Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2542
ปูนซิเมนต์ไทย + ดาว เคมิคอล = แข็งแกร่ง             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย
โฮมเพจ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
ปูนซิเมนต์ไทย, บมจ.
Chemicals and Plastics
ดาว เคมิคอล (ประเทศไทย), บจก.




หลังจากทนทุกข์ทรมานกับความบอบช้ำทางด้านเศรษฐกิจตลอดระยะเวลา 2 ปี ถึงวันนี้ธุรกิจหลายแห่งเริ่มหายใจคล่องมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อบริษัทจัดอันดับทั้งมูดี้ส์ และเอส แอนด์ พี ที่ได้ให้เครดิตประเทศไทยจากยอดแย่มาเป็นระดับเสถียรภาพ ทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นคึกคักขึ้นมาอีกครั้ง หรือการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัท ที่เกิดจากเศรษฐกิจฟองสบู่เริ่มส่อเค้าไปในทางที่ดีแม้ว่าจะเฉื่อยชาไปบ้าง แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดีที่บ่งบอกถึงการกู้ซากปรักหักพังว่ามีความคืบหน้ามากขึ้น ซึ่งรัฐบาลวาดฝันไว้ว่าปี 2542 อัตราการเจริญเติบโตจะกลับมาเป็นบวก 1% และปีหน้าคาดว่าจะกระโดดไปอยู่ที่ระดับ 3%

สำหรับภาคธุรกิจที่แท้จริงโดยเฉพาะภาคการส่งออกซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก และเป็นดัชนีที่จะบอกว่า ประเทศไทยมีอัตราการเจริญเติบโตมากน้อยเพียงใด ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา หลายๆ ธุรกิจทนพิษบาดแผลทางเศรษฐกิจไม่ได้ต้องยกธงขาว ขณะเดียวกันธุรกิจที่ยังไม่ตายก็กระเสือกกระสนหาทางออกในหลายๆ รูปแบบเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะธุรกิจที่เติบโตขึ้นมาในลักษณะครอบครัวและอาศัยเงินกู้มาดำเนินธุรกิจ ในทางกลับกันก็ยังมีองค์กรหลายๆ แห่ง ที่รอดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งนี้ แม้ว่าจะกระเทือนบ้างแต่ก็แค่ถลอกเท่านั้น โดยเฉพาะบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีพาร์ตเนอร์ที่ดีและทำธุรกิจแนว conservative

บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) และบริษัทร่วม แม้ว่าจะประกาศตัวเลขผลการดำเนินงานไตรมาสแรกของปี 2542 ออกมาไม่สวยหรูนัก โดยมีรายได้รวม 26,443 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน 32,770 ล้านบาท ลดลง 19% ส่งผลให้ขาดทุนสุทธิ 1,165 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 24,423 ล้านบาท

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้บริษัทอธิบายว่าเกิดจากในปีก่อนมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวนมาก แต่งวดนี้มีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนรวมทั้งมีค่าใช้จ่ายจาก การปรับโครงสร้างธุรกิจเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และความคล่องตัวในการบริหารงาน ตลอดจนสามารถปรับตัวเข้ากับการแข่งขันทั้งในปัจจุบันและอนาคต และลดบทบาทในธุรกิจที่ไม่มีความชำนาญ และต่อจากนี้ไปกลุ่มปูนซิเมนต์ไทยจะเน้นธุรกิจกลุ่มปูนซีเมนต์ กลุ่มกระดาษ และกลุ่มเคมีภัณฑ์ ซึ่งที่ผ่านมาธุรกิจทั้ง 3 กลุ่มคือหัวใจสำคัญของบริษัทในการ สร้างรายได้ เช่นในไตรมาส 1 ปี 2542 สร้างยอดขายจำนวน 5,611 ล้านบาท, 4,905 ล้านบาท และ 3,778 ล้านบาท ตามลำดับ กระนั้นก็ตามการขยายธุรกิจของกลุ่มปูนซิเมนต์ไทยก็ยัง "เสียงดัง" อยู่เสมอ

