Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2542
เมื่อฟาติมาไม่อยากทำแค่วิทยุ             
 


   
search resources

ฟาติมา บรอดคาสติ้ง
แสงชัย อภิชาติวรพงษ์




แสงชัย อภิชาติวรพงษ์ ไม่ใช่คนแปลกหน้าสำหรับแวดวงวิทยุเพราะฟาติมา บรอดคาสติ้ง อินเตอร์เนชั่น แนล จำกัด เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ วิทยุเอฟเอ็ม 96.5 ที่ร่วมกับฐานเศรษฐ กิจและไอเอ็นเอ็น และยังมีคลื่นความ ถี่เอเอ็มในต่างจังหวัด 10 สถานีที่เป็น ขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) 8 สถานี และ กรมประชาสัมพันธ์อีก 2 สถานี

ที่แล้วมาการขยายธุรกิจของฟาติมา มักจะอยู่ในแวดวงวิทยุ และเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ เมื่อหลายปีที่แล้ว ฟาติมาเคยซื้อกิจการบริษัทคีตาเอ็น เตอร์เทนเม้นท์ ทำค่ายเพลง แต่ต้องเลิกกิจการไปเหลือเพียง่ธุรกิจวิทยุเป็นธุรกิจหลัก

แสงชัยใช้เวลา 2 ปีเต็ม ปลุกปั้น บริการข้อมูลข่าวสารผ่านสัญญาณแฝง ของสัญญาณโทรทัศน์ของช่อง 11 ซึ่ง มีชื่อบริการว่า ฟาติมาดาต้าคาสต์

นักธุรกิจระดับท้องถิ่น มองอนาคตของธุรกิจวิทยุในอีกมิติหนึ่ง ที่ใช้ส่งข้อ มูลข่าวสารได้ด้วย แสงชัยได้ดร.บวร ปภัสราทร อาจารย์จากคณะวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และเป็นผู้ทำรายการไอที 11 เป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิค

บริการส่งข้อมูลผ่านคลื่นแฝงโทรทัศน์ไม่ใช่ของใหม่ เป็นบริการที่ใช้ มาแล้วหลายปี คนในสหรัฐอเมริกา หรือในประเทศยุโรปมักใช้บริการนี้ในกรณีที่การถ่ายทอดรายการฟุตบอลนัด สำคัญๆ ที่ส่งผ่านอินเตอร์เน็ตเกิดล่ม ซึ่งมักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงที่มีคนใช้มากๆ

ตามปกติแล้ว โทรทัศน์จะมีแถบคลื่นเหลืออยู่ทั้งบนและล่างของจอโทรทัศน์ที่มองไม่เห็น เรียกว่า สัญญาณ แฝง ซึ่งทางเทคนิคแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ส่งข้อมูล โดยอาศัยสัญญาณ โทรทัศน์เป็นตัวนำพาข้อมูลไปยังผู้รับปลายทาง เทคโนโลยีชื่อเรียกว่า Vertical Blanking Interval (VBI) ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่แถบคลื่นของโทรทัศน์เท่านั้น สัญญาณแฝงของวิทยุก็ใช้ส่งข้อมูลได้

ในเมืองไทยเองก็เคยมีคนพยายามนำเทคโนโลยี VBI มาให้บริการแล้วหลายราย ทั้งส่งข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ และบริการเทเลเท็กซ์ แต่บริการนี้จะต้องพึ่งพาสัญญาณโทรทัศน์ เมื่อสัญญาณมีปัญหา ไม่ชัดเจนข้อมูลที่ส่งไปก็รับไม่ได้ ต้องหยุดให้บริการไปแล้วหลายราย

การขอใช้คลื่นความถี่ของฟาติมา จึงไม่มีเสียงคัดค้านแม้แต่น้อย เพราะใช้คลื่นความถี่ที่เหลือใช้

ตามข้อตกลงในสัญญาที่บริษัทฟาติมา อาร์.บี.ดี.เอส. อินเตอร์เนชั่น แนล ทำกับกรมประชาสัมพันธ์ ก็คือ บริษัทจะเช่าสัญญาณแฝงของวิทยุระบบเอฟเอ็ม และสัญญาณแฝงของสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 มีอายุสัญญา 26 ปี แลกกับผลประโยชน์ตอบแทนที่ ต้องจ่ายให้กรมประชาสัมพันธ์ รวมเบ็ด เสร็จ 70 ล้านบาท

"กรมประชาสัมพันธ์มีแนวทางที่จะขยายไอทีไปสู่ชนบทอยู่แล้วพอฟาติมาเสนอโครงการนี้เข้ามาก็เป็นประโยชน์ เพราะครอบคลุมพื้นที่ได้กว้าง กรมประชาสัมพันธ์เองก็ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม" ผู้อำนวยการกรมประชาสัมพันธ์ กล่าว

