค้างคืน

จุดดึงดูดนักท่องเที่ยวไปเกาะเฮ มีอยู่หลายตัวด้วยกัน นอกจากธรรมชาติ ที่ยังคงความสวยงามแล้ว กิจกรรมทางน้ำ ก็เป็นจุดขายหลักของเกาะเฮ โดยกิจกรรมทางน้ำ ที่ได้รับ ความสนใจประกอบด้วยกิจกรรมท่องเที่ยวเดินใต้ทะเล หรือ ซีวอล์กเกอร์ การดำน้ำตื้น หรือสน็อกเกอร์ริ่ง เรือลากกล้วย เรือลากร่ม และเจ๊ตสกี ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวเอเชีย

นอกจากกิจกรรม ที่หลากหลายในการรองรับนักท่องเที่ยวเอเชียแล้ว เกาะเฮยังมีกิจกรรมดำน้ำลึกไว้บริการนักท่องเที่ยวยุโรป โดยมีบริษัททัวร์ดำน้ำเปิดให้บริการบนเกาะเฮด้วย

ที่ดินบนเกาะเฮนั้น ส่วนใหญ่ถูกนักลงทุนกว้านซื้อไปในช่วง ที่การท่องเที่ยวกำลังบูมสุดๆ เมื่อประมาณ 10 ปีเศษ ที่ผ่านมา และบริเวณทำเลดี โดยเฉพาะบริเวณติดกับหาด หรือใกล้เคียงก็ได้มีการลงทุนพัฒนาเป็นร้านอาหาร บังกะโล บ้านพักตากอากาศ ร้านขายของจิวเวลรี่ การซื้อขาย ที่ดินบนเกาะเฮ ช่วงระยะหลังนี้ไม่ปรากฏให้เห็น และ ที่ดินแปลงใหญ่ทำเลสวย ติดชายหาดก็เหลืออยู่แปลงเดียวประมาณ 20 ไร่ มีนายหน้าทาบทามกันมานานแล้ว แต่เจ้าของไม่ยอมขาย จะอย่างไรก็ตาม ราคาซื้อขาย ที่ดินบนเกาะเฮเท่า ที่ผ่านมาเฉพาะ ที่ติดหาดตกประมาณไร่ละ 2-3 ล้านบาท และขยับห่างออกไปจากทะเลเป็น สวนมะพร้าวตกประมาณไร่ละ 7-8 แสนบาทขึ้นไป

เ ก า ะ โ ห ล น

เกาะโหลนตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะภูเก็ต ในพื้นที่หมู่ 3 ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ห่างจากอ่าวฉลองประมาณ 6 กิโลเมตร เดินทางด้วยเรือหางยาวประมาณ 20 นาที มีเรือหางยาวโดยสารบริการรับส่งตลอดวันที่ท่าเรืออ่าวฉลอง ทั้งเช่าเหมา และรายหัว ค่าโดยสารคนละ 10 บาท เช่าเหมาลำ เที่ยวละ 500 บาท

สภาพทั่วไปของเกาะโหลน มีลักษณะเป็นทรงกลม สูงจากระดับน้ำทะเล 300 ฟิต มีพื้นที่ดินทั้งหมดประมาณ 3,000 ไร่ เป็นเนินเขา 2 ลูกชื่อ "เขาโหลน" และ "เขาท้ายโหลน" มีหาดทรายเป็นแหล่งท่องเที่ยว 2 หาดอยู่ทางทิศตะวันตก และ ทิศใต้ มีแหล่งน้ำจืดธรรมชาติ 2 แห่งบ่อน้ำจืดสาธารณะ 2 บ่อ มีหมู่บ้านราษฎรอาศัยอยู่ดั้งเดิม 70 ครัวเรือน นับถือศาสนาอิสลามเคร่งครัด อาชีพทำสวนยาง และสวนมะพร้าว ทำประมง บ้าง ที่ดินมีเอกสารสิทธิครอบครองถูกต้อง และตกทอดเป็นมรดก ภายในหมู่บ้านบนเกาะโหลน มีทางสัญจรเชื่อมต่อกันหลายสาย มีมัสยิด โรงเรียน อนามัย สหกรณ์ออมทรัพย์ ศูนย์สาธิตการตลาด และร้านค้าขายของชำ 4 ร้าน มีสะพานเทียบเรือ

ในอดีตเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ช่วงบุกเบิกธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งมีนักท่องเที่ยวจากโซนยุโรปเป็นส่วนใหญ่ ได้มีนักลงทุนในท้องถิ่นเข้าไปซื้อ ที่ดินหน้าหาดด้านทิศตะวันตก สร้างบังกะโล เล็กๆ ประมาณ 10 หลัง พร้อมกับเปิดร้านอาหาร ชื่อ "โหลน ไอส์แลนด์ รีสอร์ท" รองรับนักท่องเที่ยวจากยุโรป อยู่ประมาณ 10 ปี แต่ในที่สุดทนแบกรับค่าใช้จ่ายไม่ไหวเพราะนักท่องเที่ยว จากยุโรปจะเดินทางเข้ามาในช่วงไฮซีซั่นเท่านั้น ส่วนในช่วงโลว์ ซีซั่นมีนักท่องเที่ยวเข้ามาน้อยมาก และขณะนั้น นักท่องเที่ยวจากโซนยุโรปเข้ามาน้อย จึงต้องขายกิจการให้นักลงทุนรายใหม่ดำเนินการต่อ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอีก ล่าสุดทราบว่า ที่ดินแปลงนี้ ได้มีนักการเมืองระดับหัวหน้าพรรคมาดู ทำเล แต่ก็เงียบหายไป ไม่มีข่าวการซื้อขาย

ส่วน ที่ดินอีกแปลงหนึ่งอยู่ติดกับสถานีอนามัยเกาะโหลน มีนักลงทุนจากฝรั่งเศส ซึ่งมีภรรยาเป็นคนไทยซื้อไปจำนวน 20 ไร่เศษ เมื่อปี 2542 ในราคาประมาณ 10 ล้านบาทเศษ ขณะนี้ได้สร้างเป็นรีสอร์ตเกรดเอ และบ้านพักตากอากาศ ชั้นดี 9 หลัง ปลูกด้วยไม้ทั้งหลัง ให้เช่า และขายขาด และคง จะเปิดบริการในไฮซีซั่น ที่จะถึงนี้

นอกจากนั้น ยังมี ที่ดินต่อเนื่องอีกประมาณ 2 ไร่ติด หาด ทำเลสวย ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต้องการขายเช่นเดียวกัน โดยตั้งราคา ไว้ ที่ 7 ล้านบาท เป็นที่ดิน ที่ผ่านการซื้อขายมาแล้ว 3 มือ มีนายหน้าเข้าไปทาบทามแล้ว แต่ยังตกลงราคากันไม่ได้ และเมื่อต้นปีนี้ได้ตกลงซื้อขาย ที่ดินกันอีกแปลง ติดหน้าหาดเหมือน กันประมาณ 1 ไร่เศษ ราคา 2 ล้านบาท โดยกลุ่มโรงแรมเจ้าพระยาปาร์คซื้อไป และทราบว่ากำลังทาบทามขอซื้อ ที่ใกล้เคียงเพิ่มเติมอีก โดยติดต่อผ่านทางนายหน้า เพื่อสร้างเป็นท่าจอดเรือยอชต์หรือมารีน่า และรีสอร์ตเช่นเดียวกัน ที่ดินบนเกาะโหลนล้วนมีเอกสารสิทธิถูกต้อง ราคาซื้อขายจริงๆ แล้วตกประมาณไร่ละ 6-7 แสนบาท เป็นที่ดิน ที่อยู่ลึกเข้าไปห่างจากหาดเป็นสวนยาง และสวนมะพร้าว ส่วน ที่ดินติดหาด และติดทะเลราคาอยู่ ที่ไร่ละ 1 ล้านบาทขึ้นไป

