Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2542
ความเครียด (2)             
โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
 





ฉบับที่แล้ว เราคุยกันถึงความเครียด และผลกระทบของความเครียดที่มีต่อร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงปัญหาพื้นฐานอย่างหนึ่งในบ้านเราที่ทำให้การจัดการความเครียดมักจะไม่ค่อยได้ผล นั่นคือ เราไม่ค่อยจะยอมรับกันว่าในบางครั้งบางเรื่องราว เรากำลังเครียด ทั้งนี้เนื่องจากคนกังวลว่าการยอมรับอาจจะหมายถึง การเสีย "ฟอร์ม" เสียหน้า ถูกมองว่าไม่มีความอดทน หรือ ขาดประสิทธิภาพ ไม่มีความสามารถ (ประโยคประเภทว่า ทำไมคนอื่นยังทนได้) รวมไปถึงความกังวลว่าจะถูกมองว่าเป็นคนป่วยโรคจิต บางคนอาจกังวลว่าการยอมรับนั้นหมายถึง และเท่ากับการถูกไม่ยอมจากคนรอบข้าง และผู้บังคับบัญชา ซึ่งหมายความว่า ความก้าวหน้าทางการงานจะไม่เกิดขึ้น

ผมเชื่อว่าคุณผู้อ่านคงจะพยักหน้าเห็นตามไปกับผมขณะที่อ่านว่าเป็นเรื่องที่สมควรกังวลจริงๆ ความกังวลดังกล่าวอาจจะให้ผลดีในแง่คนรอบข้างยังยอมรับ งานการยังคงไปได้ดี ไม่ถูกมองจากคนรอบข้างในแง่ลบ แต่คำถามที่ตามมาคือ ทุกอย่างดีอย่างที่เราคิดจริงหรือ และหากมันดีจริงค่าใช้จ่ายที่เสียไปกับการปกปิดความเครียดนี้มันคุ้มกับผลลัพธ์ที่ได้หรือไม่

ค่าใช้จ่ายที่สำคัญที่เกิดจากการไม่ยอมรับว่าความเครียดเป็นเรื่องปกติที่เกิดได้กับทุกคนคือ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความเครียดนั้นไม่ได้รับการแก้ไข หรือแก้ไขอย่างไม่มีประสิทธิภาพพอ ปัญหาที่เกิดจากความเครียดไม่ได้มีเพียง "ความรู้สึกเครียด หรืออาการทางกาย" เพียงเท่านั้น (ดังที่กล่าวไว้ในฉบับที่แล้ว) แต่สิ่งที่เรามักจะมองข้ามไปว่าปัญหาเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเครียด คือ ปัญหาการใช้เหล้า บุหรี่ และสารเสพติดอื่นๆ และปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนด้วยกัน ทั้งระหว่าง เจ้านายกับลูกน้อง เพื่อนกับเพื่อน ระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกัน รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว

ลองนึกถึงสถานบริการกลางคืน ตั้งแต่ผับไปจนถึงคาเฟ่ ทำไมสถานบริการเหล่านี้ถึงสามารถทำธุรกิจได้ตั้งแต่ยุคธุรกิจเฟื่องฟูเป็นฟองสบู่ มาจนถึงยุคธุรกิจซบเซาในปัจจุบัน ทำไมเศรษฐกิจดีคนเที่ยว เศรษฐกิจไม่ดีคนก็เที่ยว เพียงแต่ความบ่อยน้อยลง และทิปไม่หนักเท่าแต่ก่อน ทำไมเศรษฐกิจแย่สินค้าขายไม่ค่อยออก แต่เบียร์กลับขายดี (หรือที่จริงขายไม่ดี แต่บริษัทเบียร์กำลัง "บลั๊ฟ" บริษัทคู่แข่ง) ปรากฏการณ์เหล่านี้น่าจะเป็นภาพสะท้อนว่า ชีวิตคนวัยทำงานต้องการ "เวลานอก" จากความเครียดที่เขาประสบในชีวิตประจำวัน

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมักจะเกิดความเปลี่ยนแปลงในทางแย่ลงเมื่อมีความเครียด เข้ามาแทรก ลองสังเกตวันที่เจ้านายอารมณ์ไม่ดีจากเรื่องงาน สิ่งที่ตามมาคือบรรดาลูกน้องทั้งหลายมักจะเกิดความเครียดตามมา และพยายามลดความเครียดของเจ้านายโดยการทำในสิ่งที่คิดว่าจะทำให้เจ้านายอารมณ์ดีขึ้น โดยบางครั้งไม่ได้คิดว่าสิ่งที่ทำโดยหวังว่าจะลดความเครียดของเจ้านาย (เพื่อว่าเจ้านายจะได้ไม่มาลงที่ตัวเอง หรือตัวเองอาจจะก้าวหน้า เพราะเจ้านายมองว่าเป็นลูกน้องที่รู้ใจ)

