หลังจากที่ชนะการประมูลสินเชื่อ จากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบัน การเงิน
(ปรส.) แล้ว บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้ง จำกัด ได้นำสินเชื่อก้อนนั้นมาจัดตั้งกองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้
(Global Thai Property Fund) ซึ่งจัดการโดย บลจ.วรรณ
กองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพ เพอร์ตี้มีจุดมุ่งหมายลงทุนในสิทธิเรียก ร้องทางการเงินของสถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นประกัน
และซื้อหรือ เช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งกองทุนจะมีราย ได้จากสิทธิเรียกร้องหรืออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว
ล่าสุดเลห์แมนออกตราสารหนี้แบบใหม่คือ หุ้นกู้มีประกันชนิดทยอยชำระคืนเงินต้นหรือเรียกว่า
Senior Tradable Residential-backed Secu- rities (STaRS) จำนวน 4,000 ล้านบาท
โดยนำเอาส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ ก้อนดังกล่าวคือรายรับจากลูกหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยมาเป็นหลักประกัน
และ นี่เป็นครั้งแรกที่มีการแปลงรายรับจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยมาเป็นหลักทรัพย์
มร.คาร์ลอส มานาแล็ค หัวหน้าส่วนแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Asset Securitization)
และ Principal Transaction ในประเทศไทย กล่าว กับ "ผู้จัดการ" ว่า "เราใช้เวลาอยู่กับนักลงทุนนานมาก
คุยกันตัวต่อตัว จนกระทั่งพวกเขาเข้าใจและพอใจจะลงทุนในตราสารตัวนี้ ประเด็นที่สำคัญ
อันหนึ่งที่ทำให้การคิดค้นสร้างหลักทรัพย์ตัวนี้ประสบความสำเร็จคือความ โปร่งใสในกระบวนการทำงาน
นักลงทุน สามารถมองเห็นชัดเจนว่าตราสารนี้มีกระบวนการทำงานอย่างไร เราแสดงให้ทราบเป็นรายเดือน
ซึ่งการทำเช่นนี้ได้สำเร็จนั้นเราได้นำระบบการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จากนิวยอร์ก
มาปรับใช้ด้วย และตอนนี้ตราสารก็มีคน จองซื้อล้นหลาม เราไม่มีของจะขายอีกแล้ว"
มร.มานาแล็คเล่าว่า "เราได้มีการ คุยกับนักลงทุนอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับการ
structure deal นี้ เราคิดว่าอัตราดอก เบี้ยควรเป็นแบบลอยตัว หรือ floating
rate ทั้งนี้เพราะอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อบ้านซึ่งถือเป็น underlying
asset ของตราสารตัวนี้ก็อิงอยู่กับ MLR และเคลื่อนไหวไปตามตัวนี้ เราจึงกำหนดให้
coupon rate ของ STaRS เท่ากับ MLR -1.5% ซึ่งมันจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงเป็นรายเดือนตามตัว
MLR
เราเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยตัวนี้ดีสำหรับนักลงทุน เพราะตอนนี้อัตราดอกเบี้ยก็เคลื่อนไหวลดลงมาก
แต่หาก มันปรับตัวขึ้น ก็เป็นผลดีแก่นักลงทุน"
