Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543
ความหมายของ รีเทลแบงกิ้ง             
 

   
related stories

Retail transformation ธนาคารเอเชีย
กระบวนการไปสู่ Retail transformation

   
search resources

ธนาคารเอเชีย, บมจ.
Retail Banking




การมุ่งไปยังธุรกิจรีเทลแบงกิ้ง ที่เป็นกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป ทำให้แนวคิดของการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ที่เป็นบริการของธนาคารเอเชียแตกต่างไปจากทุกธนาคาร

ความหมายของรีเทลแบงกิ้งของธนาคารเอเชีย จึงไม่ใช่บริการของธนาคาร ที่เป็นเพียงแค่การมีเครื่องเอทีเอ็ม แต่มันหมายถึงการที่ต้องเข้าถึงความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด และความภักดีในการบริการ และตราสินค้าของธนาคารเอเชีย

และนี่ก็คือ ที่มาของการสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ที่จะครอบคลุมความต้องการของผู้บริโภคทุกวัยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เด็กแรกเกิด ไปจนกระทั่งถึงเกษียณอายุ สามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มหลัก

จูเนียร์ แอคเคาท์ เป็นบริการสำหรับลูกค้าวัยแรกเกิดไปจนถึงอายุ 14-15 ปี ธนาคารเอเชียได้แนวคิดของการสร้างบริการนี้มาจากธนาคารออมสิน ก่อนหน้านี้ธนาคารออมสินเคยเป็นธนาคารเดียว ที่สามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในวัยเยาว์ของเด็กไทยมาแล้วหลายยุคหลายสมัย

แต่สิ่งที่ธนาคารออมสินไม่มีก็คือ การต่อเนื่องของบริการ และนี่ก็คือ กุญแจ ที่ธนาคารเอเชียจะใช้สร้างแรงจูงใจของการใช้บริการ

"สิ่งที่เราให้กับลูกค้า ไม่ใช่แค่ฝากเงินแล้วก็จบ เด็กจะได้เรียนรู้ว่าเขาจะได้อะไรจากการฝากเงิน" วิลาวรรณบอก

กลยุทธ์ ที่ว่านี้ก็คือ การออก "จูเนียร์วีไอพีการ์ด" เพื่อเป็นส่วนลดให้กับเด็กๆ เหล่านี้ใช้สำหรับซื้อสินค้า รวมทั้งการให้ทุน และการจัดกิจกรรมขึ้นสำหรับลูกค้ากลุ่มนี้โดยเฉพาะ เพื่อสร้างสิ่งที่เรียกว่า "ปฏิสัมพันธ์" ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการตอบสนองลูกค้าในยุคสมัยนี้

เมื่อลูกค้าเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น บริการ "เอเชีย วี คูล" การตอบสนองความต้องการของวัย 15-22 ปี คือ การสร้างอำนาจในการจับจ่ายใช้สอย เอเชีย วี คูล จึงเป็นการรวมกันระหว่างบัตรเอทีเอ็ม และบัตรเดบิต ลูกค้า ที่เป็นวัยรุ่นเหล่านี้ จะถอนเงินจากตู้เอทีเอ็ม และยังสามารถขอวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ใช้จ่าย

ความพยายามในการเข้าถึงพฤติกรรมของลูกค้า ทำให้ธนาคารเอเชียต้องทำมากกว่าการออกบัตรเดบิตเพียงอย่างเดียว นั่นก็คือ ที่มาของการทำกิจกรรมสำหรับสมาชิกบัตรเหล่านี้ขึ้น ที่สยามสแควร์

เมื่อย่างเข้าสู่วัยทำงาน บริการธนาคารจะตอบสนองคนวัย22-45 ปี เป็นช่วงของการสร้างเนื้อสร้างตัว และมีครอบครัวบริการสำหรับคนวัยนี้ จึงมีความหลากหลาย จะมีตั้งแต่เรื่องของบริการเงินกู้ยืมสำหรับการผ่อนบ้าน เช่น เอเชีย เฮาซิ่ง

"คนกลุ่มนี้จะจ่ายเงินให้กับกลุ่มจูเนียร์ การใช้เงินของพวกเขาจะใช้ เพื่อลูก ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เป็นข้อมูลที่เราสามารถเห็นได้หมด"

บริการหลักอื่นๆ ของคนในวัยทำงาน ก็คือ เอเชียคอนวีเนียน เป็นบริการที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารเงินสดได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น เมื่อลูกค้าสั่งจ่ายเช็ค เงินจากบัญชีออมทรัพย์ จะโอนเข้าบัญชีกระแสรายวันโดยอัตโนมัติ เงิน ที่เหลือจะถูกโอนกลับมายังบัญชีออมทรัพย์ทุกสิ้นวัน เพื่อรับดอกเบี้ย และยังเบิกเงินเกินบัญชี (OD) ได้ 100% ของยอดเงินฝากประจำ

เอเชีย ซีเคียว เซฟวิ่งส์ เป็นบัญชีเงินฝาก ที่จะได้รับคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคล ตลอดระยะเวลาการฝาก 24 เดือน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยประกัน ที่ธนาคารเอเชียทำขึ้น จะรองรับลูกค้ากลุ่มนี้ และเป็น 1 ใน 5 ผลิตภัณฑ์หลักของธนาคารเอเชีย ที่มียอดผู้ใช้จำนวนมาก

เมื่ออายุย่างเข้า 45 ปี เป็นช่วงของวัย ที่ต้องเก็บหอมรอมริบ สำหรับการใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุ จะอยู่ในรูปบริการ "เอเชีย ซีเนียร์" เป็นบัญชีเงินฝากประจำ อายุ 1 ปี สำหรับผู้มีอายุ 45 ปีขึ้นไป เพื่อสะสมเงินไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณอายุ 60 ปี โดยจะได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารเป็นรายเดือน จะต้องเปิดบัญชีขั้นต่ำ 5 แสนบาท ไม่เกิน5 ล้านบาท

ภายใต้บริการหลัก 5 ประเภท จะมีบริการอื่นๆ ที่เสริมความต้องการของลูกค้าในด้านต่างๆ อีกสิบกว่าบริการ เช่น คนวัย 45 ปี นอกจากสะสมเงินแล้ว จะมีเรื่องของการลงทุน จะมีบริการแนะนำให้ลงทุนในการซื้อหุ้นกู้หรือพันธบัตร

และทั้งหมดนี้ คือ ความหมายของรีเทลแบงกิ้งของธนาคารเอเชีย ที่ไม่ใช่แค่การมีเครื่องเอทีเอ็มเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ธนาคารจำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้ การเข้าใจความต้องการของลูกค้า ที่ต้องประสานกับกิจกรรมการตลาดอย่างลึกซึ้ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us