Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2542
ธุรกิจโรงเรียน อย่าถามเรื่องเวลาการคืนทุน             
 


   
search resources

โรงเรียนนานาชาติเกศินี
พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล




หลังจากทำดีลสำคัญ คือขาย สนามกอล์ฟอัลไพน์กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับให้กับทางบริษัทแอสซี แอสเซ็ท ของดร.ทักษิณ ชินวัตร เรียบร้อยแล้ว วันนี้พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ก็ได้หันมาใช้เวลาทั้งหมดให้กับโรงเรียนนานาชาติเกศินี ซึ่งเพิ่งเปิดทำการสอนไปเมื่อกลางปี 2541

นับว่าเป็นโรงเรียนนานาชาติอีกแห่งหนึ่งที่ได้มีการเตรียมงานทุกอย่างพร้อมไว้หมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนทางด้านอาคารเรียน อุป-กรณ์การเรียนการสอน และบุคลา-กร แต่ในขณะที่ยังไม่ได้ทำการเปิดสอน ต้องเจอกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกรวมทั้งเหตุการณ์ค่าเงินบาท ลอยตัว การปิดสถาบันการเงินใน เมืองไทย แน่นอนสิ่งเหล่านี้มันย่อม กระทบโดยตรงต่อกลุ่มลูกค้าเป้าหมายซึ่งก็คือบรรดาลูกหลานในครอบครัวของ บรรดาเศรษฐีที่เคยร่ำรวยและชาวต่างชาติที่ถูกว่าจ้างเข้ามาทำธุรกิจในไทย

รวมทั้งผู้ประกอบการเอง ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ เพิ่มขึ้นพร้อมกับกลุ่มลูกค้าหดหายไป

ก่อนหน้าที่จะมาทำธุรกิจโรงเรียนทางพงษ์ศักดิ์เองก็ได้มีการศึกษาพบว่า โรงเรียนนานาชาติที่มีส่วนใหญ่ตกอยู่ใน ภาวะขาดทุนแทบทั้งสิ้นดังนั้นพอเอ่ยปากว่าจะสร้างโรงเรียนทีไร ทางเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้องใกล้ชิดก็ต่างพากันห้ามเอาไว้ทุกครั้งไป

"โรงเรียนคือธุรกิจที่ทำแล้วขาดทุน เป็นธุรกิจที่นายธนาคารไม่อยากคุยด้วย เป็นธุรกิจที่รัฐบาลหลายยุคหลายสมัยให้ความสำคัญเหมือนลูกเมียน้อย"

พงษ์ศักดิ์เล่าให้ฟัง แต่เขาก็ยังยืนยันที่จะทำ ส่วนหนึ่งที่เขาต้องการทำธุรกิจโรงเรียน ก็เพราะว่าในขณะนั้นตนเองกำลังมีลูกเล็กๆ และวางแผนอยากให้ลูกศึกษาในระบบโรงเรียนนานาชาติ แต่ไม่อยากส่งลูกไปเมืองนอก ต้องการให้ลูกสัมผัสคลุกคลีกับวิถีชีวิตแบบไทยๆ มากกว่า เพราะมั่นใจว่าถึงอย่างไรเมื่อโตขึ้นลูกก็ต้องกลับมาทำธุรกิจที่เมืองไทย

แต่จุดสำคัญที่สุดในการตัดสินใจอยู่ตรงที่ว่าได้สนใจกับระบบการศึกษาในเมืองไทยมานาน หลังจากที่พบว่านักศึกษาที่จบปริญญาตรีหรือปริญญาโทหลายคน ที่เข้ามาร่วมงานในบริษัทของเขาถึงแม้จะมีคะแนนดีๆ ประดับติดตัวกันมา แต่จะมีบุคลิกที่ไม่กล้าแสดงออกไม่กล้าแสดงความคิดเห็น และทำงานด้านวิเคราะห์วิจัยได้ไม่ดีเท่าที่ควร

เมืองไทยยังมีระบบการศึกษาแบบเดิมๆ ที่ทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออกเป็นสิ่งที่เขาเคยสรุปไว้ แล้วยังมีคำถามของตนเองอีกว่าถ้าบ้านเรายังมีระบบ การศึกษาแบบเดิมแล้วเด็กเราจะตามทันโลกหรือไม่