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็ถูกกระทบจากความเครียด เช่นกรณีที่ มท.1 เกิดอาการ นอตหลุดด่านักข่าว หรือนายกถือ "มีดโกน" ขึ้นมาไล่กรีดนักข่าวว่ารับจ้างเขียนข่าว เหตุการณ์ เหล่านี้เรามักจะปล่อยผ่านไปไม่ให้ความสำคัญ โดยมองแต่เพียงว่าปัญหาเกิดจากฝ่ายหลังมีพฤติการณ์ยั่วยุจนอีกฝ่ายหนึ่งทนไม่ไหว แต่ที่จริงแล้วเรากำลังดูเบาปัญหา คนที่เคยควบคุมตัวเองได้ดีแล้วเกิดอาการหลุดขึ้นมา นั่นคือสัญญาณบ่งถึงความเครียดในตัวคนนั้น

ค่าใช้จ่ายที่แฝงเร้นเหล่านี้เราจ่ายไปโดยไม่ทราบว่ามันมีความเกี่ยวพันกับปัญหาความเครียด การจัดการกับปัญหาความเครียดนั้นประการแรกจึงต้องยอมรับว่าตัวเราเองเครียด

ต่อจากนั้นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเป็นลำดับถัดมา คือ สาเหตุหรือที่มาของความเครียด เมื่อเข้าใจจุดนี้เราจึงจะสามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเกิดปัญหาน้อยที่สุด เราอาจพิจารณาง่ายๆว่า ความรู้สึกเครียดที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณบ่งว่าเกิดความไม่สอดคล้อง ไม่สมดุลยกันระหว่าง ตัวกระตุ้น สิ่งเร้า หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กับความสามารถในการจัดการที่เรามีอยู่เดิม และเราจำเป็นต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อสร้างสภาวะสมดุลยกลับคืนมา

นั่นคือความเครียดเกิดจากปฏิสัมพันธ์ของความเปลี่ยนแปลงระหว่างปัจจัยนอกตัวเรา และปัจจัยในตัวเรา การเปลี่ยนแปลงในทางเพิ่มขึ้นของปัจจัยภายนอก และ/หรือการลดลงของปัจจัยภายในตัวเรา ล้วนแต่ทำให้สมดุลยในการจัดการความเครียดที่มีอยู่เดิมเสียไป ความเครียดจึงเกิดขึ้น

ในส่วนของปัจจัยภายนอกอาจแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นโดยตรง เช่น การได้งานเพิ่มขึ้น การรับงานที่ขาดความถนัด ปัญหาความสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิด (กรณีนี้บางครั้งเป็นได้ทั้งสาเหตุ และผลลัพธ์จากความเครียด) การตกงาน ปัญหาทางเศรษฐกิจ ในบางครั้งปัจจัยภายนอกที่เป็นตัวกระตุ้นอาจจะไม่รุนแรงมาก แต่บังเอิญมีหลายปัจจัยเข้ามาพร้อมกัน ทำให้บุคลนั้นไม่สามารถจัดการกับมันได้เหมือนแต่ก่อน ความเครียดจึงเกิดขึ้น

ปัจจัยภายนอกที่เป็นตัวเสริมให้เราทนความเครียดได้น้อยลง หรือจัดการกับความเครียดได้ไม่ดีเท่าแต่ก่อน คือ การเปลี่ยนแปลงของแรงสนับสนุนทางสังคม เช่น คนที่เคยมีเพื่อนร่วมก๊วน ไปไหนไปกัน มีปัญหาช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไข แต่พอเพื่อนมีครอบครัว หรือไม่มีเวลา ทำให้เวลามีปัญหาไม่รู้จะพึ่ง หรือขอคำปรึกษาจากใคร

