Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2542
สุนทรียแห่งการฟัง ตอนที่ 1             
โดย อเนกระรัว
 

   
related stories

สุนทรียแห่งการฟัง ตอนที่ 2 (จบ)




หูของคนเรานอกจากจะใช้ฟังความ (ข้างเดียวหรือสองข้าง) หรือฟังเสียงรอบข้างเพื่อการใช้ชีวิตประจำ วันแล้ว ยังสามารถใช้สัมผัสกับสุนทรีย์ของเสียงในหลายรูปแบบ เพื่อเพิ่มรส ชาติให้กับชีวิตหลังจากการรับรู้(และได้ ยิน) สิ่งต่างๆ ที่ดำเนินไปทั้งดีทั้งร้าย จะไม่เป็นการดีหรือที่เราจะหันมาสนใจ การใช้หู ฟังสิ่งสวยๆ งามๆ เสียงแห่งธรรมชาติอันบริสุทธิ์ สำเนียงแห่ง ดนตรีการอันไพเราะ และอื่นๆ

แต่การจะได้มาซึ่งคุณค่าแห่งการ รับรู้ของโสตสัมผัสนี้ จำต้องลงทุนพอสมควร ทั้งแรงใจ ปัญญา และแรงทรัพย์ ซึ่งผมเชื่อว่าถ้าการลงทุนเป็นไปอย่างฉลาดและเหมาะสม ท่านจะได้กำไร (ชีวิต) ที่คุ้มค่าเบื้องหลังใบหูธรรมดาๆ ทั้งสองของท่าน

ที่งานแสดงเครื่องเสียง โรงแรม แอมบาสซาเดอร์ ถนนสุขุมวิทเมื่อสอง สามปีก่อน ผมได้เข้าไปฟังลำโพงยี่ห้อ หนึ่งซึ่งมีราคาพอสมควร แสดงในห้อง ที่จัดอย่างเลิศหรูหลายคู่โดยมีสวิตช์ สำหรับเลือกทดสอบใช้ชุดเครื่องเสียงอย่างดีเล่นแผ่นซีดีที่คุ้นหู ย่างเท้าเข้าไป พนักงานขายก็เข้ามายิ้มเชื้อเชิญให้ฟังลำโพงคู่เด่น ยังไม่ทันได้นั่งฟังให้เป็นเรื่องเป็นราวก็ได้ยินดนตรีที่ประหลาดเกินคาด มิใช่เรื่องของเพลงที่บรรเลงอยู่แต่เป็นมิติของเสียงที่แสดงตำแหน่ง ของนักร้องและเครื่องดนตรี ผมกล่าว กับพนักงานขายอย่างสุภาพว่าลำโพงต่อ กลับเฟสอยู่ เขาทำท่างง ผมอธิบายต่อ ว่าเกี่ยวกับขั้วบวกขั้วลบของลำโพงข้าง หนึ่งต่อสลับกัน เขาสวนกลับมาว่าทราบ เรื่องเฟสแต่ยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ เมื่อ ทดลองสวิตช์ไปลำโพงคู่อื่นๆ ก็มีผล เหมือนกัน เขายืนยันอีกครั้ง ผมก็เช่นกัน ผมกล่าวว่ามันอาจผิดพลาดที่การต่อสวิตช์เลือกลำโพงกับเครื่องเพาเวอร์ แอมปลิไฟ หรือสวิตช์กลับเฟสสัญญาณ ขาเข้าของเพาเวอร์แอมปริไฟ พนักงาน ขายผู้นั้นใช้สายตาสอดส่องดูสายไฟอันยุ่งเหยิงอยู่พักหนึ่ง (ขณะที่ดนตรี ก็บรรเลงไป) โดยไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร (กับผม) ดี พอดี มีผู้ชมงานเข้ามาในห้องเขาเลยปลีกตัวไป ผมก็ไม่อยากเสีย เวลาเลยเดินออกมาอย่างสงบ สงสัยว่าจะมีพนักงานขายเครื่อง เสียงชั้นดีกี่คนที่ฟังลำโพงกลับเฟสไม่ออก การฟังเสียงสเตอริโอ กลับเฟสให้ ได้นั้นไม่จำเป็นต้องอาศัยหูที่ทำด้วยทอง เพราะอาการนั้นแสดงออกชัดเจนมาก เมื่อเรายืนฟังดนตรีอยู่ตรงกลางระหว่าง ลำโพงทั้งสองในตำแหน่งที่เหมาะสม ถ้าลำโพงข้างใดข้างหนึ่ง (หรือสัญญาณ ระหว่างทาง) มีการกลับเฟส สิ่งที่ได้ยินคือ เสียงทุ้มต่ำๆ จะจางลง มิติของ เสียงที่ใช้บ่งบอกตำแหน่งของเครื่องดนตรีจะสับสนอลหม่านและกระจายไป อยู่ข้างๆ บางทีจะได้ยินเหมือนกับวงดนตรีเล่นอยู่ทางซ้ายสุดและขวาสุดของ ห้องโดยมีช่องว่างตรงกลาง และถ้าเรา ลองขยับตัวไปทางซ้ายหรือทางขวาเล็ก น้อย จะได้ยินตำแหน่งของเครื่องดนตรี ย้ายที่ไปมาอย่างสนุกสนาน แต่เป็นไปได้ที่นักฟังหูใหม่ๆ อาจฟังออกไม่ชัดเจน นัก ซึ่งอาจต้องฝึกฝนอีกเล็กน้อย เป็น เรื่องที่ให้อภัยได้ถ้าท่านไม่ไปเป็นพนักงานขายเครื่องเสียง