ด้านอายุตราสาร (maturity) เนื่อง จากเป็นตราสารที่มีสินเชื่อเช่าซื้อบ้าน
เป็น asset backed ดังนั้นอายุของมันจึงขึ้นอยู่กับอายุของสินเชื่อเหล่านั้น
ซึ่งมร.มานาแล็คอธิบายว่าเขาได้มีการจัดโครงสร้างไว้ ซึ่งจะเป็นการเร่งให้มัน
มีอายุสั้นลง คือตามกฎหมาย (legal maturity) แล้วมันจะมีอายุได้ถึง 7 ปี
"แต่เราคาดว่าจะมี 2- 3 ปี เพราะเรา มองว่ามันมีสินเชื่อบางรายที่มีการทำ
รีไฟแนนซ์"
โดยภาพรวมแล้ว กลุ่มเลห์แมนเป็นเจ้าของหลักทรัพย์เหล่านี้และก็เป็นผู้ออกตราสารด้วย
(owner & issuer) ซึ่งหากเป็นในต่างประเทศนั้นการ ทำ securitization
ต้องเกี่ยวเนื่องกับกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มและมีความซับซ้อนกว่านี้มาก แต่ในไทยนี่เราคิดว่าหากเราทำเรื่อง
asset backed issue ในช่วงที่ภาวะต่างๆ ค่อนข้างยุ่งยากนั้น เราควรทำกับสินทรัพย์ที่เราเป็นเจ้าของ
เองจะสะดวกกว่า"
ความสำเร็จของ STaRS เป็นตัว พิสูจน์ความเห็นของเลห์แมนในเรื่องตลาดนักลงทุน
เพราะว่ามีการจองเข้ามามากถึง 3 เท่าตัว (oversubscribe) ซึ่งมร.มานาแล็คคิดว่าเป็นเพราะเขาทำ
โดยใช้สินทรัพย์ของเลห์แมนเอง และมันทำให้เขาสามารถจัดโครงสร้าง STaRS ให้เป็นตราสารที่มีความแข็งแกร่งมาก
"ข้อดีคือเราเป็นเจ้าของสินทรัพย์ นี้เองการทำดีลจึงง่าย และประสบความ
สำเร็จมากดังที่กล่าวมา และการที่เราเป็นเจ้าของและเป็นผู้ออกหลักทรัพย์ด้วยนั้น
เราก็สามารถที่จะจัดให้มี linkage ได้ในกลุ่มของเราเองสำหรับตัว property
fund ที่ว่านี้"
STaRS ล็อตแรกนี้ให้ความสำคัญเรื่อง credit quality สูงมาก ซึ่งคุณภาพของสินเชื่อดังกล่าวก็มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับอายุของตรา
สารดังที่กล่าวมา ทว่า STaRS ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากหน่วย งาน
cradit rating agency แห่งใด ทั้งนี้มร.มานาแล็คให้เหตุผลว่าเพราะกระบวนการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
จะทำให้ขั้นตอนการออกตราสารฯเนิ่นช้าไปอีก ซึ่งทั้งผู้ลงทุนและผู้ออกต่างไม่ปรารถนาให้เป็นเช่นนั้น
ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่ากองทุนที่ลงทุนในสินเชื่อของปรส. ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนเหล่านี้ก็สามารถที่จะซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนนั้นๆได้อยู่แล้ว
ไม่จำเป็นที่จะต้องจัดให้มีการทำ securitized อีก
ประเด็นนี้มร.มานาแล็คให้ความเห็นว่า "มันไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำ securitized
asset under the property fund or the mutual fund แต่ การที่ทำขึ้นมาก็เพื่อกระตุ้นให้มีธุรกรรม
ด้าน asset backed หรือ securitization ซึ่งหากการกระตุ้นนี้มีความสำเร็จ
มันก็จะช่วยสร้างประโยชน์แก่ประเทศ อย่างมาก"
