Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2542
อีริคสันซื้อควอล์คอมม์ แผ้วทางสะดวกสู่ G3             
 


   
search resources

อีริคสัน (ประเทศไทย), บจก.




เป็นข่าวใหญ่โตในสหรัฐอเมริกา แต่ดูจะไม่กระทบกระเทือนกิจการในไทยเท่าไหร่นัก นั่นคือเรื่อง ที่อีริคสันสามารถหาทางยุติปัญหาความขัดแย้งทางธุรกิจต่างๆ กับบริษัท ควอลคอมม์ได้ด้วยการซื้อกิจการบางส่วนของควอลคอมม์ ซึ่งเป็นข่าวที่ "ผู้จัดการรายเดือน" เคยรายงาน ไปบ้างแล้ว

ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวงการโทรคมนาคมอาจจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของกิจการด้านนี้ ซึ่งมีการพัฒนามาจนถึงระยะที่กำลังจะก้าวล่วงเข้าสู่ยุคที่สาม (3G) แล้ว

อำนวยศักดิ์ ทูลศิริ รองประธานอาวุโสด้านการตลาดและสื่อสารองค์กร บ.อีริคสัน(ประเทศไทย) จำกัด เล่าถึงพัฒนาการของระบบโทรคมนาคมนี้อย่างคร่าวๆ ว่า ยุคแรกหรือ first generation เป็น เรื่องของระบบ อะนาล็อก ซึ่งในค่าย อเมริกาก็มีการพัฒนาระบบแอมป์ (amps) ขึ้นมาใช้ ส่วนในยุโรปก็มีหลายอัน เช่น amps 900, 450 ในฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี ก็มีหลายมาตรฐาน ในยุโรปก็เห็นปัญหา ว่าหากมีการพัฒนาหลายระบบก็คงแย่ เพราะความยิ่งใหญ่ของตัวเองไม่พอและต้นทุนในการทำ R&D มหาศาล ก็เริ่มมีความพยายามรวมตัวกันขึ้น ซึ่งในยุโรปมีหน่วยงานที่เรียกว่า EPSI เป็นตัว drive อันหนึ่งที่ช่วยผลักดัน เพราะโทรคมนาคมสมัยนั้นยังเป็นของรัฐอยู่ ก็มีการตั้งกลุ่มกันพัฒนาที่เรียกว่าเป็น second generation ซึ่งก็คือ GSM

"ผมเข้าใจว่าย่อมาจากคำว่า Group Special Mobile Phone ผลที่ได้คือระบบ GSM ในวันนั้น ซึ่งเป็น open standard หมายความว่าผู้ผลิตเครื่องรับโทรศัพท์หลายรายสามารถต่อเข้าไปทำงานร่วมกันได้ (ระบบ air interface) ไม่ใช่ระบบปิด และเป็นมาตรฐานของยุโรปใช้ร่วมกัน ซึ่งจากวันนั้น GSM ก็เติบโตเรื่อยมาและทุกคนก็ยอมรับอย่างไม่เป็นทางการว่าเป็น winner system"

ส่วนค่ายสหรัฐอเมริกานั้น หลังจากที่ทำ amps ก็ประสบความสำเร็จอย่างดีเลิศ มีการขยายตัวอย่างมหาศาล และตัวระบบเริ่มติดขัดเพราะความต้องการขยายตัวไปสู่ second generation (2G) เป็นระบบดิจิตอล แต่ก็มีการแตกแยกทางความคิดกัน ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าน่าจะใช้สิ่งที่มีอยู่คือเทคโนโลยีที่เรียกว่า TDMA อีกกลุ่มบอกว่าตัวนี้ไม่ใช่ของอเมริกัน เป็นของยุโรปคิดขึ้นมา ก็พยายามที่จะหาของตัวเอง จุดนี้เป็นจุดที่ทำให้อเมริกาเกิดการชะงักและล่าช้าในการก้าวไปสู่ยุคที่ 2 ของระบบเซลลูลาร์ ก็มีเพียงบางบริษัทเท่านั้นที่ไปได้

