การบูมของอิเล็กทรอนิกส์ คอม เมิร์ซ หรือ อี-คอมเมิร์ซของเมืองไทยในระยะนี้
มีหลายปัจจัยด้วยกัน และที่มองข้ามไม่ได้เลยก็คือ บทบาทของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเกี่ยว
ข้องโดยตรงกับการชำระเงิน ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการของอี-คอมเมิร์ซ
เวลานี้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าในเว็บไซต์ สามารถชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ได้ทันที
ไม่ต้องรอให้ผู้ขายโทรศัพท์กลับไปตรวจสอบประวัติ ยอดเงินของผู้ซื้อจากแบงก์
ทำให้ความฝันของผู้อยากทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตเริ่มเป็นจริงมากขึ้น
แบงก์ไทยพาณิชย์และกรุงไทย เป็นสองแบงก์ที่ออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องของอี-คอมเมิร์ซค่อนข้างมาก
แม้ว่ากฎหมายอี-คอมเมิร์ซยังไม่คลอดมาในเร็ววันนี้ก็ตาม
"บางอย่างเราก็ทำไปได้เลย ไม่ต้องรอกฎหมายของอี-คอมเมิร์ซ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วเราอาจตามไม่ทันคนอื่นก็ได้"
วิชิต อมรวิรัตน์สกุล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโสสาย งานเทคโนโลยี ธนาคารไทยพาณิชย์กล่าว
ธนาคารก็จัดเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการลงทุนในเรื่องระบบอินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี
(ไอที)มากสุดเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ส่วนที่รองมาคือธุรกิจร้านค้าปลีกแบบที่มีสาขามากๆ
เมื่อประเมินการลงทุนในเรื่องไอทีระหว่างแบงก์พาณิชย์ด้วยกันแล้ว แบงก์ไทยพาณิชย์มีภาพลักษณ์โดดเด่นในเรื่องเหล่านี้ค่อนข้างมาก
ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะไทยพาณิชย์ได้ชื่อว่าเป็นแบงก์แรก ที่นำเอทีเอ็มมาใช้จนประสบความสำเร็จด้วยดี
จำเป็นต้องรักษาภาพเหล่านี้เอาไว้อย่างเหนียวแน่น
ไทยพาณิชย์ใช้เงินลงทุนไอทีแต่ละปีเกือบๆ พันล้านบาท ปีที่แล้วใช้ไป 900
ล้านบาท แต่ปีนี้จะลดลงเหลือประมาณ 680 ล้านบาท
ทางด้านแบงก์กรุงไทย มาถึงเวลานี้ก็ไม่ยอมตกรถไฟสายด่วนที่ชื่อ "อี-คอมเมิร์ซ"
ที่แล้วมาแบงก์กรุงไทยก็ลงทุนในเรื่องของไอทีไปไม่น้อย ยิ่งในยุคกรุงไทยโฉมใหม่
ที่มีสาขาเพิ่มเกือบ 600 สาขาหลังรวมเอาสาขาของแบงก์กรุงเทพฯ พาณิชย์การเข้ามา
และมีเป้าหมายกระจายบริการ ไปสู่ลูกค้าที่เป็นรายย่อยด้วยแล้ว จึงต้องไปให้ทันกับอี-คอมเมิร์ซ
แม้ว่าจะมองไม่เห็นว่าอี-คอมเมิร์ซจะช่วยในเรื่องการเพิ่มรายได้ของแบงก์มากไปกว่าการกระตุ้นยอดผู้ใช้บัตรเครดิตก็ตาม
"แบงก์กรุงไทยได้ชื่อว่าเป็นรายแรกๆ ที่กล้ามากๆ ในเรื่องของอี-คอมเมิร์ซ
เพราะเวลานี้ยังไม่มีกฎหมายออกมา แต่ถ้าไม่ทำก็ทำให้เราตามกระแสไอทีไม่ทัน"
สหัส ตรีทิพยบุตร รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทยกล่าว
แบงก์กรุงไทยเริ่มต้นด้วยโครงการที่มีชื่อว่า "ไทยทัศน์" เป็นบริการให้ลูกค้าที่ใช้บัตรเครดิตของกรุงไทย
สามารถซื้อตั๋วเครื่องบินภายในประเทศของการบินไทยผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้
เมื่อจองที่นั่งผ่านบัตรเครดิต ถึงวันจะเดินทางก็ไปที่สนามบิน และแจ้งชื่อที่เคาน์เตอร์ของการบินไทยก่อนขึ้นเครื่อง
