แดเนียล โกลด์แมน เป็นศาสตรา จารย์ ทางจิตวิทยาคลินิกของมหาวิทยา ลัยฮาร์วาร์ด
และเป็นบรรณาธิการนิตย สารทางจิตวิทยาชั้นนำทีรู้จักกันทั่วโลก คือ นิตยสาร
Psychology Today
นอกเหนือจากตำแหน่งในมหาวิทยาลัย และเป็นบรรณาธิการที่มีชื่อใน แวดวงจิตวิทยาแล้ว
แดเนียลยังก่อตั้งสถาบันให้คำปรึกษาที่เรียกว่า Emotional Intelligence Sepuices
(EIS) และมีบทบาทในการเป็นผู้นำให้การฝึกอบรมกับผู้บริหารระดับสูงในแวดวงธุรกิจมีชื่อเสียงอีกหลายแห่ง
หนังสือเรื่อง Emotion Intelligence จึงมาจากภูมิปัญญากลั่นกรอง จากการวิจัย
และการทดลองมายาวนาน แม้หนังสือจะพิมพ์ในปีค.ศ.1995 แต่ก็เป็นหนังสือในวงการวิชาชีพด้านนี้
ที่มีผู้เชื่อถือ และเป็นคัมภีร์สำคัญ สำหรับนักบริหารที่ต้องการเลือกสรรผู้นำที่เหมาะต่อการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
ปัญหาที่หนังสือเล่มนี้ต้องการคลายปมก็คือปัจจัยในการสร้างผู้นำองค์กร
ซึ่งในสหรัฐอเมริกาและบริษัทข้ามชาติใหญ่ๆ ได้พบว่าผู้นำบางระดับ ไม่สามารถไต่เต้าขึ้นไปนำองค์กรในตำแหน่งการบริหารสูงสุดได้
และมีนักบริหารที่เฉลียวฉลาด มีทักษะและความ เป็นเลิศ แต่ล้มเหลวถ้าขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งสูงสุด
ดังนั้นจึงมีความเชื่ออยู่ว่าการเป็น ผู้นำสูงสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น
เนื้อแท้เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง คนที่เหมาะ สมกับตำแหน่งที่ว่านี้ ไม่จำเป็นต้องมีความเป็นเลิศทางสมอง
หรือเป็นอัจฉริยะในด้านความสามารถทางทักษะ
แดเนียลจึงศึกษามูลปัจจัยว่าเนื้อ แท้ของความสำเร็จในการเป็นผู้นำองค์
กรได้อย่างมีประสิทธิภาพใช้ปัจจัยอะไร เป็นด้านหลัก ผลของการศึกษาและวิจัย
บ่งบอกว่าความเป็นเลิศทางอารมณ์เช่น Emotional Intelligence มีความสำคัญโดดเด่นเป็นพิเศษ
การศึกษาของ แดเนียลในหนังสือไม่ปฏิเสธคนที่มี IQ สูง แต่คนที่มี IQ สูง
หากไม่มี EI ก็ไม่อาจประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ กรรมการบริษัทต้องการเห็น
ความสามารถในการคิดด้วยการมองภาพรวมที่ใหญ่และมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล เป็นความสำคัญโดยเฉพาะ
เขา พบว่าหากนับรวมว่าความสามารถและ ความชาญฉลาดบวกเข้ากับ Emotional Intelligence
แล้วปัจจัยหลังมีน้ำหนักมากกว่าปัจจัยอีกสองประการข้างต้น
เฉพาะอย่างยิ่งคำกล่าวที่ว่า "ยิ่งสูงยิ่งหนาวนั้น" อาจเป็นเหตุให้คนที่ก้าวขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งสูงสุดล้มเหลวได้
เว้นแต่คนที่มีความสามารถ ใช้อารมณ์ควบคุมระบบคิดและไม่วูบวาบตามกระแส จะไมรู้สึกเลยว่าพวกเขาตกอยู่ในความโดดเดี่ยวเวลาบริหารองค์กร
แต่จะขับเคลื่อนทิศทาง การเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้อย่างดี และดีมากๆ ในองค์กรใหญ่
ที่มีความซับซ้อนสูง
แดเนียลฟันธงลงไปว่าร้อยละ 90 ของผู้ประสบความสำเร็จมาจากระดับความสามารถในการแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างฉลาดเฉลียว
ที่น่าแปลกใจที่สุดก็คือ คนที่ประสบความสำเร็จได้นั้นต้องมีอัตตาและรู้จักอัตตาของตัวเองอย่างลุ่มลึก
ซึ่ง หมายความว่าต้องเรียนรู้ความสำเร็จ ความล้มเหลว จุดอ่อน และจุดแข็ง
ของ ตัวเอง ให้ได้เสียก่อน
คนที่สำนึกว่าอัตตาตัวเองเป็นอย่างไรย่อมไม่พิพากษาข้อขัดแย้งหรือมองปัญหาอย่างสุดโต่ง
เป็นคนที่ไม่ตั้งความหวังหรือวางเป้าหมายที่ยากจะไขว่ คว้าได้ คนเหล่านี้แดเนียลชี้ว่าเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์กับตัวเอง
และต่อเพื่อน ร่วมงาน
ในโลกตะวันออกอย่างในเอเชีย เราเชื่อว่าโดยปรัชญาพุทธ เราเรียนรู้ "ตัวตน"
