นักธุรกิจในเมืองไทยที่ตรากตรำทำงานมาอย่างเหน็ดเหนื่อย ได้ค่าจ้างงาม
และมีความมั่นคงในหน้าที่การงาน หลายๆ คนหาทางออกด้วยการพักผ่อนใน รูปแบบต่างๆ
ทั้งออกรอบตีกอล์ฟ แล่นเรือใบ เข้าสังคมหรูหรา นักธุรกิจที่ให้รางวัลแก่ชีวิตตนเองประเภท
นี้ส่วนใหญ่จะมีนิสัยเปิดกว้าง มีเพื่อนฝูงมากมายหลายตำแหน่ง ในทางกลับกันนักธุรกิจที่ชอบเก็บตัวหรือ
low pofile ส่วนใหญ่จะเพิ่มพลังให้ชีวิตทางด้านศิลปะ บุคคล เหล่านี้จะมีอารมณ์ละเมียดละไม
มีเบื้องหลังชีวิตไม่โลด โผน หรือถูกหล่อหลอมจากชนชั้นกลางของสังคม เช่นเดียวกับ
ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรม การบริหาร บล.แอสเซท พลัส
หลังจากประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเขา เลือกสะสมงานศิลปะ แม้ว่ามือของเขาจะไม่ได้ถือพู่กันปาดป้ายไปมา
แต่การที่มีคุณพ่อเป็นนักถ่ายภาพที่มีฝีมือ คนหนึ่งและเป็นนักสะสมแสตมป์และเหรียญกษาปณ์ตัวยง
ส่งผลให้อารมณ์เหล่านั้นตกทอดมาถึงบรรดาลูกๆ ไม่เว้น แม้แต่ ดร.ก้องเกียรติ
"ภาพต่างๆ เหล่านั้นทำให้ลูกๆ มีสิ่งพวกนี้ในใจด้วยผมเลยชอบศิลปะ เพราะเห็นมาตั้งแต่เด็ก"
ดร.ก้องเกียรติ เล่า
ครั้งเมื่อ ดร.ก้องเกียรติ อายุ 6 ขวบ คุณพ่อของเขาจะแจกสมุดแสตมป์ให้คนละเล่ม
ดังนั้นเมื่อโตขึ้น อายุ 12-13 ปี เขาจึงรู้จักที่จะไปเลือกซื้อแสตมป์ด้วยตัวเอง
เหตุการณ์ที่ทำให้เขาประทับใจและไม่เคยลืมจนถึงทุกวันนี้ คือ เข้าไปขอซื้อแสตมป์กับคนที่กำลังร้อนเงินแล้วนำแสตมป์ไปขายในราคาถูกๆ
ดร.ก้อง-เกียรติ เข้าไปขอดูและบอกว่าถ้าขายให้คนอื่นราคาเท่าไหร่ผมจะให้มากกว่านั้น
"เพราะครั้งนั้นผมดูออกว่าแสตมป์มีราคาเท่าไหร่"
จะไม่ให้ดูออกได้อย่างไรเมื่อประสบการณ์ทางด้านแสตมป์ของ ดร.ก้องเกียรติเคย
ดู แค็ตตาล็อกที่เป็น encyclopedia ทุกหน้าและเขามีความภูมิใจอย่างมาก ปัจจุบันเขาสะสมแสตมป์ชุด
รัชกาลที่ 9 ครบทุกชุด แต่เขาจะสะสมตามสไตล์ความเป็นนักธุรกิจ คือเล็งเห็นมูลค่าในอนาคตและโอกาสของสิ่งของที่เก็บไว้
ถ้าเป็นนักสะสมทั่วคงจะสะสมไว้เพียงแค่ชื่นชมเพียง 1-2 ดวงเท่านั้นในแต่ละรุ่น
