Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
บทเรียนจากภัทรฯ ความล่มสลายของเครือข่ายทางการเงิน             
 

   
related stories

วิกฤติการณ์ภัทรธนกิจ กับบัณฑูร ล่ำซำ

   
search resources

ภัทรธนกิจ, บง.




ความสั่นคลอนอย่างรุนแรงของบง.ภัทรธนกิจ หลังจากที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่อย่างธนาคารกสิกรไทยประกาศ "ลอยแพ" ไม่ยอมใส่เม็ดเงินช่วยเหลือใดๆ อีกต่อไป เมื่อสิ้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เป็นข่าวใหญ่ที่สั่นสะเทือนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อสถาบันการเงินไทยอีกครั้งหนึ่ง และยังลามไปถึงความกังขาต่อวิธีปฏิบัติของทางการ

รวมทั้งได้รับความสนใจจากสังคมการเงินตะวันตกด้วย (ASIAN WALLSTREET JOURNAL ซึ่งเป็นปากเสียงและสะท้อนความรู้สึกของนักลงทุนที่ MANHATTAN ได้ดี ลงข่าวหน้า 1 ติดต่ออย่างน้อย 2 วัน ในขณะที่ข่าวธนาคารกรุงไทย ไม่ได้รับความสนใจเลย)

ภัทรธนกิจ (ก่อนที่จะแยกธุรกิจบง.และบล.ออกจากกัน) ได้ชื่อว่าเป็นไฟแนนซ์และโบรกเกอร์ท้องถิ่นชั้นนำ ที่ได้รับความเชื่อถือในการทำธุรกิจจากลูกค้าชั้นนำทั้งในและต่างประเทศตลอดมา เป็นบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กรของตัวเองเด่นชัด มีการบริหารองค์กรด้วยทีมจัดการมืออาชีพ

หลังเกิดเหตุการณ์วิกฤตค่าเงินบาทซึ่งมาปะทุเมื่อ 2 ก.ค. 2540 ตามมาด้วยการประกาศปิดกิจการไฟแนนซ์รวมทั้งสิ้น 56 แห่งนั้น ปรากฏว่าบงล.ภัทรธนกิจไม่ใช่หนึ่งในกิจการที่ถูกสั่งปิด และในปลายปี 2540 บริษัทฯ ก็จัดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตได้ระดับหนึ่ง

ทีมผู้บริหารบงล.ภัทรธนกิจให้สัมภาษณ์ "ผู้จัดการ" โดยมีข้อสรุปว่า "จัดบ้านเสร็จรายแรก ภัทรธนกิจเตรียมเดินหน้า รุกธุรกรรมแก้ปัญหาตลาดทุนไทย" ผู้สนใจสามารถอ่านได้ใน "ผู้จัดการ" ฉบับเดือนมกราคม 2541

แต่แล้วในกลางปี 2541 ธนาคารกสิกรไทยก็ประกาศ "อุ้ม" บง.ภัทรธนกิจ นี่ถือเป็นข่าวที่สวนกระแสกับการที่อีกหลายแบงก์ไม่ยอมให้ความช่วยเหลือไฟแนนซ์ในเครือ แต่ก็เป็นข่าวที่สร้างความตกใจแก่สาธารณะไม่น้อย และแน่นอนมันทำให้สถานการณ์ความเชื่อมั่นต่อสถาบันการเงินในยามนั้นตกต่ำสุดขีด

ในยุคที่เศรษฐกิจรุ่งเรืองนั้น ไฟแนนซ์ทำมาหากินได้คล่องแคล่วกว่าธนาคารพาณิชย์มาก ไฟแนนซ์ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งธนาคารพาณิชย์ คือปล่อยกู้ให้กิจการต่างๆ มากและปล่อยให้ง่ายกว่าระบบของธนาคารพาณิชย์ ไฟแนนซ์ส่วนมากที่ถูกทางการสั่งปิดกิจการไปแล้วและก็รวมถึงบง.ภัทรธนกิจด้วยนั้น มีสาเหตุของการเจ๊งที่เหมือนกัน และก็เป็นสาเหตุเดียวกันกับที่ธนาคารพาณิชย์เจ๊ง นั่นคือ ถูกลูกค้าถอนเงินฝากออกมากจนไม่มีเงินสดมาจ่ายให้ทัน ต้องไปกู้จากตลาดเงิน ซึ่งแหล่งกู้สุดท้ายก็คือ FIDF

บง.ภัทรธนกิจก็ถูกลูกค้าถอนเงินออกมากเช่นกัน ในช่วงก่อนที่ธนาคารกสิกรไทยจะประกาศเข้าอุ้ม เดิมธนาคารกสิกรไทยถือหุ้นในภัทรธนกิจ 8.16% ในปี 2540 คิดเป็นมูลค่า 1,091.4 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 49% ตอนปลายปี 2540 ครั้นในปี 2541 เมื่อแยกกิจการบง.-บล. ธนาคารเข้าให้ความช่วยเหลือโดยรับซื้อหุ้นในบง.ภัทรธนกิจทั้งหมด ทำให้มีสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 94.43% คิดเป็นเงิน 6,949.2 ล้านบาท

เมื่อธนาคารเข้าซื้อหุ้นและกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่แล้วนั้น ธนาคารก็ได้จัดทำแผนการดำเนินการกับภัทรธนกิจ มีแนวทางที่จะแยกสินทรัพย์ดีออกมาตั้งเป็นบริษัทใหม่ หาผู้ร่วมทุนซื้อหุ้นในสถาบันการเงินใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้น สร้างฐานเงินฝากใหม่ ชำระหนี้ และอาจขออนุญาตทำธุรกิจ Super Finance ส่วนสินทรัพย์ที่เหลืออยู่ก็จะมีการปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้ได้มูลค่าสูงสุด

เรียกว่าแนวทางใหม่ก็ยังยึดติดกับการประกอบการที่ใกล้เคียงกับกิจการธนาคารพาณิชย์อยู่นั่นเอง

แต่ดูเหมือนแนวทางที่ว่าถูกตั้งคำถามตลอดมา ในเมื่อข้อเท็จจริงในช่วงที่ผ่านมาก็คือ บริษัทมีเงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ที่ระงับการรับรู้รายได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นจำนวนเงินประมาณ 12,322.5 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 ซึ่งบริษัทอ้างว่าเงินให้กู้ยืมและลูกหนี้เหล่านี้ส่วนใหญ่มีหลักประกัน และได้นำไปพิจารณาในการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้แล้ว ซึ่งมีการตั้งไว้ 6,648.42 ล้านบาท

ครั้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 บริษัทได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเป็น 8,769.8 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทมีวงเงินสินเชื่อทั้งหมด 59,622.5 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นวงเงินให้กู้และลูกหนี้ที่ระงับการรับรู้รายได้ตามประกาศของธปท. (ลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญและลูกหนี้จัดชั้นสูญ) 32,760.5 ล้านบาท หรือคิดเป็น 55% ของวงเงินสินเชื่อทั้งหมด

นอกจากนี้ บริษัทยังมีลูกหนี้ที่กล่าวถึงเป็นพิเศษและลูกหนี้จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐานรวมเป็น 13,150.6 ล้านบาท หรือคิดเป็น 22% ของวงเงินสินเชื่อทั้งหมด ลูกหนี้ปกติมี 13,940.5 ล้านบาทหรือคิดเป็น 24.5% ของวงเงินสินเชื่อทั้งหมดเท่านั้น

นี่คือตัวอย่างไฟแนนซ์ชั้นดี ที่ต้องล่มสลายเพราะการทำธุรกิจตามแบบฉบับธนาคารพาณิชย์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us