จะอย่างไรก็ตาม มีนายหน้าค้า ที่ดินรายหนึ่งเปิดเผยว่า ขณะนี้มี ที่ดินบนเกาะโหลน ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นชาวภูเก็ตฝากขายอยู่ 3 ราย รายละไม่เกิน 20 ไร่ ไร่ละ 5-6 ล้านบาท ที่ดินทำเลสวยเหมาะจะพัฒนาเป็นโรงแรม รีสอร์ต หรือบ้านพักตากอากาศ

สำหรับเกาะโหลนมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยวแบบ เช้าไปเย็นกลับ การเดินทางสะดวก มีเรือหางยาวโดยสารบริการ ทั้งวัน ส่วนใหญ่ไปเล่นน้ำทะเล มีเรือลากร่ม และเจ๊ตสกี ศักยภาพทางการท่องเที่ยวด้อยกว่าเกาะเฮมาก แม้จะมีน้ำทะเล ที่ใสสะอาด หาดทรายขาว แต่ธรรมชาติใต้ทะเล เช่น ปะการัง และปลาสวยงามต่างๆ มีน้อย จึงทำให้มีนักท่องเที่ยว ไปน้อย กิจกรรมดำน้ำชมธรรมชาติใต้ทะเลจึงไม่มี และไม่อยู่ในแพ็กเกจทัวร์ของบริษัทนำเที่ยว

เ ก า ะ ม ะ พ ร้ า ว

เกาะมะพร้าวตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของภูเก็ต ในเขตพื้นที่หมู่ 6 ต.เกาะแก้ว อ.เมือง จ.ภูเก็ต อยู่ห่างจากท่าเทียบเรือแหลมหิน บ้านสะปำร่วม 2 กิโลเมตร เดินทางด้วยเรือหางยาวประมาณ 10 นาที ค่าโดยสารคนละ 15-25 บาทต่อเที่ยวหรือเช่าเหมาลำ เที่ยวละประมาณ 200 บาท หรืออาจจะมากกว่านั้น อยู่ ที่การเสียเวลารอคอย

สภาพของเกาะมะพร้าว มีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยม สูงจากระดับน้ำทะเล 200 ฟิต มีพื้นที่จำนวน 2,820 ไร่ มีราษฎรอาศัยอยู่ดั้งเดิม 70 กว่าครัวเรือน จำนวนประชากร 475 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา สวนมะพร้าว และทำประมง มีบ่อน้ำจืดสาธารณะ 2 บ่อ มีโรงเรียนประถมศึกษา มีสถานีอนามัย มัสยิด ภายในตัวเกาะมะพร้าว มีถนนเชื่อมต่อกันหลายสาย พื้นที่ราบส่วนใหญ่ราษฎรตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย และทำสวนมะพร้าว บนเนินเขาทำสวนยางพารา ที่ดินมีเอกสารสิทธิถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นมรดกตกทอด กับอีกส่วนหนึ่งชาวบ้านเข้าไปถือสิทธิครอบครองทำประโยชน์ปลูกพืชผล ราคา ที่ดินซื้อขายกันประมาณไร่ละ 500,000 บาทขึ้นไป สภาพอากาศเหมือนภูเก็ตมีฝนตกชุก และช่วงเดือนธันวาคมมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดผ่านค่อนข้างแรง

โดยรอบของเกาะมะพร้าวมีหาดทรายยาว แต่เป็นหาดทรายที่ไม่ค่อยจะสวยนัก มีแก่งหิน และโขดหิน ที่สำคัญคือ เกาะมะพร้าวยังคงสภาพความงามตามธรรมชาติหลงเหลืออยู่มาก เหมาะในการที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และศึกษาวิถีชีวิตชาวบ้าน