ปัญหาในส่วนแรกเป็นปัจจัยภายนอกที่เรากำหนด และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ง่ายนักแต่ ปัจจัยที่เราสามารถกำหนดและเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงได้ง่ายกว่า คือ ปัจจัยในตัวของเราเองทั้งในแง่ของวิธีการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น (จากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก) และการเตรียมพร้อมล่วงหน้าก่อนที่ความเครียดจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการเตรียมความพร้อมให้เรา สามารถทนกับการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอก หรือ ทนกับความเครียดที่เกิดขึ้นเมื่อเราจัดการกับปัญหาไม่ได้ ในส่วนนี้เรามักจะละเลยไม่ค่อยให้ความสำคัญ ทั้งๆ ที่ตรงส่วนนี้เป็นด่านแรกที่จะสกัดกั้นความเครียดไม่ให้เกิดขึ้น หรือหากเกิดขึ้นก็รุนแรงน้อยกว่าที่มันควรจะเป็น จุดนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างคนสองคนที่ผจญกับปัญหาในลักษณะเดียวกัน ทำไมคนหนึ่งจึงจัดการไม่ได้ ขณะที่อีกคนหนึ่งไม่เกิดปัญหาความเครียดขึ้น หรือความรุนแรงของปัญหาน้อยกว่า

การจัดการปัจจัยภายในตัวเรานั้นคล้ายกับสภาพเขื่อน สภาพจิตใจที่ไม่แข็งแกร่ง หรือขาดการเตรียมความพร้อมก็เหมือนเขื่อนที่ไม่แข็งแรง ความเครียดที่มีอยู่แล้วในตัว เปรียบเสมือนปริมาณน้ำที่มีอยู่สูงจนเกือบจะล้นเขื่อน ถ้ามีความเครียดเพิ่มเติมเข้ามาอีกเพียงเล็กน้อย จิตใจสภาพดังกล่าวก็ไม่สามารถจัดการปล่อยให้ความเครียดแสดงออกมา หรือเกิดอาการ หลุดž ถ้าเป็นเขื่อน เขื่อนนี้ก็อาจจะพัง หรือปล่อยให้น้ำไหลทะลักออกมา

การให้ความสนใจกับปัจจัยภายในตัวเราจึงน่าจะเป็นสิ่งสำคัญ และมีความเป็นไปได้ในการจัดการ การเตรียมตัวแต่แรกจึงเป็นเสมือนการป้องกัน หรือการสร้างภูมิคุ้มกันต่อความเครียด เพื่อให้การดำเนินชีวิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเกิดปัญหาน้อยที่สุด

ความเครียด (2)

ฉบับที่แล้ว เราคุยกันถึงความเครียด และผลกระทบของความเครียดที่มีต่อร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงปัญหาพื้นฐานอย่างหนึ่งในบ้านเราที่ทำให้การจัดการความเครียดมักจะไม่ค่อยได้ผล นั่นคือ เราไม่ค่อยจะยอมรับกันว่าในบางครั้งบางเรื่องราว เรากำลังเครียด ทั้งนี้เนื่องจากคนกังวลว่าการยอมรับอาจจะหมายถึง การเสีย "ฟอร์ม" เสียหน้า ถูกมองว่าไม่มีความอดทน หรือ ขาดประสิทธิภาพ ไม่มีความสามารถ (ประโยคประเภทว่า ทำไมคนอื่นยังทนได้) รวมไปถึงความกังวลว่าจะถูกมองว่าเป็นคนป่วยโรคจิต บางคนอาจกังวลว่าการยอมรับนั้นหมายถึง และเท่ากับการถูกไม่ยอมจากคนรอบข้าง และผู้บังคับบัญชา ซึ่งหมายความว่า ความก้าวหน้าทางการงานจะไม่เกิดขึ้น

ผมเชื่อว่าคุณผู้อ่านคงจะพยักหน้าเห็นตามไปกับผมขณะที่อ่านว่าเป็นเรื่องที่สมควรกังวลจริงๆ ความกังวลดังกล่าวอาจจะให้ผลดีในแง่คนรอบข้างยังยอมรับ งานการยังคงไปได้ดี ไม่ถูกมองจากคนรอบข้างในแง่ลบ แต่คำถามที่ตามมาคือ ทุกอย่างดีอย่างที่เราคิดจริงหรือ และหากมันดีจริงค่าใช้จ่ายที่เสียไปกับการปกปิดความเครียดนี้มันคุ้มกับผลลัพธ์ที่ได้หรือไม่