การปรับโครงสร้างธุรกิจที่ผ่านมาของปูนซิเมนต์ไทยนับว่าประสบความสำเร็จมากพอสมควร โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ โดยใช้กลยุทธ์การร่วมทุนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับตัวเอง ซึ่งปูนซิเมนต์ไทยโชคดีอย่างมากที่ได้บริษัทดาว เคมิคอล ยักษ์ใหญ่วงการเคมีภัณฑ์อันดับ 5 ของโลก เข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์ ถือว่าเป็น "คู่ค้า คู่คิด คู่ชีวิต" ที่ดีต่อกันอย่างแท้จริง

ความสัมพันธ์ของทั้งสองเริ่มต้นที่ดาว เคมิคอล เข้ามาดำเนินงานโรงงานผลิตโพลิสไตรีน ที่สมุทรปราการเมื่อ
ปี 2518 จากนั้นได้เปิดให้ปูนซิเมนต์ไทยเข้ามาร่วมทุนในโรงงานแห่งนี้เมื่อปี 2530 และก่อนหน้านั้น คือในปี 2526 ปูนซิเมนต์ไทยเริ่มเข้าสู่ถนนสายธุรกิจปิโตรเคมี โดยก่อตั้งโรงงานผลิตโพลิเอททีลีนและโพลิโพรพีลีน อันเป็นช่วงเดียวกับการเริ่มโครงการปิโตรเคมีแห่งชาติ (NPC) ขณะที่ดาว เคมิคอล เริ่มมีบทบาทในการนำเทคโนโลยีและการเปิดตลาดสู่กลุ่มประเทศในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแถบเอเชียแปซิฟิกมากขึ้น

จากอดีตจนถึงปัจจุบันปูนซิเมนต์ไทยและดาว เคมิคอล ได้มีบริษัทร่วมทุนด้วยกัน 5 บริษัทแล้ว ล่าสุดบริษัทร่วมทุนแห่งที่ 6 เพิ่งเปิดเป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกโพลิ เอททีลีนไปเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ถือว่าเป็นโรงงานขนาดระดับโลกด้วยกำลังการผลิตโพลิเอททีลีน 3 แสนตันต่อปี ใช้เม็ดเงินลงทุนกว่า 3.6 พันล้านบาท

"จุดนี้เป็นจุดสำคัญเพราะเป็นการพิสูจน์สายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของบริษัทแม่ทั้งสองฝ่าย เราเชื่อมั่นว่าโรงงานใหม่แห่งนี้มีความพร้อมที่จะช่วยให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ และระบบการผลิตใหม่ๆ ตอบสนองลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น และให้มีข้อได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เราร่วมกันขยายกิจการในภูมิภาคนี้อย่างมาก" ปีเตอร์ ไซค์ส กรรมการผู้จัดการบริษัทร่วมทุนระหว่างปูนซิเมนต์ไทยกับดาว เคมิคอล (ประจำประเทศไทย) กล่าวถึงสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสององค์กร

ในบรรดาบริษัทร่วมทุนทั้ง 6 แห่ง ดูเหมือนว่าโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกโพลิเอททีลีน เป็นกิจการที่ปูนซิเมนต์ไทยและดาว เคมิคอล มีความกังวลมากที่สุด เพราะโรงงานนี้ใช้เทคโนโลยีระดับสูงและมีขนาดใหญ่ อีกทั้งเป็นโรงงานแห่งที่ 3 ของดาว เคมิคอล หลังจากสร้างที่เยอรมนีและแคนาดา และเมื่อรวมกำลังการผลิตโพลิเอททีลีนของปูนซิเมนต์ไทยที่มีในปัจจุบัน 5 แสนตันต่อปี จะกลายเป็น 8 แสนตันต่อปี ถือว่าเป็น "The Large on The World"

และอภิพร ภาษวัธน์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ปูนซิเมนต์ไทย ยังเชื่อว่าการร่วมทุนระหว่างสององค์กรที่ประสบความสำเร็จ ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น การเปิดโรงงานแห่งใหม่ครั้งนี้เป็นความสำเร็จครั้งสำคัญ ที่ส่งผลให้ปูนซิเมนต์ไทยก้าวขึ้นเป็นบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมนี้ ทั้งด้านขนาดและศักยภาพการแข่งขัน "เมื่อรวมกับกำลังการผลิตของโรงงานโพลิเอททีลีนของเราอีก 3 แห่ง ยิ่งทำให้โรงงานแห่งนี้มีความแข็งแกร่ง และเป็นผู้นำในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในการขยายตลาดภายในภูมิภาค"

