Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542
การผนวกและซื้อกิจการธนาคาร: โอกาสทางประวัติศาสตร์ ที่ไม่ใช่สำหรับกิจการที่อ่อนแอ             
 

   
related stories

ธนาคารในเอเชียหลังมรสุมทางเศรษฐกิจ
รวบทุกอย่างเข้าด้วยกัน: แผนการผนวกและซื้อกิจการของเอบีเอ็น แอมโร
ธนาคารแห่งอินเดีย ยักษ์ที่เพิ่งตื่นจากหลับใหล
สมรภูมิของธนาคารกสิกรไทย
บทเรียนจากละตินอเมริกา
ยกเครื่องธนาคารในเอเชีย

   
search resources

Banking




นักสังเกตการณ์ส่วนใหญ่เชื่อว่าการผนวกและซื้อกิจการธนาคารในเอเชียจะเริ่มบูมขึ้นในปี 1998 อันเป็นผลจากแรงผลักดันของวิกฤตการณ์ แต่พวกเขาคาดผิด เพราะในตลาดหลักเก้าแห่งที่กำลังพุ่งแรงในเอเชียตะวันออก อันได้แก่ จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย การผนวกและซื้อกิจการธนาคารภาคเอกชน ดำเนินไปอย่างค่อนข้างราบเรียบในปี 1998 เป็นวงเงินเพียง 5.6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นอัตราที่พอๆ กับเมื่อปี 1996 ก่อนที่จะเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ

รวบทุกอย่างเข้าด้วยกัน : แผนการผนวกและซื้อกิจการของเอบีเอ็น แอมโร

เอบีเอ็น แอมโรเป็นตัวอย่างของธนาคารระหว่างประเทศชั้นนำที่เติบโตขึ้น จากการซื้อกิจการในยุโรปและสหรัฐฯ และกำลังย้อนรอยความสำเร็จแบบเดียวกันในตลาดเอเชีย โดยอาศัยกลยุทธ์หลายประการ

ประการแรก เอบีเอ็น แอมโรใช้แนวทางซื้อกิจการอย่างมีแบบแผน (programmatic approach) แผนการซื้อ กิจการในเอเชียดำเนินการและบริหารจากสำนักงานภูมิภาค มีการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบอย่างชัดเจน เช่น เจ้าหน้าที่บริหารระดับภูมิภาคมีอำนาจในการดำเนินการติด ต่อชั้นต้นและในขั้นตอนการแสดงความสนใจ หลังจากนั้นสำนักงานระดับโลกจึงเข้ามาร่วมในการตัดสิน ใจในเรื่องการเจรจาและการซื้อกิจการ ทั้งนี้ ต้องมีความชัดเจน ในเรื่องของทุน รวมทั้งมีการเสนอจำนวนกิจการเป้าหมาย ในแต่ละประเทศในภูมิภาคและอนุมัติเป็นแผน การตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

ในขั้นเริ่มต้นนี้เช่นกัน เอบีเอ็น แอมโร จะตรวจสอบเป้าหมายที่หลากหลายในหลายประเทศซึ่งแนวทางนี้ได้พิสูจน์แล้วว่า มีความสำคัญต่อความสำเร็จของแผนการ ความพยายามของธนาคารแห่งนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อแนวทางการผนวก และซื้อกิจการที่นำมาใช้ในเอเชีย และยังช่วยสร้างแรงสนับสนุนภายใน และความน่าตื่นเต้นของสิ่งที่อาจจะเรียกได้ว่า เป็นความริเริ่มที่ใช้เวลาอันสั้นสำหรับกิจการอย่างเอบีเอ็น แอมโร นอกจากนั้น แม้ว่าธนาคารจะได้เลือกตลาดที่มีความสำคัญสามแห่งแรกไว้แล้ว แต่ก็ยังยินดีที่จะพิจารณาความคิดที่จะเสริมความแข็งแกร่ง ของกิจการขึ้นอีก เมื่อโอกาสในตลาดภูมิภาคเปิดให้

การเตรียมการอย่างแข็งขันเป็นสิ่งสำคัญเช่นกันใน ขั้นการเตรียมโครงการจะกินเวลาถึงสี่เดือน ซึ่งรวมทั้งการ พัฒนาเกณฑ์เจ็ดประการสำหรับซื้อกิจการและกระบวนการ กลั่นกรองในขั้นต้น โดยที่จะนำเอาการวิเคราะห์จากภายนอกที่พิจารณาเป้าหมายราว 30 แห่งเข้ามาประกอบด้วย และในท้ายที่สุด จะมีกิจการเป้าหมายเพียง 15 แห่งที่ผ่าน การพิจารณาคัดเลือก และจะเหลือเพียง 5 รายในขั้นเจรจาซื้อกิจการ