ของเราผ่านทางค่านิยมของศาสนา แต่มีหลายครั้งที่พบว่า แม้จะอ้างว่ารู้จักตัวเองดีพอ
แต่ในการบริหาร อาจเกิดสภาพหลงและไร้สติได้ หากไม่มีความเฉลียวในการแก้ปัญหาให้กับองค์กรอย่างรอบด้าน
คนทีรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้ส่วน ใหญ่จะพูดรายละเอียดได้กระจ่างและเป็นคนเปิดเผย
แม้ว่าจะไม่ใช่นักพูดตัว ยง แต่ก็สามารถสื่อสารให้เกิดประสิทธิ ภาพในการทำงานได้
หนังสือได้ชี้ให้เห็นว่า คนที่มี EI จะยอมรับความผิดพลาดโดยเปิดเผย และตรงไปตรงมา
และยินดีเล่าเรื่องที่เขาทำผิดพลาดโดยไม่เสียอกเสียใจต่อเหตุการณ์ร้ายๆ เหล่านั้น
บางครั้งอาการ ที่แสดงออกก็คือมีอารมณ์ขันได้ต่อข้อผิดพลาดหรือความบกพร่อง
คนพวกนี้จะมีความมั่นใจในสิ่งที่ตนกระทำมากกว่าคนอื่น อย่างน้อยก็ไม่ เป็นพวกไมรู้จักประมาณตนรู้ปัจจัยเสี่ยงทางธุรกิจแต่ก็มีความสามารถที่จะ
คำนวณความเสียหายของความเสี่ยงนั้นๆ ได้ดีเลิศ กลไกทำงานเกี่ยวกับข้อบกพร่อง
ของบุคคลอยู่ที่ความสามารถที่จะเรียนรู้ และบริหารความเสี่ยง คนที่มี EI
สูงจะสามารถควบคุมตัวเองได้โดยอัตโน มัติ ซึ่งเป็นที่มาของนักบริหารที่ทำงานด้วยเหตุและผล
หัวหน้างานที่เกรี้ยวกราดเอากับลูกน้องบ่อยครั้งจะพบว่าผลกระทบนี้ขยายไปถึงผู้ร่วมงานระดับล่างด้วย
ผิดกับผู้บริหารขี้ตื่นตระหนก จะทำให้ผู้ร่วมงานพลอยประสาทกินไปด้วย และ
แน่นอนว่าองค์กรนั้นทำงานด้วยธาตุแท้ ของความตระหนกตกใจในความเปลี่ยน แปลงที่จะกระทบถึงองค์กร
ปัจจัยกระตุ้นการทำงานมีความสำคัญต่อความสำเร็จในองค์กรอย่างเลี่ยงไม่ได้
ผู้นำจะมีประสิทธิภาพ จะช่วยพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ผู้นำจะ มีแรงกระตุ้นเร้าให้งานถึงเป้าหมายด้วยความสำเร็จ
สิ่งนี้ฝังแน่นอยู่ในจิตวิญญาณของนักบริหารเลยก็ว่าได้
คนที่รักงานโดยถืองานเป็นส่วนหนึ่งของการท้าทายสิ่งใหม่อยู่เสมอ พร้อมเรียนรู้สถานการณ์ใหม่ๆ
และมีความภาคภูมิใจในงานที่ทำสำเร็จ ก็จะมีกำลังใจในการทำงานให้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ
องค์กรแบบไทยๆ มีจำนวนไม่น้อย เลือกใช้ผู้นำประเภท "ตอบแทน" ด้วยความซื่อสัตย์จงรักภักดี
ผู้บริหารธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ เคยให้ ความเห็นต่อผู้วิจารณ์หนังสือว่าธนาคารมีคนเก่าที่ซื่อสัตย์แยะและรักษาคนรุ่นเก่ามากกว่าเลือกพวกเลือดใหม่ไฟแรง
แต่ไม่แน่ใจว่าจะรักในองค์กรหรือไม่ ยามที่ธนาคารแห่งนี้จะล่มสลาย ก็ดูเหมือนว่าพนักงานเก่าๆ
เหล่านี้ล้วนเป็นหัวหอกในการต่อสู้ แม้ว่าจะพ่ายแพ้ เป็นการพิสูจน์สัจธรรมของแดเนียลได้ประการหนึ่ง
ซึ่งหากว่าหนังสือเล่มนี้ตกอยู่ในมือผู้บริหารธนาคาร โดยยอมเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ผันแปรเนิ่นๆ
แล้ว ธนาคารแห่งนี้อาจจะรอดก็ได้
ผู้นำที่เปี่ยมด้วย EI จากหนังสือ เล่มนี้ จะมีสัมพันธภาพที่ราบรื่นกับพนักงานในองค์กร
โดยเข้าใจต่อ "ความรู้สึก" ของพนักงาน หยั่งความรู้สึกได้ก็ย่อมประเมินคำสั่งและการเรียกร้องที่ขึ้นมาจากระดับล่างได้อย่างรวดเร็วทันกาลต่อการปรับตัว
โดยรวมแล้วหนังสือของแดเนียล เป็นพื้นฐานทำให้เราเข้าใจถึงวัฒนธรรม ของผู้นำที่จะประสบความสำเร็จ
เรียก ได้ว่าสิ่งซึ่งหนังสือค้นพบไม่ซับซ้อน แต่ หาผู้นำที่จะเข้าใจได้ยาก
เป็นธรรมชาติ ของผู้นำ และมองด้านกลับกันหากองค์กรไร้วัฒนธรรมที่เป็นใจให้เกิดผู้นำ
ประเภทนี้แล้วก็ไม่แน่ว่าองค์กรนั้นจะประสบความสำเร็จได้
หลายธุรกิจ บริษัทของรัฐหรือเอกชน ล้วนเคยผ่านบทเรียนที่ปวดร้าว เพราะผู้นำไร้ประสิทธิภาพ
ไม่มีน้ำยาในการบริหารอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้หลายองค์กร "เสื่อม" ไปตามกาลเวลา
อย่างน่าเสียดาย