Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
ยกเครื่องธนาคารในเอเชีย             
 

   
related stories

ธนาคารในเอเชียหลังมรสุมทางเศรษฐกิจ
รวบทุกอย่างเข้าด้วยกัน: แผนการผนวกและซื้อกิจการของเอบีเอ็น แอมโร
ธนาคารแห่งอินเดีย ยักษ์ที่เพิ่งตื่นจากหลับใหล
การผนวกและซื้อกิจการธนาคาร: โอกาสทางประวัติศาสตร์ ที่ไม่ใช่สำหรับกิจการที่อ่อนแอ
บทเรียนจากละตินอเมริกา

   
search resources

Banking




ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชียกำลังผลักดันให้ธุรกิจธนาคารในภูมิภาคนี้ต้องเร่งปรับโครงสร้างองค์กร และปรับโครงสร้างทุนอย่างรวดเร็วและจริงจัง ภายในสองสามปีนับจากนี้ การเปลี่ยนแปลงที่ควรใช้เวลานับทศวรรษก็จะสำเร็จลุล่วง เพราะภาครัฐไม่อาจปกป้องธนาคารในประเทศจากการแข่งขันเชิงรุกได้อีกต่อไป ธนาคารที่เล่นบทบาทจริงจังกำลังมีโอกาสสร้างประวัติศาสตร์ และก้าวกระโดดขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจนี้ได้ โดยไม่เกี่ยงเรื่องขนาดกิจการในปัจจุบัน

ก่อนหน้าเดือนกรกฎาคม ปี 1997 การปรับโครงสร้างธุรกิจธนาคารเป็นไปอย่างเชื่องช้า แม้จะเป็นที่รู้กันว่าต้องเกิดขึ้นแน่นอน ทั้งนี้เนื่องจากเศรษฐกิจแบบ "เสือ" กำลังบูมธนาคาร ในเอเชียเองก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่ได้รับประโยชน์ก้อนโต จึงมัวเพลินอยู่กับวันเวลาที่สินเชื่อเติบโตในอัตราเร่งอย่างไม่มีการสกัดกั้นใดๆ

แต่ธนาคารในเอเชียทั้งที่เป็นของเอกชน และธนาคารของรัฐก็ไม่สามารถต้านทานกระแสวิกฤตเศรษฐกิจ ได้ การลดลงของภาวะตลาดและภาวะการเงิน ส่งผลให้เกิดการกู้ยืมที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และยังผลให้เกิดภาวะเงินทุนขาดหายไปในธนาคารในหลายประเทศ ในอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และไทย หนี้เสียเกินทุนของธนาคารสูงมาก กว่า 300% สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงเมื่อ ตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ดิ่งลงจนมูลค่าของทรัพย์สินค้ำประกันต่ำกว่าระดับเงินกู้ค้างชำระ หุ้นกลุ่มธนาคารเองก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ในภาวะเช่นนี้ ธนาคารส่วนใหญ่จึงไม่อาจเพิ่มทุนจากภายในประเทศ และดังนั้นจึงถูกบังคับให้ต้องหันไปหารัฐบาลและนักลงทุนต่างประเทศเพื่อต่อชีวิตกิจการ ออกไป

ในเวลาเดียวกัน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารโลกก็เรียกร้องให้มีการเปลี่ยน แปลงโครงสร้าง เมื่อมีทางเลือกอันน้อยนิดเช่นนี้ รัฐบาลของประเทศเอเชียส่วนใหญ่จึงเริ่มปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจธนาคารของตน ด้วยการผ่อนปรน เงื่อนไขให้ชาวต่างชาติเข้าถือหุ้นกิจการ สั่งปิดธนาคารที่ล้มละลาย และบังคับให้ธนาคารที่ไม่ถูกปิดต้องผนวกกิจการ ปรับโครงสร้าง และเพิ่มทุน