การลงทุนของฟาติมา จะเป็นเรื่อง ของการสร้างศูนย์คอมพิวเตอร์ เพราะ หลักของบริการนี้คือ จะต้องจัดหาข้อมูล ให้แก่ลูกค้า และข้อมูลทั้งหมดต้องถูกส่งผ่านจากศูนย์คอมพิวเตอร์ของฟา- ติมาก่อนจะไปถึงมือลูกค้า

ลูกค้าที่จะรับข้อมูลได้ ทางเครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(พีซี) และจะต้องซื้อการ์ดไว้เสียบกับคอมพิวเตอร์ การ์ดนี้จะทำหน้าที่อุปกรณ์รับและแปลงสัญญาณ (ดีโค้ดเดอร์) ข้อมูลที่ฟาติมาจัดส่งมาผ่านไปตามสัญญาณแฝงของโทรทัศน์ช่อง 11 มาเข้าเครื่อง พีซี ของลูกค้า เรียกง่ายๆ ว่า ทำหน้า ที่แทนโมเด็ม ซึ่งฟาติมาสั่งเข้ามาขายจากบริษัท Hauppauge จากสหรัฐอเมริกา ขายในราคา 6,500 บาท

ข้อมูลเบื้องต้น ที่ฟาติมานำมาให้ บริการ จะมาจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ บางกอกโพสต์ นิตยสารดิฉัน ข่าวสารดนตรี ภาพยนตร์ ข้อมูลสินค้า ต่างๆ แต่หากต้องการดูรายงานซื้อขาย หุ้น เกมส์ หรือ อินเตอร์เน็ตจะต้องเสีย ค่าบริการต่างหาก

ส่วนข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต จะต้อง แจ้งมาที่ฟาติมาก่อนว่าต้องการดูเว็บ ไซต์ไหน จากนั้นฟาติมาจะส่งมาให้ พูด ง่ายก็คือ ข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งมาจากฟาติมาแห่งเดียวเท่านั้น ซึ่งจะช้ากว่ากาเรียกดูจากอินเตอร์เน็ตโดยตรง และ ยังเป็นการสื่อสารทางเดียว

ความน่าสนใจของบริการนี้ ที่ฟาติมามองเห็นก็คือ การครอบคลุมพื้นที่ 95% ของประเทศไทย ตามพื้นที่บริการของช่อง 11 เนื่องจากเป็น สัญญาณที่แฝงไปกับช่อง 11 และสัญญาณวิทยุ

โอกาสของบริการนี้ก็อยู่ที่ การไปนำเสนอพื้นที่ไกลๆ ที่สัญญาณโทร ศัพท์ และบริการของผู้ให้บริการอินเตอร์ เน็ต (ไอเอสพี) ยังไปไม่ถึง

นอกเหนือจากประชาสัมพันธ์จังหวัดทั้ง 76 แห่งแล้ว สถาบันการศึกษาทั้งเอกชนและรัฐบาล คือ กลุ่มเป้าหมายหลัก โครงการจัดซื้อคอมพิว เตอร์ของโรงเรียนมัธยม และประถมศึกษา ในยุคสมัยของรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ชื่อสุขวิช รังสิตพล เป็นหนึ่งในลูกค้าเป้าหมาย ที่อาจถูกนำกลับมาปัดฝุ่นใหม่เพื่อใช้บริการ ฟาติมาดาต้าคาสต์

รวมทั้งการนำเสนอไปใช้เป็นโครงข่ายภายในองค์กร (private network) แทนสายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้ว นำแสง หรือแม้แต่ดาวเทียม

"ยกตัวอย่าง บริษัทค้าส่งคอม พิวเตอร์ ที่มีดีลเลอร์หลายแห่งในต่างจังหวัด เวลาเขาจะออกประกาศ หรือ แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ก็แค่ซื้อการ์ด ตัวนี้ติดให้ดีลเลอร์ ก็ส่งข้อมูลได้ทันที เสียค่าส่งแฟกซ์แผ่นละบาทเดียว ไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ทางไกล หรือเสียค่าเช่าคู่สาย คิดแล้วคุ้มกว่า" ผู้บริหาร ของ บริษัทเอ็มแอนด์วี ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายของการ์ดฟาติมา อาร์บีดีเอส ให้ความเห็น

แต่ในยุคที่ทุกคนสามารถเรียกดูข้อมูลจากทั่วทุกมุมโลกจากอินเตอร์ เน็ตได้ฟรี และยังเป็นข้อมูลแบบสองทางที่โต้ตอบถึงกันได้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้จะเลือกเสียเงินซื้อโมเด็ม และค่าบริการอินเตอร์เน็ตให้กับไอเอสพี เพื่อดูอินเตอร์เน็ต หรือจะเสียค่าการ์ด ฟาติมาบรอดคาสต์ในราคา 6,500 บาท เพื่อดูข้อมูลผ่านสัญญาณแฝงช่อง 11 อย่างไหนจะคุ้มกว่ากัน

ทุกอย่างก็ต้องขึ้นอยู่กับเวลา เท่านั้นจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า แสงชัยจะยกระดับจากนักธุรกิจท้องถิ่นมาสˆูคลื่นลูกที่สามได้หรือไม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us