ต่อมามีบริษัทควอลคอมม์ของ ดร.ไอร์วิน มาร์ค ยาคอบส์ ได้นำเทคโนโลยีอันหนึ่งมาใช้เพื่อ access pro-duct เรียกว่า CDMA เป็น narrow band เป็นวิธีการ access อันหนึ่งซึ่งคิดมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เขาคิดขึ้นมาแล้วก็โปรโมต เขาเป็นศาสตราจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัย แห่งหนึ่งมีความสามารถพอสมควร จนคนอเมริกันเริ่มหันมามอง

จังหวะนั้นเริ่มมีการกระทบกระทั่งกันทางความคิดระหว่างค่ายที่ชื่นชอบ CDMA กับค่าย TDMA ต่อมาเทคโนโลยีก็พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง จาก 2G ขึ้นเป็น 3G ในยุโรปนั้นซึ่งนำโดยอีริคสันก็เป็นผู้นำในการพัฒนามาเป็น Wideband CDMA ซึ่งก็มีผู้ผลิตหลายรายมาทำตามเช่น โนเกีย ซีเมนส์ และคอมพิวเตอร์ค่ายยุโรป เอเชีย และหลายค่ายในอเมริกาก็หันมาพัฒนาใช้ระบบนี้ ดังนั้นมาตรฐาน Wideband CDMA ก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นมาตรฐานของ third generation (3G)

สำหรับค่ายอเมริกานั้นนำโดยควอลคอมม์ ก็ทำเป็น CDMA2000 เพื่อจะไป 3G เหมือนกัน โดย based on Narrowband

จุดนี้ก็เริ่มมีการต่อสู้กันอย่างรุนแรง และการอ้างสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาก็เกิดขึ้น เพราะอีริคสันก็อ้างว่า Wideband CDMA นั้นอีริคสันเป็นผู้คิดค้นขึ้น และตัว Narrowband CDMA อีริคสันก็เป็นผู้คิดขึ้นเช่นกันส่วน ทางควอลคอมม์ก็อ้างว่าเป็นทรัพย์สินของเขา ก็เกิดการฟ้อง ร้องกันในหลายกรณี และเรื่องก็ยังไม่ตัดสินี ในขณะที่กำลัง ฟ้องร้องกันอยู่ คนที่สนับสนุนด้าน Wideband CDMA หลายรายก็มองดูว่ามันจะเป็นอย่างไร หากว่าอีริคสัน เกิดแพ้ขึ้นมา

ขณะที่กำลังต่อสู้กันอย่างเข้มข้นนั้น อีริคสันก็พลิกล็อกด้วยการไปซื้อกิจการควอลคอมม์ และตกลงกันได้ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา กิจการที่ไปซื้อนั้นเรียกว่าเป็นเรื่องของระบบเซลลูลาร์ที่ไปทางภาคพื้นดิน และเป็น Narrowband สามารถใช้ IS95 และเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาที่มีผลกระทบในการพัฒนาของระบบ 3G ทางควอลคอมม์ตกลงว่าจะไม่ขัดขวางการพัฒนา อันนี้ก็สอดคล้องกับนโยบายของ ITU เพราะ ITU ไม่ต้องการให้ เกิดปัญหาเรื่องสิทธิบัตร (patent)

ส่วนเรื่องการซื้อ Narrowband CDMA หรือ IS95 นั้น อีริคสันตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะโฟกัสเฉพาะตลาดในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา อีริคสันเพิ่งส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นไปเป็นหัวหน้าในกิจการของควอลคอมม์ในส่วนที่ซื้อมา โดยไปประจำที่ซานดิเอโก, สหรัฐฯ

อีริคสันกลายเป็นผู้นำในการพัฒนาไปสู่ 3G เพราะ ก่อนที่ EPSI จะยอมรับนั้น ก็มีการต่อสู้กัน ทางซีเมนส์ก็มีมาตรฐานของเขา และยังมีอีก 3-4 แห่งที่มีมาตรฐานของตัวเอง แต่สุดท้ายทุกคนก็มายอมตามอีริคสัน