มีคนหลายกลุ่มพยายามที่จะสร้าง ตราสารประเภทนี้ขึ้นมา แต่อาจจะด้วย ข้อจำกัดหลายอย่างในภาวะปัจจุบัน
ทว่าเลห์แมนสามารถออกได้สำเร็จเป็น เสมือน pilot project ของตราสารประเภทนี้ที่เลห์แมนทดลองทำในไทย
"เราก็มีความภูมิใจว่าเราได้สร้างมันขึ้น มาได้สำเร็จ และเราก็มีการให้คำแนะนำ
โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมแก่ SEC ด้วยในกิจกรรมด้านนี้"
เลห์แมนกำลังทำดีลประเภทนี้จำนวนหนึ่ง ซึ่งในที่สุดอาจจะออกมาเป็นโปรดักส์ในเรื่อง
securitization ได้ สิ่งที่มร.มานาแล็คพบคือเขาไม่อาจนำเอาเทคนิคจากสหรัฐฯ
มา apply ใช้กับไทยได้อย่างง่ายๆ ทว่าจำเป็นที่จะต้อง adjust เทคนิคเหล่านั้นอย่างมากให้เหมาะกับ
environment ที่นี่ จุดที่เลห์แมนประสบความสำเร็จอยู่ที่การเป็นเจ้าของ asset
ที่นำมา backed นั่นเอง ซึ่งในข้อนี้มร.มานาแล็คกล่าวว่า "การที่เรามี capital
ของเราเองทำให้เราสามารถทำงานได้ง่ายสะดวกขึ้น และประสบความสำเร็จมาก เรามี
tools หลายประเภทที่จะเอามาใช้ แต่การที่จะเอาวิธีการของสหรัฐฯมาใช้เลย ในไทยนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก
เพราะมีจุดที่มีความต่างกันอยู่หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ภาษี ระเบียบของทางการ
ระเบียบการเปิดเผยข้อมูล และลักษณะของกลุ่มนักลงทุน ตัวอย่างเช่น ตลาด securitization
ในสหรัฐฯ มีมูลค่าหลายแสนล้านเหรียญ ซึ่งการทำ deal บางครั้งเป็นการคุยโทรศัพท์
ก็ arrange deal ได้ แต่ที่นี่เราใช้เวลานานมากในการทำความเข้าใจกับนักลงทุน
แต่ในสหรัฐฯนั้นแค่โทรศัพท์ไป คุยกันครั้งเดียวก็โอเค"
เมื่อถามว่า จะมีการออก STaRS #2 หรือ 3 หรือไม่ เขากล่าวว่า "มี ความเป็นไปได้ที่เราจะออก
tranche 2 และ 3 อีก เรากำลังดูที่จะออกโดยใช้ asset ของเราเอง แต่เราก็ดูของคนอื่นด้วยโดยเราทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้
มีของเราเองและของคนอื่นด้วย เพราะ เราเห็นว่าตลาดกำลังไปได้ดี"
สำหรับ STaRS ล็อตแรกนี้ นักลงทุนมีเฉพาะในไทยเท่านั้น เป็น local investor
ทั้งนี้เพราะ มร.มานาแล็คเห็นว่าเขาควรให้โอกาสแก่ local investor ก่อนเป็น
first chance ทั้งนี้เพราะมันมี strong structure มาก และมี coupon rate
ที่ดีด้วย นอกจาก นี้ในไทยก็มี liquidity สูงมากพอ แต่ในอนาคตเมื่อตลาดมีการพัฒนามาก
ขึ้น มีบริษัทและธนาคารต้องการออกตราสารประเภทนี้ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้อง
design ให้ attract ลูกค้าในต่างประเทศด้วย
ความคืบหน้าของตราสารตัวนี้อยู่ ระหว่างการเสนอจดทะเบียนใน Bond Dealers
Club หรือ BDC "หลังจากที่เรา execute ดีลก็มีคนที่สนใจโทรฯเข้ามามากทีเดียว
เราคาดว่าจะมีคนสนใจซื้อมาก แต่คงมีคนที่สนใจจะขายน้อย นักลงทุนที่ซื้อไว้แล้วอาจจะพอใจที่จะถือเอาไว้
ไม่ขายออก ดังนั้นเราอาจจะเห็นมูลค่าการเทรดหุ้นกู้ตัวนี้น้อย เนื่องจากมันมีผลตอบแทนที่ดี"