แต่ไทยทัศน์เป็นบริการที่ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร เพราะมีข้อจำกัดว่าผู้ใช้บริการนี้จะต้องเป็นผู้ถือบัตรเครดิตกรุงไทยเท่านั้น
ซึ่งลูกค้าที่ใช้บัตรเครดิตของแบงก์กรุงไทยยังมีไม่มาก เดิมทีแบงก์กรุงไทยก็มีแผนจะชักชวนให้แบงก์
อื่นมาเข้าร่วมแต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแบงก์อื่นๆ ก็กลัวจะถูกแบงก์กรุงไทยแย่งเอาฐานลูกค้าไป
แบงก์กรุงไทยจึงต้อง แก้เกมใหม่ เปิดให้ผู้ที่มีบัญชีออมทรัพย์ของแบงก์กรุงไทย
งานนี้แบงก์กรุงไทยใช้เงินลงทุน 55 ล้านบาท กับการสร้างระบบ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
โดยเฉพาะระบบรักษาความปลอดภัยในการชำระเงิน ที่นอกจากจะมีระบบ SSL ของเวอริไฟน์ที่นิยมอยู่ในเวลานี้
แบงก์เองก็ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์มาป้องกันอีก 2-3 ชั้น
การพัฒนาระบบนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างฝ่ายไอทีของแบงก์ บริษัทกรุงไทยคอมพิวเตอร์เซอร์วิส
(เคซีเอส) บริษัทในเครือที่ตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ป้อนให้แบงก์ และบริษัทเคทีซี
รับผิดชอบในเรื่องของบัตรเครดิตกรุงไทย
แหล่งข่าวในแบงก์กรุงไทยเล่าว่า บริการไทยทัศน์ จะเป็นแค่การปูฐานของอี-คอมเมิร์ซของแบงก์เท่านั้น
"ไม่ได้หมายความว่า เราเสียเงินลงทุน 55 ล้านบาทในการสร้างระบบมา ใช้เวลาพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อไว้ให้ลูกค้าซื้อตั๋วเครื่องบินได้อย่างเดียว
แต่เราจะใช้โครงข่ายของไทยทัศน์สำหรับบริการอื่นๆ ต่อไป"
บริการที่ตามมาจากโครงข่ายนี้ก็คือ การที่แบงก์กรุงไทยไปจับมือกับเคเอสซี
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ไอเอสพี) ในการเปิดศูนย์การค้ากรุงไทย-เคเอสซี
อีคอมเมิร์ซ หรือ ไทยไซเบอร์มอลล์ เป็นอีกเว็บไซต์หนึ่งที่ลูกค้าสามารถชำระเงินซื้อสินค้า
ได้ แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่าลูกค้าที่ใช้บริการ นี้จะต้องเป็นลูกค้าบัตรเครดิตของกรุงไทยเท่านั้น
ทำนองเดียวกัน แบงก์กรุงไทยก็อยู่ระหว่างเสนอบริการนี้กับบริษัทแกรมมี่
เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ เจ้าของค่ายเพลง ที่กำลังซุ่มในเรื่องการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต
ในการที่จะให้ลูกค้าที่ถือบัตรของกรุงไทยสามารถซื้อเทป หรือแผ่นซีดีเพลงจากเว็บไซต์ของแกรมมี่ได้
"เวลานี้เรามองในเรื่องของการค้าขายกับลูกค้ารายย่อยๆ ไปก่อน เรายังไม่ได้มองไปถึงบิสซิเนสทูบิสซิเนส
เพราะยังเป็นเรื่องอีกนาน ต้องรอให้กฎหมายออกมาก่อน" แหล่งข่าวกล่าว
แต่สำหรับแบงก์ไทยพาณิชย์ เป้าหมายการลงทุนเรื่องอี-คอมเมิร์ซของแบงก์นี้
คือรายได้ที่จะเกิดจากค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมผ่านระบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินผ่าน
บัตรเครดิต รวมถึงการเปิดแอลซีสั่งซื้อสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งแบงก์จะมีรายได้จากค่าธรรมเนียม