ทางด้านทิศตะวันตก และทิศใต้เป็นป่าไม้โกงกางหรือ ป่าชายเลน ที่อุดมสมบูรณ์ สภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เกาะมะพร้าวโดยภาพรวมแล้ว มีศักยภาพ ที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ตได้ โดยใช้จุดขายความ สวยงามตามธรรมชาติ ที่เป็นโขดหิน แก่งหิน และชายหาด ใน ส่วนความเป็นอยู่ของชาวบ้านเป็นแบบชนบทเรียบง่าย มีความ สามัคคีกลมเกลียวกันดี รักธรรมชาติ และมีความกระตือรือร้นต้องการพัฒนาตนเอง จึงเป็นการง่ายต่อการเข้าไปลงทุน ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ต้องได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเจ้าของถิ่นฐานเดิมแน่นอน

ทางด้านอาชีพของชาวเกาะมะพร้าวนั้น นอกจากการทำสวนมะพร้าว และสวนยางพาราแล้ว บริเวณริมทะเล ป่าชายเลน ยังมีการเลี้ยงปลาในกระชัง ทั้งปลาเก๋า ปลากะพงขาว ปละกะพงแดง และเลี้ยงหอยแมลงภู่ โดยเฉพาะหอยแมลงภู่นั้น สามารถป้อนเข้าตลาดภูเก็ตถึงวันละ 1,000 กิโลกรัม

สภาพปัจจุบันการเดินทางสู่เกาะมะพร้าว มีทางเดียวคือ โดยสารเรือหางยาวข้ามฟาก ที่ท่าเรือแหลมหิน แล้วข้ามฟากไปขึ้นสะพานอำไพบนเกาะมะพร้าว แต่ในอดีตนั้น เคยมีการเสนอให้ทำสะพานข้าม ซึ่งมีระยะทาง 1,350 เมตรใช้งบประมาณ สร้าง 120 ล้านบาทแต่ไม่ได้รับการพิจารณา เพราะไม่คุ้มค่าใน เชิงเศรษฐกิจ ทั้งคาดว่าจะไม่ผ่านการอนุมัติรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่ภายหลัง องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว เจ้าของพื้นที่ได้แนวคิดใหม่ เสนอให้มีการสร้างกระเช้าลอยฟ้าข้ามทะเลเชื่อมภูเก็ตกับเกาะมะพร้าว ขึ้นแทน ซึ่งไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องทำลายโขดหิน แก่งหิน ป่าชายเลน ไม่ทำลายสภาพ ร่องน้ำการสัญจรทางเรือ แนวคิดนี้ได้เสนอไปเมื่อปี 2539 จะใช้งบประมาณ 60 ล้านบาท แต่โครงการนี้ก็ไม่คืบหน้าอีกตามเคย จะอย่างไรก็ตามล่าสุด ร.พ.ช. เห็นชอบ ที่จะสร้างเป็นสะพานอีก

ปัจจุบัน เกาะมะพร้าว ได้รับการส่งเสริมจากกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ให้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเกษตรเชิงอนุรักษ์ โดยการดึงศักยภาพของเกาะมะพร้าว ที่มีความพร้อมเรื่องการเกษตรมาเป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยว ซึ่งได้กำหนดกิจกรรมทางด้านการเกษตร ที่ค่อนข้างจะหลากหลาย เช่น การนำนักท่องเที่ยวดูวิถีชีวิตชาวประมงบนเกาะมะพร้าว ชมการเลี้ยงปลา เลี้ยงหอยแมลงภู่ ในกระชัง กิจกรรมตกปลา ตลอดจนการจัดกิจกรรมปั่นจักรยานเสือภูเขา เที่ยวชมหมู่บ้าน พายเรือแคนูตามลำคลองบนเกาะ ชมสัตว์ และนกในป่าโกงกาง หรือป่าชายเลน ซึ่งโครงการนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร และเกษตรจังหวัดภูเก็ตเป็นผู้ริเริ่ม โดยให้ชาวบ้านบนเกาะมะพร้าว รวมหุ้น และมีเงินสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตรอีกส่วนหนึ่ง