นั่นคือความตั้งใจ ประกอบกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมของเขาอยู่ในช่วงที่กำลังซบเซาก็เลยตั้งใจจะหยุดพัฒนาที่ดิน แล้วมารุกธุรกิจโรงเรียนอย่างจริงจัง และเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงเลยชักชวนเพื่อนฝูงที่เป็นเศรษฐีหลายคนซึ่ง มีแนวความคิดเห็นตรงกัน ในเรื่องระบบการศึกษาของเมืองไทยมาร่วมเข้าหุ้น โดยใช้ที่ดิน 16 ไร่ ในหมู่บ้านเกศินีวิลล์ ย่านห้วยขวางซึ่งเป็นที่ดินดั้งเดิมที่ซื้อไว้เมื่อประมาณ 20 กว่าปีก่อน สมัยทำโครงการบ้านจัดสรร โครงการแรกในปี 2528

ดังนั้นพงษ์ศักดิ์จึงอาจจะแตกต่างกับเจ้าของโรงเรียนบางแห่งซึ่งเป็นนักจัดสรรที่ดิน และสร้างโรงเรียนขึ้นมาเพื่อหวังที่จะขายโครงการที่อยู่อาศัยซึ่งอยู่รอบๆ เพราะโครงการในหมู่บ้านเกศินีนั้นขายไปหมดนานแล้ว

โรงเรียนนานาชาติเกศินีได้ทำข้อตกลงกับ วอชิงตัน อินเตอร์แนชั่นแนล สคูล (WIS) ซึ่งเป็นโรงเรียนนานาชาติที่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี.ให้ส่งคนมาดูแลเรื่องหลักสูตรการเรียน การสอนเพื่อให้เป็นไปตามระบบสากล รวมทั้งการคัดเลือกครูโดยทาง WIS ได้รับเอาโรงเรียนนานาชาติเกศินี เป็นสาขาหนึ่งของเขา

จุดที่เขาประทับใจ WIS จนต้องเอากลับมาใช้ในเมืองไทยก็คือ เป็นโรงเรียนที่สอนแบบ bilingual (ควบสองภาษา) คือภาษาหลักเป็นภาษาอังกฤษ ควบกับภาษาที่สองเช่นฝรั่งเศสและสเปน และเป็นโรงเรียนที่ศึกษาค้นคว้าระบบแบบนี้มาประมาณ 30 ปี

นักเรียนในโลกอนาคตของพงษ์ศักดิ์ ตามปรัชญาของ WIS จะเน้นการศึกษาไปใน 3 เรื่องใหญ่คือ 1. ต้องพูดภาษาอังกฤษได้ 2. ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็น และ 3. ปลูกฝังให้เด็กเป็นคนช่างคิดช่างถาม ที่สำคัญคือไม่มีการบ้านใน เด็กเล็กเด็ดขาด ส่วนที่เอาสอดแทรกดัดแปลง บ้างก็คือการเรียนพร้อมๆ ไปกับการเรียนรู้วัฒนธรรมไทย โรงเรียนนานาชาติเกศินี ขออนุญาตในการเปิดสอนถึงชั้นประถมปีที่ 6 แต่ในปี 2542 นี้จะเปิดสอนตั้งแต่อนุบาลถึงประถม 1 ไปก่อน หลังจากนั้นก็จะทยอยเปิด ไปเรื่อยๆ จนถึงป.6 และในอนาคต อาจจะขออนุญาตเปิดสอนต่อในระดับมัธยมปลาย ปัจจุบันมีนักเรียน ประมาณ 110 คน

พงษ์ศักดิ์บอกว่าจำนวนนักเรียนที่เข้ามาในระยะเริ่มแรกนี้เป็นที่น่าพอใจ แต่เขาจำเป็นต้องลดค่าเล่าเรียนลงครึ่งหนึ่งตามภาวะเศรษฐกิจ จากเดิมปีละประมาณ 4 แสนลดลงเหลือประมาณ 2 แสนบาทเท่านั้น และคงต้องยืนราคาดังกล่าวไปก่อนจนกว่าสถานการณ์โดยรวมจะดีขึ้น

พงษ์ศักดิ์ใช้งบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนประมาณ 150 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในเรื่องของหลักสูตร บุคลากร และอุปกรณ์ ไปอีกจำนวนมาก เมื่อถามว่าคาดว่าจะใช้เวลานานแค่ไหนในการคืนทุน เขาตอบว่าในช่วงเวลานี้แทบไม่ได้คิดเรื่องการคืนทุน แต่ทำใจไว้ตั้งแต่ในระยะแรกแล้วว่า ถึงไม่ได้กำไร แต่ก็เป็นธุรกิจที่ทำให้คนไทยมีทางเลือกในการศึกษา

และเมื่อภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นเขาก็จะหวนคืนสู่สนามเก่าเรียลเอสเตท อีกครั้งหนึ่งแน่นอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us