ค่าใช้จ่ายที่สำคัญที่เกิดจากการไม่ยอมรับว่าความเครียดเป็นเรื่องปกติที่เกิดได้กับทุกคนคือ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความเครียดนั้นไม่ได้รับการแก้ไข หรือแก้ไขอย่างไม่มีประสิทธิภาพพอ ปัญหาที่เกิดจากความเครียดไม่ได้มีเพียง "ความรู้สึกเครียด หรืออาการทางกาย" เพียงเท่านั้น (ดังที่กล่าวไว้ในฉบับที่แล้ว) แต่สิ่งที่เรามักจะมองข้ามไปว่าปัญหาเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเครียด คือ ปัญหาการใช้เหล้า บุหรี่ และสารเสพติดอื่นๆ และปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนด้วยกัน ทั้งระหว่าง เจ้านายกับลูกน้อง เพื่อนกับเพื่อน ระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกัน รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว

ลองนึกถึงสถานบริการกลางคืน ตั้งแต่ผับไปจนถึงคาเฟ่ ทำไมสถานบริการเหล่านี้ถึงสามารถทำธุรกิจได้ตั้งแต่ยุคธุรกิจเฟื่องฟูเป็นฟองสบู่ มาจนถึงยุคธุรกิจซบเซาในปัจจุบัน ทำไมเศรษฐกิจดีคนเที่ยว เศรษฐกิจไม่ดีคนก็เที่ยว เพียงแต่ความบ่อยน้อยลง และทิปไม่หนักเท่าแต่ก่อน ทำไมเศรษฐกิจแย่สินค้าขายไม่ค่อยออก แต่เบียร์กลับขายดี (หรือที่จริงขายไม่ดี แต่บริษัทเบียร์กำลัง "บลั๊ฟ" บริษัทคู่แข่ง) ปรากฏการณ์เหล่านี้น่าจะเป็นภาพสะท้อนว่า ชีวิตคนวัยทำงานต้องการ "เวลานอก" จากความเครียดที่เขาประสบในชีวิตประจำวัน

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมักจะเกิดความเปลี่ยนแปลงในทางแย่ลงเมื่อมีความเครียด เข้ามาแทรก ลองสังเกตวันที่เจ้านายอารมณ์ไม่ดีจากเรื่องงาน สิ่งที่ตามมาคือบรรดาลูกน้องทั้งหลายมักจะเกิดความเครียดตามมา และพยายามลดความเครียดของเจ้านายโดยการทำในสิ่งที่คิดว่าจะทำให้เจ้านายอารมณ์ดีขึ้น โดยบางครั้งไม่ได้คิดว่าสิ่งที่ทำโดยหวังว่าจะลดความเครียดของเจ้านาย (เพื่อว่าเจ้านายจะได้ไม่มาลงที่ตัวเอง หรือตัวเองอาจจะก้าวหน้า เพราะเจ้านายมองว่าเป็นลูกน้องที่รู้ใจ)

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็ถูกกระทบจากความเครียด เช่นกรณีที่ มท.1 เกิดอาการ นอตหลุดด่านักข่าว หรือนายกถือ "มีดโกน" ขึ้นมาไล่กรีดนักข่าวว่ารับจ้างเขียนข่าว เหตุการณ์ เหล่านี้เรามักจะปล่อยผ่านไปไม่ให้ความสำคัญ โดยมองแต่เพียงว่าปัญหาเกิดจากฝ่ายหลังมีพฤติการณ์ยั่วยุจนอีกฝ่ายหนึ่งทนไม่ไหว แต่ที่จริงแล้วเรากำลังดูเบาปัญหา คนที่เคยควบคุมตัวเองได้ดีแล้วเกิดอาการหลุดขึ้นมา นั่นคือสัญญาณบ่งถึงความเครียดในตัวคนนั้น

ค่าใช้จ่ายที่แฝงเร้นเหล่านี้เราจ่ายไปโดยไม่ทราบว่ามันมีความเกี่ยวพันกับปัญหาความเครียด การจัดการกับปัญหาความเครียดนั้นประการแรกจึงต้องยอมรับว่าตัวเราเองเครียด

ต่อจากนั้นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเป็นลำดับถัดมา คือ สาเหตุหรือที่มาของความเครียด เมื่อเข้าใจจุดนี้เราจึงจะสามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเกิดปัญหาน้อยที่สุด เราอาจพิจารณาง่ายๆว่า ความรู้สึกเครียดที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณบ่งว่าเกิดความไม่สอดคล้อง ไม่สมดุลยกันระหว่าง ตัวกระตุ้น สิ่งเร้า หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กับความสามารถในการจัดการที่เรามีอยู่เดิม และเราจำเป็นต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อสร้างสภาวะสมดุลยกลับคืนมา