การท่องเที่ยวบนเกาะมะพร้าว ขณะนี้ทำได้ทั้งทัวร์แบบไปเช้ากลับเย็น และพักค้างคืน ซึ่งชาวบ้านได้สร้างบังกะโล หลังเล็กๆ ไว้ 6 หลังกับมีเต็นท์นอนอีกร่วมร้อยเต็นท์ไว้รองรับนักท่องเที่ยว ที่เดินทางไปเป็นกรุ๊ป และ ที่สำคัญเกาะมะพร้าว อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตเพียงไม่กี่กิโลเมตร การเดินทางค่อนข้างสะดวก

สำหรับการซื้อขาย ที่ดินบนเกาะมะพร้าวนั้น มีการซื้อขายกันมากในช่วงกลางปี 2541 ซึ่งในช่วงนั้น ได้มีการปลุกกระแสการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และท่องเที่ยวการเกษตร จึงมีนักเก็งกำไร ที่ดินลงไปกว้านซื้อไว้หลายแปลงในราคาไร่ละ 3-4 หมื่นบาทสำหรับ ที่มีเอกสารสิทธิ แล้วบอกขายต่อในราคาไร่ละ 1 แสนบาทขึ้นไป แต่ปรากฏว่าไม่บูมนัก เพราะนักท่องเที่ยวไม่ไปเที่ยว ชายหาดไม่สวยงามเท่า ที่ควร นักทˆองเที่ยวลง เล่นน้ำทะเลไม่ได้ เพราะน้ำไม่สะอาด บางแห่งยังมีโคลนตม และหินโสโครก จึงไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน

อย่างไรก็ตาม ที่ดินบนเกาะมะพร้าวในปัจจุบัน ชาวบ้าน ต้องการขายอยู่อีกหลายแปลงในราคาไร่ละ 3-4 หมื่นบาทเป็นที่มีเอกสารสิทธิ น.ส.3 ส่วน ที่ไม่มีเอกสารสิทธิเป็นป่าชายเลน ไร่ละ 1-2 หมื่นบาทก็มีบอกขาย สำหรับ ที่ดินแปลงใหญ่ประมาณ 100 ไร่อยู่ติดทะเล มีเอกสารสิทธิผ่านการซื้อขายมา สองมือแล้วกำลังบอกขายต่อไร่ละ 5 แสนบาท และอีกประมาณ 5 ไร่ติดทะเลผ่านมาสองมือเช่นเดียวกัน ขายไร่ละ 2 แสนบาท ในระยะนี้การซื้อขาย ที่ดินแทบจะไม่มีเลย แต่ก็มีการคาดหมาย กันว่าหาก ร.พ.ช. จัดงบประมาณสร้างสะพานข้ามฟากจากท่าเรือแหลมหินไปเกาะมะพร้าวแน่นอนแล้ว คาดว่า ที่ดินบนเกาะนี้จะบูมขึ้นมาอีก อาจจะมีนักลงทุนไปซื้อ เพื่อสร้างเป็น รีสอร์ต หรือบ้านพักตากอากาศ หรือทำเกษตรกรรมเลี้ยงหอย เลี้ยงปลาอย่างเป็นล่ำเป็นสันขนาดใหญ่ป้อนเข้าตลาดภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียงเนื่องจากทำเลดีมาก มีป่าชายเลน ที่ค่อนข้างสมบูรณ์