มร.ยอน เคมวอลล์ ประธานบริหาร บริษัทอีริคสัน (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวถึงดีลควอลคอมม์ว่า "ข้อตกลงระหว่างควอล์ควอลกับอีริคสัน มีความหมายมาก มันเป็นการยุติความขัดแย้งในเรื่องสิทธิต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างสองบริษัท นอกจากนี้ก็มีการตกลงในเรื่องการพัฒนาจาก second generation system ไปสู่ third generation system เพราะในอดีตที่ผ่านมาทั้งสองต่างมีวิธีการพัฒนาที่ต่างกันไป และอีริคสันยังซื้อ infrastructure business จากควอลคอมม์ ตอนนี้อีริคสันก็เป็นเจ้าของ 2G ทั้งระบบ PDC- ซึ่งเป็น Japanese system, ระบบ TDMA หรือ IS136, ระบบ GSM และตอนนี้ก็ยังมี 2G ของ CDMA ด้วย คือมีทุกระบบในมือ"

ถือเป็นความสำเร็จของอีริคสันในตอนนี้และจะเป็นจุดที่ทำให้บริษัทขยายกิจการอย่างมาก ในตลาดสหรัฐอเมริกา มร.ยอนกล่าว ว่า "ผมคิดว่ามูลเหตุสำคัญที่อีริคสันซื้อควอลคอมม์เข้ามาก็คือตลาด CDMA ในสหรัฐฯ ซึ่งใหญ่มาก อย่างไรก็ดี หากมองในแง่ของการพัฒนาโทรคมนาคมแล้วก็ถือว่าดีลนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะข้อขัดแย้งต่างๆ ที่มีระหว่างกันต้องยุติให้ได้ก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ 3G ได้"

"การที่เราได้ควอลคอมม์มาทำให้ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้แผนดำเนินการไปสู่ 3G สะดวกมากขึ้น คือแผนการนี้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วอยู่แล้ว แต่การซื้อควอลคอมม์ก็ทำให้ ปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลให้เกิดความล่าช้าถูกกำจัดไป" มร.ยอนกล่าว

นอกจากนี้ดีลควอลคอมม์ยังช่วยให้อีริคสันกลายเป็นผู้นำในตลาดโทรคมนาคมทั่วทั้งโลก เพราะ ตอนนี้เท่ากับว่าสามารถเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกาได้แล้ว ซึ่งหมาย ความว่ารายได้ของอีริคสันก็เติบโตขึ้นด้วย

การซื้อ ควอลคอมม์ นั้นทำ ให้อีริคสันกลายเป็นผู้นำระบบเซล-ลูลาร์ในทุกตลาดอย่างแท้จริง คือตามมาตรฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน อย่างในญี่ปุ่นใช้ระบบ PCD ซึ่งเป็นระบบเซลลูลาร์ที่โตเร็วที่สุด อีริคสันก็เป็นผู้ซัปพลายรายเดียวของโลกที่ซัปพลายในญี่ปุ่น ส่วนระบบ GSM นั้นอีริคสันก็เป็นผู้นำที่นำหน้ามากรายหนึ่งที่ซัปพลาย GSM ทุก element ส่วนระบบที่สามที่มีอยู่ในสหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศ ที่เรียกว่า IS136 สมัยก่อนเรียกว่า D-amps นั้นอีริคสันก็เป็นผู้นำในระบบนี้ด้วย ทั้ง infrastructure และ terminal

อำนวยศักดิ์อธิบายว่า "สมัยก่อนมี 3 มาตรฐานนี้ ตอนนี้เรามี 4 มาตรฐานคือเพิ่ม IS95 เข้าไปด้วย ดังนั้นมาตรฐานทุกอย่างที่มีในโลกนี้ อีริคสันเป็นรายเดียวที่มีหมด ซึ่งคนอื่นไม่มีเลย"