อีกเจ้าหนึ่ง (ยังอยู่ที่งานแสดงฯ) คราวนี้เป็นชุดเครื่องเสียงชนิดโฉ่งฉ่างตามบ้าน ผมเข้าไปเล็งชุดที่มีคำวิจารณ์ ไปในทางดี เห็นปุ่ม Loudness อยู่ใน ตำแหน่ง On และปุ่มปรับเสียงทุ้มแหลม ถูกปรับไปทางขวาสุดทั้งสองปุ่ม คิดในใจว่าช่างเปิดเครื่องเสียงให้คุ้มค่าเครื่อง เสียนี่กระไร ผมขออนุญาตพนักงานขายปรับเสียงมาตำแหน่ง Flat คือ ปุ่ม Loudness อยู่ในตำแห่ง Off และปุ่มปรับเสียงทุ้มแหลมอยู่ตรงกลาง (ไม่เพิ่ม ไม่ลดเสียงทุ้มแหลม) ทำให้ดนตรีที่บรรเลงอยู่ฟังดูดีเป็นธรรมชาติขึ้นมาก ทำให้เครื่องเสียงชุดนั้นมีคุณค่าน่าประ ทับใจขึ้นมาทีเดียว ขณะที่พนักงานขาย ทำท่าเขินอายกลัวผู้ฟังคนอื่นจะได้ยินเครื่องเสียงในสภาพเปลือยเปล่า

การฟังเครื่องเสียงในแง่หนึ่งก็เหมือนการรับประทานอาหาร ถ้าท่าน ได้ไปรับประทานอาหารที่ภัตตาคารชั้น หนึ่ง ที่ปรุงโดยกุ๊กมือหนึ่ง หลังจากชิมคำแรกแล้วท่านบอกกับบริกรขอน้ำปลา พริกป่น น้ำตาลและน้ำส้มสายชู แล้วกระหน่ำซ้ำเติมลงในอาหารจานนั้น แสดงว่าจะต้องมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่คนทำก็คนทาน ความจริงการปรับเสียงทุ้มแหลม ไม่ได้เป็นความผิดหรือน่ารังเกียจแต่อย่างไร หลายๆ กรณีก็เป็นความพอใจ ของผู้ฟัง รวมทั้งเรื่องของสไตล์ดนตรีที่ต้องการความคึกคักเช่นเพลงในสถาน บันเทิง แต่ถ้าเป็นการฟังอย่างใส่ใจให้ได้อรรถรสถึงความประณีตบรรจง ของงานสร้างสรรค์ ตั้งแต่ศิลปินนักดนตรี วิศวกร (หรือช่าง) บันทึกเสียง จนถึงชุดเครื่องเสียงที่ถูกออกแบบและผลิต ขึ้นมาอย่างพิถีพิถัน ผ่านใบหูธรรมดาๆ ทั้งสองมาสุดทางที่เซลล์สมอง คงต้องคำนึงถึงคุณภาพของส่วนประกอบต่างๆ เพื่อให้การฟังนั้นมีความหมาย

จุดประสงค์ของปุ่มปรับแต่งเสียง ทุ้มแหลมมีไว้เพื่อชดเชยความไม่สมบูรณ์ของห้องฟังเพลง หรือช่วยเติมสีสันให้กับลำโพงที่มีขีดจำกัดของเสียง ซึ่งก็เป็นเพียงเล็กๆ น้อยๆ แต่เครื่องเสียงส่วนใหญ่ผลิตมาเพื่อรองรับตลาดผู้ฟังทั่วไป และยิ่งยุคนี้ Home Theatre ได้ รับความนิยม อุปกรณ์เครื่องเสียงจึงมี ลูกเล่นในการแต่งเสียงแพรวพราว แต่ วงการเครื่องเสียงสำหรับนักฟังจะไม่นิยมการปรับแต่งเสียง เครื่องเสียงเพื่อ การฟังชั้นดีหลายรุ่นที่ไม่มีปุ่มปรับเสียง ทุ้มแหลมใดๆ ทั้งสิ้น

