แม้จะมาล่ากว่ารายอื่นๆ แต่ก็ได้ รับการต้อนรับอย่างดีจากคนทำงานบนถนนสีลม
นั่นคือภัตตาคาร อาหารฝรั่งเศสชื่อ "เดลิฟรองซ์" ซึ่งเพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
ที่ชั้นล่างอาคาร ยูไนเต็ด เป็นทำเลที่ดีมาก มีการจัด ที่นั่งภายนอกอาคารและการตกแต่งตามแบบวัฒนธรรมของร้านกาแฟในกรุงปารีส
มีจำนวนที่นั่ง 115 ที่ พนัก งานให้บริการ 32 คนมีลูกค้าถึง 700 คน/วัน
ว่าไปแล้วเดลิฟรองซ์ไม่ใช่ภัตตาคารตามแบบที่เข้าใจกัน แต่จะมีลักษณะเป็นร้านกาแฟที่มีขนมปังและขนมอบสูตรดั้งเดิมจากฝรั่งเศสไว้บริการ
มีทั้งครัวซองซ์ บาแกตต์ เวียนโนเซอรีส์ หรือปาติสเซอร์รี พัฟฟ์ พาสตรีส์
แซนด์วิชหลากชนิด รวมทั้งซุป สลัด พิซซ่า และขนมหวาน อาทิ ทาร์ต เป็นต้น
ซึ่งขนมที่เด่นและขึ้นชื่อคือครัวซองซ์และแซนด์วิช
เดลิฟรองซ์ก้าวเข้าสู่ตลาดเอ-เชียครั้งแรกในปี 2526 ที่ประเทศสิงคโปร์
โดยกลุ่มชาวฝรั่งเศสผู้เชี่ยวชาญในการทำธุรกิจแป้งขนมปังที่สืบทอดมายาวนานกว่าศตวรรษ
เข้ามาวางรากฐานการจำหน่ายขนมปังให้แก่โรงแรม ภัตตาคาร และซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำจาก
นั้นก็ขยายกิจการเรื่อยมาจนปัจจุบันมีสาขาใน 7 ประเทศแถบเอเชียรวม 200 แห่ง
ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน จีน (รวมฮ่องกง) มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย
เฉพาะที่สิงคโปร์ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ มีประชากรเพียง 3 ล้านคนนั้นมีสาขามากที่สุดถึง
80 แห่ง
เดลิฟรองซ์มียอดขายจากสาขาในเอเชียเหล่านี้รวม 3,000 ล้านบาทเมื่อปี 2541
แต่มีกำไรก่อนหักภาษีเพียง 271 ล้านบาท รายได้หลักมาจากการขายปลีก(ร้านกาแฟและเบ-เกอรี่)
82% และขายส่งและแฟรนไชส์รวม 17%
มร.คล็อด แจ็ค ผู้จัดการทั่วไป เดลิฟรองซ์ (ประ-เทศไทย) กล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน"
ว่า "แม้จังหวะที่เข้า มาเปิดสาขาในประเทศไทยจะเป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ช่วงเวลาที่ย่ำแย่เช่นนี้มักจะมีโอกาสซ่อนอยู่"
โดยพื้นฐานแล้วเดลิฟรองซ์เป็นเครือข่ายที่มีการบริหารจัดการและดำเนินการด้วยตัวเองทั้งหมด
โดยเติบโต ขึ้นจากเดลิฟรองซ์ในประเทศสิงคโปร์ และค่อยๆ ขยายเครือข่ายเข้าสู่มาเลเซีย
ฮ่องกง ออสเตรเลีย จีน ฟิลิปปินส์ และบรูไน โดยทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป สำหรับปีนี้ได้มีการ
เปิดสาขาใหม่ที่กรุงเทพฯ และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งมร.คล็อดกล่าวว่า "เป็นวาระของการขยายตัวอีกครั้งเมื่อถึงเวลา
ตอนนี้เป็นจังหวะเหมาะมากที่จะเอาส่วนแบ่งการตลาดได้ อย่างเช่นเรื่องสถานที่เหมาะๆ
อย่างนี้ เมื่อก่อนคงหาไม่ได้ แต่ตอนนี้แม้ prime location อย่างนี้จะยังมีราคาสูง
แต่ก็ยังพอหาได้อยู่"
เรื่องสถานที่ตั้งที่ดีเป็นนโยบายของเดลิฟรองซ์ คือต้องหาทำเลดีและมีผู้คนอาศัยหนาแน่น
เช่นถนนสีลม ลูกค้าจะเป็นคนทำงานและมีชาวต่างชาติบ้าง หรืออย่างแถบลาดพร้าวก็จะมีคนอาศัยอยู่มาก
เป็นต้น
เขาเปิดเผยด้วยว่าเดลิฟรองซ์จะเปิดสาขาอีก 3 ร้าน ในเขตกรุงเทพฯ เน้นทำเลดีๆ
ใจกลางเมือง รวมทั้งมีแผนที่ จะสร้างโรงงานผลิตแป้งขนมปัง โดยคาดว่าจะเปิดได้ในราวกลางปีหน้า
ซึ่งถึงตอนนั้นเดลิฟรองซ์น่าจะเปิดสาขาได้เพิ่มเป็น 10 แห่งในกทม.แล้ว และโรงงานนี้ก็จะผลิตแป้งขนมปังรองรับการขายปลีกและขายส่ง