แบงก์ไทยพาณิชย์จึงต้องออก โรงกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายผ่านระบบอี-คอมเมิร์ซนี้มากๆ
นอกเหนือ จากการยอมให้มีการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต โดยไม่ต้องแฟกซ์ลายเซ็น
แถมยังลดค่าธรรมเนียมลงเหลือ 2.5-5% จากยอดขายสินค้าและแบงก์ ยังออกบริการบนอินเตอร์เน็ต
ออกมา 4-5 บริการ
บริการในรูปแบบของอินเตอร์ เน็ต แยกย่อยออกเป็น 3 บริการ เริ่มด้วยการเปิดเว็บไซต์
"ไทยมาร์เก็ต. เน็ต" ให้ผู้ส่งออกไทยใช้เป็นหน้าร้านในการขายสินค้าไปต่างประเทศ
แบงก์จะเปิดกว้างให้กับผู้ส่งออกทุกรายที่ไม่ใช่ลูกค้าแบงก์ไทยพาณิชย์เท่านั้น
เป้าหมายของแบงก์ไทยพาณิชย์ในเรื่องอี-คอมเมิร์ซ ไม่ได้อยู่ที่การซื้อขายให้รายย่อย
หรือที่เรียกว่า บิสซิเนสทูคอนซูเมอร์ แต่อยู่ที่บิสซิเนสทูบิสซิเนส นั่นก็คือ
การซื้อขายระหว่างผู้ผลิตอุปกรณ์กับผู้ผลิตสินค้า
"มูลค่าการทำอี-คอมเมิร์ซของเมืองไทย และในย่านเอเชีย จะเป็นเรื่องบิสซิเนสทูบิสซิเนสมากกว่าจะเป็นการซื้อขายของให้ผู้ซื้อรายย่อย
เพราะในไทยคนใช้อินเตอร์เน็ตยังมีอยู่แค่ 2 แสนคน"
เมื่อเป็นเช่นนี้แบงก์จึงนำบริการที่อยู่ในรูปของเอ็กซทราเน็ต มารองรับกับการทำธุรกรรมดังกล่าว
เรียกว่า บริการ SCB CASH MANAGEMENT บริการนี้จะให้สำหรับ ลูกค้าของแบงก์เท่านั้น
บริการที่ให้ก็คือ ฝาก ถอน โอนเงิน ชำระเงินค่าน้ำค่าไฟ สอบถามราคาหุ้น อัตราดอกเบี้ยเหมือน
กับเป็นธนาคารส่วนตัว และล่าสุดก็คือ ซื้อขายสินค้าได้ด้วย ผู้ขายรายแรกผ่านระบบนี้
คือ ออฟฟิศเดปโป้ ขายสินค้าประเภทเครื่องพีซี เครื่องถ่ายเอกสาร ผู้ใช้จะเสียบริการ
1,200 บาทต่อปี
บริการที่ 5 คือ บริการ SCB TRADE สำหรับผู้นำเข้าและส่งออกสินค้า จะไม่ต้องเสียเวลามาเปิดแอลซีที่แบงก์
แต่สามารถเปิดแอลซีกับแบงก์ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ทันที บริการนี้จะรองรับอี-คอมเมิร์ซในแบบบิสซิเนสทูบิสซิเนสโดยตรง
แต่ไหนๆ เมื่อพัฒนาเว็บเทคโนโลยีมาให้บริการแล้ว แบงก์ไทยพาณิชย์ก็ถือโอกาสให้บริการแก่ลูกค้าที่ใช้อินเตอร์
เน็ต ด้วยบริการรับชำระค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการ เคเบิลทีวี และเพจเจอร์ผ่านอินเตอร์เน็ต
บริการนี้ก็เช่นกัน ให้สำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ใช่ลูกค้าของแบงก์ไทยพาณิชย์
อย่างเดียว
รวมถึงขายบ้านผ่านอินเตอร์เน็ต บริการนี้เป็นผลพวงมาจากการแก้ไขปัญหา NPL
ของแบงก์อย่างหนึ่ง ในเรื่องของบ้านที่ยึดมาจากลูกค้า นำมาเสนอขายผ่านเว็บไซต์
ที่จะระบุรายละเอียดเบื้องต้นของตัวบ้าน ลักษณะของบ้าน ที่ตั้ง
วิชิตบอกวา สิ่งที่แบงก์ได้รับแน่ๆ ก็คือ รายได้จาก ค่าทรานแซคชั่น 5%
ที่จะได้เมื่อมีการชำระเงินเกิดขึ้น และจะมีรายได้จากค่าโฆษณาบนโฮมเพจ เมื่อเว็บไซต์มีคนเข้ามาดูมากๆ
และเมื่อมีการส่งออกมากขึ้น แบงก์จะได้ค่าธรรม เนียมจากการเปิดแอลซี และทางอ้อมก็คือได้ลูกค้าใหม่ของแบงก์เพิ่มเข้ามา
และนี่เป็นบทบาทส่วนหนึ่งของสองแบงก์ สองสไตล์ บนเส้นทางอี-คอมเมิร์ซ ที่มีแนวโน้มว่าจะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ
แม้ว่าเส้นทางนี้จะสัมฤทธิผล มียอดขายที่เกิดขึ้นกับระบบนี้ในระดับเป็นพันล้านได้เมื่อไหร่