ในทางกลับกัน เพื่อนผมคนหนึ่ง มาปรึกษาว่าจะซื้อลำโพง Monitor ระดับอาชีพที่ใช้ในห้องบันทึกเสียงมาฟังเพลงในบ้าน ผมเลยแย็บไปว่าราคา แพง เพื่อนผมบอกมีเงิน ผมเลยถามว่าเคยฟังของจริงบ้างหรือยัง เพื่อนผม บอกว่ายัง เลยพาไปฟังลำโพง Monitor ของจริงที่ห้องบันทึกเสียง หลังจาก ได้ฟังอยู่ขณะหนึ่ง สีหน้าเพื่อนแสดงถึงความผิดหวัง ในใจก็คงจะรำพันว่าทำไมเสียงไม่ได้เรื่องถึงเพียงนี้

เบื้องหลังก็คือลำโพงที่ใช้ในห้อง บันทึกเสียงมีจุดประสงค์เป็นเครื่องมือการผลิต จำเป็นต้องมีความเที่ยงตรงสูง มีรายละเอียดและมิติที่ชัดเจน มาก พอหูสมัครเล่นมาสัมผัสจะพบว่า ฟังแล้วแห้ง เครียด ดิบ กระด้างไม่ กลมกล่อม และมีความชัดเจนจนน่ากลัว ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ค่อยมีใครนำลำโพง Studio Monitor มาฟังเพลงในบ้าน และลำโพงฟังเพลง ในบ้าน ก็ไม่นิยมนำไปใช้ในงานอาชีพ เพื่อนผมที่มีความคิดอยากเท่ด้วยลำโพง Monitor ก็เปลี่ยนใจในที่สุด

มีคนเคยถามว่าจะเล่นเครื่องเสียง ควรจะเริ่มอย่างไรให้รู้สึกว่าคุ้มค่าจะง่ายเหมือนซื้อหุ้นหรือไม่ (ฟังวิทยุหรือโทร. ไปถามแล้วซื้อ) สำหรับความคิดเห็นของผม ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ความยากง่ายหรือเงิน สิ่งสำคัญคือจุดประสงค์ของเราว่าจะให้กิจกรรมนี้มีคุณค่าต่อชีวิตในระดับไหน และจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตได้เพียงใด ผู้คนส่วนใหญ่ ไม่ได้รู้สึกมีปัญหาอะไรถ้าไม่ได้ฟังเพลง เพราะๆ จากเครื่องเสียงดีๆ หลายคนอาจพอใจกับคุณภาพเสียงระดับโทรศัพท์ ซึ่งกลมกลืนกับชีวิตประจำวัน ในขณะ ที่บางคนพอใจกับเสียงของสายสัญญาณราคาเส้นละห้าหมื่นบาท การรับรู้ซึ่งคุณค่าจะขึ้นอยู่กับผู้รับรู้และเป็นสัมพัทธ์ (เช่นเดียวกับไอน์สไตน์เคยบอกไว้) การ จะบอกว่าคุ้มค่าเงินหรือไม่ขึ้นกับว่าท่าน มีเงินอยู่เท่าไรและใช้เงินอย่างไร ถ้าฟัง เสียงแล้วบอกว่าคุ้มค่าหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับ หูของท่านฟังได้ละเอียดขนาดไหนและ มีวิจารณญาณอย่างไร นอกจากนั้นยัง ต้องเว้นที่ว่างให้กับจินตนาการ ความรู้สึกและจิตวิทยาส่วนบุคคล

อย่างไรก็ตามจากที่กล่าวมาตั้งแต่ต้น ผมอยากแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการฟังว่าหูของคนเราสามารถแยกแยะผิด-ชอบ ดี-ด้อยได้ และความสามารถในการแยกแยะสามารถพัฒนาให้มีความละเอียดลออยิ่งขึ้น จนถึงจุดที่สามารถทำให้เข้าถึงสุนทรียแห่งการฟังได้ถึงจุดนี้แล้วท่านก็สามารถเพิ่มสีสันให้กับชีวิต เป็นแนวทางหาความสุขเล็กๆน้อยๆ ในอีกรูปแบบหนึ่ง ในตอนต่อไปผมจะเล่าถึงเกร็ดความรู้ในเรื่องของเครื่องเสียง เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับนักฟังหน้าใหม่ แล้วพบกันครับ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us