หากถามว่าธุรกิจธนาคารกำลังบ่ายหน้าไปยังทิศทางใด ประสบการณ์ของละตินอเมริกาในช่วงปี 1995-1997 คงพอชี้แนวทางที่เป็นประโยชน์ได้บ้าง เนื่องจากภูมิภาคดังกล่าวเผชิญกับวิกฤต ของการเงินและธนาคารทำนองเดียวกับในเอเชียขณะนี้ กรณีของการลดค่าเงินในเอเชียก็คล้ายคลึงกับการลดค่าเงิน เปโซอย่างรุนแรงในเม็กซิโกเมื่อปลายปี 1994 ซึ่งกระตุ้นให้เกิดวิกฤตการเงิน และการธนาคารไปทั่วทั้งละตินอเมริกา เงินกู้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีสัดส่วนถึง 38% ของเงินกู้รวมในเม็กซิโก และสูงถึง 20% ในเวเนซุเอลาและอาร์เจนตินา ซึ่งเป็นระดับที่เปรียบได้กับที่เกิดขึ้นใน เอเชียขณะนี้ ยิ่งกว่านั้นละตินอเมริกาได้ เข้าสู่วิกฤตในขณะที่ธนาคารภายในประเทศอยู่ในภาวะที่ไม่อาจแข่งขันกับใครได้เลย และธนาคารต่างชาติก็ยังมีสัดส่วนการถือครองตลาดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ในปี 1990 ธนาคารใหญ่สี่แห่งในอาร์เจนตินากับธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดสี่แห่งในเวเนซุเอลา ต่างก็มีผู้ถือหุ้นเอกชนในประเทศ หรือไม่ก็รัฐบาลเป็นเจ้าของกิจการ โดยธนาคารต่างชาติถือครองสินทรัพย์เป็นสัดส่วนไม่ถึง 5% แต่ ภายหลังภาวะวิกฤตดังกล่าวหลายปี ภาคธุรกิจธนาคารในท้องถิ่นของละติน อเมริกาได้รวมกิจการกันอย่างรวดเร็ว ในขณะที่สัดส่วนของผู้ถือหุ้นต่างประเทศ ก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย ภาวะดังกล่าวได้สร้างโอกาสใหม่ให้กับผู้ประกอบธุรกิจรายเล็ก สามารถสร้างตัวขึ้นมาเป็นธนาคารระดับภูมิภาคโดยใช้ระยะเวลาเพียงไม่เกินสามปี

ในอาร์เจนตินาและเวเนซุเอลา รัฐบาลตระหนักดีว่าระบบการธนาคารที่มั่นคง มีความสำคัญต่อการรักษาอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจึงรวมไปถึงการปรับปรุงคุณภาพทางด้านทักษะ และแนวปฏิบัติด้านการบริหารความเสี่ยงของระบบธนาคารในประเทศ โดยต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเสียใหม่ แล้วเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกับต่างประเทศมากขึ้น นักลงทุนต่างประเทศจึงได้รับอนุญาตให้ลงทุนในสถาบันการเงินในประเทศได้มากขึ้น และในปี 1997 นักลงทุนเหล่านี้ก็ได้เข้าควบคุมกิจการธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดหลายแห่ง ทั้งในอาร์เจนตินาและเวเนซุเอลา โดยถือครองสินทรัพย์ธนาคารโดยรวมไว้ถึง 55% และ 45% ตามลำดับ

หากเอเชียเดินตามแนวทางดังกล่าว กิจการธนาคารรายใดที่มีความภาคภูมิใจว่าเป็นผู้นำธนาคารในระดับประเทศจะต้องเร่งพิจารณาว่า จะรับมือกับการผนวกและซื้อกิจการดังกล่าวหรือไม่ และอย่างไร อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งท้าทายอีกมากในการซื้อกิจการธนาคารในเอเชียทุกวันนี้ ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อ "การผนวกและซื้อกิจการธนาคาร : โอกาสทางประวัติศาสตร์ที่ไม่ใช่สำหรับ กิจการที่อ่อนแอ"

ขณะเดียวกันธนาคารในประเทศ จะต้องตอบโต้กับอุปสรรคทางการเงินให้ทันท่วงที และต่อสู้เพื่อให้ได้ฐานลูกค้าที่ต้องการ รวมทั้งตลาดที่เปิดกว้างกว่าเดิม อุปสรรคสำคัญสำหรับธนาคารในเอเชียคืออะไร ทีมบริหารและคณะกรรมการธนาคารจะทำอย่างไร จึงจะเป็นผู้กุมชัยชนะในตลาดเอเชียที่กำลังปฏิรูปโครงสร้าง โปรดอ่าน "ยกเครื่องธนาคารในเอเชีย"