เ ก า ะ รั ง ใ ห ญ่

เกาะรังใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของภูเก็ต ในเขตพื้นที่ หมู่ 6 ต.เกาะแก้ว อ.เมือง จ.ภูเก็ต อยู่ห่างจากอ่าวสะปำ ประมาณ 10 ก.ม.ใช้เวลาเดินทางด้วยเรือหางยาวประมาณ 40 นาที โดยวิธีการเช่าเหมาลำเที่ยวละประมาณ 500 บาท จากท่าเรือแหลมหิน และปัจจุบันสามารถเดินทางโดยเรือบริการ ของบริษัท ริชชี่ไอส์แลนด์ ออกจากท่าเรือโบ๊ทลากูน สะปำทุกวัน

สภาพเกาะรังใหญ่มีลักษณะยาวรี สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 100 ฟิต กลางเกาะเป็นเนินเขา มี ที่ราบอยู่ทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินทั้งหมด 378 ไร่ มีราษฎรอยู่อาศัย 3 ครัวเรือน ทำเกษตรกรรมสวนยางพารา และมะพร้าวนอกจากนั้น ยังมีราษฎรเข้าไปทำบ่อเลี้ยงกุ้ง และทำฟาร์มเลี้ยงหอยมุก ที่ดิน มีเอกสารสิทธิ น.ส.3 และส.ค.1 เป็นมรดกตกทอด มีบ่อน้ำจืดสาธารณะ 2 บ่อ มีฝนตกชุกในช่วงเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน และช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม มีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านค่อนข้างจัด

บริเวณรอบเกาะเป็นหาดทราย มีแก่งหินเล็กน้อย น้ำใส สามารถเล่นน้ำทะเลได้ มีศักยภาพ ที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ และเคยมีข่าวว่าเจ้าของ ที่ดินรายใหญ่ ที่เกาะรังประมาณ 200 ไร่ ประกาศขาย 2,000 ล้านบาท มีนักลงทุนจากเยอรมนีมาดู และขอซื้อ เตรียมวางเงินมัดจำ 400 ล้านบาท แต่มาเกิดสงครามอ่าวเปอร์เซียเสียก่อน จึงทำให้นักลงทุนจากเยอรมนีรายนั้น ยกเลิกการทำสัญญาซื้อขายไป

ในปัจจุบันบนเกาะรังใหญ่ได้มีการลงทุนพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวค่อนข้างสมบูรณ์ ด้วยการลงทุนของบริษัทริชชี่ ไอส์แลนด์ทัวร์ มีกิจกรรมท่องเที่ยวปั่นจักรยานเสือภูเขารอบเกาะ พายเรือแคนูเที่ยว มีสนามมินิกอล์ฟ ชมฟาร์มเลี้ยงมุก มีร้านอาหารทะเลบริการผู้มาเที่ยวชม แบบเช้าไปเย็นกลับ ยังไม่มี ที่พักค้างคืน มีเรือบริการออกจากท่าเรือโบ๊ตลากูน หรือเช่าเหมาลำเรือหางยาวจากท่าเรือแหลมหิน สะปำ

หากนักท่องเที่ยวต้องการที่จะค้างคืน ที่เกาะรังใหญ่ บริษัทริชชี่มีเต็นท์ไว้บริการ และก่อนหน้าที่บริษัทริชชี่เจ้าของ ที่ดินรายใหญ่บนเกาะรังใหญ่มีโครงการที่จะก่อสร้างโรงแรม ที่พักระดับ 5 ดาวบนเกาะรังใหญ่ โดย การดึงนักลงทุนทั้งคนไทย และต่างชาติ เข้ามาร่วมทุน แต่หลังจากเจอภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โครงการจึงชะงักไป