ในจำนวนการซื้อกิจการสองรายในประเทศไทยที่ในท้ายที่สุดก็เลิกล้มไปนั้น รายที่ยืดเยื้อใช้เวลาเจรจานาน ถึง 6 เดือน มีการพัฒนาโครงสร้างการซื้อขายหลายต่อหลาย ชุดด้วยกัน การตรวจสอบบัญชีซึ่งรวมเอาผู้บริหาร 30 รายจากสำนักงานในประเทศและสำนักงานภูมิภาคใช้เวลาถึงหนึ่งเดือนครึ่ง และในขั้นการบอกเลิกการเจรจาก็ต้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามามีส่วนร่วมซ้ำอีก

กรณีเอบีเอ็น แอมโร ซื้อกิจการธนาคารเอเชีย มีการใช้โครงสร้างข้อตกลงที่ค่อนข้างยืดหยุ่นในเรื่องการปรับ ปรุงบัญชีราคาในปีที่สามที่รับประกันว่าเอบีเอ็น แอมโรจะได้ผลตอบแทนสูงกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนตามที่ต้องการ โครงสร้างดังกล่าวซึ่งอนุญาตให้ฝ่ายผู้ขายกิจการ รักษาความเป็นไปได้ของผลประโยชน์ที่อาจกลับเพิ่มขึ้น หากความคาดหมายเกี่ยวกับการฟื้นตัวของตลาดของฝ่ายผู้ขายกิจการถูกต้อง จึงนับเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของฝ่ายผู้ซื้อกิจการในภาวะที่มีการแข่งขันกันสูง

ประการสุดท้าย ก่อนที่การตรวจสอบบัญชีจะเสร็จสมบูรณ์ เอบีเอ็น แอมโร ก็ได้เริ่มแผนการที่จะทำ synergies แล้วโดยพิจารณาการประสมประสานกิจกรรมบางอย่างของสาขาของธนาคารเอเชีย พัฒนาแผนการขายบริการทางการเงิน ทั้งลูกค้าประเภทรายย่อยและลูกค้าประเภทบริษัท เริ่มออกแคมเปญพันธบัตรเงินกู้ระหว่างธนาคาร และระดมเงินฝากอย่างเอาจริงเอาจัง รวมทั้งระบุถึงโอกาสสำหรับการผ่องถ่ายทักษะความชำนาญต่างๆ และเลือกผู้บริหารเข้าร่วมทีมบริหารของธนาคารเอเชีย

อาจจะยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าการซื้อขายกิจการนี้สร้างมูลค่าหรือไม่ แต่ความพยายามในการประสมประสาน หลังการซื้อกิจการตั้งแต่แรกชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้สูงว่าการทำ synergies จะได้ผล ในกรณีนี้ เอบีเอ็น แอมโรได้บริหารกิจการจนสามารถสร้างฐานะของผู้นำในอนาคตในตลาดเป้าหมาย ในขณะที่ธนาคารเอเชียก็ได้ผู้ร่วมธุรกิจ ที่ตนต้องการ เพื่อที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดในท่ามกลางภาวะวิกฤตในปัจจุบัน

แผนการผนวกและซื้อกิจการของเอบีเอ็น แอมโร รวมทั้งกรณีการซื้อกิจการที่เลิกร้างกันไป ล้วนแต่ฉายภาพ ให้เห็นโอกาสทางการตลาดที่เป็นไปได้สำหรับธนาคารที่จะเข้ายึดตลาดเอเชียวันนี้

ธนาคารแห่งอินเดีย : ยักษ์ที่เพิ่งตื่นจากหลับใหล

ท่ามกลางนโยบายคุมเข้มจากภาครัฐของอินเดีย ดูเหมือนว่าธนาคารแห่งอินเดีย (SBI) จะแตกต่างจากธนาคารของรัฐบาล 26 แห่งและธนาคารเอกชน 34 แห่งใน ปี 1998 อันเนื่องมาจากขนาดและหลักการดำเนินงาน ด้วย สินทรัพย์มูลค่า 40,000 ล้านเหรียญ เงินฝาก 30,000 ล้าน เหรียญและบัญชีอื่นๆ อีกมากกว่า 20 ล้านบัญชี ธนาคารแห่งอินเดียถือครองส่วนแบ่งตลาดธนาคารของอินเดียถึงหนึ่งในสี่ของทั้งหมด การให้บริการของธนาคารครอบคลุม ตั้งแต่การปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัท การรับฝากเงินของลูกค้ารายย่อยและการปล่อยกู้