นพวรรณ อารมณ์ดี ผู้อำนวยการอาวุโส บงล.โกลบอลไทย กล่าวเสริมว่า "จริงๆแล้วก็คือนักลงทุนที่ซื้อตราสารไปก็ผ่านการคุยศึกษากับเรามา
พอควร พวกเขาอาจจะไม่สนใจขายมัน อยากจะ buy and hold มากกว่า ทั้งหมดเป็นนักลงทุนสถาบันทั้งสิ้น"
เลห์แมนได้ชื่อว่าเป็นเจ้าตลาด การออกตราสารหนี้ในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะตราสารหนี้ประเภทใหม่ๆ
ซึ่งบริษัทเป็นผู้นำทั้งในตลาดเอเชียและตลาดโลกอยู่แล้ว ทั้งนี้บริษัทมีกลยุทธ์สำคัญคือทำในลักษณะ
tailor made คือออกแบบตราสารตามความต้องการ ของลูกค้า ซึ่งเป็นการสร้างจุดเด่นในเรื่องความแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นๆ
อย่างเด่นชัดบริษัทสามารถวางตำแหน่ง ของตัวไว้ได้ในฐานะ innovator
บริษัทมีประวัติการเป็นเจ้าตลาด ครองส่วนแบ่งตลาดตราสารหนี้ CMBS หรือ
Corporate Morgage Backed Securities เป็นเวลา 5 ปีติดต่อกัน (ดูตารางประกอบ)
โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ตลาดเอเชียมีอัตราการเติบโตของตราสารหนี้คอร์ปอเรทที่สูงมาก
และเลห์แมนก็ยังรักษาความเป็นเจ้า ตลาดเอาไว้อย่างเหนียวแน่น
ธุรกิจด้าน structured finance เป็นกิจกรรมที่มีขนาดใหญ่มากของเลห์ แมนในทั่วโลก
ซึ่งเลห์แมนก็กำลังอยู่ในระหว่างพัฒนาธุรกิจด้านนี้ในไทย โดยมีแนวความคิดว่าธุรกิจด้านนี้จะมีบทบาทช่วยระบบเศรษฐกิจไทยได้
มร.มานาแล็คกล่าวตบท้ายว่า "นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่เลห์แมนได้ให้เจ้า
หน้าที่ระดับสูงของเลห์แมนจากนิว- ยอร์ก โตเกียว และฮ่องกงมาที่ประเทศ ไทย
และทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของเราที่นี่ เช่น คุณนพวรรณ เนื่องจากเราต้องการพัฒนาตลาด
structured finance ที่นี่ ผมคิดว่า ระดับ senior ของเลห์แมนให้ความสำคัญกับธุรกิจด้านนี้เป็นอย่างมากในไทย
เป็น priority หลัก ซึ่งจุดนี้เป็นเรื่องดี เพราะมัน ไม่เพียงแต่มีการนำเทคนิคและความชำนาญต่างๆมาใช้เท่านั้น
แต่ยังมีการนำเม็ดเงินเข้ามาซื้อ asset ด้วย เอามาทำ securitize และยังเตรียมการ
จะทำ structured loan ด้วย คือเรานำ เม็ดเงินเข้ามาเพื่อช่วยพัฒนาประเทศโดยรวมด้วย"
นพวรรณกล่าวเสริมว่า "ไม่ใช่ว่าเรา create new instrument อย่าง เดียว
แต่เรามีทั้งสองอย่างคือมีเทคโน โลยี มีประสบการณ์และยังมี capital base
เข้ามาอีกด้วย ซึ่งตรงนี้ทำให้เราได้เปรียบ หากไปดู house อื่น เขาจะมีแค่
structure ใหม่ๆ เข้ามาเท่านั้น"
ทั้งนี้ ตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในไทย มีนักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนซื้อสินทรัพย์ในไทยเป็นจำนวน
มาก ในส่วนของกลุ่มเลห์แมนนั้น เริ่มเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นจำนวน มาก
และก็ยังคงดูโอกาสการลงทุนที่เหมาะสมในอนาคตต่อไปด้วย