แต่ดร.ก้องเกียรติ สะสมแสตมป์ด้วยการเก็บไว้ที่ธนาคารและในแต่ละรุ่น เขาจะมีมากกว่า
1 ดวง คือมีดวงละ 1 แผ่นทีเดียว
นอกจากความเป็นผู้มีอารมณ์ศิลปินของดร.ก้องเกียรติ ที่ถูกปลูกฝังผ่านรูปถ่ายของคุณพ่อ
และในช่วงเรียนที่อัสสัมชัญ (บางรัก) เขาเป็นนักวาดภาพที่ดี และยังจารึกผลงานเอาไว้ผ่านภาพแปรอักษรบนอัฒจันทร์สนาม
ศุภชลาศัยในงานฟุตบอลประเพณีจตุรมิตร แต่เมื่อโตขึ้นมาเขากลับเลือกเรียนในสิ่งที่เขาคิดว่าสร้างความร่ำ
รวยได้มากกว่าการเป็นนักวาดรูปที่ดี แต่นั่นเขาก็ไม่ทิ้งเรื่อง ศิลปะ เมื่อไปศึกษาในต่างประเทศ
สถานที่ท่องเที่ยวที่ เขานิยมเมื่อเดินทางไปเที่ยวตามเมืองต่างๆ คือ พิพิธภัณฑ์
เมื่อกลับมาทำงานในไทย ดร.ก้องเกียรติเริ่มศึกษางานทางด้านศิลปะอย่างจริงๆ
จังๆ "ผมใช้เวลาศึกษาด้านนี้นานพอสมควร มีคนมาชวนคุย พาไปดูงานและศึกษาด้วยตนเอง"
ผลงานสองชิ้นแรกที่เขาประทับใจและตัดสินใจเป็นเจ้าของเป็นผลงานของเฉลิมชัย
โฆษิตพิพัฒน์ "ผมไปซื้อที่บ้านเขาเลย" นับจากนั้นเป็น ต้นมาคนดังต่างอาชีพ
ต่างสไตล์ ก็กลายมาเป็นเพื่อนกัน "คุยกันถูกคอมากเลย และงานชิ้นที่สาม เฉลิมชัยมาวัดผนังบ้านผมและวาดให้เลย"
นอกจากผลงานของ เฉลิมชัย ที่ ดร.ก้องเกียรติ ชื่นชมในฝีมือ เพื่อนรักต่างวัยของเขาอีกคน
คือ ถวัลย์ ดัชนี ซึ่งเขาให้เหตุผลว่าเวลาดูภาพศิลปะหรือตัดสินใจซื้อจะใช้อารมณ์มากกว่า
คือ ภาพนั้นต้องมีเรื่องราว อารมณ์ ส่วนเรื่องสี ลายเส้น เป็นเรื่องรองลงมา
"ผมเป็นคนตัดสินใจเร็ว พอใจซื้อก็ซื้อ ไม่พอใจก็จบกัน อย่างงานของถวัลย์
มีความดุร้าย น่ากลัว ซึ่งเป็นเอก ลักษณ์ของศิลปินที่ทำให้เราตื่นตัวอยู่เสมอ"
นอกจากนี้ศิลปินที่ ดร.ก้องเกียรติ ชื่นชอบและติดตามผลงานมาตลอดยังมีอีก
อาทิ ประเทือง เอมเจริญ, สวัสดิ์ ตันติสุข, อวบ สาณะเสน
ปัจจุบันผลงานที่ ดร.ก้องเกียรติ สะสมไว้ในสำนักงานของเขาล้วนแล้วแต่เป็นผลงานชั้นมาสเตอร์พีซของเมืองไทยทั้งนั้น
อีกทั้งยังโชว์ไว้ที่บ้านอีกมากมาย ซึ่งถ้าคิดเป็นมูลค่าแล้วคงจะหลายสิบล้านบาททีเดียว
นี่ขนาดยังไม่รวมบ้านราคาเกือบ 20 ล้านบาท (ไม่รวมค่า ตกแต่ง) หลับตานึก
มูลค่ารวมน่าจะเฉียดๆ ร้อยล้านบาทแล้ว