การดำเนินธุรกิจของธนาคารสะท้อนให้เห็นถึงนโยบายเศรษฐกิจของธนาคารโดยตรง กล่าวคือ เอสบีไอต้องจัดสรรเงินกู้ 40% ให้กับบริษัทที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรกสุด รวมถึงภาคการเกษตรและธุรกิจขนาดเล็ก และกระจายสินเชื่อ 50% ให้กับกิจการชั้นนำและไม่เกิน 10% ให้กับผู้บริโภค โดยเงินกู้เพื่อผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นการปล่อยกู้ให้กับพนักงานบริษัท ตลอดทศวรรษ 1990 ธนาคารแห่งอินเดียตอบสนองนโยบายของรัฐบาลอย่างเข้มงวดด้วยการกระตุ้นการออม ของประชาชนมากกว่าการกู้ยืมหรือการดำเนินธุรกิจการปล่อยกู้ให้กับผู้บริโภค

กระนั้นก็ดี ธนาคารแห่งอินเดียกลับไม่ประสบความสำเร็จมากนักในด้านการรับฝากเงินรายย่อย สาขากว่า 9,000 แห่งกระจายเข้าถึงทุกหมู่บ้านในประเทศ ทำ ให้ธนาคารได้รับความไว้วางใจ แต่ธนาคารแห่งอินเดีย กลับมองบรรดาผู้ฝากเงินเป็นเพียงลูกค้าธรรมดาๆ เกือบตลอดทศวรรษ 1990 โดยธนาคารเสนอบริการเพียงบางกลุ่มในรูปของบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากประจำ ทว่า ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 การแข่งขันก็เพิ่มสูงขึ้นเนื่อง จากรัฐบาลจำเป็นต้องผ่อนคลายกฎและอนุญาตให้ธนาคาร ต่างชาติเข้ามาดำเนินกิจการแม้ว่าจะจำกัดให้เปิดสาขาได้เพียงไม่กี่แห่งก็ตาม ต่อมาในปี 1995 รัฐบาลอินเดียตัด สินใจส่งเสริมการขยายเครือข่ายเครื่องเบิกถอนเงินสดอัตโนมัติ(เอทีเอ็ม) ทั่วประเทศ ส่งผลให้ธนาคารชั้นนำอย่าง ซิตี้แบงก์และเอชเอสบีซีพัฒนากิจการได้อย่างรวดเร็ว และได้รับผลตอบแทนจากการขยายตัวในเวลาอันสั้น

ธนาคารแห่งอินเดียตระหนักดีว่า ส่วนแบ่งตลาดของกิจการกำลังล่อแหลม จึงเร่งปรับปรุงการดำเนินธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับลูกค้ารายย่อยเมื่อปี 1998 พร้อมประกาศแผนสร้างศูนย์บริการลูกค้ารายย่อยเกือบ 100 แห่งกระจาย ทั่วประเทศ ศูนย์บริการแห่งนี้จะจัดการกับความผิดพลาด ที่เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องเบิกถอนเงินสดอัตโนมัติในปี 1996 นอกจากนั้น ธนาคารติดตั้งเครื่องเบิกถอนเงินสดใหม่ๆ อีกไม่ต่ำกว่า 50 เครื่องในปี 1998 และตัดสินใจปรับปรุงงานด้านการให้บริการและประสิทธิภาพโดยรวมของกิจการ ด้วยการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในสาขาต่างๆ ร่วม 1,500 สาขา พร้อมดำเนินแผนจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับจีอี แคปิ-ตอล เพื่อออกบัตรเครดิตวีซ่าแก่ลูกค้า

ในศตวรรษที่ 21 ที่ใกล้เข้ามา ธนาคารแห่งอินเดีย ได้เตรียมความพร้อมหลายด้าน อาทิ การร่างแผนเชิงรุก รองรับระบบการชำระเงินและการประกันภัยเพื่อช่วงชิงข้อได้เปรียบ จากเครือข่ายสาขาที่มีอยู่อย่างทั่วถึง แต่ธนาคาร ต้องเผชิญกับแรงท้าทายสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกอบรมพนักงานเรือนหมื่นเพื่อจัดการกับภารกิจใหม่ ผลิต ภัณฑ์ใหม่และบริการใหม่

ธนาคารแห่งอินเดียก็เหมือนกับธนาคารภาครัฐทั่วไป ในเอเชีย ในแง่ที่ว่าธนาคารจะต้องอยู่ "ถูกที่ ถูกเวลา" หาก ต้องการรักษาฐานะผู้นำธุรกิจธนาคารสำหรับผู้บริโภครายได้ ต่ำและรายได้ปานกลางซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่เอาไว้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us