หากจะดูว่ามีซัปพลายเออร์รายใดที่มีครบแบบอีริคสันไหมตอน นี้ทุกรายก็ไปในแนวเดียวกับอีริคสัน ในเรื่องระบบชุมสายต่างๆ นั้น อีริคสันมีพรั่งพร้อมหมด และตอนนี้บริษัท ก็กำลังทำเรื่องตัวเครื่อง(mobile phone)เพื่อให้สมบูรณ์แบบครบวงจร แต่โดยที่ยังไม่มีการใช้ระบบบางระบบ ในเชิงพาณิชย์ จึงยังไม่สามารถตอบ ได้ว่าใครเป็นผู้พร้อมที่สุด แต่อีริคสัน เชื่อมั่นว่าตนเองพร้อมที่สุด

"ผู้ผลิตทุกราย ไม่ว่าจะเป็น นอร์เทล ลูเซ่นส์ อัลฟาเทล ซีเมนส์ ก็มุ่งทิศทางมาทางนี้หมด (หมายถึง 3G) คือในระดับ 2G นี่เรานำ ส่วน 3G นั้นเราก็ยังนำหน้าอยู่เช่นกัน แต่ ว่า 3G ยังไม่ใช้ในเชิงพาณิชย์ มันใช้ขั้นทดลองเท่านั้นเอง อย่างในญี่ปุ่นนั้นอีริคสันก็ร่วมมือกับบริษัท เอ็นทีที โดโคโม ในการที่จะร่วมกัน, ในเยอรมนีเราก็ร่วมกับบริษัทหนึ่งจำชื่อไม่ได้และในอิตาลี, อังกฤษ, สตอกโฮล์ม ก็ทดลองอยู่ทั้งนั้นและตัว 3G นั้นคาดว่าในญี่ปุ่นจะใช้ในเชิงพาณิชย์ในปี 2001 และคาดว่าในยุโรปจะใช้ในเชิงพาณิชย์ ในปี 2002-2003 ส่วนอเมริกาคาดว่าอาจจะถึง 2004-2005 นี่เป็นลิ่งที่หลายคนเฝ้ามองอยู่" อำนวยศักดิ์กล่าว ส่วนควอลคอมม์ไทยนั้น ตอนนี้อีริคสันยังไม่มีทิศทางอะไรชัดเจน การซื้อควอลคอมม์ นั้นอีริคสันจะโฟกัสตลาดเฉพาะ ในสหรัฐฯ อเมริกา ตลาดนอกสหรัฐเข้าใจว่าจะพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป

"อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเข้าใจว่าน่าจะเกี่ยวกับเรื่องการทำการตลาด เรื่อง positioning ของสินค้าต่างๆ คงต้องเปลี่ยน และคงต้องตกลงกันชัด เจนว่าจะทำอะไร แต่นี่คงเป็นปัญหาของตลาดสหรัฐอเมริกา มากกว่า เพราะในเอเชียนี่ โดยเฉพาะไทย ระบบ GSM ไม่ว่าจะเป็น 900 หรือ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ ยังเป็น dominant system อยู่และโอกาสที่ตัว IS95 จะเติบโตหรือพัฒนากลายเป็นคู่แข่งหลักของระบบ GSM หรือตัวอื่น คงจะต่ำ ดังนั้นตัว network ก็ไม่น่าจะใหญ่มาก มันก็ไม่น่าจะมีปัญหาทางการตลาดมากนัก และไม่ใช่เรื่องด่วน นี่เป็นมุมมองของผม" อำนวยศักดิ์กล่าวในที่สุด

อีริคสัน เป็นบริษัทโทรคมนาคมเก่าแก่รายหนึ่งที่เข้ามาทำตลาดในไทยและได้รับความสำเร็จอย่างดี บริษัทฯเป็นผู้จัดหาระบบ transmission, ระบบ switching และระบบ network management ให้กับทศท. และ TT&T

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us