"ขณะนี้จะไม่มีการลงทุนอะไรเพิ่มเติม ส่วนเรื่องการขาย ที่ดินนั้น เมื่อได้ตัดสินใจลงทุนพัฒนาเองแล้วก็ไม่ต้องพูดถึงอีก ธุรกิจทุกด้านดำเนินไปอย่างราบรื่นไม่มีปัญหา ทั้งด้านเชิงรุกในช่วงไฮซีซั่น ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเข้ามามาก และเชิงรับในช่วงโลว์ซีซั่น ซึ่งมีนักท่องเที่ยวน้อย ด้านฟาร์มเลี้ยงมุกก็ยังขยายได้อีก ปริมาณความ ต้องการของตลาดยังเปิดกว้าง ทั้งทำเล และสภาพของน้ำทะเลรอบเกาะรังใหญ่ก็เหมาะสม" อภินันท์ รังสินธุรัตน์ เจ้าของบริษัทริชชี่ และเจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่ดินบนเกาะรังใหญ่กล่าว

เ ก า ะ อื่ น ๆ

การซื้อขาย ที่ดินไม่ว่าจะเป็นในจังหวัดภูเก็ต หรือใกล้เคียง และแม้กระทั่งตามเกาะแก่งต่างๆ ที่มีการครอบครองสิทธิ์ มาก่อน ได้ซบเซาไปตั้งแต่ช่วงเกิดสงครามอ่าวเปอร์เซียเป็นต้นมา ยิ่งมาถึงยุคฟองสบู่แตกเศรษฐกิจตกต่ำสุดๆ สถาบัน การเงินถูกมรสุม ไม่มีการปล่อยสินเชื่อ การเงินสะดุดหมด โดยเฉพาะกลุ่มนักซื้อ ที่ดินเก็งกำไร และนายหน้าค้า ที่ดินต้องยกเลิก การซื้อขาย ยอมให้ริบเงินวางมัดจำ และแม้กระทั่ง ที่ดินบางแปลง เมื่อซื้อมาแล้ว ต้องนำเข้าธนาคารก็ต้องปล่อยให้ยึด และมี ที่ดินประเภทนี้อยู่ในธนาคารมากพอสมควร ซึ่งทางธนาคารเองก็พร้อม ที่จะเปิดประมูล และขายต่อให้กับนักลงทุน หรือใครก็ได้ ที่ต้องการ

นอกจากเกาะดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกหลายเกาะ ที่มีราษฎรเข้าครอบครอง ทำมา หากิน ทั้ง ที่มีเอกสารสิทธิ และไม่มีเอกสารสิทธิ ตัว อย่างเช่น เกาะบอน ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ ห่างจากหาดแหลมกา หรือโรงแรมภูเก็ตไอส์แลนด์ รีสอร์ท เพียง 1 กิโลเมตรเศษ มี ที่ดินทั้งหมดประมาณ 2,000 ไร่ ก็มีราษฎรเข้าไปครอบครองทำสวนมะพร้าวมากว่า 50 ปี เป็นที่ ส.ค.1 กับ ที่สาธารณะทุ่งสงวนเลี้ยง สัตว์ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เนื่องจากในอดีตนั้น เมื่อน้ำลดเต็มที่สามารถต้อนฝูงควายว่ายข้ามไปเลี้ยงบนเกาะบอนได้อย่างสบาย แต่ ที่ดิน ที่มีเอกสารสิทธิ และ ที่สงวนเลี้ยงสัตว์บางส่วนดังกล่าวนั้น ได้เปลี่ยนมือไปเป็นของนักลงทุนนำไปพัฒนาเป็นบังกะโล ที่พักนักท่องเที่ยวมากว่า 10 ปีแล้ว

เกาะต่อมาอยู่ถัดลงไปทางใต้อีกเล็กน้อย มองจากแหลมพรหมเทพเห็นชัดเจนคือ เกาะมัน มี ที่ดินทั้งหมด 150 ไร่ อยู่ห่างแหลมพรหมเทพ ประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ แต่การเดินทางต้องออกจากหาดราไวย์ด้วยเรือหางยาว ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร เกาะมันมี ที่ราบเล็กน้อย รอบเกาะเป็นโขดหิน มีหาดเล็กๆ หน้ามรสุมขึ้นเกาะได้ทางฝั่งตะวันออกแห่งเดียว มีชาวบ้านเข้าไปครอบครองทำสวนมะพร้าวมาร่วม 50 ปีเช่นเดียวกันมา แต่เมื่อประมาณ 10 ปีเศษ ที่ผ่านมา ได้ตกไปอยู่ในความครอบครองของกลุ่มโรงแรมดุสิตธานี ยังไม่มีการพัฒนา