ในระยะเริ่มต้นก่อนที่จะสร้างโรงงานนั้น เดลิฟรองซ์ จะใช้เชื้อขนมปังนำเข้าจากสิงคโปร์บวกกับวัตถุดิบภายในประเทศและอบขนมปังแบบสดๆ
วันต่อวัน ลูกค้าสามารถมองเห็นเตาอบขนมปังจากภายนอกได้ที่ร้านที่ถนนสีลมนั่นเอง
มร.คล็อดกล่าวว่า "ผมถือว่าเดลิฟรองซ์เป็นร้านอาหาร บริการด่วนหรือ quick
service restaurant แบบยุโรป แห่งแรกในไทย ซึ่งคู่แข่งของเราก็คือร้านบริการด่วนแบบอเมริกันจำพวกพิซซ่าและแฮมเบอร์เกอร์
เราจัดบรรยากาศให้เป็นแบบฝรั่งเศส มีเพลงและหนังสือพิมพ์ภาษาฝรั่งเศส สต๊าฟก็จะพูดคุยทักทายลูกค้าด้วยภาษาฝรั่งเศส
เพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสบรรยากาศแบบฝรั่งเศสขนานแท้"
เดลิฟรองซ์มีนโยบายว่าปีหนึ่งจะเข้าไปบุกเบิกทำสาขาใหม่ๆ ใน 1-2 ประเทศ
ไม่ต้องรีบร้อนขยายตัวให้ใหญ่ โตตั้งแต่เริ่มต้น แต่ทำในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
บริษัทมีการให้แฟรนไชส์บ้างในบางประเทศ แต่ไม่มากนักเพราะเน้น การขยายด้วยตนเองมากกว่าเพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพและมาตรฐานต่างๆ
ได้ตามที่ต้องการ
มร.คล็อดเล่าว่าเขาเพิ่งมาร่วมงานกับเดลิฟรองซ์ได้ราว 2 ปีโดยเริ่มที่ฮ่องกง
มีหน้าที่ดูแลการเปิดตลาดใหม่ในเอเชีย-แปซิฟิก เขามองว่าประเทศไทยมีปัจจัยสนับสนุนเรื่องการบริโภคหลายประการ
อาทิ คนไทยมีรสนิยมด้านอาหาร ที่ดีมาก ผู้คนอาศัยอยู่ในเมืองและในเมืองก็จะมีย่านชุมชนที่ผู้คนหนาแน่น
มีห้างสรรพสินค้าซึ่งคนชอบเดินกันมาก นอกจากนี้ในช่วงเศรษฐกิจเติบโตที่ผ่านมาก็ทำให้กลุ่มชนชั้นกลางขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
พวกเขามีวัฒนธรรมที่ต้อง การการให้บริการด่วน ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นการสนับ
สนุนให้ภัตตาคารที่มีแบรนด์เนมดีๆ อย่างเดลิฟรองซ์มองเห็นลู่ทางว่ายังสามารถขยายการลงทุนเข้ามาในประเทศไทยได้
นอกจากนี้ตัวมร.คล็อดเองก็ไม่ใช่คนแปลกหน้าในสังคมเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศไทยนั้นเขามีความคุ้นเคยดีมาก
เขาเริ่มเข้ามาทำงานในเอเชียครั้งแรกเมื่อปี 1983 วนเวียนอยู่ในสิงคโปร์
ฮ่องกง ไทย อินโดจีน ดังนั้นเขาจึงมี good coverage in Asia ทีเดียว และงานที่เขาถนัดและทำมาตลอดในระยะ
16 ปีในย่านนี้คือการพัฒนาธุรกิจ เขากล่าวว่า "ผมชอบสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมาให้ถูกทาง
แล้วก็ move ต่อไปข้างหน้าเรื่อยๆ ผมเคยเป็นคนแรกที่เปิดร้านแว่นตาในมัณฑะเลย์เมื่อสิบปีก่อนโดยทำให้รัฐบาลพม่า
แล้วผมก็หาสิ่งท้าทายใหม่ๆ ต่อไป"
ดังนั้นเมื่อเดลิฟรองซ์มีนโย-บายขยายสาขาเพิ่มในประเทศต่างๆ ย่านนี้ งานนี้จึงเหมาะกับอุปนิสัยเขามาก
ร้านเดลิฟรองซ์ที่จะเปิดเป็นแห่ง ที่สองและสามนั้น คาดว่าจะเปิดได้ในเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคมอาจ
จะออกมาในรูป bakery corner ด้วยเพื่อให้ลูกค้าซื้อกลับบ้านได้สะดวกโดยมีทำเลในห้างสรรพสินค้า
และอยู่ใกล้จุดแคชเชียร์ในซูเปอร์มาร์เก็ต นี่คือแนวคิดของเขา
ร้านเดลิฟรองซ์ที่ถนนสีลมได้รับการต้อนรับอย่างดีจากลูกค้าย่าน นั้น แม้วันเสาร์อาทิตย์ที่ออฟฟิศหยุด
ก็ยังมีคนเข้ามาอุดหนุนอย่างหนาแน่น เขากล่าวว่า "ยอดขายตอนนี้สูงกว่าที่เคยทำประมาณการเอาไว้
ซึ่งตอนที่ทำนั้นก็ทำอย่างคอนเซอร์เวทีฟแล้ว แม้แต่วันเสาร์อาทิตย์ก็ยังขายดี"
คงต้องจับตาดูกันต่อไปว่าครัวซองซ์ บาแกตต์ และแซนด์วิชฝรั่งเศสรายนี้จะเป็นแบรนด์ที่ประสบ
ความสำเร็จเพียงใด เพราะคนที่ทำนั้นเชื่อว่าในภาวะตกต่ำ ยังมีโอกาสแฝงอยู่