นั่นคือความเครียดเกิดจากปฏิสัมพันธ์ของความเปลี่ยนแปลงระหว่างปัจจัยนอกตัวเรา และปัจจัยในตัวเรา การเปลี่ยนแปลงในทางเพิ่มขึ้นของปัจจัยภายนอก และ/หรือการลดลงของปัจจัยภายในตัวเรา ล้วนแต่ทำให้สมดุลยในการจัดการความเครียดที่มีอยู่เดิมเสียไป ความเครียดจึงเกิดขึ้น

ในส่วนของปัจจัยภายนอกอาจแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นโดยตรง เช่น การได้งานเพิ่มขึ้น การรับงานที่ขาดความถนัด ปัญหาความสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิด (กรณีนี้บางครั้งเป็นได้ทั้งสาเหตุ และผลลัพธ์จากความเครียด) การตกงาน ปัญหาทางเศรษฐกิจ ในบางครั้งปัจจัยภายนอกที่เป็นตัวกระตุ้นอาจจะไม่รุนแรงมาก แต่บังเอิญมีหลายปัจจัยเข้ามาพร้อมกัน ทำให้บุคลนั้นไม่สามารถจัดการกับมันได้เหมือนแต่ก่อน ความเครียดจึงเกิดขึ้น

ปัจจัยภายนอกที่เป็นตัวเสริมให้เราทนความเครียดได้น้อยลง หรือจัดการกับความเครียดได้ไม่ดีเท่าแต่ก่อน คือ การเปลี่ยนแปลงของแรงสนับสนุนทางสังคม เช่น คนที่เคยมีเพื่อนร่วมก๊วน ไปไหนไปกัน มีปัญหาช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไข แต่พอเพื่อนมีครอบครัว หรือไม่มีเวลา ทำให้เวลามีปัญหาไม่รู้จะพึ่ง หรือขอคำปรึกษาจากใคร

ปัญหาในส่วนแรกเป็นปัจจัยภายนอกที่เรากำหนด และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ง่ายนักแต่ ปัจจัยที่เราสามารถกำหนดและเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงได้ง่ายกว่า คือ ปัจจัยในตัวของเราเองทั้งในแง่ของวิธีการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น (จากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก) และการเตรียมพร้อมล่วงหน้าก่อนที่ความเครียดจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการเตรียมความพร้อมให้เราสามารถ ทนกับการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอก หรือ ทนกับความเครียดที่เกิดขึ้นเมื่อเราจัดการกับปัญหาไม่ได้ ในส่วนนี้เรามักจะละเลยไม่ค่อยให้ความสำคัญ ทั้งๆ ที่ตรงส่วนนี้เป็นด่านแรกที่จะสกัดกั้นความเครียดไม่ให้เกิดขึ้น หรือหากเกิดขึ้นก็รุนแรงน้อยกว่าที่มันควรจะเป็น จุดนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างคนสองคนที่ผจญกับปัญหาในลักษณะเดียวกัน ทำไมคนหนึ่งจึงจัดการไม่ได้ ขณะที่อีกคนหนึ่งไม่เกิดปัญหาความเครียดขึ้น หรือความรุนแรงของปัญหาน้อยกว่า

การจัดการปัจจัยภายในตัวเรานั้นคล้ายกับสภาพเขื่อน สภาพจิตใจที่ไม่แข็งแกร่ง หรือขาดการเตรียมความพร้อมก็เหมือนเขื่อนที่ไม่แข็งแรง ความเครียดที่มีอยู่แล้วในตัว เปรียบเสมือนปริมาณน้ำที่มีอยู่สูงจนเกือบจะล้นเขื่อน ถ้ามีความเครียดเพิ่มเติมเข้ามาอีกเพียงเล็กน้อย จิตใจสภาพดังกล่าวก็ไม่สามารถจัดการปล่อยให้ความเครียดแสดงออกมา หรือเกิดอาการ หลุด ถ้าเป็นเขื่อน เขื่อนนี้ก็อาจจะพัง หรือปล่อยให้น้ำไหลทะลักออกมา

การให้ความสนใจกับปัจจัยภายในตัวเราจึงน่าจะเป็นสิ่งสำคัญ และมีความเป็นไปได้ในการจัดการ การเตรียมตัวแต่แรกจึงเป็นเสมือนการป้องกัน หรือการสร้างภูมิคุ้มกันต่อความเครียด เพื่อให้การดำเนินชีวิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเกิดปัญหาน้อยที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us