แต่เค้าของการบูมของการผนวก และซื้อกิจการธนาคารก็เริ่มขึ้นแล้วเหมือนกัน และในอีกสองปีข้างหน้าก็จะเข้าสู่ช่วงแห่งการโต้กลับ และเมื่อถึงเวลาที่คลื่นลมสงบลงแล้ว กิจการธนาคารในเอเชียราวหนึ่งในสามถึงราวครึ่งหนึ่ง อาจจะเข้าซื้อกิจการอื่นไว้หรือ ไม่ก็เป็นฝ่ายถูกซื้อ ผู้ดำเนินธุรกิจนี้จะต้องพิจารณาถึงนัยทางยุทธศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ผู้ที่กล้าหาญที่สุดจึงจะสามารถคว้าโอกาส ในการปรับเปลี่ยนธุรกิจธนาคารในเอเชีย และกลายเป็นผู้นำรายใหม่ในสิ่งที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นตลาดบริการการเงิน ที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในโลกในอีกสิบปีข้างหน้าก็ว่าได้

สาเหตุที่จะต้องมีการผนวกและซื้อกิจการธนาคารเพิ่มขึ้น

ธนาคารในประเทศต้องการเงินทุน และต้องหันไปพึ่งนักลงทุนภายนอกประเทศ เงินกู้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ได้ทำให้ทุนของธนาคารเกือบทั่วเอเชีย หายวับไปกับตา และคาดกันว่าเงินกู้ประเภทนี้ในอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และไทยมีสูงถึง 300-500% ของส่วนของทุน ในขณะเดียวกัน หุ้นกลุ่มธนาคารเองก็ดิ่งลง ราคาหุ้นในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ลดลงไปถึง 80% หรือมากกว่านั้น และลดลงราว 40% ในสิงคโปร์กับไต้หวัน ธนาคารในประเทศขณะนี้จึงถูกปิดตายในตลาดทุน การออกหุ้นกู้และหุ้นอื่นๆ มีเพียง 13.7 พันล้านดอลลาร์ในปี 1998 ต่ำกว่าระดับในปี 1997 ราว 25%

รัฐบาลในประเทศเอเชียกำลังถูกบังคับให้ต้องปรับโครงสร้างทุน และการปรับโครงสร้างองค์กร โดยการใช้แผนการเชิงรุก รวมทั้งมาตรการต่างๆ ในการแปรรูปกิจการ ปิดกิจการธนาคาร ที่มีปัญหา จัดตั้งบริษัทจัดการสินทรัพย์ ที่มีปัญหาหนี้เสีย และผ่อนปรนข้อจำกัด ในเรื่องการให้นักลงทุนต่างชาติถือครอง กิจการ การแปรรูปกิจการได้เพิ่มขึ้นจาก ศูนย์ในปี 1996 มาเป็น 12.4 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว (ดูตาราง)

ทั้งนี้ การแปรรูปกิจการมีความสำคัญสองประการคือ หนึ่ง แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลเอาจริงเอาจังกับการเทกโอเวอร์กิจการธนาคารที่ไม่สามารถแก้ไข ปัญหาได้เร็วเพียงพอ และสอง สินทรัพย์ของธนาคารที่ถูกแปรรูปกิจการซึ่งมียอดรวม 1.5 พันล้านดอลลาร์ในปี 1997-1998 แสดงถึงรายการสินทรัพย์มหาศาลที่ขายให้กับนักลงทุนเอกชนได้ การขายกิจการ "โคเรีย เฟิร์สท์ แบงก์" (ให้กับนิวบริดจ์ แคปิตอล) และการขายกิจการ "โซลแบงก์" (ให้กับเอชเอส บีซี) จึงเป็นเพียงการชิมลางขั้นต้นของสิ่งที่จะกลายเป็นคลื่นขนาดยักษ์ ของการแปรรูปกิจการในอีกหลายๆ ปีข้างหน้า (ตาราง 1)

รัฐบาลในเอเชียเองก็ยังกระตุ้นให้มีเงินทุนไหลเข้าประเทศ โดยการให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นกิจการธนาคารได้ มากขึ้นอย่างมาก อินโดนีเซีย เกาหลีใต้และไทย เดินตามแนวทางของฮ่องกง โดยอนุญาตให้ธนาคารในประเทศมีผู้ถือหุ้นต่างชาติได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ส่วนในฟิลิปปินส์ได้ขยายสัดส่วนการถือครองหุ้นกิจการของต่างชาติเป็น 60% ในไต้หวันสัดส่วนเป็น 50%