อีกเกาะหนึ่งคือ เกาะตะเภาใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของภูเก็ต ห่างจากหัวแหลมอ่าวมะขามเพียง 1.5 กิโล เมตร สภาพพื้นที่เป็นควนเขา ป่าโปร่ง รอบเกาะเป็นโขด และแก่งหิน มีหาดทรายเล็กน้อยพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 448 ไร่ มีชาวบ้านเข้าไปอยู่อาศัยทำการเกษตรปลูกยางพารา และสวนมะพร้าว รวมทั้งไม้ผลต่างๆ มากว่า 50 ปี และมีเอกสารสิทธิถูกต้องตามกฎหมายร่วม 10 แปลง บางแปลงได้มีการซื้อขาย ผ่านมือมาถึงปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 2-3 มือ อย่างเช่น แปลงของ บริษัทตะเภาใหญ่ ซีวิว การ์เด้น เป็นที่ น.ส.3 ได้พัฒนาเป็นโรงแรม รีสอร์ต ที่พักนักท่องเที่ยวมาหลายปีแล้ว แต่ไม่ประสบ ความสำเร็จเท่า ที่ควร ขณะนี้ยังเปิดกิจการอยู่ มีความงามตาม ธรรมชาติ และเป็นแหล่ง ที่อยู่อาศัยของนกเงือกเป็นจุดขาย เดินทางด้วยเรือหางยาว และเรือบริการของโรงแรมตะเภาใหญ่ ซีวิว ใช้เวลาประมาณ 15 นาที

สำหรับ ที่ดินบนเกาะนี้ก็เช่นเดียวกับเกาะอื่นๆ ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องการขายอยู่หลายแปลง ที่ชัดเจนคือ ที่ดินติดหาดฝั่งตะวันตก 100 เมตร ประมาณ 4 ไร่เศษ ต้อง การขายไร่ละ 2.5 ล้านบาท เหมาะจะพัฒนาเป็นโรงแรม ที่พักนักท่องเที่ยว หรือบ้านพักตากอากาศ นอกจากนั้น กิจการของบริษัทตะเภาใหญ่ ซีวิว การ์เด้น ก็พร้อม ที่จะขายต่อ หากได้ราคาดี

สรุปแล้วในขณะนี้มี ที่ดินในจังหวัดภูเก็ต และเกาะบริวารในเขตทะเลอันดามันฝั่งตะวันออกกว่า 20 เกาะ จำนวน มาก ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องการขาย ทั้ง ที่เป็นของชาวบ้านดั้งเดิม ผ่านมือสองมือสาม ที่เป็นนักเก็งกำไร รวมทั้ง ที่ธนาคาร ยึดไป แต่หาคนซื้อไม่ได้ แม้จะมีการประกาศผ่านสื่อเป็นเดือน หรือจะยัดเยียดขายก็ไม่มีใครรับ ต่างอ้างว่าเศรษฐกิจไม่ดี สถานการณ์ทางการเมืองไม่มั่นคง ไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน และนักลงทุนต่างชาติก็ลังเลในความไม่แน่นอนของรัฐบาล แต่มีข้อที่น่าสังเกตคือ ที่ดินหลายแปลงได้ถูกผู้ที่อ้างชื่อนักการเมืองดังๆ มาทาบทาม และต่อรองราคาแล้วก็เงียบหายไป ส่วน ที่มีการซื้อขายกันอยู่บ้างก็เป็นรายย่อย เพื่ออยู่อาศัยทำมาหากินเท่านั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us