อย่างไรก็ดียังมีความกังวลว่าจากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่ยังไม่ฟื้นอาจจะทำให้ผลิตภัณฑ์ ที่ทั้งสองบริษัทผลิตขึ้นมาจะเกินความต้องการ เพราะเป้าหมายหลักของโรงงานแห่งใหม่ผลิตขึ้นมาเพื่อรองรับการบริโภคภายในประเทศเท่านั้น ขณะที่ปัจจุบันความต้องการเม็ดพลาสติกโพลิเอททีลีนในไทยมีเพียง 70,000-80,000 ตันต่อปี ดังนั้นเป้าหมายต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วยการส่งออกประมาณ 80%

"ตลาดปิโตรเคมีในเอเชียเติบโตประมาณปีละ 5% และตลาดเอเชียแปซิฟิกคาดว่าต่อไปจะเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล ดังนั้นเราทำธุรกิจนี้ไม่ได้มองระยะสั้นๆ เพราะโรงงานแห่งนี้จะอยู่ไปได้อีก 30 ปีข้างหน้า" ปีเตอร์ ไซค์ส กล่าว

ทางด้าน แอนดี้ ดูปองท์ ผู้อำนวยการฝ่ายการค้าโพลิเอททีลีนภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ดาว เคมิคอล กล่าวเสริมว่าประเทศแถบเอเชียมีอัตราการเติบโตด้านการส่งออกที่ดีมาก โดยเฉพาะบริษัทคู่ค้าซึ่งดำเนินธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์ จะไม่ค่อยได้รับผลกระทบในการดำเนินธุรกิจสักเท่าใด "ฉะนั้นปัจจัยนี้ก็ยังทำให้ธุรกิจของเราคล่องตัวได้ดี ถึงแม้ว่ารายอื่นๆ ในช่วงกลางปี 2540 หลายบริษัทถอนตัวออกไป แต่เรากลับสวนทางด้วยการลงทุนและช่วงนี้สำเร็จแล้วเพราะเศรษฐกิจเริ่มโงหัวขึ้น"

ซึ่งคาดว่าในปีนี้โรงงานทั้ง 6 แห่งที่ปูนซิเมนต์ไทยและดาว เคมิคอลร่วมกันสร้างขึ้นมาจะทำยอดขายได้ประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 6 พันล้านบาท

หลังจากเหน็ดเหนื่อยมามากกับการขยายฐานธุรกิจขององค์กรยักษ์ใหญ่ทั้งสอง บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่พวกเขาจะตักตวงผลพวงแห่งการลงทุน แม้ว่าศักยภาพที่จะขยายการลงทุนต่อไปยังมีอีกมาก เนื่องจากไม่มีปัญหาเรื่อง cash flow

"ในช่วงนี้ผมขอ enjoy กับสิ่งที่ลูกจะหามาให้กินหรือปรนนิบัติมากกว่า คือช่วงนี้ผมขอหยุดพักสัก 2-3 ปี เพื่อดูทิศทาง เพราะมันเป็นช่วง up cycle ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี หลังจากที่เราเปิดโรงงานมาตลอดในช่วงที่ผ่านมา ผมมั่นใจว่าต่อไปนี้ถึงเราไม่ขยายการลงทุน ก็จะสามารถเพิ่มผลประกอบการเป็น 3 หมื่นล้านบาทในปี 2545" ปีเตอร์ ไซค์ส กล่าว

พูดง่ายๆ ก็คือ นับจากนี้เป็นต้นไปถึงจุดแล้วที่ปูนซิเมนต์ไทยและดาว เคมิคอล จะปฏิบัติการ"make money" โดยเฉพาะลูกคนที่ 6 ที่เพิ่งคลอดออกมา ที่ทั้งสองบริษัทตั้งความหวังเอาไว้มากว่าจะสร้างรายได้อย่างมาก "ลูกคนอื่นๆ กว่าจะเลี้ยงดูแม่ได้ต้องใช้เวลานานหลายปีแต่ การลงทุนระหว่างเราทั้งสองได้ผลทันที ลูกคนนี้เป็นอัจฉริยะ และนับจากนี้เขาจะนำความสดใสและความเจริญรุ่งเรืองมาให้แม่อย่างเดียว" แอนดี้ ดูปองท์ กล่าวตบท้าย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us