ตารางดังกล่าวจึงแสดงถึงการซื้อขายกิจการที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของธุรกิจธนาคาร แม้แต่ธนาคารในประเทศ ที่มีความน่าเชื่อถือที่สุดก็ยังยอมยืดหยุ่น เงื่อนไขในการเจรจาต่อรองมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งที่เมื่อราวสามปี ก่อนการซื้อขายกิจการหลายกรณี ถือว่าเป็นโครงสร้างการลงทุนแบบถือหุ้นส่วนน้อย แต่วิธีการนี้ก็ใช้กันน้อยลง โดยมีสัดส่วนเพียง 11% ของการตกลงซื้อขายทั้งหมดในปี 1998 ในขณะที่การผนวกกิจการประเภท ที่มีมูลค่ากิจการและสินทรัพย์เท่าๆ กันจะเป็นที่นิยมมากขึ้น ฝ่ายผู้ซื้อก็พอใจอย่างยิ่งกับการผ่อนปรนเงื่อนไขในการ เจรจา และยังมีผู้สนใจลงทุนรายใหม่ๆ อีกมาก (ตาราง 2)

ด้วยเหตุนี้ ธนาคารระดับโลกและระดับภูมิภาคหลายแห่ง จึงกลายเป็นผู้ซื้อกิจการที่แข็งขันในเอเชียด้วยกัน ดีเวลลอปเมนท์ แบงก์ ออฟ สิงคโปร์ (ดีบีเอส) ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ เป็นหนึ่งในผู้ที่สนใจเรื่องนี้มากที่สุด ในสิงคโปร์เอง ดีบีเอสเข้าผนวกกิจการโพสต์ ออฟฟิส เซฟ-วิงส์ แบงก์ ส่งผลให้กลายเป็นผู้นำกิจ การธนาคารในประเทศ และยังมีขนาดที่อาจจะเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคได้ด้วย ดีบีเอสยังเป็นธนาคารที่เอาจริงเอาจังกับการซื้อกิจการในภูมิภาค โดยเข้าซื้อกิจการธนาคารทั้งในฮ่องกง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย จนกลายเป็นธนาคาร ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสินทรัพย์ราว 70 พันล้านดอลลาร์ และมีเป้าหมายที่จะสร้างเครือข่ายธนาคารแบบแฟรนไชส์ในภูมิภาค

ในขณะเดียวกัน ธนาคารอีกหลายแห่งของสหรัฐฯ และยุโรปก็เข้าฉวยโอกาสที่จะเติบโตในภูมิภาคนี้เช่นกัน (ตาราง 3) ดังเช่นกรณีเอบีเอ็น แอมโร เข้าซื้อกิจการธนาคารเอเชียซึ่งก่อนหน้านี้เป็นธนาคารขนาดใหญ่เป็นอันดับ 10 ของไทยในเชิงสินทรัพย์ และเอบีเอ็น แอมโรยังมุ่งมั่นที่จะใช้การซื้อกิจการครั้งนี้เป็นฐานเจาะตลาดธนาคารชั้นนำของไทย ผลลัพธ์ในช่วงต้นอยู่ในเกณฑ์ดี กล่าวคือ หลังประกาศซื้อกิจการไปได้หกเดือน ส่วนแบ่งตลาดของธนาคารเอเชียเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าจากฐานเดิมที่แข็งแกร่ง ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นราว 70% ในระหว่างที่ตลาดซบเซา

ธนาคารทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาคต่างมุ่งความสนใจไปที่การผนวก และซื้อกิจการ ข้ามประเทศ ในปี 1996 การผนวกและซื้อกิจการในลักษณะนี้พบเพียงในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ของจีนและมาเลเซียที่แตกแขนงธุรกิจไปสู่ด้านธนาคาร และทำการปรับโครงสร้างองค์กรของกิจการในเครือในเอเชีย แต่เมื่อเกิดวิกฤตขึ้น มีการผนวกและซื้อกิจการข้ามประเทศในเอเชียถึง 36 ราย การ โดยภาพรวมแล้ว การผนวกและซื้อกิจการได้เพิ่มขึ้นถึงสี่เท่าตัวจาก 529 ล้านดอลลาร์ในปี 1996 เป็น 2.3 พันล้านดอลลาร์ในปี 1998 การซื้อกิจการของธนาคารสหรัฐฯ และยุโรปเพิ่มขึ้นกว่าสิบเท่า จากเพียงแค่ 80 ล้านดอลลาร์ในปี 1996 เป็นกว่า 1.1 พันล้านดอล ลาร์เมื่อปีที่แล้ว สัดส่วนการผนวกและซื้อกิจการในปีนี้มีมากกว่าในปีที่แล้วอย่างมาก และทั้งหมดนี้เป็นเพียงปรากฏการณ์บางส่วนโดยยังมีที่ยังไม่ปรากฏอีกมากมายมหาศาล

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us